เจ็บแล้วจำคือคนเจ็บแล้วทนคือ..?เปิดเหตุผลทำไม “ผู้หญิง” ถึงยอม “ถูกทำร้าย” มากขึ้นทุกวัน!
จากข่าวการทำร้ายร่างกายที่โดยมากผู้เคราะห์ร้ายจะเป็นฝ่ายหญิง และโดยมากไปกว่านั้นคือเธอมักจะถูกกระทำจาก‘คนรัก’ ของเธอเองที่มากขึ้นทุกวัน รวมทั้งสถิติล่าสุดจากการเก็บข้อมูลของสำนักงานกิจการยุติธรรม ว่าในปีที่ผ่านมา มีความรุนแรงเกิดขึ้นในครอบครัวสูงถึง 83.6%เฉลี่ยได้ว่าในแต่ละวันจะมีคนถูกทำร้ายมากถึง 5 คน / วัน
นอกจากนี้ยังมีรายงานจากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่บอกว่าในหนึ่งปีมีคนเข้าไปขอความช่วยเหลือศูนย์พึ่งได้ 20,018 คน แต่มีคดีที่เข้าสู่กระบวนการเพียง 700 กว่าคดี และออกสู่หน้าสื่อเพียงแค่ 466 คดีในหนึ่งปี นั่นหมายความว่ามีคนถูกทำร้ายร่างกายในแต่ละปีเกิดขึ้น โดยคนธรรมดาทั่วไปไม่เคยรับรู้อีกนับหมื่นคน!
เรื่องที่น่าเศร้าที่สุดคือ แทนที่ยิ่งตัวเลขมากขึ้น แล้วเราควรจะมีมาตการป้องกันให้เหตุการณ์ดังกล่าวลดน้อยลง แต่กลายเป็นว่าตัวเลขกลับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซ้ำร้ายที่สุด มีหลายคนที่เริ่มอ่านข่าวเหล่านี้ ด้วยความคิดชินชา ไม่รู้สึกรู้สาประหนึ่งว่านี่เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปในสังคม
หากมองเพียงผิวเผินในฐานะคนนอกที่ไม่ได้อยู่ร่วมเหตุการณ์ คงจะมีแต่คำถามว่าทำไมคนที่ถูกทำร้ายเหล่านั้นถึงไม่พาตัวเองออกมาจากสถานการณ์เลวร้าย และยัง ‘ยอม’ ให้ตัวเองกลายเป็นเหยื่อของความรุนแรงมาแบบไม่มีวันจบสิ้น
ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเธอไม่ได้ยอมเสียทีเดียว หากแต่เป็นเพราะด้วย ‘ปัจจัย’ หลาย ๆ อย่าง ทำเธอไม่สามารถ ‘เลือก’ ที่จะเดินออกมาได้ง่ายดายอย่างที่หลายคนเข้าใจ
1. ทัศนคติคร่ำครึที่ปลูกฝังว่าคนเราไม่เท่าเทียมกัน
จากการปลูกฝังค่านิยมโบราณในยุคที่ ‘ผู้ชาย’ คือหัวหน้าครอบครัวที่ควบคุมทุกอย่างด้วยตัวเอง ทำให้หลายคนเกิดความคิดว่าเป็นผู้หญิงต้องยอมผู้ชายทุกอย่าง คือฝ่ายชายก็คิดว่าตัวเองมีสิทธิทำอะไรกับผู้หญิง และผู้หญิงหลายคนก็มีความคิดไปเหมือนว่า ตัวเองเป็นช้างเท้าหลัง ต้องทนถูกทำร้ายต่อไปเรื่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่ตอนนี้โลกหมุนไปจนถึงปี 2019 ที่ทุกคนควรจะมองเห็นความจริงได้แล้วว่า ไม่ว่าคุณจะเกิดมาเป็นใคร เพศใด ผิวสีแบบไหน ก็ล้วนเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มี ‘คุณค่า’ และไม่จำเป็นต้องยอมให้ใครมาทำร้ายเช่นเดียวกัน
2. ภาระหลายอย่างที่ต้องแบกรับ
