โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ดีหรือไม่ดีกันแน่นะ! 9 เรื่องเกี่ยวกับอาหารที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 15 ก.พ. 2564 เวลา 17.00 น. • J.PNP

หลาย ๆ เรื่องราวบนโลกออนไลน์ หรือสิ่งที่บอกต่อ ๆ กันมา บางครั้งก็เป็นเรื่องจริง แต่บางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องจริง การกรองสิ่งที่เรารับรู้นั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการท่องโลกออนไลน์ อย่างเรื่องอาหารการกินก็เช่นกัน หลาย ๆ ครั้งสิ่งที่เรารับรู้มาอาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดก็ได้ วันนี้ LINE TODAY ORIGINAL ได้รวม 9 เรื่องเกี่ยวกับอาหารที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด จะมีเรื่องอะไรบ้างตามไปดูกันเลย

อาหารที่มีไขมันสูง = ไม่ดี

เรียกได้ว่าหลีกได้เป็นหลีก เพราะขึ้นชื่อว่า “ไขมัน” แล้วหลาย ๆ คนก็อาจจะอยากวิ่งหนีไปให้ไกลที่สุด เพราะว่าเป็นอาหารที่ทำให้อ้วน และสุขภาพไม่ดี คนที่ต้องการรักษาหุ่นก็มักจะเน้นไปทางการลดไขมันบ้าง หรือถ้าเลี่ยงได้ก็คงเลี่ยงไขมันอย่างถึงที่สุด 

แต่จริง ๆ แล้วไขมันเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อสุขภาพ ความพยายามในการลดน้ำหนักที่ไม่บริโภคไขมันเลย มักจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพราะการไม่บริโภคไขมันทำให้การเผาผลาญของร่างกายผิดปกติ ระดับอินซูลิน และไตรกลีเซอร์ไรด์ ก็ผิดปกติด้วย ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานั้นเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจอีกด้วย

มื้อเช้าคือมื้อที่สำคัญที่สุดของวัน

คงเคยได้ยินว่ามื้อเช้าสำคัญที่สุด เพราะเป็นการเริ่มต้นวันที่ดี แต่มีงานวิจัยหลายชิ้นบอกว่ามื้อเช้าอาจจะไม่ดีสำหรับผู้ใหญ่ รวมไปถึงบอกว่าการงดมื้อเช้าคือการลดปริมาณแคลเลอรีที่จะเข้าสู่ร่างกายด้วย นอกจากนี้เวลาที่ควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนัก การที่ไม่กินมือเช้ายังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย 

อย่างไรก็ตาม เวลาที่คุมอาหารก็สามารถกินมื้อเช้าได้ หากงดอาหารมื้อก่อนหน้าจนครบ 14-16 ชั่วโมง คือการงดมื้อเช้าอาจจะมีประโยชน์ต่อคนที่ต้องการลดปริมาณแคเลอรี แต่มื้อเช้ายังเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อเด็กวัยกำลังโต วัยรุ่น รวมไปถึงสตรีตั้งครรภ์ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ต้องการสารอาหาร การไม่กินมื้อเช้าอาจจะส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพ

สรุปได้ว่า ถ้าคุณเป็นคนที่รักการกินมื้อเช้า ก็กิน แต่หากใครที่ไม่ใช่คนตื่นเช้า การกินมื้อเช้าไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น

คุณต้องกินที่ละน้อย ๆ แต่บ่อย เพื่อสุขภาพที่ดี

กินน้อย ๆ เพิ่มความถี่ของมื้ออาหาร มักทำเพื่อทำให้การเผาผลาญเพิ่มขึ้น และใช้ลดน้ำหนัก แต่ถ้าคุณคือคนที่สุขภาพดีอยู่แล้ว การซอยมื้ออาหารอาจจะไม่ได้มีผลอะไร ถ้าเราได้รับพลังงานตามที่ต้องการ แต่สำหรับบางคนที่มีโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือมีอาการลำไส้ผิดปกติ อีกทั้งหญิงตั้งครรภ์ การกินน้อย ๆ แต่บ่อยอาจจะส่งผลบวกต่อสุขภาพมากกว่า

