โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เสี่ยง! “กัญชา” ทางเลือกรักษา “ผู้ป่วย” ที่มี “ผลประโยชน์” ของใครหลายคนเป็นเดิมพัน!

TheHippoThai.com

เผยแพร่ 22 ต.ค. 2561 เวลา 05.00 น.

เสี่ยง! “กัญชา” ทางเลือกรักษา “ผู้ป่วย” ที่มี “ผลประโยชน์” ของใครหลายคนเป็นเดิมพัน!

น้ำมันกัญชาบริสุทธิ์ กล่อมมะเร็งให้เมา เบาหวานฟื้น คืนชีวิตให้พาร์กินสัน หวั่นระบบการเมืองสอดไส้ในช่องโหว่กฎหมาย หากคุมได้มีคุณมหาศาล แต่ถ้าพลาดเปิดโอกาสให้นายทุนใหญ่ที่ไม่ใส่ใจผลเสียต่อสังคม

หยดของน้ำมันกัญชาสกัด ถูกวางไว้ใต้ลิ้นของผู้ป่วยมะเร็ง ยับยั้งการลุกลามของเนื้องอก และช่วยให้ผู้ป่วยลืมความเจ็บปวดอันแสนทรมานจากขั้นตอนการทำเคมีบำบัด เป็นสิ่งที่บอกเล่ากันไปมาในชุมชนสายเขียว  ญาติของผู้ป่วยที่สิ้นหวังต่างเฝ้าดูข้อมูลคุณสมบัติบำบัดโรคร้าย และมองประเทศที่เจริญแล้วผ่านมติเห็นชอบให้ใช้เป็นยารักษาโรค จึงมีเสียงร้องดังขึ้นให้ปลดล็อกกฎหมายเพื่ออิสระในการวิจัย และเร่งปลูกใช้ในประเทศตลอดจนผลักดันเป็นสินค้าส่งออก

ประเทศไทยมีกัญชาสายพันธุ์ที่ได้รับการยกย่องว่าดีที่สุดในโลกอย่าง กัญชาสกลนคร พร้อมที่จะสกัดเอาสาร THC และ CBD ในอัตราที่เหมาะสมแก่การรักษาโรค  สาร THC [Tetrahydrocannabinol] ซึ่งนอกจากจะลดการบวมโตของแผลหรือเนื้องอกแล้ว มีผลวิจัยหลายสถาบันยืนยันว่า ระงับการเติบโตของเซลล์มะเร็ง สร้างภูมิคุ้มกันในระบบประสาท ในขณะที่ CBD ส่งผลต่อการลดความเครียด รักษาโรคทางจิต อีกทั้งยังมีผลวิจัยว่ายับยั้งการแพร่ตัวของเซลล์มะเร็งได้ผล

เพราะมีสัดส่วน THC ต่อ CBD ในอัตราที่พอเหมาะในกัญชาไทย  แต่เดิมใช้แค่ในการสันทนาการ จนเป็นที่มาของ ฟูลมูนปาร์ตี้ [Full Moon Party] เพราะฤทธิ์ของกัญชาไทยเสริมสร้างความสนุก ลดความเครียดได้ดีที่สุด เลื่องลือจนชุมชนตาหวานทั่วโลกต้องเดินทางมาสัมผัสประสบการณ์ “พี้นี้มีดีถึงนิพพาน” แต่พอมีข้อมูลทางการแพทย์เข้ามาสนับสนุน  กัญชาไทยจึงกลายเป็นที่ต้องการไปทั่วโลก

ย้อนไปเมื่อหลังปี พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ แบ่งกัญชาให้อยู่ในหมวดยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ครอบครอง ผู้เสพ ล้วนแล้วแต่มีความผิด โดยมีโทษทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งระงับความฝันของการพัฒนากัญชาทางการแพทย์ ให้หยุดอยู่กับที่มาช้านาน แม้จะมีตำราทางการแพทย์แผนไทยซึ่งบอกคุณประโยชน์ของกัญชาไว้ แถมเป็นส่วนผสมสำคัญในยาโบราณหลายตำรับ แต่ผู้วิจัยมีความเสี่ยงต่อการถูกจำคุก 5 ปี จึงหาทีมวิจัยได้ยาก

