โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“ครูลิลลี่” ชำแหละปัญหา! “การศึกษาไทย” แก้เป็นสิบปีก็วนเวียนอยู่ที่เดิม!

TheHippoThai.com

เผยแพร่ 23 ธ.ค. 2561 เวลา 13.00 น.

“ครูลิลลี่ชำแหละปัญหา! “การศึกษาไทยแก้เป็นสิบปีก็วนเวียนอยู่ที่เดิม!

เมื่อ 20 ปีก่อนหน้า เราได้รู้จักกับ “Tutor ภาษาไทยสายพันธุ์ใหม่” ผู้มีเอกลักษณ์ในการสอนที่สนุกสนาน เข้าใจ และประทับใจนักเรียน ฉีกทุกกฏของความกดดันในการศึกษา เปิดศักราชใหม่ให้กับนักเรียนมัธยมศึกษาไทยได้รู้จักกับการ Live & Learn ไปพร้อม ๆ กัน ชื่อของ ครูลิลลี่- กิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์ ก็ก้าวขึ้นสู่บทบาท Tutor ชื่อดัง พร้อมกับการทำให้แวดวง “Tutor” คึกคักอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน 

หากแต่สิ่งสำคัญ คงไม่ใช่กระแสความดังในเวลานั้น แต่เป็นการอยู่ในบทบาท Tutor ภาษาไทยของครูลิลลี่ ที่ยังคงได้รับการตอบรับอันดี และโดยเฉพาะ“ความรัก” จากลูกศิษย์ลูกหาที่ครูลิลลี่ ได้ส่งพวกเขาข้ามไปสู่จุดหมายต่างๆ มากว่า 20 ปีแล้ว วันนี้จึงเป็นโอกาสอันดี ที่ครูลิลลี่ให้เกียรติเปิดห้องเรียนของครู มาให้เราได้นั่งพูดคุยถึงเรื่องราวการเป็น Tutor และที่สำคัญที่สุดคือ “มุมมองต่อการศึกษาไทย” ผ่านสายตาคุณครูลิลลี่ ตั้งแต่วันแรกที่จับไมค์ขึ้นสอน จนกระทั่งวันนี้ 

“ห้องเรียนที่มีความสุขคือสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนการสอนใน.. นี้ 

“…การเป็นครูในปัจจุบันเราต้องควบคุมเกมให้เข้มข้นกว่าเดิมสมัยก่อนไม่มีมือถือเด็กสมัยนี้แอบเล่นLINE Facebook Instagram แล้วมันเป็นระบบสัมผัสเรามองไม่ดีนึกว่าเด็กกำลังจดแต่ถ้ามองดีๆเด็กไม่ได้สนใจกับบทเรียนเราก็ต้องมีวิธีพูดวิธีสอนวิธีควบคุมเกมให้เขารู้สึกว่าต้องหยุดและหันมาสนใจบทเรียนต้องพูดยังไงก็ได้ให้เขารู้สึกเชื่อและไม่โกรธเราถ้าเราจะดึงให้เขามาสนใจบทเรียนเหมือนเดิมมันใช้ศิลปะเราก็เหนื่อยขึ้นต้องใช้พลังเยอะขึ้น

ที่ครูยึดมาต้องทำบรรยากาศในห้องเรียนให้มีความสุขสุขกับสนุกไม่เหมือนกันนะบางคนนึกว่าเรียนกับครูเน้นเอาฮาเอามันไม่ใช่มันต้องมีความสุขบางทีครูสอนไม่ต้องมีมุกก็ได้แต่ต้องส่งแววตาส่งความรู้สึกที่ดีส่งความเอื้ออาทรคือต้องเป็นนางงามจักรวาลไม่ดุเด็กถ้าดุเกินไปต้องดึงสติกลับมาทำไงยังไงให้เขามีความสุขคือเราต้องปล่อยพลังที่มีรอยยิ้มและความสุขออกมาถ้ามีความกลัดกลุ้มรุ่มร้อนความอิจฉาริษยา 

