โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เศร้าน้อยแต่เศร้านานคือสัญญาณของอะไร - หมอเอิ้น พิยะดา

THINK TODAY

เผยแพร่ 17 เม.ย. 2562 เวลา 11.00 น.

เคยมั้ยกับการเจอใครสักคนที่ดูเค้าเป็นปกติแค่คุยไปคุยมาเค้าบอกว่าเป็นโรคซึมเศร้า

เคยมั้ยที่เราสังเกตได้ว่าคนข้างกายเราหงุดหงิดง่ายกว่าปกติแต่ก็ไม่ได้ซึมเศร้า

เคยมั้ยที่รู้สึกว่าคนข้างๆเปลี่ยนไป ดูไม่ค่อยมีความสุขหลังจากมีปัญหาแต่ก็ยังสามารถดำเนินชีวิตได้

ถ้าเคยก็อาจจะต้องลงลึกลงไปหน่อยว่า การที่รู้สึกไม่ค่อยมีความสุขแต่ก็ไม่ถึงขนาดจมกับความเศร้านั้น

เริ่มเป็นมาเมื่อไร

เพราะโรคซึมเศร้า ( Major Depressive Disorder) ที่ว่าดูยากแล้ว

โรคเศร้าน้อยแต่เศร้านาน ( Dysthymic Disorder ) ดูยากยิ่งกว่า

Dysthymic Disorder เป็นความผิดปกติทางอารมณ์เศร้าชนิดหนึ่ง

อาการคล้ายกับซึมเศร้า แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า

และมักจะเกิดจากการที่ชีวิตมีปัญหาสำคัญที่เรื้อรัง แก้ไม่ตก อย่างเช่น สามีนอกใจ

แก้ปัญหาความสัมพันธ์ไม่ได้

เจ้านายกดดัน มีภาระทางการเงินสะสม

แม้ว่าเราจะเริ่มเคยชินกับปัญหา หรือปัญหานั้นดีขึ้น หรือปัญหานั้นหายไป

แต่เรารู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนไปไม่เป็นคนเดิม

ความอดทนน้อยลง เครียดง่ายขึ้น น้อยมากที่จะมีความสุขเหมือนที่เคยมี

และความเปลี่ยนไปนี้เริ่มส่งผลกับประสิทธิภาพของงานและความสัมพันธ์

*ด้วยลักษณะอาการเบื่อหน่ายซึมเศร้าที่ไม่ค่อยชัดเจนดังกล่าว ทำให้คนที่เป็นหรือคนรอบข้างมักตั้งข้อสงสัยว่า *

*“ เพราะอะไรเรา/เธอเปลี่ยนไป” “เพราะอะไรหงุดหงิดง่าย” “เพราะอะไรอ่อนไหวง่าย” โดยที่ไม่ได้นึกถึงเรื่องโรคซึมเศร้า *

ในทางการแพทย์เองการวินิจฉัยจะดูจาก

A. มีอารมณ์ซึมหรือเศร้าแทบทั้งวัน เป็นเวลา 2 ปี (ในเด็กและวัยรุ่นมักแสดงออกเป็นอารมณ์หงุดหงิดและเป็นนานอย่างน้อย 1 ปี)

B. ขณะที่ซึมเศร้าควรมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อยสองอาการขึ้นไป

1.เบื่ออาหารหรือกินจุ

2. นอนไม่หลับหรือนอนหลับมาก

3. อ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง

4.Low self – esteem ( เคยมั่นใจ)

5. สมาธิไม่ดี หรือลังเลในการตัดสินใจ (เดิมไม่มีปัญหา)

6. รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้

C. ในตลอดสองปีที่มีอาการ หากมีช่วงที่รู้สึกว่าหายหรือดีขึ้นก็จะยาวนานไม่เกิน 2 เดือน

แม้ว่าซึมเศร้าเรื้อรังจะไม่ใช่ความผิดปกติทางอารมณ์ที่รุนแรง หรือน่ากังวลใจต่อการฆ่าตัวตายเหมือนโรคซึมเศร้าแบบ Major depressive disorder แต่ซึมเศร้าเรื้อรังก็เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว และแอบแฝงไว้ด้วยการสูญเสียทางด้านความสัมพันธ์ เศรษฐกิจ และสังคม เพราะมีความเศร้าเรื้อรังเป็นตัวขัดขวางศักยภาพของชีวิต 

https://youtu.be/ZdjJJmb9nsg ความสุขง่ายๆจากการไปทานสุกี้เยาวราช 

https://youtu.be/X8J9DJKLUCs รักเท่าไรก็ยังไม่พอ

https://youtu.be/TKRtvyLIgjk ความสุขง่ายๆที่เราทำได้เอง เที่ยวแถวบ้านที่อำเภอภูหลวง

----------------------------------------------------------------------------

Page FB ดีต่อใจ โดย หมอเอิ้น พิยะดา : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10156783544953550&id=306538978549

----------------------------------------------------------------------------

IG : https://www.instagram.com/earnpiyada/

----------------------------------------------------------------------------

Website : http://www.earnpiyada.com/

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0