ก่อนเราจะไปที่คำว่า Gaslight (แก๊ซ-ไลท์)
มารู้จักคำว่า White Lie หรือ การโกหกสีขาวนี้กันก่อน
แน่นอน การโกหกเป็นสิ่งไม่ดี ผิดศีลข้อสี่ เรารู้กันมาตั้งแต่เด็ก
แต่การโกหกสีขาวนี้ เขาถือว่าเป็น ‘เป็นการโกหกที่ไม่เป็นอันตราย’
และมักทำไปเพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้อื่นเจ็บช้ำใจ
ตัวอย่างที่เห็นบ่อยเช่น
‘เธอๆ ใส่ชุดนี้สวยมั้ย?’
‘สวยครับ’
คือถึงจะไม่ได้ โอ้โห ตระการตาดาวล้านดวงสวยที่สุดในจักรวาล
ถึงจะแค่โอเค ไม่ได้แย่
แต่ก็ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนอะไรกับการบอกแฟนเราไปว่า ‘สวย’
หรืออีกตัวอย่าง
เวลาเพื่อนจัดงานเลี้ยง แล้วเราอยากหนีกลับก่อน
ก็หาข้ออ้างบอกเพื่อนไปว่า ‘ต้องรีบกลับแล้ว แม่ตาม’
แบบนี้ เขาเรียกว่า ไวท์-ลาย หรือ การโกหกสีขาว –มันไม่ได้ร้ายแรงถึงชีวิต
กลับมาที่คำว่า แก๊ซไลท์
คือการกระทำคล้ายๆ การโกหกสีขาวนั่นแหละ แต่พ่วงด้วยเจตนาที่อยากหลวงลวงให้อีกฝ่ายเสียหาย หรือปั่นความรู้สึกอีกฝ่ายให้รู้สึกแย่กับตัวเอง
ถือเป็นจิตวิทยาในการทำร้ายกันและกัน โดยการป้อนข้อมูลที่ผิดให้กับเหยื่อ เพื่อหวังให้เหยื่อเริ่มสงสัย เกิดความคลางแคลงใจกับมุมมอง/การกระทำ/และความทรงจำของตัวเอง
คำอธิบายยาวเหยียดมาก
เราจำได้ว่า ตอนเรียนรู้เกี่ยวกับคำนี้ครั้งแรก ก็งงอยู่เหมือนกัน แต่เข้าใจได้ง่ายขึ้นผ่านตัวอย่างที่อาจารย์แสดงให้ดู
คำว่า แก๊ซไลท์ นี้ เกิดขึ้นครั้งแรกจากภาพยนตร์เก่าในปี 1944 ที่ชื่อ Gaslight นี้แหละ
เรื่องราวก็คือ นางเอกซึ่งเป็นสาวหวาน ไร้เดียงสา ที่ต้องมาเห็นป้าของเธอโดนฆาตกรรมต่อหน้าต่อตาตอนเด็กๆ ในบ้านของตัวเองที่เมืองลอนดอน
หลายปีต่อมา เธอก็เดินทางไปอิตาลี และพบรักและแต่งงานกับผู้ชายที่นั่น ทั้งคู่เดินทางกลับมาพักที่บ้านหลังใหญ่ของเธอซึ่งเป็นมรดกที่เธอได้มาจากคุณป้านั่นเอง
ผู้ชายคนนี้ หวังฮุบมรดกของเธอทั้งหมดรวมถึงบ้านหลังนี้ด้วย
เขาแอบแกล้งหลอกเธอต่างๆ นานาเพื่อหวังให้เธอรู้สึกว่าตัวเองเป็นบ้า และจะได้ถูกส่งไปอยู่โรงพยาบาลบ้า เพื่อเขาก็จะได้กลายเป็นคนที่ดูแลบ้านและทรัพย์สมบัติทุกอย่างเอง
และฉากที่เป็นตำนานแห่งการ แก๊ซไลท์ ก็คือฉากที่เขาแอบหรี่ไฟลงมา แล้วนางเอกก็ตกใจว่าทำไมไฟอยู่ดีๆ ก็มืด นางเอกหันไปถามเขา แล้วเขาเองก็แกล้งทำตัวไม่รู้ไม่ชี้ ห๊ะ? ไฟหรี่อะไร ไม่เห็นมีเลย? ทำให้นางเอกเริ่มมั่นใจขึ้นเรื่อยๆ ว่าตัวเองเป็นบ้า และยิ่งทำให้รู้สึกต้องพึ่งเขามากกว่าเดิมและขาดเขาไม่ได้ จึงยอมทำตามทุกอย่างที่เขาบอกเพราะจิตใจเต็มไปด้วยความกลัว
ความรุนแรงทางครอบครัว บางครั้งก็มีการแก๊ซไลท์นี้ร่วมด้วย ยิ่งทำให้เหยื่อรู้สึกสับสนและหันมาตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดแทน
ยกตัวอย่างเบาๆ ก็คือ พ่อแม่กำลังเถียงกันขั้นรุนแรง
ลูกน้อยได้ยินพอดีก็ตกใจ เลยถามว่า พ่อแม่ทะเลาะกันเหรอ?
