โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

พ่อแม่ไว้ใจ “รถโรงเรียน” ได้แค่ไหน? ส่ง “ลูก” ขึ้นรถ แต่ได้เพียง “ร่าง” กลับมา!

TheHippoThai.com

เผยแพร่ 21 ส.ค. 2561 เวลา 05.00 น.

พ่อแม่ไว้ใจ “รถโรงเรียน” ได้แค่ไหน? ส่ง ลูกขึ้นรถแต่ได้เพียง ร่างกลับมา!

สืบเนื่องจากเหตุสลดโชเฟอร์ลืมเด็กหญิงวัย 3 ขวบทิ้งไว้บนรถโรงเรียน  ตั้งแต่เช้าจนเด็กน้อยวัยอนุบาล 1 เสียชีวิตคารถเพราะขาดอากาศหายใจเหตุการณ์น่าอนาถใจ แบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกหากจะย้อนไปดูดีๆแล้วบ้านเรามีข่าวร้ายแบบนี้เกิดขึ้นทุกปี

เราจะแก้ปัญหานี้กันอย่างไรจะป้องกันแบบไหนให้ลูกหลานปลอดภัยไม่ใช่ต้องสังเวยชีวิต

เพราะความประมาทของผู้ใหญ่แบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า! 

credit: https://www.thairath.co.th/content/1355713
credit: https://www.thairath.co.th/content/1355713

"รถโรงเรียน" จุดอันตรายดับหลายศพ

เหตุการณ์น่าสะเทือนใจครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา ณ โรงเรียนบำรุงมุสลีมีน ม.1 ต.ตะบิ้ง อ.สายบุรี จ.ปัตตานี แม่ของเด็กนักเรียนอนุบาล 1 รายหนึ่งเดินทางมารับลูกสาวที่โรงเรียนแต่กลับได้รายงานจากทางโรงเรียนว่า ลูกสาวของตนไม่ได้มาเรียนทั้งที่เด็กหญิงตัวน้อยก็นั่งรถมาโรงเรียนในตอนเช้าตามปกติ คุณแม่ตัดสินใจโทรหาผู้ช่วยครูซึ่งปกติแล้วจะดูแลเด็กและนั่งรถมาที่โรงเรียนพร้อมกับเด็กนักเรียนทุกคนเพื่อตามหาลูกจนสุดท้ายไปเปิดดูในรถ พบลูกสาวของตนเสียชีวิตคารถตู้นักเรียนในสภาพเลือดไหลออกจมูก เสื้อผ้าเลอะเทอะเพราะลงไปทุรนทุรายเนื่องจากขาดอากาศหายใจอยู่บนเบาะหลัง

อีกเหตุเกิดขึ้นในวันที่ 18 มิถุนายน ครูพี่เลี้ยงประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ใช้รถยนต์กระบะส่วนตัวขับรถรับ-ส่ง นักเรียนแทนรถของโรงเรียนที่ส่งซ่อม โดยมีนักเรียนวัย 5 ขวบนั่งมาในเบาะด้านหน้ากับคนขับและที่กระบะท้ายมีเด็กนักเรียนนั่งมาด้วย 5 คน กับแม่บ้าน เมื่อมาถึงศูนย์เด็กเล็กครูพี่เลี้ยงก็ลงจากจากรถและปิดประตูไว้ ลงมาที่กระบะหลังเพื่ออุ้มเด็กๆลง จากรถ และไปทำงานต่อโดยที่ลืมว่าที่นั่งเบาะหน้ายังมีนักเรียน พอเลิกเรียนจะมาเอารถไปส่งเด็กกลับบ้าน ก็พบว่าน้องเสียชีวิตคารถกลายเป็นเหตุอนาถ ครูพี่เลี้ยงเกิดอาการช็อคตั้งแต่พบศพ ปัจจุบันยังคงรับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น เพื่อทำการรักษาสภาพจิตใจก่อนจะรับโทษต่อไป