ถ้ามีนางมารร้ายสิงเมื่อไหร่แววตาเราจะออกมุกเราจะไม่สนุกการสอนก็จะติด ๆขัด ๆและเด็กเวลาเขามองว่าครูกำลังรู้สึกอะไรยังไงเหมือนอยู่บ้านน่ะถ้าคนในครอบครัวส่งพลังลบให้เราเราก็สัมผัสได้รู้สึกว่าห้องนั้นเราไม่อยากจะเดินเข้าไปเลยนั่งในรถสองคนกับคนที่ไม่ถูกกันหรือคนที่ไม่ชอบรู้สึกว่าโลกนี้ทำไมใจร้ายกับฉันจังเลยต้องมานั่งกับเขาหนึ่งชั่วโมงรถติดมันนานนะทรมานจังเลยฉะนั้นฉันใดก็ฉันนั้นความสุขต้องสร้างได้ในห้องเรียนความสนุกความบันเทิงหรือมุกตามมาทีหลัง…”

“การสอนหนังสือคือการทำงานศิลปะ” คือวิธีการสอนในแบบฉบับครูลิลลี่

“…พื้นฐานเรามีตั้งแต่ม.1 เราติวหนังสือให้ผู้ชายใครจะนึกว่าติวหนังสือให้ผู้ชายหล่อๆตั้งแต่ตอนนั้นมันบอกว่าเราสรุปเป็นเราถ่ายทอดให้ผู้ชายรู้เรื่องจนเขาได้เกรด4 อะพอช่วงสอบเพื่อนก็จะมาให้ช่วยใครจะนึกว่าสิ่งนั้นที่เราทำให้ผู้ชายจะเป็นสิ่งติดตัว(หัวเราะ) พอเข้าเตรียมอุดมฯเราก็ติวให้เพื่อนหน้าที่ของเราทำยังไงให้เขาเข้าใจนี่แหละก็ไม่รู้ว่าเป็นพรสวรรค์หรือถูกฝึกมาเพราะตอนอยู่เตรียมอุดมก็เป็นนักโต้วาทีจนถึงจุฬาฯก็เล่นละครเป็นนักพูดสิ่งเหล่านี้คือการถ่ายทอดการสื่อสารที่เราทำเป็นมาตั้งแต่ม.1 แล้วเราเป็นนักพูดเราก็ไม่กลัวไมโครโฟนไม่กลัวคนดูเพียงแต่การสอนหนังสือเนื้อหาที่นำเสนอเป็นภาษาไทยแค่นั้นเองเราก็บิดเนื้อหาให้ง่ายกลมกล่อมให้สั้นวรรณคดีก็เล่ารามเกียรติ์ให้เหลือ5  นาทีพระอภัยมณีก็เหลือ2  นาทีแค่ต้องเล่นให้เป็นสรุปย่อให้เป็นทั้งหมดมันเป็นศิลปะการถ่ายทอดทั้งนั้น 

มันมีกลอนที่ครูเคยเรียนแล้วจำอยู่ในหัวเลยคนเรามีความรู้แต่ไม่มีปากลำบากกายมันสอนใจเราเหมือนกันนะขอให้เราพูดเป็นสื่อสารเป็นเรารู้จุดเปลี่ยนเราคืออะไรเราเอามาใช้ให้เป็นศิลปะการแสดงและการพูดมันอยู่ในสายเลือดเด็กต้องสอบหลายวิชาไหนจะฟิสิกส์เคมีชีวะเราต้องทำภาษาไทยให้ไม่ใช่ปัญหาและภาระให้เขารู้สึกจำง่ายๆเข้าห้องสอบอย่าลืมว่ามันเครียดและเร็วต้องแข่งกับเวลาเขาต้องรู้เลยว่าคำตายคำเป็นเป็นยังไงสระเสียงสั้นเสียงยาวเป็นยังไงครุ-ลหุเป็นอย่างไรกลอนแปดโคลงสี่สุภาพบังคับอะไรไม่เหมือนกันเลยเยอะไปหมดเพราะมันเป็นสิ่งที่เราถนัดเราก็เลยย่อยเป็น…”