ผู้หญิงบางคนอาจจะรู้ตัวว่าแท้จริงแล้วมนุษย์ทุกคนมีคุณค่าเท่าเทียมกัน แต่เมื่อกลับมามองที่สภาพความเป็นจริงในครอบครัว เธออาจจะเป็นผู้หญิงที่เติบโตมาในสังคมแบบชายเป็นใหญ่ ที่ผู้ชายเป็นหัวเรือหลักในการหารายได้ให้ครอบครัวมาตลอด ทำให้เธอคิดว่าหากเธอเดินออกมาตอนนี้ ทั้งโอกาส ความรู้ ความสามารถที่มีอยู่อย่างจำกัด อาจทำให้เธอไม่สามารถมีชีวิตรอดได้หากฝ่ายชายถูกจับ หรือเธอตัดสินใจเดินออกมา
ยิ่งถ้าเป็นครอบครัวที่มีลูกเป็นโซ่ทองคล้องใจด้วยแล้วก็ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ เพราะคำว่า‘ครอบครัวสมบูรณ์’ กับแนวคิดไม่อยากให้ลูกเป็นเด็ก ‘มีปัญหา’ ก็ยิ่งเหนี่ยวรั้งให้ผู้หญิงหลายคนทนอยู่ในสภาพถูกทำร้ายแบบนั้นมากขึ้นไปอีก
3. เรื่องของ‘คนในครอบครัว’ คนอื่นอย่ายุ่ง
จากแนวคิดทำนองที่ว่า ‘ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า’ ผสมกับสายตาของคนรอบข้าง ที่พร้อมจะเปิดวงซุบซิบนินทากันอยู่เสมอเมื่อครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งเกิดมีปัญหากันขึ้นมา และแทนที่จะมองว่านั่นคือปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข แต่ทิศทางของบทสนทนาส่วนใหญ่มักจะมีแนวโน้มที่จะพูดให้คนในครอบครัวนั้น ๆ (โดยเฉพาะฝ่ายหญิง) ได้รับความอับอาย
ทำให้หลายครั้งเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ผู้หญิงหลายคนจึงเลือกที่จะเก็บปัญหาเอาไว้คนเดียว ไม่ปริปากบอกใคร เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้เหตุการณ์ดีขึ้นแล้ว ยังมีแต่จะตกเป็นเป้าถูกนินทากันอย่างสนุกปากอีกต่างหาก
แม้กระทั่งในกระบวนการยุติธรรมเองบางครั้ง เมื่อคู่รักที่ถูกทำร้ายไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ แล้วมักจะถูกคำพูดทำนองว่า ‘เป็นเรื่องในครอบครัว’ ให้ ‘ไกล่เกลีย’ กันเองก่อน จนทำให้บางคนรู้สึกหมดหวัง และไม่อยากพาตัวตัวเองเข้าสู่กระบวนการใด ๆ อีกเลย
4. มองเห็นแต่ข้อดีของเขาและเฝ้าคิดว่าทั้งหมดเป็นความผิดของตัวเอง
นับว่าเป็นเหตุผลที่อันตรายมาก ๆ แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่านี่คือหนึ่งในปัจจัยหลักที่ผู้หญิงหลายคนมีแนวคิดนี้อยู่กับตัว เพราะแทนที่จะมองว่าผู้ชายที่ทำร้ายตัวเองนั้นเป็นคนไม่ดี แต่กลายเป็นว่าผู้หญิงหลายคน มักจะเฝ้าโทษตัวเองว่า ที่เขาทำร้ายตัวเธอนั้น เป็นเพราะว่าเธอยังดีไม่พอสำหรับเขา คนด้อยค่าแบบเธอสมควรแล้วที่จะถูกทำร้ายต่อไป เพราะหากว่าเธอทำตัวดีมากพอ แล้วเขาก็น่าที่จะเลิกทำร้ายเธอไปเอง
รวมทั้งการพยายามคิดถึงความดีเพียงเล็กน้อยที่ผู้ชายคนนั้นเคยทำให้ และเอามากลบความผิดที่เขาทำร้ายร่างกายจนหมดสิ้น สุดท้ายเลยได้แต่เฝ้าเก็บกดความรู้สึกเอาไว้ว่าสักวันหนึ่งเขาจะกลับมาทำดีกับเราเหมือนเดิม
5. รสหวานของการทะเลาะเบาะแว้ง
