โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

รางวัลนำจับยาบ้า! หนุนพลเมืองดี! แต่หวั่นพลเมืองตาย

TheHippoThai.com

เผยแพร่ 29 ต.ค. 2561 เวลา 01.00 น.

รางวัลนำจับยาบ้า! หนุนพลเมืองดี! แต่หวั่นพลเมืองตาย

เพิ่มอัตราค่าแจ้งเบาะแสยาส่อเค้าวุ่น เฮโรอีนบริสุทธิ์ กิโลละแสน ยาบ้าได้เม็ดละ 2 บาท เชิญชวนแจ้งแหล่งกบดานของเอเจนท์ เผยแทคติกตำรวจมืดตั้งนอมินีกินเปล่าก่อนเข้าจับกุม  เหมารางวัลสูงสุดถึง 2 ล้านบาท

หลังจากที่ประกาศกระทรวงยุติธรรม เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา ปรับสูตรเงินรางวัลในการแจ้งเบาะแสนำจับ โดยที่ ป.ป.ส. ( คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ) หวังว่า การจ่ายค่าตอบแทนสูตรใหม่นี้จะช่วยดึงดูดให้ ประชาชนผู้ทราบเบาะแสแหล่งค้ายาเสพติดให้โทษ ได้ยอมร่วมมือให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่มากขึ้น

ผลตอบแทนที่ประกาศใหม่ส่งผลให้ค่าตอบแทนการแจ้งจับยาเสพติดสูงขึ้นในทุกประเภท โดยเฉพาะ “ผงขาว” เฮโรอีน สูงถึงกิโลกรัมละ 100,000 บาท  และยาบ้าอันเป็นยาเสพติดยอดนิยมตลอดกาล ได้ค่านำจับเม็ดละ 2 บาท ซึ่งเงินรางวัลแบ่งให้ผู้แจ้งนำจับร้อยละ 75  และผู้เข้าจับกุมร้อยละ 25   รวมเงินรางวัลสูงสุด 2 ล้านบาทต่อหนึ่งคดี

มีเสียงตอบรับหลากหลายจากชุมชนตามชายแดนและประชาชนในพื้นที่สีเทา โดยผู้ที่เห็นด้วยนั้นคิดว่าจะทำให้มีผู้กล้าแจ้งข้อมูลเบาะแสให้กับ ป.ป.ส. มากขึ้น เพราะรางวัลล่อใจสูง โดยเฉพาะยาบ้าซึ่งมักจะมีการค้าทีละหลักหมื่น หลักแสนเม็ด เมื่อบวกลบคูณหารแล้วก็คุ้มที่จะแสดงตนเป็นพลเมืองดี

ในขณะที่ความเห็นจากอีกทางยังคงคิดว่า รางวัลยังไม่ล่อใจที่จะดึงดูด เพราะจุดอ่อนในการปกป้องพยานและวิธีกีดกันอิทธิพลมืดจากนักค้ายาในท้องถิ่นมีไม่มากเพียงพอ บ่อยครั้งที่จะเห็นคดีซึ่งเอเจนท์ค้ายา ตามล่าเอาชีวิตผู้แจ้งเบาะแสหรือสายตำรวจจนถึงแก่ชีวิต 

ยกตัวอย่าง เช่นเมื่อ ต้นเดือนตุลาคม 2561 นี้ คดี ฆ่าสายตำรวจ ที่อำเภอบางไทร พระนครศรีอยุธยา ได้สะเทือนขวัญไปทั้งประเทศ แม้ปริมาณยาที่ถูกแจ้งจับจะไม่มากก็ตาม  หรือคดีฆ่ายัดท่อเมื่อปลายปีก่อน จากที่ผู้ต้องคดีแค้นผู้แจ้งเบาะแส นำไปสู่การฆ่าสุดแสนโหดร้ายและแสดงออกถึงความโกรธแค้นเชิงสัญลักษณ์ผ่านศพของผู้ตาย