ย้อนไปเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2560 เด็กชายวัย 6 ขวบ ถูกส่งโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ด้วยอาการหมดสติขาดอากาศหายใจ และขาดน้ำในร่างกาย เนื่องจากความร้อนที่สะสมในรถระหว่างจอดตากแดดเป็นเวลานาน เนื่องจากหลับและถูกลืมไว้บนแค็บหลังรถนักเรียนตั้งแต่เช้าถึงบ่ายสองโมงเย็น ส่วนคนขับรถรับส่งนักเรียน เข้ามอบตัวกับตำรวจ สภ.ช้างใหญ่ รับผิดว่าลืมเด็กไว้จริง รับแจ้งข้อหากระทำการโดยประมาทเป็นให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัสและถูกนำตัวไปฝากขังที่ศาลเด็กจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังเกิดเหตุอาการของน้องยังคงทรุด  เพราะอวัยวะภายในร่างกายหลายส่วนหยุดทำงานจนแพทย์ต้องเฝ้าดูอาการภายในห้องไอซียูอย่างใกล้ชิดจนน้องเสียชีวิตภายในระยะเวลาแค่ 3 วันเท่านั้น   

จะเห็นว่าผ่านไปกี่ปีกี่ปี เหยื่อที่เสียชีวิตจากเหตุติดอยู่บนรถเปลี่ยนไปเรื่อยๆ สถานที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่สถานการณ์ยังคงคล้ายกันคือ เด็กเสียชีวิตอยู่บนรถที่นั่งอยู่เป็นประจำคือ รถรับส่งไปโรงเรียน และเสียชีวิตเพราะความประมาทของผู้ดูแลคือ คนขับรถรับส่งหรือครูพี่เลี้ยง

credit: <a href=
https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/61408 ">
credit: https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/61408

ทุกฝ่ายรวมใจกันไว้ดีกว่าแก้

ในเมื่อเหตุการณ์เหล่านี้เกิดจากความเลินเล่อของผู้ใหญ่ ในขณะที่เด็กที่เป็นเหยื่อก็ยังเล็กเกินไปจนขาดวุฒิภาวะช่วยตัวเองไม่ได้ ทางออกของปัญหาคือการเพิ่มความระมัดระวังจากฟากผู้ใหญ่ รวมถึงการฝึกเด็กให้พอจะช่วยเหลือตัวเองหรือส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือได้เมื่อจำเป็น  เราขอรวบรวมมานำเสนอดังต่อไปนี้

บุคลากรของโรงเรียน

ในรถโรงเรียนควรมีครูหรือเจ้าหน้าที่อื่นๆดูแลเด็กนั่งมาด้วยทุกครั้ง อาจมีสมุดเช็กชื่อเด็กเพื่อคอยตรวจสอบว่าเด็กขึ้นและลงรถครบถ้วน ก่อนจะจอดรถควรเดินตรวจภายในรถอีกครั้งหนึ่งเผื่อมีเด็กคนไหนหลับแล้วไม่ได้ลงจากรถ และถ้าจะดีให้ อาจขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ที่ดูแลความปลอดภัยในโรงเรียนให้มาตรวจตราตามรถโรงเรียนอีกครั้งเมื่อจอดรถแล้วเพื่อความแน่ใจก็ได้

นอกจากนี้อาจมีการประสานกับผู้ปกครอง  เช่นรายงานทางไลน์ว่าเด็กลงจากรถและเข้าโรงเรียนแล้วหรือยัง หรืออาจถ่ายรูปเด็กที่รับส่งทุกคนให้พ่อแม่รับรู้ว่าเด็กถึงโรงเรียนโดยสวัสดิภาพ เพื่อช่วยกันตรวจสอบอีกทางหนึ่ง

Credit: https://baby.kapook.com/view196345.html
Credit: https://baby.kapook.com/view196345.html

