โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

บ่นไปก็เท่านั้น! “อาหารข้างทาง” อาหารอุดมโซเดียม! ที่คนกินไม่มีสิทธิ์เลือก!

Another View

เผยแพร่ 03 ก.พ. 2562 เวลา 01.00 น.

บ่นไปก็เท่านั้น! “อาหารข้างทางอาหารอุดมโซเดียม! ที่คนกินไม่มีสิทธิ์เลือก!

“อาหารสตรีทฟู้ด” หรืออาหารริมทางเท้า เป็นที่ฝากท้องของพนักงานออฟฟิศหรือคนทั่วไปที่เดินผ่านไปมา เพราะด้วยประเภทอาหารที่หลากหลาย ราคาย่อมเยา รสชาติอร่อยถูกปากคนทุกเพศทุกวัย อาจจะมีหลาย ๆ คนที่ไม่เห็นด้วยกับอาหารสตรีทฟู้ด ในแง่สถานที่ตั้งของร้านที่ตั้งอยู่บนทางเท้าซึ่งสร้างความยากลำบากให้แก่คนเดินเท้า แต่ทว่าสตรีทฟู้ดของไทยก็ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิ่งที่ต้องมาลิ้มลองของนักท่องเที่ยวหากได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย 

แต่เคล็ดลับความอร่อยที่เรา ๆ ต่างรู้ดีกันของอาหารสตรีทฟู้ดก็คือ “ผงปรุงรส” หลายคนรู้อยู่แล้วแต่ก็ยังเพิกเฉย แต่ก็ยังมีคนอีกส่วนหนึ่งที่ไม่รู้จริง ๆ ว่าการใส่ผงปรุงรสลงไปในอาหารเยอะ ๆ นั้น สุดท้ายแล้วมันมี “โซเดียม” อยู่ในปริมาณเท่าไหร่?

ข้อมูลพื้นฐานที่ผู้บริโภคควรทราบคือ องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัม หรือไม่เกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม หากเฉลี่ยแบ่งเป็น 3 มื้อย่อย ปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อมื้อจึงเท่ากับมื้อละ 600 มิลลิกรัม และให้โควตาโซเดียมสำหรับของว่างอีกราว 200 มิลลิกรัม

ถึงแม้ว่า WHO จะกำหนดเกณฑ์มาตรฐานไว้เช่นนั้น แต่ข้อมูลจาก การศึกษาปริมาณโซเดียมและโซเดียมคลอไรด์ในอาหารบาทวิถี(street foods) ที่จำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานครประจำปี2560” โดยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ชี้ให้เห็นว่า อาหารถุงที่ขายอยู่ริมทางเท้านั้น ไม่ว่าจะเป็นกับข้าวหรืออาหารกล่องจานเดียว เฉพาะมื้อเดียวก็มีปริมาณโซเดียมเกิน 1,500 มิลลิกรัม 

ผลการศึกษานี้ได้สุ่มตัวอย่างอาหารหาบเร่แผงลอย ริมทางเท้า ตลาด รวมทั้งศูนย์อาหารจากที่ต่าง ๆ รวมทั้งหมด 221 แห่ง ซึ่งมีอาหารทั้งหมด 75 ชนิด แบ่งเป็นกับข้าว 26 ชนิด อาหารจานเดียว 29 ชนิด และอาหารว่างและขนม 20 ชนิด

https://waymagazine.org/sodium_street_foods/

https://waymagazine.org/sodium_street_foods/

https://waymagazine.org/sodium_street_foods/

จากงานวิจัยจะเห็นว่าปริมาณโซเดียมในอาหารริมทางเท้าที่สุ่มตัวอย่างมามีปริมาณสูงทั้งสิ้น แม้กระทั่งขนมและอาหารว่างบางอย่างก็มีปริมาณโซเดียมเกิน 1,000 มิลลิกรัม อาหารบางอย่างที่ไม่น่าจะมีปริมาณโซเดียมเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อหนึ่งมื้ออาหารอย่าง ฉู่ฉี่ปลา ก๋วยเตี๋ยวน้ำ หรือต้มเลือดหมูที่ดูจะเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ และมีวิธีประกอบอาหารที่แทบไม่ต้องปรุงรสให้จัดจ้าน แต่ก็กลับมีปริมาณโซเดียมสูงเกินมาตรฐานทั้งสิ้น จึงแน่ชัดว่านั่นหมายถึงการใส่ผงปรุงรสเพิ่ม เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้พ่อค้าแม่ขาย

“สตรีทฟู้ด” บ้านเรายังมีโอกาสพัฒนาไปไกลกว่านี้ได้ หากใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค ลดโซเดียม และเปลี่ยนความเชื่อจากการใช้ผงปรุงรส แล้ววันหนึ่งอาหารริมทางจะถูกยกระดับเป็นอาหารทางเลือกที่ทุกคนไว้วางใจ

อ้างอิง

https://mgronline.com/qol/detail/9610000076951

https://goodlifeupdate.com/healthy-body/105892.html

https://waymagazine.org/sodium_street_foods/

ภาพประกอบ

https-//maanow.com/อาหาร/347-กรุงเทพมหานคร-ติดอันดับ-1.html
https-//www.sanook.com/travel/1400077/
https-//www.sbs.com.au/yourlanguage/thai/th/audiotrack/bitter-sweet-attempt-under-fire?language=th
http-//www.ba-bamail.com/content.aspx?emailid=24515

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 38

  • sirikorn
    นั่นนะสิ, บ่นไปทำไม, ถึงยังไงก็ต้องกิน, กินไปเถอะข้างทางไม่ข้างทางก็เหมือนกัน
    08 ก.พ. 2562 เวลา 06.06 น.
  • ¥นุคุง×ฝันหวาน¥
    ทำไงได้ทำกับข้าวไม่เป็นนิหน่า#ก็ต้องอาศัยกินตามร้านพวกนี้น่ะล่ะ
    05 ก.พ. 2562 เวลา 16.18 น.
  • เรื่องมาก ทำแดกเอง จะได้ถูกปาก ถูกใจ
    04 ก.พ. 2562 เวลา 08.51 น.
  • ไม่มีใครบังคับให้ซื้อแดก..ว่ามั้ย
    03 ก.พ. 2562 เวลา 17.31 น.
  • Pummy
    คนกินติดหวาน ติดเค็มเค้าก็ขายตามนั้น ร้านทำรสชาติพอดีๆหายาก ทำจืดกว่าคนอื่นก็ขายไม่ได้
    03 ก.พ. 2562 เวลา 16.12 น.
ดูทั้งหมด