โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“รัฐสภาใหม่” สร้างไม่เสร็จสักที!! ประเทศชาติต้องเสียหายอีกเท่าไหร่?

TheHippoThai.com

เผยแพร่ 09 ต.ค. 2561 เวลา 01.00 น.

“รัฐสภาใหม่สร้างไม่เสร็จสักที!! ประเทศชาติต้องเสียหายอีกเท่าไหร่?

สัปปายะสภาสถานแปลว่า สภาที่มีความร่มเย็นสุขสบาย” 

นี่คือชื่อของรัฐสภาแห่งใหม่ ซึ่งเป็นแห่งที่ 3 ของไทย หลังจากการใช้พระที่นั่งอนันตสมาคม และอาคารรัฐสภาแห่งปัจจุบัน ซึ่งได้มีความพยายามหาพื้นที่ใหม่มาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนกระทั่งได้ข้อสรุปให้ใช้ที่ดินราชพัสดุถนนทหาร (เกียกกาย) แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต รวม 123 ไร่ เป็นสถานที่ก่อสร้าง โดยรัฐสภาว่าจ้างบริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบที่กลุ่มกิจการร่วมค้า สงบ 1051 เป็นผู้ชนะการออกแบบ

ไม้สักนับหมื่น – ต้นทุนที่ประชาชนชาวไทยต้องร่วมกันจ่าย (?)

แต่ความสงบร่มเย็นสุขสบายของสัปปายะสภาสถาน กลับแลกมาด้วยกระแสความร้อนแรงของโครงการที่อื้อฉาวที่สุดโครงการหนึ่ง ด้วยความล่าช้าในการก่อสร้าง จัดสรรงบประมาณ รวมทั้งกระแสล่าสุดของการตัดต้นสักไปกว่า10,000 ต้นจากหลายๆแหล่งเพื่อเลือกสรรให้ได้ตามแบบกำหนดจำนวน4,534 ต้นสำหรับสร้างรัฐสภาแห่งนี้(ที่ไว้ใช้ออกกฏหมายห้ามตัดไม้ทำลายป่า ?) เพราะบางต้นนั้น มีสภาพไม่สมบูรณ์ ถูกแมลงรบกวน 

ไม้สักเหล่านี้จะถูกใช้สำหรับทำ เสาไม้ประดับอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ทั้งภายในและภายนอกอาคารตามแบบสัญญาจ้าง และตามแบบสถาปัตยกรรมที่กำหนดว่าต้องใช้ไม้สักเหลากลม ไม่คดงอ ไม่มีกระพี้ ไม่มีตาไม้ที่ทำให้เสียความแข็งแรงและสวยงาม เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว ยาว 5 เมตร  มีอายุไม่ต่ำกว่า 30-40 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นไม้ที่ซื้อมาจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.)

เดือนร้อนถึงการออกมาตั้งคำถามของสังคม เช่นเดียวกับ สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ได้ออกโรงยื่นเรื่องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้ ม.44 ยับยั้งการกระทำดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุศาสตร์ที่สามารถสร้างและเลียนแบบเนื้อไม้สักสำหรับใช้งานต่างๆได้โดยไม่ต้องเสียไม้สักสักต้น 

แต่ก็คงจะสายไปเสียแล้ว เพราะนายสรศักดิ์เพียรเวชเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนี้ว่า เข้าใจว่าบริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ซื้อไม้สักจาก อ.อ.ป. และนำมาไว้ที่ที่รัฐสภาใหม่ ย่านเกียกกายแล้ว ซึ่ง อ.อ.ป.มีหน้าที่ปลูกต้นไม้และจำหน่าย ซึ่งเป็นไม้เศรษฐกิจของประเทศ และไม้สักดังกล่าวบริษัทชิโน-ไทยฯ ก็ซื้อมาอย่างถูกต้อง โดยราคารวมอยู่ในค่าก่อสร้างหมดแล้ว และถ้าบอกว่าให้ใช้วัสดุอื่นแทนไม้สักคงไม่ได้เพราะแบบก่อสร้างออกมาเพื่อให้เห็นและบ่งบอกถึงความเป็นไทยและเห็นถึงวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชาติ

คำถามคือ จำเป็นต้องใช้ไม้สักนั้นแสดงออกถึงความเป็นไทยและเอกลักษณ์ของชาติถึงเพียงนั้นเชียวหรือ ? และคนไทยเราจำเป็นต้องเสียต้นทุนทางสังคมด้วยการสูญเสียป่าไม้ด้วยการนำมาใช้ “ประดับ” รัฐสภาแห่งใหม่นี้เชียวหรือ?  นี่คงเป็นคำถามที่ผู้มีส่วนร่วมในโครงการนี้ทุกคนต้องออกมาตอบคำถามให้สังคมนี้

ไม่ใช่แค่ไม้สักที่ต้องจ่ายแต่ทรัพยากรและค่าเสียโอกาสมากมายถูกทุ่มไปแล้ว

แต่กรณีไม้สักนี้ ไม่ใช่ต้นทุนเพียงอย่างเดียวที่ต้องจ่ายไป เพราะก่อนหน้า รัฐสภาแห่งใหม่นี้ก็ได้มี “ความจำเป็น” จะต้องใช้ “งบประมาณ” “ทรัพยากร” และ “ค่าเสียโอกาส” ไปก่อนหน้าแล้วหลากหลายประการ 

