โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เป็นคนดาร์กๆ แล้วยังไง น่าหลงใหลดีออก - newness

LINE TODAY SHOWCASE

เผยแพร่ 13 มี.ค. 2565 เวลา 13.19 น. • newness

เป็นคนดาร์กๆ แล้วยังไง น่าหลงใหลดีออก

 ถ้าลองถามว่า คุณอยากได้แฟนแบบไหน

คำตอบลำดับต้นๆ ก็จะเป็นประเภท ใจดี ซื่อสัตย์ ไว้ใจได้ เชื่อถือได้ เป็นต้น ซึ่งลักษณะเหล่านี้ ล้วนเป็นนิสัยที่ดี ที่นักจิตวิทยา เรียกรวมๆ กันว่า Positive traits แต่ก็มีนิสัยที่เรียกว่า Dark traits ด้วย คือ

 * บุคลิกภาพหลงตัวเอง (Narcissism): กลุ่มนี้จะคิดว่าตัวเองสำคัญ และดีกว่าคนอื่นๆ มักเรียกร้องความสนใจและการชมเชยเสมอ ต้องการให้คนรอบข้างปฏิบัติกับตัวเองดีเป็นพิเศษ คิดว่าตัวเองมีอภิสิทธิ์เหนือใครนั่นเอง

 * บุคลิกภาพเจ้าเล่ห์ (Machiavellianism): กลุ่มนี้จะถือผลประโยชน์ของตัวเองเป็นสำคัญ ทุกแอคชั่นย่อมทำไป ความหมายถึงการบรรลุผลหรือเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ มีเล่ห์เหลี่ยมและวาทศิลป์สูงในการจูงใจคนให้คล้อยตามเพื่อผลประโยชน์ของตน

 * บุคลิกภาพแยกตัว (Psychopathy): กลุ่มนี้จะไร้ซึ่งความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่มีความรู้สึกผิดหรือรับผิดชอบใดๆ ต่อการกระทำของตัวเองที่ส่งผลต่อผู้อื่น หรือจะพูดว่า เป็นคนประเภทไม่รู้สึกรู้สาก็น่าจะพอเข้าใจได้

 * บุคลิกภาพโหดร้าย (Sadism): กลุ่มนี้จะรู้สึกพอใจเมื่อได้ใช้ความรุนแรง โดยมีหรือไม่มีเรื่องเพศเข้ามาเกี่ยวข้องก็ได้

 4 กลุ่มข้างต้นรวมเรียกว่า Dark tetrad แต่ในบทความนี้เราจะเขียนถึงบุคลิกภาพ Dark triad เท่านั้น คือ หลงตัวเอง เจ้าเล่ห์ และ แยกตัว

 Dark triad นี้ ก็ย่อมเหมือนกับลักษณะนิสัยอื่นๆ คือจะมีระดับความมากน้อยที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และ 3 ลักษณะนั้นอาจจะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่จะมีความคาบเกี่ยวกันอยู่คือ Dark triad นั้นก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม

"ต่อต้านสังคม" ด้วยเหมือนกัน คำว่าต่อต้านสังคม (Antisocial) ในทางจิตวิทยา ไม่ได้หมายถึง การชอบเก็บตัว หรือชอบใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่คนเดียว ซึ่งเป็นความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไป แต่หมายถึง การไม่ใส่ใจกฎเกณฑ์ของสังคม และไม่มีความรู้สึกผิดเมื่อตัวเองได้ทำเรื่องเลวร้าย (ในสายตาของคนอื่น)

 หากมองอย่างผิวเผิน เราคงไม่อยากเข้าใกล้คนที่มีนิสัยอย่างนั้นซักเท่าไร แต่กลับกลายเป็นว่า ผู้ที่มีลักษณะ Dark triad นั้นสามารถดึงดูดความสนใจจากกลุ่มคนประเภทที่เชื่อในรักแรกปิ๊ง หรือเจอปุ๊บรักปั๊บ (Emophilia) ได้มากทีเดียว เพราะคนกลุ่มนี้ตีความลักษณะนิสัยของชาว

Dark triad ออกมาเป็นคุณสมบัติที่ตนมองหาในคนรัก เช่น อาจจะดูมีความมั่นใจสูง หรือช่างพูดช่างคุย

เนื่องจากยังไม่ได้สนิทสนมกันมากพอที่จะรู้จักตัวตน หรือนิสัยที่แท้จริงของคนคนนั้นได้ (แต่ก็ดันตกหลุมรักไปซะแล้ว) และก็มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่า พวกดาร์กๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นที่น่าสนใจ ดึงดูดเพศตรงข้ามได้สูงกว่าผู้ที่ไม่มีลักษณะนิสัยที่เข้าข่ายนั้น หรือมีในระดับที่ต่ำกว่า พูดง่ายๆ ว่า ยิ่งดาร์กมาก ยิ่งดูน่าสนใจมากนั่นเอง (ซึ่งการวิจัยนี้ก็ไม่ได้บอกว่าอาสาสมัครเป็นกลุ่ม Emophilia ด้วยหรือไม่)