กระทั่งอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และกลุ่มประเทศในยุโรป ทยอยผ่านกฎหมายการใช้กัญชาทางการแพทย์ ซึ่งแม้รูปแบบการควบคุมอาจแตกต่างกันบ้างในบางพื้นที่ แต่เป้าประสงค์เดียวกันคือนำกัญชามาใช้ในการบำบัดผู้ป่วย

ไทยจึงตื่นตัวที่จะให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ [สนช.] พิจารณา พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ให้สามารถนำกัญชาและพืชกระท่อมไปทำการวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และสามารถนำไปใช้ในการรักษาภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์ได้ โดยสมาชิก สนช. จำนวน 44 คน ร่วมกันลงชื่อ โดยมีความเห็นชอบจากชุมชนทางการแพทย์หลายฝ่าย และญาติผู้ป่วยมะเร็งที่รอความหวังก็พร้อมสนับสนุน ส่วนประชาชนก็มีความเห็นไปในทิศทางส่งเสริม

แต่กระนั้นก็มีเสียงคัดค้าน ทั้งจากกลุ่มองค์กร และแม้แต่แพทย์ด้วยกัน เนื่องจากผลวิจัยจากหลายแห่งยังไม่ได้รับการพิสูจน์ที่ชัดเจน อีกทั้งยังมีความกังวลต่อผลกระทบวงกว้างต่อสังคม ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ขั้นตอนของการได้สิทธิเป็นผู้ปลูก ผู้จำหน่าย อาจมีความไม่โปร่งใส เพราะว่าหาก พรบ.แก้ไขผ่าน กัญชาไทยอาจสามารถสร้างเม็ดเงินมหาศาลแก่ผู้ได้รับผลประโยชน์ จึงมีการคัดค้านและให้เพิกถอนจนกว่าจะได้ความชัดเจนตามที่ฝ่ายคัดค้านเห็นชอบร่วมด้วย

สายเขียว กับ เขียวทหาร ถูกนำมาจูงผูกติดกันอย่างแยกไม่ออก เมื่อกฎหมายที่หมิ่นเหม่ อาจถูกแก้ไขในช่วงรัฐบาลทหาร ประชาชนหลายฝ่ายก็วิตกว่า การเอื้อผลประโยชน์จะตกถึงมือคนไม่กี่กลุ่ม ตั้งแต่เริ่มจัดสรรอนุญาตพื้นที่ปลูกกัญชา อาจได้รับสิทธิกันอย่างไม่โปร่งใส ทำให้กลุ่มทุนและผู้มีเอี่ยวรับทรัพย์ก้อนโต แต่ขณะเดียวกันก็มีความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมต่ำ การลักลอบจัดจำหน่าย หลายฝ่ายโยงให้เห็นอดีตขม สต็อกข้าวเน่า เป็นตัวอย่าง  ประกอบกับวิสัยเกษตรกรไทย ที่มักจะละเลยการคงคุณภาพสายพันธุ์ ที่มุ่งเน้นการเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อผลกำไรอย่างเดียว

การควบคุม THC ในน้ำมันกัญชาเอง ก็มีผลต่อการใช้ทางการแพทย์ หากผู้วิจัยหรือบริษัทที่ทำการจัดจำหน่ายไม่สามารถรักษาสมดุลของสารสกัด THC และ CBD ให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสมได้ น้ำมันกัญชาก็จะเป็นโทษ อาจทำให้เกิดการเสพติด หรือเป็นพิษต่อระบบประสาท  

ในส่วนของการร่างแก้ไขกฎหมาย ก็พบปัญหาในช่องว่างเรื่องของคุณสมบัติผู้จัดจำหน่าย ที่มีการยัดไส้ในพรบ. ประเด็นใหญ่ คือ  เปิดช่องให้ผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านยาอย่างเพียงพอ จัดจำหน่ายได้ อันเป็นที่มาของร้านขายยาเฉพาะทาง หรือกลุ่มทุนค้าปลีก โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเภสัช เพียงแต่บุคลากรนั้นผ่านการอบรมจาก อย.[ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา] ซึ่งเป็นผู้ส่งร่างเข้าสู่คณะรัฐมนตรี จึงยิ่งเป็นที่จับตาว่า อย. ก็อาจจะมีเงื่อนงำที่ทับซ้อน 