“เด็กไม่พัฒนาความคิดคือปัญหาที่สำคัญที่สุดสำหรับการศึกษาไทย”

“…ปัญหาสำคัญที่สำหรับการศึกษาไทยสำหรับครูก็คือเด็กไม่พัฒนาความคิดเหมือนเด็กฝรั่งบ่าย2-3 ก็กลับบ้านแต่งตัวก็ฟรีสไตล์หนังสือหนังหาก็ไม่ได้หอบเป็นบ้าเป็นหลังหรือต้องใส่กระเป๋าต่างหากบ้านเราแข่งขันกันเน้นปริญญาเน้นสถานบันเด่น ๆดัง ๆเมื่อคนเคารพบูชายกย่องคนประเภทนี้คนก็จะอยากสอบเข้าแบบนี้ไงก็เน้นตัวเลขเป็นตัวตัดสินชีวิตคนหน้าที่เราเป็นครูเราก็ต้องสอนนอกจากสอนวิชาการแล้วก็ต้องสอนตรงนี้ให้เขาสำคัญที่สุดปัญหาคือเด็กสมัยนี้ขาดAttitude ขาดทัศนคติมุมมองในการใช้ชีวิตคือเด็กต้องมีสิ่งนี้ด้วยไม่ใช่เก่งอย่างเดียวคุณธรรมคุณมีวิชาการคุณมีแต่ตรงนี้คุณต้องทำพาชีวิตได้สำคัญที่สุดคือตรงนี้สิ่งนี้คือสิ่งที่เด็กไทยขาด…”

สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับการศึกษาไทยคือเด็กสมัยใหม่เติบโตมาแบบยัดเยียดความรู้” 

“…สงสารเด็กๆเปรียบเทียบนะเหมือนไปเร่งปุ๋ยเขาถ้าต้นไม้ไปใส่ปุ๋ยฉีดดอกฉีดยาฆ่าแมลงเขาเป็นต้นอ่อนยังรับสารพิษไม่ไหวหรอกไปอัดตั้งแต่เด็กๆหรือภาษาต่างชาติไปเสริมตั้งแต่อนุบาล.1 แทนที่เด็กจะได้เรียนรู้ธรรมชาติของภาษาแค่ไทยก็ยังไม่รู้เรื่องเลย(หัวเราะ) จะบอกว่าบางทีไปเร่งเร่งดอกเร่งใบเร่งผลเกินไปควรจะให้เป็นไปตามธรรมชาติ

และเด็กบางคนไม่ชอบวิชาการแต่เราปลูกฝังยัดเยียดว่าลูกต้องเรียนจบชั้นนี้ต่อปริญญานะแต่จริงๆเขาควรไปทางแยกบางทีจบม.3  แล้วไปสายอาชีพได้เป็นช่างเหล็กช่างยนต์หรือบางคนชอบทำอาหารก็ไปเป็นเชฟเลยชอบวาดรูปชอบดนตรีก็ไปโรงเรียนที่สอนศิลปะสอนดนตรีต่างหากคุณไม่ต้องมาม. 4 - 5 - 6 พอเสร็จก็มหาวิทยาลัยคือจะบอกว่าทางขึ้นเขาไม่จำเป็นต้องเป็นทางเดียวกันหรอกคุณมาทางหลังเขาจ้างนายพรานขึ้นหรือคุณมาเฮลิคอปเตอร์ก็ถึงยอดเขาเหมือนกัน 

