ยุคสมัยที่ก้าวหน้า ทุกสิ่งทุกอย่างมีการพัฒนา ทั้งการสื่อสาร การเดินทาง การดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป ในขณะที่วัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมอันดีงามก็ยังต้องรักษาไว้ บางครั้งทำให้คล้ายกับเป็นโลกคู่ขนานเหมือนเข้ากันไม่ได้ จนบางครั้งทำให้เกิดแนวคิดต่อต้านซึ่งกันและกัน เด็กมีความคิดความเชื่อมั่นในตัวเองที่สูงขึ้น ในขณะที่ผู้ใหญ่ก็มั่นใจในประสบการณ์ที่สั่งสมมาตามอายุ
หากแต่ทั้งหมดที่กล่าวมาในข้างต้นนี้ อาจยังไม่ใช่สาเหตุของความร้อนแรงในความขัดแย้งเสียทีเดียว หากลองมองกันให้ดีๆ หลายครั้งที่ความขัดแย้งนั้นมักจะเกิดขึ้นจากการยึดมั่นถือมั่นในความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ โดยไม่เปิดใจรับฟังความเห็นที่แตกต่าง กอปรกับการใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งแทนที่จะใช้เหตุผลเข้าหากัน และหลายๆ ครั้งที่ฝ่ายที่อารมณ์ร้อนก่อนมักจะเป็นผู้ใหญ่ เพราะแค่เด็กเริ่ม ”อธิบาย” จะกลายเป็นการ ”เถียง” ในขณะที่อีกฝ่ายอาจต้องการเพียงการอธิบาย หรืออาจเพียงแค่ถามเพื่อทำความเข้าใจเท่านั้น
การจะลดอุณหภุมิของบทสนทนาอันมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันนั้นจึงควรเริ่มต้นที่ตัวของเราเองเป็นอันดับแรก ก่อนอื่นใดต้องทำความเข้าใจว่า เราแต่ละคนมีพื้นฐานที่แตกต่างกัน ในที่นี้มิได้หมายถึงฐานะทางการเงินแต่อย่างใด แต่กำลังหมายถึงสังคมที่หล่อหลอมแต่ละคนให้เติบใหญ่ขึ้นมา ย้อนไปสักห้าสิบหกสิปปีก่อน ยุคที่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ตไร้สาย การหาความรู้หาข้อมูลต่างๆ ยังต้องอาศันการอ่านจากหนังสือ ห้องสมุดเป็นแหล่งความรู้ และอีกแหล่งความรู้คือเหล่าครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่สัสมการอ่านมามากกว่า เห็นโลกมามากกว่า เด็กในยุคนั้นจึงได้รับความรู้จากบรรดาผู้อาวุโสและไม่มีข้อโต้เถียงใดๆ
กลับมายังยุคสมัยนี้ที่ข้อมูลความรู้มีอยู่ในอินเตอร์เน็ตเต็มไปหมด ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปห้องสมุด หายืมหนังสือกลับมาอ่านที่บ้าน อยากรู้อยากเห็นเรื่องอะไรแค่ป้อนคำถามแล้วกด ENTER ก็สามารถหาอ่านได้มากมายราวกับย่อโลกใบใหญ่มาไว้ในอุปกรณ์เครื่องเล็กๆ เป็นการเปิดหน้าต่างโลกได้กว้างขึ้น มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้มากกว่าการอ่านหนังสือหรือฟังเรื่องเล่าจากคนรุ่นก่อน และเมื่อเกิดความแตกต่างที่ค่อนข้างเห็นได้ชัด จึงทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเจนเนอเรชั่นที่ยิ่งชัดและดูเหมือนจะยิ่งห่างออกไปเมื่อคนที่เป็นผู้ใหญ่เรียนรู้เทคโนโลยีได้ไม่ไวเท่ากันรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับสิ่งเหล่านี้
นั่นจึงเป็นเหตุของการมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน เมื่อเด็กได้รับฟังสิ่งที่ไม่เหมือนกับที่เขาเคยลอง 'เสิร์ช' หามา ยกตัวอย่างเช่นการเถียงกันของคู่แม่ลูกเวลาเข้าครัว ซึ่งคุณแม่ได้สืบต่อสูตรอาหารมาจากรุ่นยายแต่ลูกสาวได้สูตรเด็ดจากเชฟชื่อดังมาจากอินเตอร์เน็ต หรือจะเป็นเรื่องของเส้นทางการขับรถของคุณพ่อที่คุ้นเคยกับเส้นทางนี้มาตั้งแต่หนุ่มๆ แต่ลูกขอไปตามทางลัดที่แอปพลิเคชั่นบอกทางเพื่อความรวดเร็ว และยังมีเรื่องราวอื่นๆ อีกหลายเรื่องที่คนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ได้รับข้อมูลที่แตกต่างกัน
