ก่อนหน้านี้หมอเคยเขียนเรื่องความแตกต่างระหว่างภาวะ Burn Out กับซึมเศร้าไปแล้ว
หลังจากนั้นก็มีหลายคนเข้ามาขอคำปรึกษาเพราะเริ่มจะรู้ตัวว่า ภาวะ Burn Out กำลังค่อยๆกลืนกินอารมณ์และความคิดจนถึงจุดที่รู้สึกกลัวว่าตัวเองจะป่วยหรือกำลังจะป่วย มองในอีกมุมก็ถือว่านี่เป็นสัญญาณที่ดีที่เราได้กลับมารู้จักสังเกตตัวเองอย่างแท้จริง และอยากจะดูแลตัวเองเบื้องต้นก่อนที่คำว่าโรคซึมเศร้าจะเข้ามาแทนที่
ครั้งนี้จึงขอแนะนำจุดสังเกตของภาวะ Burn Out และการดูแลตัวเองเบื้องต้น
สังเกตุโดยลองตอบคำถามเหล่านี้ดูนะคะ
ลืมตาตื่นมาตอนเช้า คุณเริ่มรู้สึกว่าไม่อยากลุกจากที่นอนเพราะไม่อยากจะออกไปทำงาน"รึป่าว"?
เวลาทำงาน คุณเริ่มรู้สึกว่าทุกอย่างช่างน่าหงุดหงิดหรือเบื่อหน่ายไปหมด"รึป่าว" ทั้งที่ผู้คนและงานก็เหมือนเดิม?
คุณเริ่มจะหลีกเลี่ยงอะไรบางอย่างในงานอย่างที่ไม่เคยเป็น"รึป่าว"?
คุณมีความคิดว่าถ้าเอางานออกไปจากชีวิต คุณจะเป็นคนที่มีความสุขขึ้นในทันที"รึป่าว"?
แต่ปัญหาคือยังมีความจำเป็นต้องทนทำงานนั้น
คุณเริ่มรู้สึกว่าร่างกายคุณอ่อนแอลง แต่ยังต้องฝืนต่อไปเพื่อทำงาน"รึป่าว"?
คุณเริ่มนับถอยหลังให้ถึงเวลาเลิกงานเร็วๆอยู่"รึป่าว"? ทั้งที่ก่อนหน้านี้ก็เคยมีความสนุกกับงาน
คุณเริ่มรู้สึกว่างานที่ทำอยู่ไม่ได้ทำให้คุณใช้ศักยภาพที่ตัวเองมี จนเริ่มรู้สึกว่าคุณค่าของตัวคุณลดลง"รึป่าว"?
แค่คิดถึงเรื่องงาน ไม่ว่าคุณจะกำลังอยู่กับใครเวลาไหน คุณก็พร้อมที่จะเครียดได้ตลอดเวลา"รึป่าว"?
ถ้าตอบว่าใช่ในทุกข้อ ก็บอกได้ว่าคุณกำลังอยู่ในภาวะ Burn out แล้ว
แล้วเราควรดูแลตัวเองอย่างไร? คนที่กำลังอยู่ในภาวะนี้ส่วนมากจะรู้สึกว่าตัวเองเหมือนหนูที่วิ่งอยู่ในกงล้อ
ยิ่งเหนื่อยยิ่งวิ่ง หยุดวิ่งก็ไม่ได้เพราะกลัวชีวิตจะยิ่งแย่ แต่หารู้ไม่ว่าถ้าไม่หยุดวิ่งชีวิตจะยิ่งแย่
ดังนั้นสิ่งที่คนรู้ตัวว่าตัวเองกำลัง Bourn out ควรทำคือ
1. หยุด : เพื่อทบทวบอย่างตั้งใจว่า สาเหตุของการ Bourn out คืออะไรกันแน่ เพราะภาวะนี้ส่งผลต่ออารมณ์ ความคิด สิ่งที่เราคิดว่าเป็นสาเหตุอาจจะไม่ใช่รากของสาเหตุที่แท้จริง เช่น เรารู้สึกว่างานล้นเกินกว่าจะทำไหว
เลยทำให้ Burn out แต่ความจริงถ้าเป็นงานที่ถนัดและชอบต่อให้เยอะแค่ไหนก็ไม่รู้สึกแบบนี้
รากคือฝืนทนทำงานที่เราไม่ถนัดไม่ใช่ปริมาณงาน เป็นต้น การเข้าใจรากของปัญหาจะทำให้เราเห็นหนทางแก้ปัญหา
2. Remindset : นึกถึงวันแรกที่เราเข้ามาทำงาน เราเข้ามาทำงานนี้เพราะอะไร? คำตอบเราอาจหลากหลาย เช่น เพราะจำเป็น (จำเป็นอย่างไร?) , เพราะเงินดี ( ตอนนี้ดีอยู่ไหม?) เพราะเอาใจพ่อแม่(พ่อแม่เคยชื่นชมไหม?)