คนไทยชอบมีPattern ปริญญาตรีแล้วก็โทเอกซึ่งเสียดายนะลูกศิษย์บางคนเรียนอยู่ปี2  ปี3 แล้วต้องลาออกไม่ได้ชอบบริหารธุรกิจที่พ่อแม่ยัดเยียดไม่ได้ชอบหมอวิศวะรู้มั้ยไปเรียนอะไรไปเรียนกุ๊กไปเรียนดุสิตธานีไปเรียนต่างประเทศแล้วรุ่นน้องหลายคนจบปริญญาตรีเป็นช่างแต่งหน้าจริงๆคุณไม่ต้องเรียนปริญญาตรีก็ได้คุณก็จบม. 3 เรียนศิลปะเรียนวาดรูปเรียนแต่งหน้านั่นคืออาชีพไปเลยเสียดายเสียเวลาโหตั้ง7 ปีคุณเอาเวลาตอนนั้นไปเป็นช่างแต่งหน้าตั้งแต่ตอนม.3  ก็ได้คือเขาต้องมาตามPattern ก่อนไงแล้วก็ไม่รู้ตัวเอง…”

ปัญหา “เศรษฐกิจและการศึกษา” คือสองสิ่งที่ต้องแก้ไขควบคู่กันมาสำหรับครูลิลลี่

“…บ้านเราเมืองเรามันต้องแก้ไข2  ปัญหาคู่กันปัญหาเศรษฐกิจกับปัญหาการศึกษามาด้วยกันบางบ้านเด็กอยากเรียนแต่พ่อแม่ยากจนมันต้องให้ครอบครัวกินอิ่มนอนหลับด้วยปากท้องไปด้วยการศึกษาก็ต้องไปด้วยไม่ใช่เร่งพัฒนาการศึกษาอย่างเดียวแต่ลืมความเป็นจริงบนโลกพ่อแม่ก็ต้องทำมาหากินต้องเลี้ยงลูกต้องส่งลูกมันเป็นปัญหาลูกโซ่มากกว่าถ้าเลือกได้ถ้าได้เป็นนายกรัฐมนตรีสองกระทรวงนี้ต้องมาคู่กันเลยเรื่องอื่นเก็บไว้ก่อนฉันจะเอางบประมาณทุ่มเรื่องความเป็นอยู่ของประชาชนเศรษฐกิจปากท้อง 

แล้วบ้านเราเมืองเราคนจนเยอะ  อยากส่งลูกเรียนอยากให้ลูกมีการศึกษาแล้วต้องทำยังไงล่ะ?  รัฐก็ต้องแบกภาระให้กู้ให้ยืมการศึกษามันไม่ใช่ปลายเหตุการศึกษาที่ดีมันต้องมาจากปากท้องครอบครัวที่มีความเป็นอยู่ที่ดีก่อนแล้วการศึกษาไปด้วยกันแต่สุดท้ายแล้วครูอยากให้บ้านเราเป็นอย่างภูฏานคือไม่ต้องเน้นเป็นประเทศที่ร่ำรวยเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเราอยู่ภูเขาเราก็อยู่ได้เป็นประเทศที่มีความสงบสุขไม่ต้องไปแข่งกับอเมริกาแข่งกับญี่ปุ่นแข่งกับเกาหลีเราไปแข่งไม่ได้เพราะลักษณะคนเราไม่เหมือนกันลักษณะประเทศเราเป็นประเทศเกษตรกรรมเราเป็นเมืองพุทธอยู่แบบพอเพียงเราเอาศาสตร์ด้านศาสนาและเกษตรกรรมมาเชื่อมโยงสิภูฏานก็ไม่ได้แตกต่างกับไทยเลย 