พ่อแม่ก็พูดขึ้นทันทีว่า ‘เปล่านะ ไม่ได้ทะเลาะกันซะหน่อย’
ซึ่งวิธีนี้ จะยิ่งทำให้ลูกรู้สึกสับสนกับความจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งที่พ่อแม่ควรทำก็คือ การอธิบายให้ลูกฟังด้วยความจริง อาจด้วยการบอกว่า ‘ใช่ลูก พ่อกับแม่เถียงกันอยู่ พ่อแม่ขอโทษที่ใช้เสียงดังไปหน่อยนะ มันไม่ได้แปลว่าเราไม่รักลูกเลย’ เป็นต้น
หรือบางครั้งที่นักจิตบำบัดเจอในการบำบัดคู่รัก ถึงขั้นอันตรายก็มี
เช่นเมื่อคนหนึ่งบอกว่าอีกฝ่ายทำร้ายร่างกายตนเอง แต่อีกฝ่ายกลับบอกว่า
‘บ้าเหรอ ไม่ได้ทำเลย ตอนนั้นเธอเมาอยู่รึเปล่า เธอจำไม่ได้หรอกว่าเกิดอะไรขึ้น’ เป็นต้น
หรืออาจด้วยการแกล้งทำเป็นลืม เมื่ออีกฝ่ายกล่าวถึงเรื่องราวที่ทำให้ตนต้องเสียใจ ‘คุณพูดเรื่องอะไรของคุณ? ฉันไม่เคยพูดจาแบบนั้นซะหน่อย’
คือการชอบโยน ‘ความผิดพลาดปลอมๆ’ ให้อีกฝ่าย เพื่อที่ทำให้ตัวเองรอดจากการกระทำผิดทั้งปวง
หรือยิ่งในช่วงโรคระบาดแบบนี้
คู่รักคู่ไหนที่กำลังระหองระแหงมาก่อนหน้านี้แล้ว และรู้สึกว่าอีกฝ่ายกำลังหลีกหนี ‘ความรับผิดชอบทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์’
ด้วยคำพูดประมาณว่า ‘เธอไม่ได้เครียดเรื่องเราหรอก เธอเครียดเรื่องโควิดมากกว่า’
‘ที่เธอต้องร้องไห้อย่างนี้ เธอกดดันเพราะไม่ได้ออกไปไหนต่างหาก’
แทนที่จะมาคุยเปิดอก ยอมรับความจริง และแก้ไขสิ่งที่ทำให้รักมันบั่นทอนกันตรงจุดจริงๆ
ถ้าเราเริ่มสงสัยการกระทำจากอีกฝ่าย
ให้ลองถามตัวเองดีๆ ว่า
จุดเริ่มต้นของความปวดร้าวในใจนี้ คือความสัมพันธ์ของเรา แล้วโควิดเหมือนสิ่งเร้าให้ปัญหายิ่งปะทุ
หรือโควิดคือต้นเหตุของปัญหา ทำให้ความรู้สึกนั้นมาบั่นทอนและกระทบความสัมพันธ์ของเรากันแน่…
หากใครที่รู้สึกว่า ตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์ที่โดนแก๊ซไลท์อยู่
อันดับแรกคือหันมามองที่ความปลอดภัยของเรา ว่าเรากำลังตกอยู่ในอันตรายอะไรรึเปล่า
และพยายามหนีทันทีเมื่อรู้สึกว่าตัวเองมีความเสี่ยง
หากเราโดนกระทำสิ่งที่โหดร้าย ไม่ว่าอีกฝ่ายจะใช้คำพูดทำนองว่า
‘ก็เพราะเธอทำตัวแบบนี้ไง เธอถึงสมควรจะโดนแบบนี้’
หรืออะไรก็ตามที่ทำให้เรารู้สึกผิด ให้จำไว้เสมอว่า
‘การกระทำแย่ๆ จากคนอื่นนั้น มันไม่ใช่ความรับผิดชอบของเรา’
จดจำความจริงทุกอย่างเอาไว้
พูดคุย และคอยอัปเดทให้เพื่อนสนิทหรือคนที่ไว้ใจเสมอถึงทุกสิ่งที่เกิดขึ้น
และอย่าให้ทุกคำพูดของคนๆ เดียวที่เอาแต่ทำให้รู้สึกบั่นทอน
มาตัดสินทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา
.
