โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

"วาฬสีน้ำเงิน" เกมฆ่าตัวตายในโลกออนไลน์ที่คร่าชีวิตเด็กวัยรุ่นนับร้อย - พุธนี้คดีสยอง

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 23 ธ.ค. 2563 เวลา 00.08 น. • หลานสาวน้าป๋อง

"เกมฆ่าตัวตาย" กับเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประเทศรัสเซีย… 

ย้อนกลับไปในปีค.ศ. 2015 วันที่ 22 พฤศจิกายน ภาพเซลฟี่ของ "รีน่า พาเลนโควา" เด็กหญิงอายุ 17 ปีถูกโพสต์ขึ้นบนโซเชียลมีเดียของเธอ ในรูปเธอพันใบหน้าครึ่งหน้าด้วยผ้าพันคอสีดำ ชูนิ้วกลางที่มีคราบเลือดเกาะอยู่ พร้อมกับแคปชั่นใต้รูปที่เขียนว่า "Nya bye" บอกลาทุกคนก่อนที่เธอจะตัดสินใจจบชีวิตในวันต่อมาโดยการกระโดดเข้าหารถไฟที่กำลังแล่นด้วยความเร็วสูง

การเสียชีวิตของรีน่าทำให้ทุกคนได้รู้จักกับ Blue Whale กรุ๊ปลับ ๆ ในเว็บไซต์ VKontakte แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ใหญ่ที่สุดในรัสเซียซึ่งผู้ใช้ส่วนมากเป็นเด็กวัยรุ่นที่เข้ามาพูดคุยกันในทุกเรื่อง ตั้งแต่เรื่องการเรียน ความรัก แฟชั่น ไปจนถึงเรื่องหนัก ๆ อย่างเช่นอาการซึมเศร้า หรือแม้แต่กระทู้ที่เกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ซึ่งสัญลักษณ์ของปลาวาฬสีน้ำเงิน ในรูปแบบของภาพวาดหรือข้อความ จะถูกนำมาใช้เมื่อมีการพูดถึงการจบชีวิตเสมอ และเมื่อสืบสาวกลับไปแล้วก็พบว่ามีชาเลนจ์ที่ท้าให้ฆ่าตัวตายกำลังระบาดอยู่ในกลุ่มเด็กวัยรุ่น ณ เวลานั้น

BLUE WHALE: เกมมรณะ 50 วัน 50 มิชชั่น 

ชาเลนจ์ที่ถูกส่งต่อ ๆ กันโดยมีผู้คุมเกม 1 คน เป้าหมายของเกมนี้คือการให้ผู้เล่นทำตามมิชชั่นในแต่ละวันเป็นเวลา 50 วันต่อเนื่องโดยคำสั่งจะเริ่มจากอะไรที่เบา ๆ ง่าย ๆ ก่อน อย่างเช่น ให้ตื่นนอนช่วงกลางดึก หรือการดูหนังสยองขวัญติดต่อกัน 24 ชั่วโมง และจะเริ่มทวีคูณความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละวัน มีทั้งคำสั่งที่ให้ทำร้ายตัวเอง ให้กรีดแขนให้เป็นรูปปลาวาฬ และอีกสารพัดขั้นตอนที่บังคับให้ผู้เล่นทำร้ายตัวเองโดยท้ายที่สุดมีจุดหมายปลายทางคือมิชชั่นการฆ่าตัวตายเพื่อจบชาเลนจ์ ระหว่างทางผู้เล่นจะต้องโพสต์รูปเพื่อเป็นหลักฐานซึ่งกฎนี้จึงเป็นต้นเหตุที่ทำให้เรื่องราว Blue Whale Challenge ถูกแพร่ออกสู่เหยื่อรายต่อ ๆ ไป

การระบาดของเกม จากเคสของรีน่าสู่เด็ก ๆ ทั่วโลก

ระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2015 ถึงเมษายน 2016 มีเคสที่รายงานเก่ียวกับการฆ่าตัวตายของเด็ก ๆ ในรัสเซียมากถึง 130 คนโดยที่เด็กทุกคนที่ตัดสินใจจบชีวิตของตัวเองเป็นสมาชิกอยู่ในกลุ่มโซเชียลมีเดียกลุ่มเดียวกันและทุกคนทิ้งปริศนาเกี่ยวกับวาฬสีน้ำเงินเอาไว้ ชาเลนจ์เริ่มระบาดออกนอกประเทศรัสเซียเมื่อตำรวจพบเคสการฆ่าตัวตายของเด็กหญิงอายุ 16 ในรัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา พ่อแม่ของเด็กน้อยพบรูปวาดของรีน่าในห้องนอนของเธอ รวมถึงกระดาษตัดแปะที่เขียนว่า "I am a blue whale"  เอาไว้บนบอร์ดของเธอ 

เคสการฆ่าตัวตายไม่ได้จบเพียงเท่านี้แต่ลามไปถึงรัฐเท็กซัส ตามมาด้วยเคสในอินเดีย จีน อิตาลี อียิปต์ และอีกนับไม่ถ้วนในรัสเซีย เหยื่อของเด็กวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปีโดยทั้งหมด และในทุกเคสการเสียชีวิตจะมีหลักฐานที่ลิงก์กลับไปหากลุ่ม Blue Whale เสมอ

การตามล่าหาผู้คุมเกมนรกนี้จึงเกิดขึ้น

เดือนพฤศจิกายน 2016 หลังจากสืบหาต้นเหตุของกลุ่ม Blue Whale อย่างถี่ถ้วน ตำรวจจับกุม นายฟิลลิป บูเดคิน อายุ 21 ปี อาชีพโปรดิวเซอร์เพลง ด้วยข้อหาพยายามยุยงและส่งเสริมการฆ่าตัวตาย เขายอมรับในข้อหาดังกล่าวและเผยว่าจุดประสงค์ที่รันเกมนี้ก็เพื่อทำสิ่งที่ถูกต้อง

"โลกนี้มีทั้งมนุษย์และคนที่เป็นเหมือนขยะชีวภาพ ผมก็แค่พยายามที่จะทำความสะอาดโลกโดยการช่วยกำจัดคนเหล่านั้นเอง บางทีก็คิดว่าตัวเองกำลังอะไรที่ผิดอยู่นะ แต่คิดไปคิดมาอีกที ผมก็เชื่อว่านี่คือสิ่งที่ควรจะเป็น" ฟิลลิปให้สัมภาษณ์กับสื่อเกี่ยวกับความเชื่อของเขา

เขาถูกตัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 3 ปี และหลังจากการจับกุมของนายฟิลลิป ตำรวจก็สืบเจอผู้ต้องหาที่รับบทเป็นแอดมินในกลุ่ม Blue Whale เพิ่มอีก 2 ราย จากการไต่สวน ทุกคนมีความเชื่อเดียวกันว่าเด็กที่ต้องการจบชีวิตตนเองในอายุเท่านี้คือทรัพยากรที่ไร้ค่าและพวกเขาแค่ช่วยให้สังคมดีขึ้นจากการสร้างเครือข่ายนี้เท่านั้นเอง…

อ้างอิง

https://www.bbc.com/news/blogs-trending-46505722

https://heavy.com/news/2017/07/rina-palenkova-suicide-blue-whale-challenge-tasks-who-is-photos/

https://www.buzzfeednews.com/article/krishrach/blue-whale-panic

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0