อาหารไขมันต่ำเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ

เวลาไปตามห้างสรรพสินค้าก็มักมีสินค้าที่เต็มไปด้วยคำว่า ไดเอต, ไขมันต่ำ, ปราศจากไขมัน ฯลฯ คำเหล่านี้เป็นคำที่เตะตาเหล่าคนที่ต้องการรักษารูปร่าง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะดีต่อสุขภาพเสมอไป มีงานวิจัยพบว่าสินค้าไม่ว่าจะเป็นไขมันต่ำ หรือไดเอตมักมีน้ำตาลและเกลือมากกว่าสูตรปกติ ซึ่งน่าจะดีกว่าถ้าเราเลิกกินของเหล่านี้ แล้วก็ไปกินอาหารในสูตรปกติในจำนวนที่น้อยลง

ผอม = สุขภาพดี

คนอ้วนมักจะถูกมองว่าเป็นคนที่สุขภาพไม่ดีมากกว่าคนที่ผอม เพราะโรคอ้วนมักจะเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน, หัวใจ, ซึมเศร้า, มะเร็ง และมีแนวโน้มจะอายุสั้น แต่การลดความเสี่ยงของโรคที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่ได้หมายความว่าเราต้องผอม

การปรับการกินและเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองให้ตื่นตัวอยู่เสมอ สามารถช่วยรักษาความสมดุลของร่างกาย และระดับของไขมันในร่างกายได้อย่างดี ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องผอมเพื่อที่สุขภาพดีก็ได้

สมูทตี้ และน้ำผลไม้ ดีต่อสุขภาพ

เป็นความเข้าใจผิดอันใหญ่หลวงเช่นกัน เมื่อเรากินน้ำผลไม้ หรือน้ำผลไม้ปั่น แล้วคิดว่าตัวเองจะสุขภาพดี ความจริงแล้วในน้ำผลไม้มีน้ำตาลอยู่สูงมาก หากบริโภคมากเกินไปก็ไม่ดีต่อร่างกายเช่นเดียวกัน

อาหารที่คอเลสเตอรอลสูงไม่ดีต่อสุขภาพ

อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงมักจะเป็นสิ่งที่บอกว่าไม่ดีต่อสุขภาพ แต่อาหารบางชนิด เช่น ไข่ หรือโยเกิร์ต ก็มีสารอาหารสูง ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ยังเป็นอาหารที่คนควบคุมอาหารกินกันอีกด้วย นั่นหมายความว่าอาหารแต่ละอย่างมีประโยชน์ แต่ต้องบริโภคแต่พอดี

โรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติ หรือ Eating disorders เกิดแต่ในผู้หญิง

หลาย ๆ คนคิดว่า Eating disorders นั้นเกิดแค่ในผู้หญิง ซึ่งจริง ๆ แล้วทุกคนเสี่ยงเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย และในปัจจุบันเกิดในผู้ชายมากกว่าด้วย สิ่งที่น่าสนใจก็คือความต้องการในการรักษาเรื่องการกินผิดปกตินั้น ผู้ชายมักได้ผลดีกว่าผู้หญิง

แป้งทำให้น้ำหนักขึ้น

แป้งไม่ได้ทำให้น้ำหนักขึ้น แต่การบริโภคมากเกินไปต่างหากที่ทำให้น้ำหนักขึ้น

ทั้ง 9 เรื่องนี้ หลาย ๆ ข้ออาจเป็นสิ่งที่ทุกคนทราบดีอยู่แล้ว เรื่องของสุขภาพนั้นอยู่ที่การรักษาสมดุลมากกว่าการตัดสิ่งใดทิ้ง หรือทำแต่สิ่งนั้นตลอดไป การปรับให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของตัวเองก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน ขอให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีดังใจหวังนะคะ

 

ข้อมูลจาก

https://www.healthline.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0