โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

พาราเบน สารเคมีในเครื่องสำอางที่เราต้องระวัง

Motherhood.co.th

เผยแพร่ 21 ส.ค. 2562 เวลา 06.15 น. • Motherhood.co.th Blog

พาราเบน สารเคมีในเครื่องสำอางที่เราต้องระวัง

ในเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดร่างกาย ล้วนมีส่วนผสมจากสารเคมีหลายชนิด และบางชนิดก็อาจเป็นอันตราย อย่างเช่น "พาราเบน" ที่ในสมัยนี้ผู้คนพยายามหลีกเลี่ยงกันมาก และทางแบรนด์ต่างๆเองก็พยายามโฆษณาว่าผลิตภัณฑ์ของตนนั้นปราศจากสารตัวนี้ ทำให้ผู้บริโภคใช้งานได้อย่างปลอดภัย แต่อันตรายจริงๆของมันคืออะไร ในฐานะพ่อแม่ มีอะไรที่พวกเราต้องระวังเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆกับลูกน้อยบ้าง วันนี้ Motherhood นำเอาสาระเกี่ยวกับสารพาราเบนในเครื่องสำอางมาฝากกันค่ะ

ถึงแม้ว่าทั่วโลกจะมีกระแแสตื่นตัวถึงอันตรายของสารเคมีต่างๆที่ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง แต่ในบ้านเราก็ยังมีอีกหลายที่ยังไม่คุ้นเคยกับสารที่มีชื่อว่า พาราเบนส์ (Parabens) แต่ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศอเมริกาและประเทศทางแถบยุโรป กำลังให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารนี้ เช่น แชมพู สบู่ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ครีมกันแดด เครื่องสำอาง รวมถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก

พาราเบนส์คือสารกันบูดที่ใส่ลงในเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเด็ก

พาราเบนส์ คืออะไร?

พาราเบนส์ (Parabens) คือ สารเคมีที่ถูกคิดค้นขึ้นในช่วงปีค.ศ. 1950 เพื่อนำมาใช้เป็นสารกันบูดในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์อย่างแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี ทั้งในเครื่องสำอาง อุปกรณ์อาบน้ำทารก ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย แชมพู ครีมนวดผม และผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่างๆ

ทำไมถึงมีการใช้พาราเบนส์ในผลิตภัณฑ์?

เพราะพาราเบนส์มีราคาถูกและมีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียที่จะเป็นอันตรายต่อผู้ที่ใช้ และพาราเบนส์ยังใช้เพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์ให้อยู่ได้นานโดยไม่ต้องนำไปแช่เย็นอีกด้วย

แต่ในทางตรงกันข้าม มีข้อมูลว่าพาราเบนส์นั้นสามารถทำลายฮอร์โมนของร่างกายที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ทั้งเพศชายและเพศหญิง เช่น เอสโตรเจน และ เทสโทสเตอโรน มีความเชื่อว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มากเกินไปอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการกระตุ้นการแบ่งเซลล์ของเต้านมและเกิดการเจริญเติบโตของเนื้องอก นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงเชื่อมโยงการใช้งานพาราเบนส์ว่าเกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านมและปัญหาการสืบพันธุ์

ในปี 2004 มีการศึกษาวิจัยจากประเทศอังกฤษที่พบว่ามีสารพาราเบนส์ 5 ชนิดตกค้างอยู่ภายในเนื้อเยื่อจากเต้านมของผู้หญิงจำนวน 19 คน จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 20 คน ถึงแม้ว่าการศึกษาวิจัยชิ้นนี้จะไม่ได้บ่งชี้โดยตรงว่าพาราเบนส์เป็นต้นเหตุของมะเร็ง แต่ก็เป็นที่แน่นอนว่ามันสามารถซึมซาบเข้าไปในเนื้อเยื่อและตกค้างอยู่ในนั้นได้จริง

