โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

อ่านเถอะ เจอทุกปี! รับมือ "ปัญหาน้ำประปาเค็ม" ดื่มได้ไหม? อันตรายหรือเปล่า?

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 03 ก.พ. 2564 เวลา 19.00 น. • AJ.
ภาพโดย Manki Kim / unsplash.com
ภาพโดย Manki Kim / unsplash.com

จิบแรกไม่เป็นไร จิบต่อไปไตบอกใจเย็น

ปัญหาน้ำประปาเค็มกลับมาอีกแล้ว และดูเหมือนจะกลายเป็นปัญหาขาประจำที่คนกรุงเทพฯ ต้องคอยฟังข่าวและเตรียมรับมืออยู่เป็นระยะ อย่างไรก็ตามสถานการณ์น้ำประปาเค็มไม่ได้คงอยู่ตลอดทั้งปี แต่จะเกิดขึ้นในบางช่วงเวลาเท่านั้น

น้ำประปาเค็ม ตอนไหน?

ปัญหาน้ำประปาเค็ม เกิดจากน้ำดิบมีน้อย เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ทำให้น้ำประปาถูกน้ำทะเลรุกล้ำ ประกอบกับภัยแล้ง ที่ยิ่งทำให้น้ำในแม่น้ำมีไม่เพียงพอในการผลักดันน้ำทะเล ทำให้น้ำทะเลรุกล้ำเข้ามาถึงจุดที่มีการผันน้ำเข้าคลองประปา จุดนี้เองที่ทำให้น้ำดิบที่เข้าสู่ระบบผลิตน้ำประปาที่เรานำมาใช้อุปโภคบริโภค มีค่าความเข้มข้นของคลอไรด์สูงกว่าปกติ พูดง่าย ๆ ก็คือ "น้ำเค็ม" ขึ้นนั่นเอง

ซ้ำร้ายน้ำประปาเค็มจะยิ่งพบบ่อยขึ้นในช่วงหน้าแล้ง และจะทวีความรุนแรงขึ้นหากประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่ (El Nino) ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยเกิดความแห้งแล้งในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม และไม่เพียงแต่น้ำประปาที่เค็มขึ้น แต่ยังทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำในหลายพื้นที่ในประเทศ ตลอดจนน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตรมีไม่เพียงพอด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตาม ภาวะน้ำประปาเค็มมักพบในกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่นี้รับน้ำประปาจากโรงงานผลิตที่อยู่ภายใต้การดูแลของการประปานครหลวง (กปน.) ซึ่งโรงประปาเหล่านี้รับน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่จุดรับน้ำ ต.สำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี ซึ่งห่างจากอ่าวไทย 90 กิโลเมตร ดังนั้นในช่วงหน้าแล้งที่น้ำทะเลรุกล้ำเข้ามา จึงมีความเสี่ยงที่โรงรับน้ำในบริเวณนี้จะมีความเค็มสูงขึ้น

ไตยังไหว กรมอนามัยบอกมา

สำหรับสถานการณ์น้ำประปาเค็มในปีนี้ กรมอนามัยแจ้งว่าโซเดียมจะเข้าสู่ร่างกายในปริมาณเล็กน้อยต่อวัน ไม่กระทบสุขภาพหากคุณเป็นคนสุขภาพแข็งแรง แต่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ หากเป็นคนกลุ่มดังต่อนี้

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้สูงอายุ
  • เด็กเล็ก
  • ผู้ป่วยโรคไต
ภาพโดย mrjn Photography / unsplash.com
ภาพโดย mrjn Photography / unsplash.com

รับมืออย่างไรในวันที่ "น้ำเค็ม"

ผู้ใช้น้ำอย่างเราทำได้แค่เพียงรับมือและแก้ปัญหาจากปลายเหตุ หากพบว่าน้ำประปาที่บ้านมีรสเค็มหรือกร่อยกว่าปกติ ให้ทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • ใช้น้ำกรองผ่านระบบ Reverse Osmosis (RO) ซึ่งเป็นเครื่องกรองน้ำที่มีความละเอียดสูง สามารถลดความเค็มในน้ำได้ สำหรับเครื่องกรองน้ำรุ่นนี้ พบได้ตามเครื่องกรองบางรุ่น และตู้กดน้ำแบบหยอดเหรียญ
  • อย่าต้มน้ำเด็ดขาด เพราะหากนำไปต้ม น้ำจะระเหยออก ค่าความเค็มจะยิ่งเพิ่มขึ้น
  • ในช่วงเวลาที่เผชิญภาวะน้ำเค็ม ให้หลีกเลี่ยงการปรุงรสชาติในอาหาร เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ผงปรุงรส เพราะจะยิ่งเป็นการเพิ่มโซเดียมในอาหารที่รับประทาน
  • ทางที่ดีควรงดอาหารที่มีโซเดียมสูงด้วย เช่น มันฝรั่งทอด ของทอด และเครื่องดื่มประเภทน้ำชง หรือน้ำหวานต่าง ๆ
  • หากมีอาการคัน หรือระคายเคืองผิวหนัง ควรเปลี่ยนไปใช้น้ำจากแหล่งอื่น

How To เช็กค่าความเค็มของน้ำประปา

หากต้องการตรวจดูค่าความเค็มของน้ำประปาที่บ้าน ตามมาตรฐานแล้วค่าความเค็มไม่ควรเกิน 0.5 กรัม/ลิตร ถ้าค่าความเค็มเกินจากนี้ รสชาติน้ำจะเปลี่ยนไป สามารถเช็กได้ง่าย ๆ แบบเรียลไทม์ที่นี่เลย : การประปานครหลวง

ภาวะน้ำเค็มหรือน้ำกร่อยนี้ มีแนวโน้มจะพบเจอได้ทุกปี โดยเฉพาะช่วงหน้าแล้งของประเทศไทย ทางที่ดีควรเตรียมตัวพร้อมรับมือเสมอ หากมีคนในครอบครัวอยู่ในกลุ่มเสี่ยงด้านบน ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพื่อสุขภาพที่ดีในวันนี้ ดีกว่าเพิ่มความเสี่ยงให้ "น้องไต" ของตัวเองในอนาคต

-

อ้างอิง

ddproperty.com

greennetworkthailand.com

sanook.com

sentangsedtee.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 50

  • 👍🏻
    09 ก.พ. 2564 เวลา 14.06 น.
  • mai
    ตามข่าวจากการประปาที่แจ้งเวลาน้ำว่าตอนไหนไม่กร่อยรสชาติปกติ แล้วรองน้ำไว้สำหรับดื่มกินทำอาหาร
    09 ก.พ. 2564 เวลา 07.40 น.
  • ใส่น้ำตาลครับ
    07 ก.พ. 2564 เวลา 15.00 น.
  • เอกอุปัญญ์
    รู้ทำไมไม่หาทางแก้ไข..เหมือนฝุ่นพิษ..เจอทุกปี...รึของมันต้องมี....
    07 ก.พ. 2564 เวลา 06.14 น.
  • kumthon
    ฝนตกปีละ850000ล้านคิว มีปัญญาเก็บไว้ใช้ได้แค่75000ล้านคิว แล้ง / ท่วมซ้ำซากๆเกือบจะครบร้อยปีแล้ว ทำไมคนเก่งๆไม่มาเกิดเสียทีประเทศกรู
    06 ก.พ. 2564 เวลา 18.13 น.
ดูทั้งหมด