เพราะเป็นงานที่ชอบ ( ยังชอบอยู่ไหม?), เพราะสังคมการทำงานดี (ยังดีอยู่ไหม?) เป็นต้น การกลับมาที่จุดเริ่มต้นว่าเพราะอะไรเราถึงทำงานนี้ จะทำให้เรามองเห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำอีกครั้ง ถ้าคำตอบคือทุกอย่างมันเปลี่ยนไปแล้ว ก็ลองปรับทิศนคติต่องานที่ทำใหม่ให้เราทำงานอย่างมีความสุขได้ในปัจจุบัน
3.ผ่อนคลาย : เราอาจจะต้องรับรู้ว่า ในภาวะเครียดนั้นไม่ว่าเรารับรู้อะไรก็จะง่ายต่อการตีความเป็นด้านลบไปหมดการอยู่ในภาวะ Bourn out ถือเป็นภาวะยากลำบากของชีวิต เราอาจจะมาถึงจุดที่ต้องคิดหรือตัดสินใจครั้งสำสัญ ดังนั้น
เราควรสร้างการผ่อนคลายให้ร่างกายและจิตใจโดยเร็วที่สุด เพื่อการตัดสินใจหรือใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป การผ่อนคลายที่ทำได้ทันทีคือ การออกกำลังกาย ( การเสียเหงื่อจะทำให้สารแห่งความสุขที่สมองหลั่ง)
นอนให้เพียงพอ ( เพื่อให้สมองไม่อ่อนล้า) ออกเดินทางท่องเที่ยวหรือไปในที่ๆเราสบายใจหรือมีความผูกพัน (เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศและเห็นความหลากหลาย) ทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบทำสมัยเด็กๆอีกครั้ง ( เพื่อสัมผัสพลังความสดใสเหมือนเป็นเด็กอีกครั้ง) เป็นต้น
4.หลีกเลี่ยงการรับสิ่งที่เป็นมลพิษทางความคิดเข้ามาในชีวิต : เช่น ไม่เสพข่าวที่ไม่สร้างสรรค์ ไม่อยู่ใกล้คนที่กล่าวโทษทุกอย่างในชีวิตยกเว้นตัวเอง เป็นต้น
*5.เรียนรู้ทักษะใหม่ๆที่ไม่เคยรู้แต่อาจใช้ประโยชน์กับงานได้ : * เช่น เราเคยทำงานเป็นผู้ปฏิบัติงานมาตลอด วันนึงได้เลื่อนเป็นหัวหน้าทีมอาจต้องหาโอกาสไปเรียนรู้เรื่องการเป็นผู้นำ หรือเราทำงานเป็นผู้ประสานงานมาหลายปี ถ้าเรามีทักษะการพูดกับลูกค้าหรือการพรีเซ้นงานอาจทำให้เราได้ขยับทำงานขายซึ่งได้ค่าตอบแทนมากขึ้น เป็นต้น
6. สื่อสาร : การเล่าสิ่งที่ทำให้เราไม่สบายใจกับคนที่พร้อมจะรับฟัง หรือหากไม่รู้จะคุยกับใครการเขียนถึงสิ่งที่เราไม่สบายใจจะช่วยให้เราได้เรียบเรียงความคิดและระบายความรู้สึกได้ดีขึ้น
7. หาโอกาสเป็นผู้ให้ : ออกไปทำกิจกรรมที่เรารู้สึกว่าได้ทำประโยชน์ให้ผู้อื่น ความรู้สึกถึงการเป็นผู้ให้อาจช่วยให้ความมั่นใจในคุณค่าของตัวเองกลับมาง่ายขึ้น
