โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รู้ว่าไม่ดี แต่มันฟีลกู้ด! ทำไมเราถึง "สะใจ" เวลาใครต่อใคร "พลั้งพลาด"

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 27 ม.ค. 2564 เวลา 17.30 น. • AJ.

สะใจ แต่ไม่อยากแสดงออก..

"ข่าวบันเทิง" หลายวันมานี้ค่อนข้างดุเดือด เราเห็นข่าวดาราคนหนึ่งถูกดำเนินคดีเพราะโฆษณาอาหารเสริมเกินจริง เราเห็นดาราอีกคนถูกสังคมตั้งคำถามเพราะไม่กักตัวช่วงโควิด-19 

ข่าวกอซซิบเหล่านี้ ยอมรับว่าหลายครั้ง เราอ่านไปส่ายหัวไป แต่ก็มีหลายครั้ง ที่แอบหันไปยิ้มเยาะให้กล้องสองแบบตัวร้ายในละครหลังข่าว พลางคิดในใจว่า "หึ ก็สมควรแล้วไงเล่า!"

ปริศนาของอาการ "สะใจ" เวลาเห็นคนอื่น โดยเฉพาะคนที่มีหน้ามีตาในสังคมตกระกำลำบากแบบนี้ มีคำตอบที่อธิบายได้ด้วยจิตวิทยา แถมยังมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการเสียด้วย ลองมาไขคำตอบไปด้วยกันว่าไอ้อาการ "สะใจเวลาเห็นคนล้ม" มันมีที่มาที่ไปอย่างไร และทำไมมนุษย์เราถึงชอบนักแลเวลาได้เห็นคนเดือดร้อน

"ความทุกข์ของคนอื่น หวานหอมเหมือนน้ำผึ้ง" - สุภาษิตญี่ปุ่น

พฤติกรรมสุขใจเล็ก ๆ เวลาเห็นคนดัง คนรวย ตกที่นั่งลำบากมีคำศัพท์เฉพาะของตัวเองในภาษาเยอรมันด้วย นั่นคือคำว่า Schadenfraude (อ่านว่า "ชาเดินฟร็อยเดอ") แปลว่า "ความสุขที่แสนอันตราย" หรือ อาการแอบดีใจ เวลาเห็นคนอื่นเป็นทุกข์

ความรู้สึกนี้ตรงกันข้ามกับความเห็นอกเห็นใจโดยสิ้นเชิง นักปรัชญาเยอรมัน Arthur Schopenhauer ถึงกับให้ความเห็นว่าความรู้สึกนี้ เป็นความรู้สึกที่"เลวร้าย" ที่สุดที่มนุษย์จะสามารถรู้สึกได้ ร้ายแรงกว่าความอาฆาตแค้นด้วยซ้ำ!

บ่อเกิด "ความสุข" ที่มาจากความริษยา!

เดาไม่น่ายากว่า "ความสุขที่แสนอันตราย" เหล่านี้ เติบโตมาจากความรู้สึกอิจฉาริษยาในก้นบึ้งของจิตใจเรานั่นเอง มันคือความรู้สึกเวลาที่เรา "ไม่อิน" กับความสำเร็จของใคร เราก็มักอยากเห็นเขาพลาดพลั้ง นึกภาพดาราคนนั้นที่เราหมั่นไส้ หรือนักการเมืองพรรคนี้ที่เราไม่ชอบ หรือกับใครก็ตามที่เมื่อเขา"ล้ม" แล้วเราจะได้ประโยชน์

อ่านแล้วอย่าเพิ่งเกลียดตัวเอง เพราะว่า…

เราไม่ได้เป็น "ต้วร้าย" อยู่คนเดียวในโลกใบนี้

ความรู้สึกแสนจะดาร์กที่เรากำลังพูดถึง เกิดขึ้นได้กับทุกคน ผลวิจัยในนิตยสาร Science เมื่อปี 2009 พบว่าต้นตอของความรู้สึกวายร้ายนี้ เกิดขึ้นที่สมองส่วน ventral striatum ซึ่งเป็นวงจรความรู้สึกเวลาที่สมองอยากให้รางวัลตนเอง เทียบได้กับความรู้สึกเวลาเราหิวเบียร์ หรือเวลาเราอยากจู๋จี๋กับใครสักคน

ในปี 2013 เคยมีการทดลองเพื่อหาความหมายของ Schadenfraude กันอย่างจริงจัง โดยให้กลุ่มผู้ทดลองดูภาพคน 4 คน ประกอบไปด้วย หญิงชรา นักเรียน คนติดเหล้า และนักธุรกิจ นักวิทยาศาสตร์จงใจให้ทั้ง 4 คนเป็นตัวแทนในการกระตุ้นอารมณ์ต่าง ๆ คือความน่าสงสาร ความภาคภูมิ ความน่ารังเกียจ และความริษยา ตามลำดับ จากนั้นจับคู่แต่ละคนด้วยสถานการณ์ต่างกันไป เช่น คนนี้ถูกหวย คนนี้โดนรถเหยียบน้ำใส่ เป็นต้น