แม้กระทั่งบริษัทยาซึ่งเสียผลประโยชน์ ได้เดินหน้าผลักดันทุกวิถีทางให้ชะลอการผ่านร่างกฎหมายแก้ไขนี้  เพราะว่า กลุ่มยาชา มอร์ฟีน ยารักษามะเร็ง ตลอดจน ยาเบาหวาน และ ยาลดความอ้วน ก็อาจจะได้รับผลกระทบไปตามกัน  เนื่องจากสารสกัดจากน้ำมันกัญชา มีคุณสมบัติ ลดภาวะน้ำตาลในเลือด ทำให้ผอม และรักษาผู้ป่วยพาร์กินสันได้

ในคุณอนันต์ ก็มีโทษมหันต์ เป็นสัจจะธรรมของโลก เมื่อประชาชนไทยฝากทางเลือกของประเทศไว้ในมือ สนช. แล้ว ก็ต้องลุ้นกันว่า พวกท่านเห็นชอบไปในทางทิศไหน  หากผลการพิจารณาออกมาคือผ่าน ก็ต้องตั้งรับกับผลที่อาจตามมา ไม่ว่าจะเป็นการหลุดรั่วของของกลางที่มักเป็นข่าวให้ได้เห็น การควบคุมที่หลวมหยาบ และมักมีการไม่ซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่  แต่หากผลคือไม่ผ่าน ความหวังของผู้ป่วยก็เลือนราง แม้ว่าทุกวันนี้น้ำมันกัญชาจะถูกซื้อขายกันในใต้ดิน กระนั้นก็ไม่ใช่ทุกคนจะมีเงินซื้อหาได้  ต่างชาติที่จ้องจะขย้ำจดสิทธิบัตรในประเทศไทยก็มีมากมาย ผู้ป่วยตาดำกลมโต ต้องได้แต่มอง เฝ้าดูน้ำมันกัญชาที่พวกเขาไม่สามารถจับต้องได้ 

Picture Credit :  Natural Society Club

Yemek.com 

Live.Vcita.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 32

  • ต่างชาติที่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเขาเปิดให้เสพแบบไม่ผิดกฏหมาย เขาคงเห็นอะไรดีๆที่กัญชาดีกว่าเหล้า
    22 ต.ค. 2561 เวลา 05.12 น.
  • Pheeraphat S. ; MJ57
    ถ้าคุณเป็นโรคมะเร็ง คุณกล้าที่จะเสี่ยงใช้กัญชารักษามั้ยล่ะครับ เลือกเอานะระหว่างของจากธรรมชาติราคาไม่แพง กับเคมีบำบัดราคาสูงแถมมีผลข้างเคียง เลือกเอาตามใจปราถณาครับ
    22 ต.ค. 2561 เวลา 05.50 น.
  • โชค
    เมกาพ่อมรึงยังให้เสพเสรีภายใต้การควบคุมปริมาณได้ในบางรัฐเลยนะไอ้ตูบ ไอ้ตือ
    22 ต.ค. 2561 เวลา 06.13 น.
  • อ่านเนื้อหาในข่าวนี้แล้วมีความสงสัยตรงข้อความที่บอกว่า “ ผลการวิจัยจากหลายแห่งยังไม่ได้รับการพิสูจน์ที่ชัดเจน “ มันหมายความว่าในต่างประเทศ เช่น แถบทวีปอเมริกาซึ่งมีวิทยาการทางดารแพทย์ที่เจริญแล้ว เขาอนุญาตให้ใช้น้ำมันสกัดจากกัญชารักษาผู้ป่วยโดยที่ผลการวิจัยยังไม่ได้รับการพิสูจน์ แบบนั่นหรือเปล่า อ่านแล้วงงๆ ครับ
    22 ต.ค. 2561 เวลา 05.57 น.
  • Thinkorn
    ผมเชื่อกัญชารักษาได้ และยังคิดว่ากัญชาไม่ใช่ยาเสพติดรุนแรง เช่นเดียวกับใบกระท่อม
    22 ต.ค. 2561 เวลา 21.47 น.
ดูทั้งหมด