ปัจจัยนี้กลายเหตุผลสุดเศร้าที่เริ่มเกิดขึ้นมากขึ้นช่วงหลัง ๆ ในวันที่ผู้คนมองว่าความเหงาและการอยู่คนเดียวกลายเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุดมากกว่าการถูกทำร้าย
บางคนมองว่าความว่างเปล่าเมื่อนอนอยู่ในห้องคนเดียวสร้างความเจ็บปวดได้มากกว่าการถูกคนที่นอนอยู่ข้าง ๆ กันทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจต่อไปเรื่อย ๆ เพราะมองว่า ‘ชีวิตคู่’ คือสรณะสุดท้ายที่ต้องยึดเหนี่ยวเอาไว้ให้ได้
อย่างน้อยการมีใครสักคนให้เรียกว่า ‘แฟน’ หรือ ‘คนรัก’ ถึงแม้ว่าคน ๆ นั้นจะเลวร้ายกับเรามากขนาดไหน ก็ยังดีกว่าการถูกมองว่า ‘เป็นคนไม่มีแฟน’ ‘ไม่มีคนมองเห็นคุณค่า’
ทั้งที่จริง ๆ แล้วทุกคนล้วนมี ‘คุณค่า’ อยู่ในตัวเอง และสามารถมองเห็นได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ผู้ชาย หรือ ‘คนรัก’ ห่วย ๆ มานิยามและทำร้ายเราต่อไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น
อ้างอิง
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/808864
https://www.schoolofchangemakers.com/knowledge/11215
ความเห็น 21
สังคมกำหนดพฤติกรรมของคน อย่ายึดติดกับสังคมแบไทยๆคุณก็จะหลุดพ้นจากวงจรนี้
10 เม.ย. 2562 เวลา 00.50 น.
ใช่ สำหรับคนที่แต่งงานและมีลูกด้วยกันแล้วอ่ะนะ... ทนเพราะ รักและเพื่อจะรักษาครอบครัวเอาไว้ เราเห็นมาแล้ กับคนในครอบครัวเราเอง....
มันน่าเศร้าตรงที่ ผู้ชายมันไม่มีจิตสำนึกเอาซะเลย มันไม่เคยขอโทษ ทั้งๆที่มันเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ควรจะให้อภัยด้วยซ้ำ แทนที่จะมีจิตสำนึก แต่เปล่าเลย....
มีกายเป็นมนุษย์ แต่ทำตัวเหมือนสัตว์เดรัจฉาน เป็นหมู หมา กา ไก่ เอาไม่เลือก?!!!
09 เม.ย. 2562 เวลา 19.37 น.
เเต่สำหรับผู้ชายบางคนยอมทิ้งทุกสิ่งเพื่ออนาคตใหม่กับผู้หญิงคนนึง ยอมผู้หญิงหมดทุกๆอย่าง ทุกๆเรื่อง เเม้กระทั่งเรื่องเงินก็ให้หมดทุกบาททุกสตางค์ เเต่กลับโดนสวมเขา ให้ฝ่ายชายตลอด ทั้งๆที่จับได้เเละรู้ๆเเต่เธอก็เลือกโกหกจนฝ่ายชายยอมไม่ได้ถ้าพูดเรื่องจริงก็ยอมกันได้ เเละพร้อมจะให้อภัยเเละรักกันต่อไป เพื่อครอบครัวเพื่อรักของเราเเล้ว เเต่ฝ่ายหญิงกลับหาเรื่องทุกทางที่จะเลิก เเละทำร้ายร่างกายฝ่ายชายก่อน จนฝ่ายชายตอบโต้บาง จนเพ้อทำร้ายร่างกายเธอจนช้ำที่หน้า เเต่ฝ่ายชายเเค่ถลอกเเละช้ำตรงจมูก เเบบนี้ทำไงดี
09 เม.ย. 2562 เวลา 15.35 น.
การทำร้ายไม่ใช่ว่าผชไ มารัก ลองคิดกลับดูสิ่งที่เขาว่าสิ่งที่เขาดา การทำอะไรทุกสิงทุกอย่างมันต้องมีความพอดี ครอบครัวละเอียดออน ถ้ามีปันหาแล้วลำบาก
09 เม.ย. 2562 เวลา 14.54 น.
sanit tan
ไม่จริง ส่วนใหญ่ไม่อดทน แต่เพราะมีเหตุผลถึงยอม ผู้หญิงร้ายกว่าผู้ชายเยอะ
09 เม.ย. 2562 เวลา 09.59 น.
ดูทั้งหมด