ผลการทดลองปรากฏว่ากลุ่มผู้ทดลอง "ยิ้ม" บ่อยกว่า เมื่อภาพ "นักธุรกิจ" ต้องพบเจอกับเหตุการณ์สุดซวย อย่างการถูกรถเหยียบน้ำใส่

"การไม่เห็นใจในเพื่อนมนุษย์ บางครั้งก็ไม่เกี่ยวกับระบบสมอง" ดร.มินา ซิคารา (Mina Cikara) เจ้าของการทดลองและนักจิตวิทยาจาก Harvard University กล่าว "แต่บางครั้งก็เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่รู้สึกแบบนี้ก็จริง แต่ก็มีคนจำนวนมหาศาลเลยแหละ ที่เคยสัมผัสความรู้สึกสะใจเล็ก ๆ แบบนี้"

ผลการวิจัยยังบอกอีกว่าใครก็ตามที่รู้สึกแฮปปี้กับความล้มเหลวของคนอื่น หรือชอบที่จะเห็นผู้อื่นตกทุกข์ได้ยาก มีแนวโน้มว่าเป็นคน Self Esteem ต่ำ กล่าวคือที่จริงแล้วตัวเองเป็นคนไม่มั่นใจในตัวเอง ขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง จึงมักรู้สึกมีสุข เวลาเห็นคนที่เหนือกว่าเป็นทุกข์ กลับกันคนที่มีความมั่นใจในตัวเอง จะไม่ค่อยรู้สึกแบบนี้

ความริษยาที่เกิดจากความรู้สึก "ไม่เท่าเทียม"

นักวิทยาศาสตร์ยังบอกอีกว่า Schadenfraude นั้นเป็น "กลไกป้องกันตัว" อีกแบบของมนุษย์ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเราสัมผัสได้ถึงความไม่เท่าเทียม ไม่ว่าจะรู้สึกมีความสุขเวลาคนที่อยู่เหนือกว่าตกต่ำ หรือเวลาที่เรารู้สึก "ไม่แฟร์" ที่คนนี้ได้ดี และรู้สึกดีเวลาที่บุคคลดังกล่าวประสบเหตุการณ์โชคร้าย

เจ้า Schadenfraude เป็นความรู้สึกที่ใคร ๆ ก็ต้องเคยรู้สึกอย่างน้อยสักครั้งในชีวิต แต่เมื่อมันเกิดขึ้นในใจ ก็ขอให้รู้ว่ามันเป็นความรู้สึกที่เป็นพิษ ไม่ก่อให้เกิดความสงบใด ๆ แต่กลับทำให้จิตใจว้าวุ่นเข้าไปอีก

ลองแก้ปัญหาด้วยการอย่าไปให้ความสำคัญกับอารมณ์ Schadenfraude มากนัก อย่าให้ "ความสุขที่แสนอันตราย" นี้เติบโตในใจ จนบดบังความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ไปเสียหมดก็พอ

--

อ้างอิง

theguardian.com

success.com

unlockmen.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 42

  • Diamond Lam
    ถ้าคนที่พลาดเป็นคนดีทำประโยชน์ให้สังคมไม่มีใครไปซ้ำหรอก แต่ข่าวที่ช่วงนี้คนล้มแต่ละคนก็นะ สร้างพญานาครุกที่ป่างี้ จัดปาร์ตี้วันเกิดงี้ ขายอาหารเสริมสรรพคุณครอบจักรวาลงี้
    28 ม.ค. 2564 เวลา 05.39 น.
  • คนบางคนก็มีความสุขในรูปแบบประหลาดๆ เช่น แกล้งคนอื่นแล้วมีความสุข เห็นคนอื่นดูแย่กว่าตนเองแล้วมีความสุข 555 ตลกดี แทนที่จะยินดีและมีความสุขถ้าคนอื่นเค้าดีกว่าตัวเอง มานั่งอิจฉา จริงๆ ก็มีความทุกข์นั่นแหละค่ะ แค่สุขแบบปลอมๆ หลอกตัวเองไปวันๆ
    27 ม.ค. 2564 เวลา 19.51 น.
  • มันต้องดูแต่ละคนปะ ถ้าคนที่พลาดเป็นคนที่ทำดีตลอด ก็ถือว่าแปลก แต่ถ้าคนที่ทำเลวมาตลอดพลาดพลั้ง มันก็สมควรปะ
    28 ม.ค. 2564 เวลา 05.12 น.
  • Serina
    มันมีมาตั่งนานแล้วว่ะ ไม่ว่าจะที่โรงเรียนรึว่าที่ทำงาน
    28 ม.ค. 2564 เวลา 00.42 น.
  • Rainbowsun
    เขาเรียกว่าบูลลี่เเหล่ะ เเต่ในส่วนตัวจะรู้สึกสะใจได้นั้น จะมาจาก คนที่เคยทำร้ายเราให้เจ็บมาก่อนนะ
    28 ม.ค. 2564 เวลา 07.20 น.
ดูทั้งหมด