รถเราเตี้ยหรือไฟเขาสูง! “ไฟรถแสบตา” ผิดที่กฎหมาย? หรือผิดที่อะไร?
หลายคนที่ใช้รถใช้ถนนในบ้านเมืองเรา ก็คงเคยประสบปัญหาการขับรถกลางคืน แล้วพบกับแสงไฟสว่างจ้าแยงตาของรถคันที่สวนมา ให้เบลอไม่ค่อยอยากจะขับไปต่อข้างหน้าเร็ว ๆ หรือไม่ก็คงต้องเคยรำคาญการถูกรถยนต์ไฟสว่างจ้า / รถยนต์คันใหญ่ที่มีตำแหน่งไฟหน้าสูง ขับตามหลังให้แสงสะท้อนแยงตา ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ทั้ง “ผู้ใช้รถ” และ “ผู้ใช้ถนน” ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์เอาง่าย ๆ
โดยเฉพาะรถยนต์ที่เปลี่ยนไฟหน้าเป็น "ไฟซีนอน(Xenon)” หรือที่เรียกว่าHID (HYPER INTENSITY DISCHARGE) ซึ่งพัฒนามาจากโคมไฮโดรเจน มีความเข้มของแสงมากกว่าไฮโดรเจนถึง 2 เท่า จึงทำให้ช่วงหนึ่งที่หลาย ๆ คนอยากจะให้ไฟหน้ารถของตนเองส่องสว่าง เห็นทางข้างหน้าชัด ต่างไปสั่งซื้อมาใช้ แต่เมื่อเอาสะดวก สบายใจทางฝั่งเรา กลับทำให้ฝั่งผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกับเราเกิดความเดือดร้อนรำคาญ ไปจนกระทั่งเสียชีวิตก็มี แต่ก็ยังเห็น ๆ กันอยู่ว่า ยังมีเจ้าของรถบางคันที่ยังใช้ไฟซีนอนกันอยู่ รวมทั้งรถยนต์บางคันก็มีจุดติดตั้งไฟที่ “แยงตา” จึงนำมาสู่คำถามที่ว่า แท้จริงแล้วการออกแบบรถยนต์ที่ติดตั้งไฟในตำแหน่งที่สูงเป็นเพราะการออกแบบรถที่มีปัญหารวมไปทั้งการใช้ไฟซีนอนนั้นผิดกฏหมายหรือไม่สะท้อนว่า“กฏหมายไทยไม่ศักดิ์สิทธิ์” อย่างที่เขาว่ากันหรือ?
สำหรับกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการใช้ไฟหน้ารถนั้น มีอยู่ 3 ฉบับประกอบกันก็คือ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 / มาตรา 12 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และ กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 ( พ.ศ. 2522 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย )
ลักษณะการใช้ไฟหน้ารถตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 นั้น ปรากฏในมาตรา 11 ความว่า “…ในเวลามีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถ หรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตรผู้ขับขี่ต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง…”
ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 ( พ.ศ. 2522 ) ออกตามความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 11 และมาตรา 61 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ให้รายละเอียดลักษณะไฟหน้ารถที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้
โคมไฟหน้ารถมี 3 ประเภท คือ
(ก) โคมไฟแสงพุ่งไกล ให้ติดหน้ารถข้างละหนึ่งดวง สูงจากพื้นทางราบถึงจุดศูนย์กลางดวงโคมไฟไม่น้อยกว่า 0.60 เมตร แต่ไม่เกิน 1.35 เมตรโคมไฟทั้งสองข้างอยู่ระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงสีขาวมีกำลังไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ 50 วัตต์ มีแสงสว่างให้เห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า100 เมตร ศูนย์รวมแสงต้องไม่สูงกว่าแนวขนานพื้นทางราบ และไม่เฉไปทางขวา
(ข) โคมไฟแสงพุ่งต่ำ ให้ติดหน้ารถข้างข้างละหนึ่งดวง สูงจากพื้นราบถึงจุดศูนย์กลางดวงโคมไฟไม่น้อยกว่า 0.60 เมตร แต่ไม่เกิน 1.35 เมตร โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงสีขาวมีกำลังไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ 50 วัตต์ มีแสงสว่างให้เห็นพื้นทางชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร ศูนย์รวมแสงต้องอยู่ต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตร ในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา
(ค) โคมไฟเล็ก ให้ติดหน้ารถอย่างน้อยข้างละหนึ่งดวง โดยให้อยู่ทางริมสุด แต่จะล้ำเข้ามาได้ไม่เกิน 0.40 เมตร โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงขาวหรือแสงเหลืองมีกำลังไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ 10 วัตต์ และต้องมีแสงสว่างสามารถมองเห็นได้จากระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร
โคมไฟแสงพุ่งไกล โคมไฟแสงพุ่งต่ำและโคมไฟเล็กจะรวมอยู่ในดวงเดียวกันก็ได้
ทั้งยังระบุไว้โดยสรุปว่าไฟหน้าของรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ทุกชนิดที่ใช้งานบนท้องถนน จะต้องมีแสงสีขาวหรือเหลืองอ่อน
และสุดท้ายกฏหมายที่ระบุลักษณะการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟหน้ารถก็คือ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ความว่า
“…รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ารถนั้นมีส่วนควบหรือ เครื่องอุปกรณ์สําหรับรถไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กําหนดในกฎกระทรวง หรือเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออกแล้ว ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าเจ้าของรถไม่อาจจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออกได้ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนรถนั้น…”
ซึ่งการกระทำผิดดังกล่าวนั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกิน2,000 บาท
สรุปแล้วก็คือ ไฟซีนอนนั้นสามารถติดตั้งได้หากมีค่าอุณหภูมิสีหรือค่าK (Kelvin) และค่าความสว่าง(Lumen) ของหลอดซีนอนตรงตามที่กฏหมายระบุ นั่นคือเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ซึ่งเมื่อค่าอุณหภูมิสี หรือค่า K ยิ่งสูง สีก็จะยิ่งขาวขึ้น (เราลองคิดถึงลักษณะของแสงที่ยิ่งสว่างขึ้นก็จะยิ่งเป็นแสงขาว และให้ความสว่าง เปรียบเทียบง่าย ๆ กับแสงเทียนและหลอดไฟนีออน) และเมื่อขาวที่สุดแล้ว สีที่เห็นก็จะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นฟ้า สีม่วง และชมพูตามลำดับ และเมื่อสูงจนเกินไปจะฟุ้งกระจายสร้างความรำคาญและลดทัศนะวิสัยการมองของผู้ใช้รถใช้ถนน ส่วนค่าความสว่างนั้นมีหน่วยเป็น Lumen ค่ายิ่งสูงยิ่งสว่างยิ่งมองเห็นชัดเจน
ดังนั้นการติดตั้งไฟซีนอนควรติดตั้งไฟซีนอนในโคมโปรเจคเตอร์หรือเลนส์รวมแสงที่คุมลำแสงไม่ให้ฟุ้งกระจายไม่รบกวนสายตาแก่ผู้ขับขี่รถร่วมเส้นทางต้องติดตั้งหลอดที่มีระดับของสีระหว่าง3,800 - 6,000 K ซึ่งจะทำให้ได้ค่าสีที่อยู่ในโทนสีขาวตามที่กฎหมายกำหนดและมีค่าสีและแสงใกล้เคียงกับค่ามาตรฐานที่ติดตั้งจากโรงงานมากที่สุด (ค่าจากโรงงานคือ 4,300 K มีค่าความสว่างที่ 3,800 Lumen) *และต้องนำเข้าตรวจสภาพเพื่อขออนุญาตกับกรมการขนส่งทางบก *
ถึงแม้จะไม่ผิดกฏหมาย แต่ด้วยค่าอุณหภูมิสีและค่าความสว่างที่มากกว่าปกติ ถ้าจอดรถต่อท้ายรถยนต์คันอื่น ๆเป็นเวลานานการหรี่ไฟลงบ้างก็เป็นการแสดงน้ำใจได้ดีทีเดียว
**************
ข้อมูลเพิ่มเติม:
http://www.nationtv.tv/main/content/378491512/
https://news.thaipbs.or.th/content/250584
https://www.dailynews.co.th/article/305418
http://www.highway.police.go.th/highway4-20-9999-update.pdf
http://www.highway.police.go.th/highway2-20-9999-update.pdf
http://law.longdo.com/law/288/sub16401
ความเห็น 116
Vichai Kong…
BEST
ขนส่ง ตำรวจเอาว่ายๆ ถ้าพวกคุณตาไม่บอดนะ รถรุ่นใหม่ๆ รถประเภทกะบะคันใหญ่ๆกับรถ suv เช่ยี่ห้อโตโยต้าฟอร์จูนเนอ ฟอร์ด มิตซูปาเจโร ไฟหน้าตั้งอยู่สูงทั้งนั้น ขับสวนก้แยงตา มันขับตามหลังเราหรือจอดติดไฟแดงก้อทิ่มกระจกมองหลังรถเรา สรุปไฟมันสูงเกิน ไฟขาวไม่ว่าแต่ตั้งไฟจากโรงงานสูงเกิน ไอ้โตโยต้าฟอร์จูนเนอกะปาเจโร มิตซูยิชิ แล้วก้อฟอร์ด แรนเจอร์. แย่มากๆ
22 ม.ค. 2562 เวลา 00.18 น.
⋆✫★ⓀⒶⓇⓁⒾⒹ★✫⋆
BEST
เกลียด ถ้าคิดว่ามันคือความเท่ห์ แต่กูว่าไม่ใช่ เมื่อออกป้ายแดงมาและเป็นระบบไฟซีนอน จงมองย้อนไปที่ตัวเอง มันไม่ใช่ความเก๋แต่มันคือความ"เห็นแก่ตัว" ไม่สนใจคนอื่น ไม่สนใจเรื่องอุบัติเหตุที่เกิดจากไฟของพวกมึงๆทั้งหลาย สรุป เลว!! เกลียดมาก เกลียดจริงๆ เวลามันแยงตา
22 ม.ค. 2562 เวลา 00.23 น.
BEST
สรุป กูต้องเจอxenon ต่อไป ขับสวนกันตอนดึกๆกูแทบหันหน้าหนี
22 ม.ค. 2562 เวลา 00.10 น.
apichart
เขียนซ่ะยาว แยงตาต่อไป
22 ม.ค. 2562 เวลา 00.03 น.
apisith
มักง่าย
สันดานเสีย
22 ม.ค. 2562 เวลา 00.13 น.
ดูทั้งหมด