โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

2561 ห้างครองเมือง! ไม่มี “พื้นที่สาธารณะ” ที่ไม่ต้องเสียเงิน

Another View

เผยแพร่ 24 พ.ย. 2561 เวลา 13.00 น.

2561 ห้างครองเมือง! ไม่มี “พื้นที่สาธารณะ” ที่ไม่ต้องเสียเงิน

เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงพอสมควรบนโลกออนไลน์ว่าด้วย “ห้างใหม่” ที่เพิ่งเปิดตัวไปหมาดๆ กับ “สวน” ที่ถูกหยิบยกมาจับคู่กันใต้ประเด็นว่า “ห้างใหม่อีกแล้ว ทำไมไม่มีสวนสาธารณะใหม่ๆ บ้าง”

ในพื้นที่อันแออัดของกรุงเทพฯ เมืองเทพสร้าง ประเด็นเรื่องสวนสาธารณะดูจะถูกพูดถึงมากขึ้นและมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่โครงการสิ่งปลูกสร้างใหญ่ๆ ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด คงเหลือแต่พื้นที่สีเขียวใหญ่ๆ ไว้อย่างสวนลุมพินี สวนรถไฟ บางกระเจ้า เป็นต้น และด้วยปริมาณพื้นที่สีเขียวที่มีน้อยอยู่แล้วเมื่อเทียบกับสัดส่วนพื้นที่คอนกรีต ปัจจัยสำคัญที่คนไปเดินห้างมากกว่าสวนนั้นยังมีอะไรอีกบ้าง

นอกจากการจัดสรรพื้นที่ของรัฐที่ทำได้ไม่ดี และขาดวิสัยทัศน์ในการบริหารพื้นที่สีเขียวแล้วนั้น สิ่งสำคัญคืออากาศที่  “ไม่เอื้อ”  ต่อการใช้ชีวิตในสวน

เราคงติดภาพไลฟ์สไตล์เก๋ๆ ในหนังฝรั่งที่คู่รักพากันไปเดินสวนนั่งอี๋อ๋อกันที่ม้านั่งใต้ต้นไม้ระหว่างวัน ตัดภาพกลับมาที่เมืองไทย หากทำเช่นนั้นเหงื่อน่าจะท่วมตัวหรือไหม้ตายไปเสียก่อนด้วยอานุภาพของแสงแดดและอุณหภูมิอันแสนระอุ ฉะนั้นการจะให้คนแห่ไปเดินเล่นชมนนกชมไม้ตอนกลางวันอย่างที่คิดนั้นพูดเลยเต็มปากว่า “ยาก”

การนำภาพจำของแดนยุโรปมาเปรียบเทียบกับเมืองไทยจึงเป็นสิ่งที่เอามาเทียบกันดอกต่อดอกไม่ค่อยจะได้นักด้วยอากาศที่หลากหลายกว่าของเขาที่มีฤดูร้อนอันแสนสั้น อุณหภูมิสามสิบกว่าองศาจึงดูเย้ายวนที่จะออกไปเดินเล่นในสวนมากกว่าบ้านเราเป็นไหนๆ ในส่วนของเมืองไทยนั้น แค่ก้าวขาออกจากบ้านก็แทบละลายเป็นเทียนแล้ว

ไหนลองเปรียบเทียบกับเมืองร้อนด้วยกันบ้างดีกว่า… สิงคโปร์ล่ะ อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากกว่าบ้านเราเสียอีก แต่! สิงค์โปร์ได้เปรียบตรงที่การบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวให้ “ทั้งเมือง”ถูกแทรกด้วยต้นไม้ “ขนาดใหญ่”

ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ว่าจะช่วยเพิ่มร่มเงาและลดอุณหภูมิโดยรวมให้รู้สึกเย็นขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น ในขณะที่บ้านเรานั้นต้นไม้ใหญ่ๆ ตามถนนหนทางกลับถูกริดรอนพื้นที่ออกไปทีละน้อยๆ