.
ติดตามบทความใหม่จากเพจ Beautiful Madness by Mafuang ได้บน LINE TODAY ทุกวันอังคาร
ความเห็น 6
พยายามจะเข้มแข็งค่ะ
กับการถูกด่า และการโดนตำหนิ
ซึ่งทุกๆคนเองก็ทำ และเราก็ทำ
เนื่องจากบางครั้งก็ทนไม่ได้
ที่บางเรื่องมันเกินไป
แต่ทุกคนควรมีจุดนึงที่สามารถหลุดออกจากการกระทำต่อบุคคลนึงได้
คือ เราควรพอแล้วนะ
เขาเรียก .... จุดยั้งคิด...
( หาวิธีหยุดตัวเองออกจากการด่าเขา)
บางทีด่าๆกัน เราได้อ่ะไร
คือมันเสียใจทุกข์ใจ.. ทั้งสองฝ่าย
เปลี่ยนจากการด่าเป็น.. ความเข้าใจกัน
เอาใจเขามาใส่ใจเรา
เห็นความทุกช์ในใจเขา
ว่าเขาโดนปัญหาเล่นงานแล้ว
หนักแล้วเราควร หยุด
หาวิธีหยุดตัวเอง
หยุดตัวเองให้ได้
21 เม.ย. 2563 เวลา 13.59 น.
ผมคิดว่าไม่ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นมากับในชีวิตของเรา ในการคิดพิจารณาถึงในความถูกต้องให้รอบครอบอย่างดีแล้ว ก็ย่อมสามารถที่จะทำให้เราเลือกที่จะทำกับในสิ่งที่ถูกต้องได้อย่างแน่นอนครับ.
21 เม.ย. 2563 เวลา 15.28 น.
Andy安迪2️⃣4️⃣5️⃣
เรียกว่า "ปั่นประสาท" น่าจะตรงในภาษาไทยนะ
22 เม.ย. 2563 เวลา 09.30 น.
ปัญหาครอบครัวพ่อแม่ทะเลาะกัน
เถียงกันไม่จบโทษกันไปโทษกันมาต่อหน้าลูก
อย่าลืมนะคะเด็กๆเขามองพฤติกรรมของพ่อกับแม่อยู่
พ่อแม่ลูกมี 3 ปาก.. 6 หู 6 ตาด่ากัน
แต่เสียงลูกไม่มีความหมาย
จ้องมองอยู่เสพสิ่งวิบัติ คือการทะเลาะ
เสียงโวยวาย ความรุนแรง ความหยาบคายเข้าไปบ่อยๆ
อย่าว่าแต่เด็กเลยค่ะ
ใครก็อาจเป็นประสาทได้
คำพูดดีๆ พูดสนุกสนาน พูดให้กำลังใจ
แค่รับฟังพูดกับใครคนนั้นก็คลายทุกข์
เลือกเสพ เลือกทำเอาค่ะ
ของดี ทำให้ใจเป็นสุข
ของสกปรกทำให้ใจขุ่นมัวเป็นทุกข์
เดินหนีซะ
อย่าใส่ใจ
ใจกับมือเราจะได้สะอาด
21 เม.ย. 2563 เวลา 14.24 น.
Neng
https://www.urbandictionary.com/define.php?term=Gaslighting
22 เม.ย. 2563 เวลา 03.24 น.
ดูทั้งหมด