ทางประเทศเดนมาร์กก็มีการทำวิจัยออกมาเช่นเดียวกัน ผลของการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสามารถตรวจพบพาราเบนส์ในเลือดและปัสสาวะของอาสาสมัครชายหนุ่มที่มีสุขภาพดีไม่กี่ชั่วโมง หลังจากให้พวกเขาได้ใช้โลชั่นกับผิว

จากการวิจัยทั่วโลก บ่งชี้ว่าพาราเบนส์นั้นซึมซาบเข้าสู่ผิวหนังได้แน่นอน

นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของพาราเบนยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพและการตั้งครรภ์มากมาย เช่น

  • ความผิดปกติของพัฒนาการ
  • ภาวะการมีบุตรยาก
  • การแท้งบุตร
  • คลอดก่อนกำหนด
  • ความพิการแต่กำเนิด
  • สเปิร์มไม่สมบูรณ์
  • โรคอ้วน
  • โรคเกี่ยวกับระบบการเผาผลาญอาหาร
  • ความหนาแน่นของกระดูก

แม้จะยังมีข้อถกเถียงในเรื่องความเสี่ยงต่างๆเกิดขึ้นมากมายทั่วโลก แต่พาราเบนส์ก็ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขบ้านเราแล้วว่าปลอดภัย เมื่อใส่ลงในผลิตภัณฑ์ต่างๆตามส์ปริมาณที่กำหนด คือไม่เกิน 0.25% เราจึงยังสามารถพบสารพาราเบนส์ได้ในผลิตภัณฑ์ทั่วไปที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน หรือในประเทศญี่ปุ่น ที่ทางการอนุญาตให้ใช้เฉพาะสารกันเสียที่เป็นพาราเบนส์เท่านั้น

จะหลีกเลี่ยงการใช้พาราเบนส์ได้อย่างไร?

เนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปที่สามารถยืนยันอันตรายจากการสัมผัสสารพาราเบนส์ ที่แม้จะมีปริมาณเล็กน้อยผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ความงามและผลิตภัณฑ์อาบน้ำเด็กตามท้องตลาดทั่วไป แต่เราก็ยังไม่สามารถวางใจได้ว่าส่วนประกอบต่างๆที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลทารกและเครื่องสำอางนั้นนั้นมีความปลอดภัยเพียงพอ เพราะหลักฐานที่มีอยู่ยังไม่มากพอที่จะให้เชื่อได้ว่าพาราเบนส์ในเครื่องสำอางนั้นจะปลอดภัยจริงเช่นกัน

อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ให้ดี หากต้องการหลีกเลี่ยงพาราเบนส์

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น ก่อนซื้อเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สำหรับทารก คุณพ่อคุณแม่ควรอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ให้ดี เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารพาราเบนส์ หรือมองหาผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า Parabens Free ย่อมปลอดภัยและสบายใจกว่า โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตบนฉลากผลิตภัณฑ์ว่ามีส่วนผสมของสารพาราเบนส์หรือไม่ หากมี ก็จะพบรายชื่อระบุไว้ เช่น

  • Methylparaben
  • Ethylparaben
  • Propylparaben
  • Butylparaben
  • Isobutylparaben
  • Isopropylparaben

สำหรับรายชื่อสารกันบูดที่ได้รับการรับรอง สามารถเข้าไปเช็คดูได้กับ ECOCERT  ซึ่งเป็นหน่วยรับรองสำหรับการพัฒนามาตรฐานของเครื่องสำอางธรรมชาติและออร์แกนิก

แล้วจะใช้อะไรทดแทน?