แหล่งจัดจำหน่ายยาเสพติด เริ่มตามสืบค้นยากขึ้น เนื่องจากผู้ซื้อและผู้ขาย สามารถทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ อีกทั้งการติดต่อสื่อสารไม่ผ่านสายโทรศัพท์ การดักฟังด้วยระบบเก่าเริ่มหมดความหมาย ทำให้ตำรวจฝ่ายปราบปรามทำงานยากขึ้น  การอาศัยข้อมูลจาก นิ้วตำรวจ หรือสายตำรวจ และพลเมืองดีผู้ให้ข้อมูลเบาะแส จึงเป็นทางเลือกที่อาจจะทำให้ชุมชนนั้นปลอดจากแหล่งค้ายาได้ 

แต่เม็ดเงินที่หมุนเวียนของเอเจนท์ค้ายา มันสร้างอิทธิพลและกองกำลังขนาดย่อม ทำให้คนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านหรือชุมชนนั้น ไม่กล้าที่จะแสดงตัวให้ข้อมูล เนื่องจากเสี่ยงต่อความปลอดภัย อีกทั้งที่ผ่านมา ตำรวจไม่สามารถปิดข้อมูลของผู้นำจับได้ เป็นเหตุให้ผู้ต้องหาหรือญาติของผู้ที่ถูกจับ สามารถตามสืบจนพบข้อมูลผู้ให้เบาะแส และนำมาถึงขั้นตอนการโดนเอาคืน ท้ายที่สุด ไม่มีผู้ใดกล้าพอที่จะแสดงตนให้ข้อมูล จนทำให้การค้ายาเสพติดลื่นไหลต่อไป  ทาง ป.ป.ส.เองจึงหวังว่า รางวัลนำจับที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังแบ่งสัดส่วนที่ชัดเจนระหว่าง ผู้เข้าจับกุมและผู้ให้เบาะแส ในสัดส่วน 25 ต่อ 75 นี้ จะเป็นทางแก้ไขปัญหา และชักจูงใจให้ผู้คนลุกขึ้นมาเป็นพลเมืองดีมากขึ้น

ขั้นตอนการแจ้งเบาะแสยาเสพติด

1. สายด่วน  1386  ซึ่งผู้แจ้งเบาะแสสามารถโทรศัพท์เข้าที่เบอร์นี้ได้ 24 ชั่วโมง  

2. ส่งจดหมาย หรือหนังสือร้องเรียนถึงสำนักงาน ป.ป.ส. ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค

3. แจ้งเบาะแสด้วยตัวเอง ที่สำนักงาน ป.ป.ส.ในส่วนภูมิภาค หรือ ป.ป.ส.ส่วนกลาง 

4. แจ้งผ่านเว็บไซต์ของ ป.ป.ส.  HTTP://1386.ONCB.GO.TH   

เมื่อรับเรื่องร้องเรียนแล้ว ก็จะทำการตรวจสอบข้อมูลและคัดแยกด้วยระบบ ก่อนจะส่งข้อมูลร้องเรียนผ่าน ฐานข้อมูล อันจะนำไปสู่การลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่  ในขั้นตอนนี้เอง ทำให้เกิดการรั่วไหลของชื่อผู้ร้องเรียน  ซึ่งที่ผ่านการหากไม่มีรายชื่อจริงของผู้แจ้งเบาะแส ก็ไม่สามารถส่งเรื่องเข้าระบบได้ เพราะว่าขาดพยานและไม่มีผู้เสียหายเพื่อแจ้งความ ทำได้แค่เพียงลงเป็นบันทึกไว้เท่านั้น  