ประเด็นนี้จึงส่งผลกระทบให้คนใช้พื้นที่กลางแจ้งน้อยลงไปกว่าเดิม เมื่อสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยแดดทำให้การหนีเข้าที่ร่มอย่างห้างนั้นง่ายกว่าไปสวนสาธารณะเป็นไหนๆ

สุดท้ายคือเรื่องการบริหารจัดการและการออกแบบสวนให้ “น่าไป” การบริหารจัดการในที่นี้คือทุกอย่างที่สวนแห่งหนึ่งพึงจะมี ทั้งเรื่องการเชื่อมต่อการคมนาคม ที่จอดรถ ความสะอาดเวลาเปิดปิดที่ตอบโจทย์ ต้นไม้ที่เพียงพอ และการออกแบบที่เอื้อกับสภาพอากาศบ้านเรา อย่างสวนแบบโล่งๆ ที่ไม่มีร่มเงา ก็อาจจะไม่เหมาะ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการขยันสร้างห้างก็ส่วนหนึ่ง แต่การบริหารจัดการและวิสัยทัศน์ในการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้สนับสนุนคนออกมาใช้ชีวิตกลางแจ้งก็ส่วนหนึ่ง ซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่า คงต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควร กว่าคนจะเดินห้างน้อยลงและออกไปเดินสวนสาธารณะแบบที่หลายๆ คนต้องการ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 57

  • Tom Power
    คำตอบง่ายๆ อะไรก็ตามที่ทำแล้วรัฐฯ ขาดทุน รัฐฯ ไม่มีรายได้ คนอนุมัติไม่ได้ผลประโยชน์ จะไม่มีวันเกิดขึ้นในประเทศไทย
    24 พ.ย. 2561 เวลา 13.17 น.
  • pingli
    ตรรกะ ของเรื่องนี้ ความเห็นส่วนตัวล้วนๆ
    24 พ.ย. 2561 เวลา 13.22 น.
  • ธนรัชต์ วิเชียรรัตน์.
    ทุนใหญ่มันยึดประเทศไทยเบ็ดเสร็จ มันสมคบกับใคร มันถึงทำได้ทุกอย่างแบบนี้ คนที่พยายามจะเข้ามาจัดการ จึงต้องลงขันขับออกนอกปรพเทศไทย
    24 พ.ย. 2561 เวลา 13.09 น.
  • Joy
    ที่ญี่ปุ่น เมืองหลวงและหัวเมืองหลักของญี่ปุ่น ก็มีแต่ตึก ห้าง โรงแรม ไม่ว่าจะโตเกียว โอซาก้า มีสวนสาธารณะใหญ่ๆ อยู่ 2-3 แห่ง ขนาดเล็กก็มีประปราย ไม่ต่างกะ กรุงเทพบ้านเรา แต่อากาศบ้านเค้าดีกว่าเรา ระบบการจัดการดีกว่าเรา การคมนาคมสาธารณะดีกว่าเรา คนของเค้ามีวินัยกว่าเรา การจัดการขยะดีกว่าเรา ร้านค้าร้านอาหาร มีทั้งบนห้าง ร้านริมถนน ถนนคนเดิน ตลาดสด หลายๆอย่างคล้ายเรา แรงกดดันในที่ทำงานมีสูงกว่าเรา ค่าครองชีพสูงกว่าเรา นายทุนคนมีเงินสร้างห้าง ชาวบ้านเปิดร้านของชำ ตามนั้น ต่างที่ ต่างปัญหา
    24 พ.ย. 2561 เวลา 15.23 น.
  • กุก้ไม่ได้ชอบประยุทธ์ แต่ไม่โง่ขนาดห่าไรก้โทษรัฐ พวกบ้าการเมือง โง่ จน ต่อไป
    24 พ.ย. 2561 เวลา 19.29 น.
ดูทั้งหมด