แต่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร สิ่งหนึ่งที่พึงตั้งไว้ให้มั่นนั่นก็คือ 'สติ' ในการประคองอารมณ์กับบทสนทนาที่ตั้งท่าจะนำไปสู่การขัดแย้ง หากยิ่งใช้อารมณ์ในการพูด แน่นอนว่าทั้งน้ำเสียง ถ้อยวาจา ย่อมไม่น่ารับฟัง ไม่มีใครอยากเสวนากับคนเกรี้ยวกราด พูดจาไม่สุภาพใช้ถ้อยคำหยาบคาย และยิ่งหากเป็นการใช้อำนาจออกคำสั่งย่อมไม่มีใครอยากได้ยินสิ่งที่เป็นมลพิษต่อจิตใจและความรู้สึกเป็นแน่ และอีกสิ่งที่ควรมีให้มากๆ คือความรักและความเข้าใจที่ควรมีให้แก่กัน เรื่องราวที่ถกเถียงกันอยู่นั้นมันสำคัญมากกว่าความรักที่เรามีให้แก่กันหรือเปล่า คุ้มแล้วหรือไม่ที่จะแลกกับมิตรภาพความสัมพันธ์อันดีที่มีมาตลอดชีวิต
หากมองข้ามเรื่องอายุ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายก็คือคนที่มีประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกัน ผู้ใหญ่อาจมากประสบการณ์ชีวิตที่เห็นมามาก ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากกว่า จึงควรเย็นให้เป็นและรู้จักที่จะเปิดใจให้กว้างเพื่อรับฟัง ขณะที่เด็กวัยรุ่นแม้เป็นวัยที่มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยีมากกว่า รับรู้ข้อมูลต่างๆมามากกว่า แต่ก็ไม่ควรตั้งความคิดว่าผู้ใหญ่ดักดานไม่ทันสมัย ไม่ทันโลก เพราะบางอย่างก็ไม่สามารถค้นหาได้ในโลกออนไลน์เสมอไป ทั้งสองฝ่ายมีภูมิความรู้ที่แตกต่างกัน การใช้เหตุและผลในการหันหน้าเข้ามาคุยกันย่อมดีกว่าการวางอำนาจข่มอีกฝ่าย
รู้จัก “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” จะทำให้เรารู้จักยั้งคิดก่อนพูดหรือทำอะไรให้คนที่เรารักต้องช้ำใจ
และตัวเราเองอาจเป็นฝ่ายที่ต้องมานั่งเสียใจในภายหลัง
ความเห็น 33
จริงเด็กยุคนี้เถียงจริงๆยังหาเงินใช้เองไม่ได้ยังทำเป็นอวดเก่งแล้วก็เก่งแต่เรื่องไร้สาระด้วย
26 ส.ค. 2563 เวลา 10.59 น.
moonoi
โลก net เกิดจากการสั่งสมความรู้ของคนรุ่นก่อน อย่าลืมขอบคุณความเสียสละนี้ด้วย เด็กอย่าลืมว่าวันนึงก็ต้องโตเป็นผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ไม่ได้ถูกเสมอและเด็กก็ไม่ถูกเสมอ พวกเราคือมนุษย์ ควรเรียนรู้ที่จะพึ่งพากัน มากกว่าปล่อยให้ผู้ไม่หวังดีมาสร้างความแตกแยก ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งใหม่ คิดต่างได้ แต่อย่าให้มันกลายเป็นความรุนแรง เพราะนั้นหมายถึงความไม่มีอารยธรรม ทุกคนมีอารมณ์ แต่เราต้องพยายามปรับเข้าหากัน นั้นหมายถึงสองฝ่าย หาจุดตรงกลางไหม ก่อนที่จะบานปลายกว่านี้ แล้วจะรับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ไหว
26 ส.ค. 2563 เวลา 10.55 น.
ธวัชชัย JB.Dan
70% ของการเขียนนี้ มุ่งเตือนที่ผู้ใหญ่
26 ส.ค. 2563 เวลา 01.30 น.
DTP
เท่าที่เคยสังเกตุ ชาวต่างชาติส่วนมาก จะเลี้ยงลูก ให้รู้จักรับผิดชอบตัวเอง เมื่อเรียนถึงระดับมัธยม มักจะให้เด็กหางานพิเศษทำ พร้อมทั้งเรียนไปด้วย โดยเฉพาะเมื่อบรรลุนิติภาวะ เด็กส่วนมาก จะไปหางานทำ ส่งตัวเองเรียน หรือบางคน จะย้ายออกจากบ้าน ไปอยู่ในหอของมหาวิทยาลัย หรือเช่าบ้านอยู่รวมกันกับเพื่อนสนิท
เด็กจะรับผิดชอบตัวเองได้ดี พ่อแม่เด็ก ก็จะยอมรับในวุฒิภาวะของลูก และคอยให้คำแนะนำ เมื่อลูกต้องการเท่านั้น
เด็กไทยน่าจะรับผิดชอบตัวเอง อย่างนั้นครับ จะได้สามารถทำทุกอย่างที่ตัวเองเห็นสมควร
25 ส.ค. 2563 เวลา 19.17 น.
คนเราต่อให้เลี้ยงใส่ใจดูแลขนาดไหน ถ้าเขา
เข้าสังคมตามกันถ้าดีก็ดีไม่ดีก็มีแต่เรื่องปวดหัว
มันเป็นเปลี่ยนไปตามยุคสมัย สังคมสิ่งรอบตัวรอบข้างมีอิทพลความสำคัญต่อทุกคนไม่ว้าเด็กหรือผู้ใหญ่
25 ส.ค. 2563 เวลา 03.22 น.
ดูทั้งหมด