เริ่มตั้งแต่  ค่าปรับในการส่งมอบงานล่าช้าวันละ12 ล้านบาท ซึ่งผู้รับเหมาก่อสร้างไม่ต้องจ่ายสักบาทเนื่องจากการได้รับอนุมัติขยายเวลาการก่อสร้าง จากกำหนดเดิมที่ต้องส่งมอบงานวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 แต่ก็ได้รับการขยายเวลาก่อสร้างจนถึง 15 ธันวาคม 2559 ครั้งหนึ่ง ด้วยสาเหตุปัญหาการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างบริเวณโรงเรียนโยธินบูรณะ ชุมชนองค์การทอผ้า และบ้านพักทหาร ที่ส่งมอบได้เพียง 80% จากนั้นก็ขอขยายเวลาครั้งที่ 2 ให้สิ้นสุดในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ด้วยปัญหาการะบายดินที่ขุดขึ้นมาเพื่อสร้างชั้นใต้ดินของอาคารรัฐสภา แต่ในเดือนมิถุนายน 2560 กลับมีการอ้างถึงปัญหาการส่งมอบพื้นที่ของโรงเรียนโยธินบูรณะอีกครั้ง และสำนักเลขาธิการสภาฯ เห็นชอบให้ขยายเวลาอีก ให้ไปสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2562 คิดเป็นค่าปรับที่ไม่ต้องจ่ายไปกว่า18,000 ล้านบาท

ตามมาด้วยการตั้งคำถามถึงความโปร่งใสในการดำเนินงาน ด้วยงบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (งบประมาณไอที) ที่บานปลายจาก 3,000 ล้านบาทในการประมาณการช่วงแรก เป็น 8,640 ล้านบาท ซึ่งมีรายการจัดซื้อที่ชวนตั้งคำถามทั้ง ไมโครโฟนตัวละ 120,000 บาท นาฬิกาเรือนละ 70,000 บาท จนต้องถูกคณะรัฐมนตรีปัดตกไปแล้วนั้น ยังมีสิ่งใดที่เราต้องจ่ายไปโดยไม่ทราบอีกหรือไม่ ไม่นับรวมสิ่งที่ต้องจ่ายในอนาคตอย่างกรณีที่จอดรถ ที่ต้องรอลุ้นกันว่าจะเพียงพอจริงๆ หรือไม่ เมื่อมีการปรับพื้นที่ใช้สอยเพิ่มเป็น 424,000 ตารางเมตร  ทำให้ต้องมีที่จอดรถเพิ่มขึ้นเป็น 3,973 คัน (นั่นก็คือราว 4,000 คัน) ตามเทศบัญญัติกรุงเทพมหานคร จนอาจนำไปสู่การเช่าที่เอกชนรอบรัฐสภาเพื่อใช้เป็นที่จอดรถอีก

ต้องรอ และต้องจ่ายอีกเท่าไหร่ รัฐสภาแห่งใหม่จึงจะสำเร็จเสร็จสมบูรณ์ เป็น “สัปปายะสภาสถาน” อันร่มเย็นเสียที ?

*********************

อ้างอิง 

http://www.realist.co.th/blog/คอนโด-รัฐสภาแห่งใหม่

http://www.thansettakij.com/content/273882

https://www.thairath.co.th/content/1283742

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 174

  • เอ๋
    เสร็จเมื่อไรคงได้ยินนี่คือความภาคภูมิใจ เอกลักษณ์ไทย และ สถานที่มีเกียรติของคนไทย ถามจริงเราคนไทยเสียภาษี มีส่วนร่วมอะไรบ้าง แล้วชาวบ้านได้อะไร จากสถานที่อันสูงส่ง ผู้แทนฯ สว. นั่งชูคอในสถานที่อันสูงส่ง
    09 ต.ค. 2561 เวลา 00.13 น.
  • I am I
    มันจะเสร็จยังไงมันคิดจะโกงมาตั้งแต่ เขียนโครงการแล้ว
    09 ต.ค. 2561 เวลา 00.14 น.
  • พลกฤต🔌
    ภาษีประชาชนคนจนได้กินแค่เศษเงิน ที่เหลือข้าราชการและนักการเมืองแดกห่าหมด
    09 ต.ค. 2561 เวลา 00.10 น.
  • KTP
    ก้อไม่รู้จะทำยังไงกะไอ้พวกคนแก่งี่เง่าพวกนี้ ที่เอาแต่คิดโครงการหวังแดกเงินภาษีของทุกคน แล้วก้อสร้างภาพโครงการเริ่ดหรู เรื่องบริหารจัดการประเทศไม่ค่อยได้เรื่อง แต่เรื่องคิดโครงการเพื่อให้เอาเงินภาษีมาสร้างนั่นนี่ พวกมันจะเก่งกาจมากๆ ได้แต่สาปแช่งพวกมันแค่นั้น เลือกตั้งก้อจำไว้ ไม่ชอบใครก้ออย่าไปเลือกมัน
    09 ต.ค. 2561 เวลา 00.24 น.
  • ร้านดอกไม้บ้านสวน
    สี่ปีมาแล้วไม่มีการโกงเลย แต่ทำไมสร้างไม่เสร็จติดขัดตรงไหน องค์กรต่อต้านการทุจริตน่าจะลงมาดู
    09 ต.ค. 2561 เวลา 00.19 น.
ดูทั้งหมด