คือเราไม่ใช่ฝรั่งเศสอเมริกาอังกฤษญี่ปุ่นเกาหลีต้องไปดวงจันทร์เหรอไม่ใช่รึเปล่าเราต้องดูตัวเราเองก่อนเราเป็นประเทศเล็ก ๆลักษณะความเป็นอยู่วิถีชีวิตคนเป็นอย่างนี้ไปมุ่งเศรษฐกิจเทคโนโลยีก่อนครูว่าไม่ใช่มันต้องตรงนี้ของคนต้องสร้างให้คนในประเทศมีจิตใจที่ดีมีความคิดที่ดีในการนำพาชีวิตให้รู้จักเพียงพอไม่ใช่คุณเป็นชาวพุทธแค่ในบัตรประชาชนต้องส่งเสริมคนตรงนี้สุดท้ายต่อให้เรียนสูงยังไงก็ตามมันไม่ได้นำพาประเทศไปสู่ความสงบสุขสุดท้ายมันต้องเป็นคนดีต้องสอนเด็กให้รู้จักความดีความรับผิดชอบคืออะไร…”

“อย่าตัดสินคนจากสถาบันที่เขาจบมาคือทัศนคติที่จะแก้ปัญหาการสอบเข้ามหาวิทยาลัย” ของไทย

“…การสอบเข้ามหาวิทยาลัยเด็กเครียดและคาดหวังว่าต้องได้ต้องติดเพราะคนไปนิยมชมชอบที่ปริญญาและชื่อเสียงมหาวิทยาลัยเพราะทุกคนชอบสิ่งนี้ไงถ้าเราเปลี่ยนมุมมองพ่อแม่รัฐบาลสื่อมวลชนและคนในสังคมว่าอย่าตัดสินคนจากสถาบันที่เขาจบมาหรือปริญญาต้องมีให้ตัดสินคนที่ความรับผิดชอบความดีงามของคน 

ถ้าเขาเกิดได้เป็นผู้ใหญ่ของประเทศเป็นนักการเมืองหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครูว่าคุณสมบัติพื้นฐานคือคุณต้องมีธรรมะต้องมีธรรมาภิบาลคุณต้องผ่านการปฏิบัติธรรมอย่างน้อยๆกี่คอร์สเพื่ออย่างน้อยให้ได้คนดีมาบริหารดังนั้นครูว่าเหมือนกันการตัดสินเด็กที่ใช้ตัวเลขตัดสินว่าสอบติดหรือไม่ติดตัวเลขมันเป็นแค่วิธีการที่ง่ายที่สุดในการคัดคนเข้าศึกษาต่อระบบมันเป็นอย่างนี้แหละบ้านเราระบบมันแก้ยากอะถ้าจะไปแก้ก็ไม่ไหวมันพูดยากจะให้ยื่นเกรดมาตรฐานแต่ละโรงเรียนก็ไม่เท่ากันอีกเราต้องค่อยๆแก้พัฒนาแต่ก็แก้มาหลายสิบปีแล้วก็วนเวียนอยู่กับการสอบเข้าตัวเลขอยู่อย่างนั้นต้องหาวิธีที่เหมาะสมที่สุดมันต้องแก้หลายระบบมากโครงสร้างประเทศเรา

แต่ไม่ว่าจะระบบไหนก็ตามขอให้เด็กมีความรับผิดชอบชั่วดีอันนี้สำคัญที่สุดไม่ว่าจะจบจากมหาวิทยาลัยแห่งไหนคุณทำงานและคุณต้องเป็นคนดีของสังคมสุดท้ายก็ขอให้เด็กลูกศิษย์ของฉันรู้จักความเก่งกับความดีเรียนเก่งก็ต้องมีความดีแค่นี้ให้คำง่าย ๆคือคนดีไม่ต้องเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ในสังคมประเทศชาติก็เจริญทำงานอยู่ที่ไหนกระทรวงไหนหน่วยงานไหนก็ทำให้สังคมเราอยู่ด้วยกันได้…”  ครูลิลลี่ทิ้งท้าย

*******************

ขอขอบคุณสถานที่ : โรงเรียน วิทย์-ศิลป์ Pinnacle (ภาษาไทย ครูลิลลี่)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0