เพราะมีข้อถกเถียงถึงความปลอดภัยในการใช้สารพาราเบนส์เป็นสารกันเสีย ทำให้หลายบริษัทใหญ่ในวงการเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กเริ่มหันมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติทดแทน เช่น จากเมล็ดองุ่น ซึ่งจะได้สารเทียบเคียงกับ Methylparabens ทำให้มีผลิตภัณฑ์ปลอดสารสังเคราะห์มากมายในท้องตลาดที่มีประสิทธิภาพเท่ากัน

หากคุณพ่อคุณแม่อยากจะมั่นใจ และต้องการหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีพาราเบนส์เป็นส่วนผสม ให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนผสม เช่น Ethylhexylglycerin ซึ่งได้มาจากพืช หรือ Phenoxyethanol ที่สกัดจากอีเทอร์แอลกอฮอล์จากธรรมชาติ เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม สารเคมีจะเป็นสารเคมีอยู่วันยังค่ำ จะเป็นการดีที่สุดถ้าทุกอย่างถูกนำมาใช้อย่างเหมาะสม เป็นความคิดที่ไม่เลวหากคุณพ่อคุณแม่จะเลือกใช้งานผลิตภัณฑ์ดูแลผิวลูกรักโดยสลับไปมาระหว่างผลิตภัณฑ์แบรนด์ต่างๆ เพื่อป้องกันการสะสมของสารเคมี เพราะก็ยังมีสารเคมีชนิดอื่นๆที่ทั่วโลกมีกระแสแนะนำให้หลีกเลี่ยงอยู่เหมือนกัน

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

น่ายินดี! '6 ร้านอาหารไทย' ติดอันดับ "ร้านอาหารที่ดีที่สุดในโลก ปี 2025"

Manager Online

ชำแหละ 'PUMA Orbita Ultimate PL' ทำไมได้เป็นลูกฟุตบอลพรีเมียร์ลีก

กรุงเทพธุรกิจ

ทุนจีนบุกตลาดพระเครื่อง ‘นักท่องเที่ยวสู่ผู้ค้า’

ประชาชาติธุรกิจ

เคล็ดไม่ลับ! หั่นพริกยังไงให้สีสวย ไม่หมองคล้ำ เพิ่มรสชาติอาหารให้อร่อยยิ่งขึ้น

sanook.com
วิดีโอ

ออกกำลังเป็นยา : ออกกำลังกายง่าย ๆ ลดปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ สำหรับคนนั่งโต๊ะทำงาน

Thai PBS
วิดีโอ

ปรับก่อนป่วย : สามเหลี่ยมสมดุล ลดปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัยน้ำหนักเกินและอ้วน

Thai PBS

Crafts Bangkok 2025 อวดโลหะพลิ้วไหวเหมือนผ้า งานคราฟต์คนรุ่นใหม่

กรุงเทพธุรกิจ

LIVE ถ่ายทอดสด บาเยิร์น พบ โบคา ชิงแชมป์สโมสรโลก วันนี้ 21 มิ.ย.68

PostToday

ข่าวและบทความยอดนิยม

ความคิดเห็นมากที่สุด

พลัง "การทูตสายตรง" คุยกันแค่สองคนแต่อาจสะเทือนทั้งโลก

SpringNews

คฤหาสน์วินเชสเตอร์ ตำนานบ้านสุดหลอนอายุกว่า 100 ปี ที่ไม่มีวันสร้างเสร็จแห่งสหรัฐอเมริกา

ศิลปวัฒนธรรม

“บรรทัดทอง” มาไว-ไปไว ชงตั้งย่านเศรษฐกิจพิเศษกู้วิกฤติ

Manager Online

มองการแสดงผ่านเลนส์ของ “เจนเย่” นางเอก “สงคราม ส่งด่วน” กับจุดเปลี่ยนในเส้นทางอาชีพ

LSA Thailand
ดูเพิ่ม

ความเห็น 4

  • Jinpat RR
    มีอยู่ในทุกผลิตภัณฑ์ แล้วผู้บริโภคจะทำอย่างไรในเมื่อผู้ผลิต ใส่มาทุกผลิตภัณฑ์
    21 ส.ค. 2562 เวลา 07.20 น.
  • ต้องใช้อยู่ทุกวัน
    21 ส.ค. 2562 เวลา 07.31 น.
  • เลิกใช้แม่งหมดทุกอย่างเลย ตัดปัญหา
    21 ส.ค. 2562 เวลา 08.01 น.
  • Test1😊ตื่น🌞
    😊
    21 ส.ค. 2562 เวลา 07.49 น.

ดูทั้งหมด