เราห้ามภาวะ Burn out ไม่ให้เกิดกับชีวิตเราไม่ได้ แต่เราไม่ยอมให้ภาวะ Bourn out เอาชีวิตเราไปได้
ด้วยการมองมันเป็นสัญญานของการกลับมาเรียนรู้และดูแลตัวเอง มองว่ามันเป็นแค่สภาวะที่ผ่านมาแล้วสักวันจะผ่านไป มองว่าภาวะนี้ไม่ได้เกี่ยวกับคุณค่าในตัวเรา แล้วการจะเปลี่ยนงานหรือไม่ก็เป็นแค่ทางเลือกของชีวิตไม่ได้แปลว่ายอมแพ้ ขอเป็นกำลังใจให้คนที่กำลัง Boun out ทุกคนเพราะคนเขียนก็เพิ่งผ่านมาเช่นกัน
https://youtu.be/TGEeeCbkfgo
*เพลงยังอยากรู้ ( Original version) *
www.earnpiyada.com
----------------------------------------------------------------------------
Page FB หมอเอิ้นพิยะดา Unlocking Happiness
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10156783544953550&id=306538978549
----------------------------------------------------------------------------
ความเห็น 5
แต่ผมว่าบางครั้งในการที่ตั่งเป้าหมายไว้ให้กับชีวิตก็อาจสามารถที่จะช่วยทำให้อะไรๆดีขึ้นมาได้เหมือนกันนะครับ.
14 ส.ค. 2562 เวลา 13.12 น.
nee
ขอบคุณนะคะ👍
14 ส.ค. 2562 เวลา 12.36 น.
ลิษา リサ
สองสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ Burn out มากกกก ถึงที่ทำงานปุ๊บ ร้องอยากกลับบ้านปั๊บ จนเมื่อวันศุกร์เสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา เพื่อนชวนไปเวิร์คช็อป ตอนแรกแค่กะจะไปสะสมชั่วโมงบินเล่นๆ แต่ดันได้ความรู้และวิธีการไปใช้ในการทำงานจริงๆ ก็เลยเหมือนไปเติมเต็มอะไรบางอย่างในใจที่มันใกล้จะมอดดับลงไป กลับมาสนุกกับงานใหม่ ได้คิดมากขึ้น ใช้ไอเดียมากขึ้น หาวิธีทำให้คนที่เราต้องดีลงานด้วยแฮปปี้ยิ่งขึ้น 😊 ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ นะคะคุณหมอ💕
14 ส.ค. 2562 เวลา 13.04 น.
Banz
พูดง่าย ได้เงิน
14 ส.ค. 2562 เวลา 12.12 น.
ถ้ามีภาระหน้าที่ ค่าข้าว ค่านม ค่าเทอมลูก ต้องดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า ลืมคำว่า burn out หรือซึมเศร้าไปได้เลย เพราะเราต้องยืนหยัดสู้ ไม่มีเวลามาคิดเล็กคิดน้อยหรอกจะบอก โน่นไปฟังเพลง สวัสดีวันจันทร์ ของพี่ปูกะฟักกลิ้งโน่น
16 ส.ค. 2562 เวลา 04.10 น.
ดูทั้งหมด