 เมื่อมองลึกลงไปในระดับพันธุกรรม มีงานวิจัยที่พบว่า พวกต่อต้านสังคมมียีนที่สัมพันธ์กับยีนที่ควบคุมการเจริญพันธุ์

ในวัยเด็ก ซึ่งส่งผลให้คนกลุ่มนี้ มีโอกาสที่จะมีลูกได้มากกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ บุคลิกภาพแยกตัวยังสัมพันธ์กับการใช้ชีวิตแบบกล้าได้กล้าเสีย ทำอะไรโดยไม่ต้องยั้งคิด เมื่อรวมกับการมีบุคลิก "ดาร์กๆ" ซึ่งดูน่าหลงใหลซะเหลือเกิน

สำหรับเพศตรงข้าม 2 ปัจจัยนี้จึงทำให้กลุ่ม Dark triad สามารถแพร่พันธุ์ ขยายวงศ์ตระกูลต่อไปได้เรื่อยๆ ในกลุ่มประชากรไม่หดหายไปเสียก่อน เพราะมีโอกาสที่จะมีลูกได้มากกว่าคนธรรมดาทั่วไปเสียอีก ซึ่งยีนที่มีผลต่อลักษณะนิสัยเหล่านี้ ก็จะถูกส่งต่อไปยังรุ่นถัดไป เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการวิวัฒนาการ

 การวิวัฒนาการนั้น ไม่ได้ให้ความสำคัญกับศีลธรรม จรรยา ความเชื่อ หรือค่านิยมใดๆ ของสังคม ลักษณะใดที่จะช่วยให้เผ่าพันธุ์ดำรงคงอยู่ และขยายวงศ์วานต่อไปได้ ลักษณะนั้นก็จะถูกส่งต่อรุ่นสู่รุ่น (ลักษณะที่น่าดึงดูดใจ, ความสามารถหรือโอกาสที่จะได้สืบต่อสายพันธุ์) ถึงแม้ว่าสังคมจะยอมรับลักษณะนั้นไม่ได้ก็ตาม เพราะการวิวัฒนาการไม่ทำงานกับความเชื่อของสังคม แต่ทำงานโดยอาศัยอยู่บนรากฐานของความอยู่รอดและการขยายเผ่าพันธุ์ เพียง 2 ปัจจัยนี้เท่านั้น ที่กำหนดพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน การจะเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ ต้องอาศัยศาสตร์แขนงใหม่ที่เรียกว่า จิตวิทยาวิวัฒนาการ ซึ่งศาสตร์นี้จะพยายามทำความเข้าใจกับการกระทำต่างๆ ของมนุษย์ เพราะเราล้วนผ่านการวิวัฒน์ทั้งทางด้านพฤติกรรม อารมณ์ และรูปแบบของการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งแน่นอนว่าเป็นไปเพื่อเพิ่มโอกาสในการมีชีวิตรอดและสืบต่อสายพันธุ์นั่นเอง 

มาลองทำความเข้าใจ จิตวิทยาวิวัฒนาการ เบื้องต้น ดังนี้

 * พฤติกรรมของมนุษย์ เป็นผลมาจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

  พฤติกรรมหลายๆ อย่างของเราที่ยังคงถูกพัฒนา ย่อมเป็นผลมาจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ซึ่งแน่นอนว่า

พฤติกรรมที่ถูกคัดมานั้น ต้องมีส่วนช่วยให้มนุษย์ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์และอยู่รอดมาได้ เช่น เราจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อภัยอันตราย

(fight or flight response: การเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมต่อภัยคุมคาม และประเมินว่าจะสู้หรือจะหนี)

 * การดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์เป็นจุดสูงสุดของวิวัฒนาการ

  สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ต้องการดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์ของตนเอง ดังนั้น จิตวิทยาวิวัฒนาการ จึงไม่ใช่การ

มุ่งเน้นว่า "อะไรดีที่สุดสำหรับเผ่าพันธุ์ของเรา" แต่จะอาศัยการคัดเลือกโดยธรรมชาติ เพื่อช่วยให้ทุกสิ่งมีชีวิต

สามารถดำรงวงศ์ของตนต่อไปได้ต่างหาก การมีชีวิตรอด ย่อมหมายถึงการมีโอกาสที่จะขยายวงศ์ตระกูลต่อไปได้

ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใดๆ ก็ตามที่จะช่วยให้มีโอกาสรอดชีวิต จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ

 * พฤติกรรมในปัจจุบันเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมในอดีต

  จากมุมมองของวิวัฒนาการ สิ่งมีชีวิตจะต้องปรับพฤติกรรมตัวเองเพื่อความอยู่รอดในสิ่งแวดล้อม

ขณะนั้นให้ได้ สมัยที่บรรพบุรุษของเรายังอาศัยอยู่ที่ ทุ่ง savanna Africa ซึ่งแห้งแล้งและขาดแคลนอาหาร

การเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ เป็นสิ่งจำเป็น (เพราะต้องย้ายที่อยู่อาศัยไปเรื่อยๆ) และจะอยู่กันเป็นกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น

แต่วิถีชีวิตในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงจากอดีตไปมาก เรามีอาหารมากมาย โดยที่ไม่ต้องขยับตัวไปไหนไกลด้วยซ้ำ

ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาความเจ็บป่วยตามมา ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพราะภายในของเรายังคงเป็นเหมือนบรรพบุรุษ

ดั้งเดิมนั่นเอง

 * ความยืดหยุ่นของพฤติกรรมคือหัวใจสำคัญของจิตวิทยาวิวัฒน์

  มนุษย์ก็เหมือนกับสัตว์ทั่วๆ ไปที่มีพฤติกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม

เช่น อยู่ในบ้านเมื่ออากาศหนาว และออกนอกบ้านเมื่ออากาศอุ่นและมีแสงแดด (แต่ในไทยอาจจะเป็นในทางตรงกันข้าม)

ดังนั้น พฤติกรรมจึงไม่มีอะไรตายตัว แต่สามารถปรับเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่อาศัย

และเมื่อพฤติกรรมสามารถยืดหยุ่นได้ จึงทำให้เกิดทฤษฎีว่า โตมาเป็นคนแบบไหนล้วนเกิดจากประสบการณ์วัยเด็ก

ที่จะกำหนดแนวคิดและพฤติกรรม เช่น ผู้ที่โตมากับความไม่แน่นอน (ย้ายที่อยู่บ่อย, อาหารหรือทรัพยากรที่จำเป็นมีพอบ้างไม่พอบ้าง)

มีแนวโน้มที่จะใช้ชีวิตในลักษณะที่รวดเร็วปุบปับ เพราะคาดว่าอาจจะมีอายุสั้น (ไลฟ์สไตล์ของชาว Dark triad ก็เป็นเช่นนี้)

ในขณะที่ คนที่โตมากับความพรั่งพร้อม และเหตุการณ์ในชีวิตค่อนข้างแน่นอน ก็มักจะมีการใช้ชีวิตแบบค่อยเป็นค่อยไป

เพราะคิดว่าตัวเองน่าจะชีวิตที่ยืนยาว

 * การวิวัฒนาการ อยู่ในทุกพฤติกรรมของมนุษย์

  การคัดเลือกโดยธรรมชาติ เป็นส่วนสำคัญของพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น

การคัดเลือกทางเพศ เมื่อลักษณะบางอย่างมีแนวโน้มที่จะเพิ่มโอกาสในการสืบพันธุ์ (เช่น แรงดึงดูดของมนุษย์ชาวดาร์กดังกล่าวข้างต้น)

ลักษณะเหล่านั้นก็จะถูกคัดมา นอกจากนี้ การวิวัฒน์ทางวัฒนธรรม ก็เป็นส่วนสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมด้วยเช่นกัน

.

เอกสารอ้างอิง

1. The Sexual Appeal of Antisocial Personalities, Justin J. Lehmiller Ph.D.

2. What Is Evolutionary Psychology, Anyway?, Glenn Geher Ph.D.

3. Darwin, C. (1872). The expression of the emotions in man and animals. London, UK: John Murray.

4. Winegard, B. M., Winegard, B., & Deaner, R. O. (2014). Misrepresentations of evolutionary psychology in sex and gender textbooks. Evolutionary Psychology, 12, 474-508.

5. Geher, G. (2014). Evolutionary Psychology 101. New York: Springer.

6. Trivers, R. (1985). Social evolution. Menlo Park, CA: Benjamin/Cummings.

7. Figueredo , A. J. , Brumbach , B. H. , Jones , D. N. , Sefcek , J. A. , Vasquez , G. , & Jacobs , W. J. ( 2008 ). Ecological constraints on mating tactics. In G. Geher & G. Miller (Eds.), Mating intelligence: Sex, relationships, and the mind’s reproductive system (pp. 337–365). Mahwah, NJ : Lawrence Erlbaum

8. Geher, G. & Wedberg, N. (2020). Positive Evolutionary Psychology: Darwin’s Guide to Living a Richer Life. New York: Oxford University Press.

9. Carter, G. L., Campbell, A. C., & Muncer, S. (2014). The dark triad personality: Attractiveness to women. Personality and Individual Differences, 56, 57-61.

10. Lechuga, J., & Jones, D. N. Emophilia and other predictors of attraction to individuals with Dark Triad traits. Personality and Individual Differences, 168, 110318.

11. Tielbeek, J. J., Barnes, J. C., Popma, A., Polderman, T. J., Lee, J. J., Perry, J. R., … & Boutwell, B. B. (2018). Exploring the genetic correlations of antisocial behaviour and life history traits. BJPsych open, 4(6), 467-470.

0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0