โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

‘บสย.’ โชว์ 30 ปีค้ำประกันสะสม 1.28 ลล.อุ้มเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุน 7.27 แสนราย

ไทยโพสต์

อัพเดต 20 พ.ค. 2565 เวลา 10.22 น. • เผยแพร่ 20 พ.ค. 2565 เวลา 03.22 น.

“บสย.” โชว์ผลงาน 30 ปี ลุยอนุมัติวงเงินค้ำประกันสะสม 1.28 ล้านล้านบาท อุ้มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุน 7.27 แสนราย สร้างสินเชื่อวิ่งในระบบ 1.72 ล้านล้านบาท ช่วยรักษาการจ้างงานกว่า 11 ล้านตำแหน่ง แจงงบรัฐ 1 ล้านบาท สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจประเทศ 28 เท่า

20 พ.ค. 2565 - นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ในช่วง30 ปีที่ผ่านมา (ปี 2535 – 2565) บสย. ได้เร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เข้าถึงแหล่งทุน โดยมียอดยอดค้ำประกันสินเชื่อสะสม 1.28 ล้านล้านบาท และช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้สินเชื่อ 727,858 ราย หรือ คิดเป็น 23% ของเอสเอ็มอีทั้งประเทศ แบ่งเป็นช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 226,444 ราย หรือ 31% และรายย่อย (Micro) 501,414 ราย หรือ 69% ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบกว่า 1.72 ล้านล้านบาท รวมทั้งยังช่วยรักษาการจ้างงาน 11 ล้านตำแหน่ง ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกว่า 5.3 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อ ยังได้สะท้อนความสำเร็จในมิติ ประสิทธิภาพการใช้งบประมาณภาครัฐที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแบบทวีคูณ โดยงบประมาณรัฐ 1 ล้านบาท สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ถึง 28 เท่า เกิดวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ จำนวน 7 ล้านบาท สร้างสินเชื่อในระบบให้เอสเอ็มอีได้ 9.45 ล้านบาท ช่วยเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุน 1.3 ราย ช่วยการจ้างงาน 54 ตำแหน่ง ขณะที่โครงการ Micro งบประมาณรัฐ 1 ล้านบาท ก่อให้เกิดวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 5 ล้านบาท สร้างสินเชื่อในระบบให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 5 ล้านบาท ช่วยให้เข้าถึงแหล่งทุน 40 ราย ช่วยการจ้างงาน 122 ตำแหน่ง และก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแบบทวีคูณถึง 18 เท่า

นอกจากนี้ ในช่วง 8 ปี ที่ผ่านมา (ปี 2558-2565) บสย. ได้ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงสินเชื่อได้ถึง 668,232 ราย หรือราว 91% ของจำนวนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ บสย.ให้ความช่วยเหลือทั้งหมด เป็นวงเงินกว่า 8.9 แสนล้านบาท หรือราว 70% ของยอดอนุมัติวงเงินทั้งหมด และช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เฉลี่ยปีละ 83,000 ราย และวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ เฉลี่ยปีละ 1.12 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ดี ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 บสย. ยังได้เร่งช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้ ผ่านโครงการมาตรการแก้ไขหนี้ ปี 2565 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้เร่งด่วน โดยให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ บสย. สำเร็จแล้ว 129 ราย วงเงิน 300 ล้านบาท รวมถึงมีการประนอมหนี้ ลูกหนี้แล้วกว่า 5,340 ราย วงเงินรวม 10,573 ล้านบาท

สำหรับมาตรการแก้ไขหนี้ ภายใต้แนวคิด “บสย. พร้อมช่วย” นั้น ได้แบ่งการช่วยเหลือเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. ลูกหนี้ดี มีวินัย 2. ลูกหนี้ ผ่อนดีมี บสย.ช่วยเหลือ และ 3. ลูกหนี้ดี ไม่มีแรงผ่อน โดย บสย.ให้ความช่วยเหลือตามศักยภาพการชำระหนี้ของลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มเพื่อให้สามารถประคองธุรกิจต่อไปได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0