ทำไม“เพลงแร็ปไทย”ต้องหยาบคาย? ถ้าจะสะท้อนสังคมพูดจาดีๆไม่ได้เหรอ?
ปีทองของวงการแร็ปไทย
ปี 2561 ถือได้ว่าเป็นปีทองของวงการแร็ปในเมืองไทย จากการจุดกระแสโดย Rap is Now ต่อเนื่องมาจนถึงรายการทีวี The Rapper ทำให้กลุ่มคนฟังเพลงทั่วไปหันมาให้ความสนใจกันเป็นอย่างมาก ขณะที่คนฟังสายแร็ปก็ได้ประโยชน์อยู่ไม่น้อย เพราะในจังหวะเดียวกันนี้มีศิลปินไทยที่ผลิตผลงานออกมาให้ได้ฟังกันเป็นจำนวนมาก
แร็ปเป็นเครื่องมือสื่อสารทางสังคม
แร็ปไม่ได้มีฟังก์ชันไว้เพียงฟังเพื่อเอาความบันเทิงเท่านั้น แต่ในรอบปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าแร็ปถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารทางสังคม เพื่อบอกเล่าเรื่องราวตามวัตถุประสงค์ของผู้ที่สร้างสรรค์ผลงาน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ธุรกิจ อย่างผลงาน Made in Bongkot (https://youtu.be/X6MvZ0HQlG4) CD GUNTEE x TMB (https://youtu.be/jIV1wgliCIo) แง่การโฆษณาจากฝั่งรัฐบาล แร็พThailand 4.0 คนไทยสู้ได้(https://youtu.be/Ck9lTSYwOKE) แง่การโปรโมตการท่องเที่ยว Nakhon Si MC (https://youtu.be/dOucwLmFtVk) หรือแม้แต่ในแง่การเรียกร้องทางสังคม ประเทศกูมี(https://youtu.be/VZvzvLiGUtw) เป็นต้น
ทำไมแร็ปต้องหยาบคาย?
หากคุณได้ฟังเพลงแร็ปไทย ก็จะพบว่ามักมีถ้อยคำหยายคายปรากฏอยู่ในเนื้อหาเสมอ หรือบางเพลงก็กลายเป็นเพลงด่าไปเสียอย่างนั้น ซึ่งเมื่อลองศึกษาจากที่มาของวัฒนธรรมการแร็ป ก็จะพบความหยาบคายเหล่านี้ ล้วนได้รับอิทธิพลจากวงการแร็ปในซีกโลกตะวันตก ที่มีการใช้คำหยาบเพื่อสื่อสารความคิดเห็นและระบายความอัดอั้นตันใจในเรื่องต่างๆ ที่เป็นปัญหาของตัวเองและสังคม เช่น อาชญากรรม ความรุนแรง ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การถูกกดขี่ ยาเสพติด การข่มขืน เป็นต้น
จำเป็นไหมที่แร็ปไทยต้องหยาบคาย?
แม้ในฝั่งโลกตะวันตกจะมีการใช้ถ้อยคำหยาบคายอย่างแพร่หลายในเพลงแร็ป แต่หากมองกลับมาที่บริบทของสังคมไทย ซึ่งเป็นสังคมที่มีความถ้อยทีถ้อยอาศัยและมีความประนีประนอมสูงแล้ว การสื่อสารผ่านคำหยาบคายในเพลงแร็ปไทย ดูจะกลายเป็นสิ่งที่เกินความจำเป็นไปสักหน่อย ประกอบกับลักษณะการใช้และความหมายของคำหยาบในภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็ดูมีความแตกต่างกันอยู่มาก ที่สำคัญอีกประการที่ไม่ควรมองข้าม คือ ภาษาไทยมีระดับของการใช้ ซึ่งในแง่ของการเผยแพร่ผลงานในวงกว้าง คำหยาบคายที่อยู่ในเพลง อาจทำให้คนบางกลุ่มรับไม่ได้ เพราะมองว่าเป็นความไม่สุภาพ เสียหายถึงเรื่องราวที่คนทำเพลงต้องการสื่อสารไปยังสังคม เพราะอาจถูกมองข้ามจากกลุ่มคนดังกล่าว
ไม่ว่าใครก็อยากถูกคนอื่นพูดจาด้วยดีๆจริงไหม?.
https://www.fungjaizine.com/article/guru/profanesongs
https://gmlive.com/247-Thought-Askguru-Hiphop-Swear
https://www.matichon.co.th/lifestyle/children-teenagers/news_962917
https://marketeeronline.co/archives/60744
ความเห็น 129
เอก อิเล็กทรอนิกส์
BEST
แล้วไอ้ที่นักร้องหญิง ค่ายเพลง คนแต่งเพลง ที่ทำเนื้อเพลงออกมา2แง่2ง่าม บวกกับท่าเต้นประกอบยั่วยวน ในชุดโครตทุเรศล่ะ
มันดียังไง ใส่ชุดเหลือแต่กางเกงใน กับเสื้อในออกมาเต้นเด้าหน้าเด้าหลัง มันสะท้อนอะไรให้เด็กรุ่นหลังมั่ง กูเห็นคนวิจารณ์เยอะแยะ แต่ก็เงียบ นั่นมันทุเรศยิ่งกว่า
12 พ.ย. 2561 เวลา 00.21 น.
ตามสันดาน แค่นั้น 😄
12 พ.ย. 2561 เวลา 00.17 น.
สนธยา
มันจะได้ถึงกึ๋น ถึงใจไม่งั้นไม่สะเทือน
12 พ.ย. 2561 เวลา 00.13 น.
I-Ai
กระตุ้น ความสนใจวัยรุ่น ครับ
12 พ.ย. 2561 เวลา 00.20 น.
Wee
สื่อให้เห็นถึงบริบทของสังคมปัจจุบัน
12 พ.ย. 2561 เวลา 00.26 น.
ดูทั้งหมด