โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

นะคะ/นะค่ะ ปัญหาโลกแตก-ใช้ผิดชีวิตเปลี่ยน ?

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 10 มี.ค. 2565 เวลา 17.00 น. • O.J.

“นะคะ,นะค่ะ” 

ภาษาไทย คือเป็นภาษาที่ถูกพูดถึงและติดอันดับภาษาที่ยากเพราะมีการผันเสียง,วรรณยุกต์,ตัวสะกด รวมถึงความหมายของคำที่ค่อนข้างซับซ้อน องค์ประกอบเหล่านี้จึงทำให้ต่างชาติยกให้ภาษาไทยเป็นภาษาที่เรียนยาก ซึ่งบางครั้งเจ้าของภาษาเองก็ยังใช้ไม่ถูกต้อง อาทิ “นะคะ,นะค่ะ” 

“นะคะ,นะค่ะ” ถึงจะเป็นคำที่ไม่กี่พยางค์แต่ก็มักใช้ผิดเสมอ เนื่องด้วยการผันวรรณยุกต์ที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิดเพราะ  "ค่ะ" (เสียงเอก) กับ "คะ" (เสียงตรี) ซึ่งการใช้ผิดส่วนใหญ่พบบนโลกออนไลน์เป็นส่วนมาก จนพาไปสู่การโต้เถียงกันอย่างดุเดือดและการตั้งกระทู้ที่ว่า ‘ทำไมคนถึงมักใช้คำว่านะค่ะ’ (แต่ไร้ปัญหาในการดำเนินชีวิตในประจำวัน)

นะคะ ผ่านมากี่ปีก็มักใช้ผิด ? ซึ่งจากข้อมูลในปี 2016 พบว่าในโซเชียลคนไทยมักเขียน คำว่า "นะคะ" เป็น "นะค่ะ" มากถึง 948,640 ครั้ง จากตัวเลขดังกล่าวทำให้มีเกิดแรงกระเพื่อมในสังคมและโลกออนไลน์ดุจสร้างแคมเปญการใช้ภาษาไทยให้ถูกมากยิ่งขึ้น

ปี 2016 จนถึง ปี 2021 นับเป็นเวลากว่า 5 ปี สังคมไทยยังคงใส่ใจถึงหลักการใช้ภาษาที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อาทิการแนะนำการใช้ ‘นะคะ’ บนโลกออนไลน์กับบุคคลอื่นที่ยังสับสน 

จากข้อมูลในปี 2021 พบว่ายังมีการใช้ ‘นะค่ะ’ ดังเดิม แต่จำนวนการใช้ก็ลดลงเช่นกัน เหลือเพียง 899,382 ครั้งเท่านั้น ดังนั้นตลอดระยะเวลากว่า 5 ปี คำว่า 'นะค่ะ' ได้หายไปจากโลกออนไลน์ ถึง 49,258 ครั้ง แม้จะไม่ได้หายสาบสูญไปเลย แต่ก็เป็นแนวโน้มที่ดีขึ้นกับการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง 

ใช้ผิดชีวิตเปลี่ยน ? จริง ๆ แล้วในบริบททางสังคมก็ถือว่าไม่ได้มีความผิดร้ายแรงถึงขั้นต้องประจานให้โลกรู้ว่าคุณใช้ ‘นะค่ะ’ แต่ทว่าเรื่องจะไม่แดงขึ้น ถ้าคุณอยู่ในบทบาทของการทำงานหรือต้องสื่อสารกับบุคคลอื่น แล้วเกิดใช่ ‘นะค่ะ’ ความน่าเชื่อถือในการทำงานจะลดลงทันที 

แม้ในปัจจุบันจะมีการสนับสนุนการใช้ ‘นะคะ’ ให้ถูกต้องก็จริง แต่ในโลกออนไลน์ก็มักจะเกิดการสร้างคำขึ้นมาใหม่ ถึงไม่ถูกหลักการสื่อสาร แต่เข้าใจกันในโลกออนไลน์ อาทิ ‘สวยแบบนะค่ะ’ เมื่อลองถอดรหัสถึงความหมายนั้นพบว่า 

‘สวย’ หมายถึง ความน่าพึงพอใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ งาม เป็น สวยงาม 

‘นะค่ะ’ ไม่มีความหมายและไม่มีในพจนานุกรม

เมื่อนำทั้งหมดมารวมกัน 'สวยแบบนะค่ะ' จึงหมายถึง สวยแบบผิด ๆ ซึ่งคำนี้มักใช้ในโลกออนไลน์และกลุ่มเพื่อนที่สนิทสนมเพียงเท่านั้น (อย่านำไปใช้กับคนที่ไม่สนิทนะ ไม่เยี่ยงนั้นโดนดีแน่)

ดังนั้นคำว่า ‘นะค่ะ’ จึงไม่มีในพจนานุกรมไทยและเมื่อรู้เยี่ยงนี้แล้วก็ต้องหันมาใช้ภาษาไทยถูกต้องตามหลักการผันเสียง,วรรณยุกต์,ตัวสะกด เพื่อการสื่อสารที่ถูกต้อง ทั้งนี้หากเกิดคันไม้คันมืออยากใช้คำว่า ‘นะค่ะ’ ก็มีเพียง 1 ประโยคบอกเล่าที่ว่า “พี่คะขอไปลงแจ้งวัฒนะค่ะ” 

อ้างอิง 

dictionary.orst.go.th

การตลาดวันละตอน

blognone

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0