อีกทั้งเม็ดเงินรางวัลนำจับ อาจทำให้เกิดกระบวนการ นอมินี โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติเอง โดยให้ญาติหรือเพื่อน คนรู้จัก ตลอดจน“นิ้วตำรวจ”ผู้ใกล้ชิด ทำการแจ้งความในคดีซึ่งจะเข้าจับกุมอยู่แล้ว เพื่อที่จะร่วมมือกันรับค่าจ้างเบาะแส อันเป็นการกินเปล่า หรือทำให้การเข้าจับกุมมีขั้นตอนที่ล่าช้า เพราะเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการจะเข้าจับกุมเมื่อเรื่องร้องทุกข์นั้น มีรายชื่อผู้แจ้งเบาะแสเป็นคนของตัวเอง ทำให้อัตราส่วนในการรับเงินค่านำจับ เต็ม 100 % 

กระสุนนัดละ 80 บาท ถูกซื้อขายกันโดยไม่ได้โดนจับกุม และไม่มีผู้แจ้งจับ หาซื้อได้ง่ายกว่ายาเสพติดชนิดไหน ผู้ที่ลังเลในการแจ้งข้อมูลแหล่งกบดานสิ่งเสพติด ก็คิดก่ายหน้าผากถึงความคุ้มและผลได้เสีย  ยิ่งถ้าผู้ให้เบาะแสมีครอบครัว ลูกหลาน และคนที่เขารักอยู่ในชุมชน  เป็นการยากที่พวกเขาเหล่านั้นจะเอาตัวเองเข้าไปเสี่ยง

การเพิ่มรางวัลก็เป็นทางหนึ่งที่พึงให้ได้ แต่การปกป้องข้อมูลผู้นำจับ หรือกระบวนการซึ่งนำไปสู่การปกป้องพยานผู้รู้เห็น ตลอดจนคุ้มครองคนให้เบาะแสคนร้าย เหล่านี้น่าจะเป็นอีกทางหนึ่งซึ่งเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ที่กำลังชั่งใจ ว่าจะก้าวขาไปในเส้นทางของพลเมืองดี  หรือยืนอยู่ตรงที่เดิมซึ่งรายล้อมด้วยดงยา แต่ก็ยังปลอดภัยต่อชีวิตมากกว่าที่จะก้าวขานั้นเข้าไปในกับดักอันถูกปูทับด้วยเงินรางวับกลบปากหลุมไว้จนมิด

Picture credit  : www.Volksstimme.de 

www.ibtimes.co.uk

www.NationTV.TV     

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 48

  • คนแจ้งเบาแสจะปลอดภัยได้ยังไงในเมื่อคนจับกับคนขายคือพวกเดียวกัน
    29 ต.ค. 2561 เวลา 01.33 น.
  • ตายครับตายแน่นอนครับ ตำรวจมีมาดรการอะไรคุ้มครองพลเมืองหรือยัง? จับกันเองเถอะครับ พวกค้ายา ตำรวจก็ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ อยู่แล้ว ปลาซิวปลาสร้อย
    29 ต.ค. 2561 เวลา 01.40 น.
  • ✎'ä'𝒜𝓃𝒶𝓃•𝒦𝓊𝒹𝑒𝑒𝓅𝒽𝒶𝓃.
    ตำรวจคือคนค้า เพียงแค่ส่งของให้ประชาชนขายต่อ แล้วยืนดูห่างๆค่อยเก็บเงิน ถึงเวลาเลื่อนคั้น ก้จับมัน หาคนขายใหม่ต่อไป มันคือวงจร แล้วใครจะกล้าแจ้ง
    29 ต.ค. 2561 เวลา 01.45 น.
  • แมว ท่าพญาใน
    ตายๆแน่ เพราะคนรับแจ้งเป็นเจ้าของยา 555
    29 ต.ค. 2561 เวลา 01.36 น.
  • Tatsaneewan
    ถ้าผู้รับแจ้งมีส่วนรู้เห็นกับผู้ค้า แล้วผู้แจ้งจะเป็นอย่างไร ใครจะกล้าวะเนี่ย?
    29 ต.ค. 2561 เวลา 01.33 น.
ดูทั้งหมด