ทุกวันนี้เราอาจจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศมากขึ้น ซึ่งต้องยอมรับว่าอีกหนึ่งปัจจับที่ทำให้เราได้ยินเรื่องราวเหล่านี้มากขึ้น ไม่ใช่แค่เพียงการเพิ่มขึ้นของการล่วงละเมิดทางเพศเหล่านั้น แต่เป็นการที่ผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศได้เข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนับเป็นการล่วงละเมิดทางเพศ และกล้าหาญที่จะออกมาบอกสังคมว่าตนเองถูกล่วงละเมิดทางเพศนั่นเอง
แต่การล่วงละเมิดทางเพศนั้นไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงในโลกจริงเท่านั้น แต่สามารถเกิดในโลกเสมือนได้ด้วย เช่นก่อนหน้านี้มีข่าวว่าหญิงสาวคนหนึ่งได้ออกมาบอกกับสังคมว่าถูกล่วงเกินในโลก meta verse โดยเธอได้เล่าว่ามีกลุ่มผู้ชายที่นำอวตารของตนเองมารุมข่มขืนอวตารของเธอ และพอเกิดเรื่องเหล่านี้ขึ้นก็มีการวิพากษ์จากทั้งสองฝั่ง
หากจะยกตัวอย่างการล่วงละเมิดทางเพศในโลกออนไลน์ได้ชัด ๆ ก็อาจจะเห็นได้จากคอมเมนต์ใต้โพสต์ต่าง ๆ ที่ใช้ภาษาไปในทางล่วงเกินทางเพศ เหยียด หรือว่าข่มขู่ทางเพศ อีกทั้งยังสามารถรวมไปถึงการใช้ข้อความในการสนทนาที่ส่อไปทางเพศอีกด้วย
ลองมาเช็กลิสต์กันดูว่าเคยทำ หรือเคยเจอ สถานการณ์เหล่านี้หรือไม่
- เคยส่ง หรือ ได้รับ ข้อความแสดงถึงพฤติกรรมลวนลามทางเพศในพื้นที่โซเชียลมีเดีย
- ถูกข่มขู่ทางเพศ โดยฝ่ายที่กระทำมีอำนาจเหนือกว่า เช่น มีภาพลับในครอบครอง และขู่ว่าจะนำภาพเหล่านั้นมาปล่อยบนโลกออนไลน์ เป็นต้น
- เหยียดเพศของผู้อื่น พฤติกรรมนี้อาจจะถูกทำไปอย่างไม่รู้ตัว เช่นการไปล้อเลียนรสนิยมทางเพศของผู้อื่น หรือผู้ที่มีรสนิยมทางเพศทางกับตัวเรา ทั้ง ๆ ที่เรื่องรสนิยมทางเพศนั้นเป็นเรื่องส่วนบุคคล
- จงใจถ่าย และเผยแพร่ภาพลับของผู้อื่นลงบนโซเชียลโดยเจ้าตัวไม่รับรู้ / ไม่ยินยอม
ข้างต้นนั้นเป็นเพียงสถานการณ์ที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ล่วงละเมิดที่เกิดขึ้นจริงในสังคม การที่ให้สำรวจว่าเคยทำ หรือถูกกระทำนั้น เป็นเหมือนเครื่องเตือนใจ และเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันว่าการล่วงละเมิดทางเพศนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และตัวเราเองก็อาจจะเป็นได้ทั้งเหยื่อ หรือผู้กระทำได้เช่นเดียวกัน
วิธีการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ จำเป็นต้อง ‘แบน’ หรือ ‘ต้องห้าม’ เว็บโป๊ หรือสิ่งที่มีแนวโน้มว่าจะทำให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศเสมอไปหรือไม่ คำตอบคือไม่ใช่ เพราะมีการศึกษาว่าจริง ๆ แล้วภาพยนตร์โป๊นั้นไม่ได้เป็นสาเหตุของอาชญากรรมทางเพศ เพราะได้มีการทดสอบว่าการให้ผู้คนดูหนังโป๊จะเพิ่มความรู้สึกอยากกระทำความรุนแรงทางเพศหรือไม่ แต่ผลทดสอบก็ออกมาว่าไม่มีผลนั่นเอง
นั่นอาจจะสามารถสรุปได้ว่าอันที่จริงแล้วการล่วงละเมิดทางเพศนั้นจะเกิดขึ้นได้ยาก ไปจนถึงไม่เกิดเลยหากทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย เคารพในสิทธิทางเนื้อตัวร่างกายของกันและกัน ไม่ละเมิด หรือกระทำพฤติกรรมที่สร้างให้คนอื่นเกิดความไม่พอใจ และไม่ทำร้ายจิตใจซึ่งกันและกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก
utsa.edu
the-fourth-industrial-revolution.com
justicechannel.org
bangkokbiznews.com
tu.ac.th
ความเห็น 10
tum
5555..ช้าไปป่าว เค้านัดกินตับกันมาสองชาติแล้ว
07 มี.ค. 2565 เวลา 05.29 น.
หนึ่ง
อย่างนี้ก็มีด้วย 5555.
07 มี.ค. 2565 เวลา 05.56 น.
X-Man
😏
07 มี.ค. 2565 เวลา 01.43 น.
☕Kulcoffee🍫
ไม่ถือว่าล่วงละเมิดทางเพศค่ะ เพราะฝ่ายชายเขาสมยอม เขาอยากได้รูปโป๊เปลือยและข้อความอนาจารจากดิฉันค่ะ ดิฉันขอปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาค่ะ 555555
07 มี.ค. 2565 เวลา 16.12 น.
Thananan S.
เยอะแยะ
07 มี.ค. 2565 เวลา 05.47 น.
ดูทั้งหมด