เด็ก

ทั้งพ่อแม่และครูควรสอนลูกให้ให้รู้จักช่วยเหลือตัวเองได้ หากติดอยู่ในรถและไม่มีใครมาช่วย เช่น สอนให้บีบแตรรถเพื่อขอความช่วยเหลือ หรือสอนให้ลูกปลดล็อกประตู รวมถึงให้ความรู้กับเด็กว่าหากติดอยู่บนรถนานๆ ลองขอความช่วยเหลือแล้วยังไม่มีคนมาช่วย เด็กควรหายใจแบบไหน หรือนั่งตรงไหนให้พอมีอากาศหายใจนานขึ้นจนกว่าจะมีคนมาช่วยเป็นต้น

แค่เพียงผู้ใหญ่ทุกฝ่ายเพิ่มความใส่ใจกันคนละนิดคนละหน่อย ชีวิตน้อยๆ ของลูกหลานเราก็จะปลอดภัยมากขึ้น ก็ได้แต่หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ในการป้องกันเด็กๆ จากปัญหาถูกลืมบนรถได้ จะไม่มีครอบครัวไหนต้องสูญเสียจากเหตุการณ์เช่นนี้อีก

      

Source:
https://www.thairath.co.th/content/1355713

https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1451483

https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1457584

https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_1234767

https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/61408

http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/767210

https://www.dailynews.co.th/article/218608

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 67

  • AOF📏📐🔩🛠 ⛏🌲🏡🌳
    ออกกฎหมายเลย รถตู้นักเรียนต้องติดปุ่มกดกริ่งที่ใกล้ประตูทางออกแบบรถเมล์ โดยถ้ากดแล้วแตรรถจะดัง สอนเด็กใช้ด้วย...หรือต้องติดตั้ง moving sensor ภายในรถ ถ้ามีอะไรเคลื่อนใหวหลังจากล็อกรถ แตรรถจะดัง...ไอ้ moving sensor นี่รถยนต์รุ่นใหม่ๆมีกันละแค่ออกให้รถตู้นักเรียนติดตั้งคงไม่อยาก ถ้าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเห็นความสำคัญ
    21 ส.ค. 2561 เวลา 05.25 น.
  • Wilas K. 🇹🇭
    วนวนอยู่ที่เดิม เมื่อแก้ที่คนและระบบไม่ได้ก็ควรแก้ที่เครื่องมือ ควรยกเลิก ออกระเบียบไม่ให้ใช้รถตู้รับส่งเด็กเล็ก แต่ให้ใช้รถสองแถวติดตะแกรง กรงหมาไปเลย
    21 ส.ค. 2561 เวลา 04.37 น.
  • สุทัศน์
    เกิดอีกจนได้ก็รู้อยู่เป็นปัญหาเออเร่อของคนจะไปหวังพึ่งทำไม จนทที่เกี่ยวข้องเรื่องนี้ทำไมไม่หาทางอแก้เป็นรูปธรรมออกมา แก้โดยใช้อุปกรณ์บังคับคนให้ทำซิถ้าไม่ทำจะมีไฟกระพริบอยู่หรือเสียงยังอยู่ จะดับได้ด้วยการเข้าไปปิดสวิช์ในตัวรถด้านหลังก็กลายเป็นบังคับให้คนขับต้องเข้าไปตรวจสอบดูภายในรถจนทั่วรถโดยอัตโนมัติจะได้ไม่ต้องมาบอกว่าลืม
    21 ส.ค. 2561 เวลา 03.47 น.
  • 🌼🌸 NA 🪷
    คนขับ ต้องตรวจอีกที
    21 ส.ค. 2561 เวลา 04.21 น.
  • Imung
    ผมไว้ใจนะ ถ้าต่อไปคนที่จะขับรถโรงเรียนมีใบอนุยาติพิเศษ เช่น ผ่านการอบรมความปลอดภัย การดูแลเด็ก. อย่าให้ความสูญเสียที่ผ่านมามีนเสียเปล่า. เริ่มทำให้มันรัดกุมขึ้นกันเถอะ
    21 ส.ค. 2561 เวลา 05.25 น.
ดูทั้งหมด