“ก่อสร้าง” หรือ “ก่อซวย” เสี่ยงตายขนาดนี้! สวัสดิภาพ ปชช.อยู่ที่ไหน?
สืบเนื่องจากเหตุระทึกขวัญเมื่อวันที่8ส.ค. ที่ผ่านมานี้ในการก่อสร้างขยายผิวจราจรถนนสุทธาวาสเสาเข็มขุดเจาะหลุดลงมาทับรถเบนซ์รุ่น E350 สีขาวทะเบียน 2กพ5566 กรุงเทพมหานครจนกระโปรงหน้าพังยับเยินโชคยังดีที่ผู้เสียหายบาดเจ็บเล็กน้อยเพราะถูกกระแทกจากถุงลมนิรภัยและถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลทันเวลาแต่จากเหตุการณ์ดังกล่าวที่ขับรถไปเฉยๆแล้วถูกเสาเข็มหนักกว่า 4 ตัน หล่นลงมาทับนั้นก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์และสร้างความหวาดกลัวในวงกว้างว่ากรุงเทพมหานครเต็มไปด้วยพื้นที่ถนนที่กำลังก่อสร้าง! หากเกิดเหตุกับตนจะเป็นยังไงมาตรฐานความปลอดภัยของคนกรุงเทพอยู่ที่ไหนกันแน่!
เครดิตภาพ: เพจชมรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มสธ
นาทีระทึกขวัญ "เห็นเสาเข็มจะทับแต่ขยับรถหนีไม่ได้"
เวลาประมาณ 17.30 วันที่ 8 สิงหาคม 2561 ได้เกิดเหตุเสาเข็มขุดเจาะถนนหนัก 4 ตัน กว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 15 เมตร หลุดลงบนถนน ทับรถเบนซ์ รุ่น E 350 สีขาว ทะเบียน 2 กพ 5566 กรุงเทพมหานคร จนฝากระโปรงหน้าพัง และทำให้รถยนต์ MG สีดำทะเบียน งข 8405 ที่อยู่ใกล้กันได้รับความเสียหายเล็กน้อย ซึ่งที่เกิดเหตุคือบริเวณถนนเลียบทางรถไฟบางขุนนนท์ตัดจรัญสนิทวงศ์ พื้นที่ สน.บางขุนนนท์ ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างขยายผิวจราจรถนนสุทธาวาส และสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ ก่อนเกิดเหตุผู้รับเหมากำลังใช้เสาเข็มดังกล่าวขุดเจาะทลายดิน แต่ระบบเกิดผิดพลาดในระหว่างที่เสาเข็มยกขึ้นมาจากพื้นดิน ทำให้เสาเข็มหลุดออกมาจนเกิดเหตุดังกล่าว
ภายหลัง น.ส.ณัฏฐจิรา จันทนะคีรี อายุ 33 ปี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว เจ้าของรถเบนซ์ที่ได้รับความเสียหายเล่าว่า เธอขับรถโดยมีเพื่อนนั่งคู่มาด้วย ขับมาทางถนนตัดใหม่เลียบทางรถไฟบางบางขุนนนท์ ก่อนจะเลี้ยวซ้ายมุ่งหน้าจรัญสนิทวงศ์ จนถึงจุดเกิดเหตุที่เป็นไซต์งานก่อสร้างทางขวามือ รถชะลอตัวจนบีบกันเหลือเลนเดียวเนื่องจากต้องเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนสายหลัก ระหว่างนั้นเเธอเห็นเครนขนาดใหญ่กำลังยกแท่งเหล็กลอยอยู่เหนืออากาศ ทั้งยังส่ายไปสายมา จนเธอเกิดความกลัวแต่ไม่สามารถขยับรถหนีได้ด้วยสภาพการจราจร จนท่อนเหล็กซึ่งคือเสาเข็มดังกล่าวลงมาทับรถของตนอย่างจัง จนเพื่อนของเธอที่นั่งมาข้างคนขับคือ น.ส.ปนัดดา อัครดำรงเดช 35 ปี ได้รับบาดเจ็บจากแรงกระแทกของถุงลมนิรภัย แต่ถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลทันเวลา
สถานการณ์ดังกล่าวเป็นอีกเหตุการณ์ระทึกขวัญที่ทำให้ประชาชนต้องมาตั้งคำถามว่า เราจะเป็นเหยื่อรายต่อไปหรือไม่ เพราะผู้เสียหายในกรณีนี้ไม่ได้ทำอะไรที่เป็นการสุ่มเสี่ยงเลย เธอแค่ขับรถผ่านไซต์งานก่อสร้างเท่านั้น!
เครดิตภาพ: เพจชมรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มสธ
เป็นความขัดข้องทางเทคนิค?
นอกจากความระทึกขวัญที่เกิดขึ้น กรณีนี้ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในเชิงเทคนิค ในเพจชมรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มสธ แอดมินเพจแสดงความเห็นว่าสิ่งที่หลุดออกมาอาจจะไม่ใช่เสาเข็ม แต่เป็นปลอกเหล็กพร้อมภาพประกอบ "แต่ถ้าดูจากรูป ไม่แน่ใจว่าที่ปลอก มีรอยแหว่งนั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้ Casing หลุดจากปาก Vibro หรือเปล่า หรือเป็นรอยเดิมที่เป็นอยู่ก่อนแล้ว" ในขณะที่ลูกเพจบางท่าน ก็ร่วมแสดงความเห็นว่าอาจจะเป็นไปได้ที่เหตุจะเกิดขณะที่พนักงานกำลังใช้เครนยกเหล็กปลอกเพื่อใช้ในการเจาะเสาเข็ม สะเก็นที่ล็อคเหล็กปลอกเกิดการคลายตัว ทำให้เหล็กปลอกล้มฟาดไปฝั่งถนน ซึ่งเป็นความผิดพลาดที่เกิดจากอุปกรณ์อาจจะชำรุดอยู่แล้ว ทั้งนี้ประเด็นที่หลายๆ ท่านกล่าวถึงคือ อย่างน้อยที่สุดควรจะติดป้ายให้ระวังหรือกั้นทางไม่ให้ผ่านไปเลย เพราะเป็นพื้นที่เปิด เพื่อไม่ให้เกิดเหตุอันตรายดังกล่าว
เครดิตภาพ: https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_1423253
หากเกิดเหตุสามารถเอาผิดฐานกระทำการโดยประมาทได้
เรียกได้ว่าในความมืดมนก็ยังถือว่ามีทางออกรำไรอยู่ เพราะจากกรณีดังกล่าวผู้เสียหายสามารถแจ้งความร้องเรียนและเอาผิดกับผู้รับเหมาก่อสร้างได้ เพราะจากความคืบหน้าเมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 9 ส.ค.61 ที่ สน.บางขุนนนท์ พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง ผกก.สน.บางขุนนนท์ ซึ่งดูแลคดีดังกล่าวก็เรียกเจ้าของรถกับตัวแทน บจก. เอส อาร์ ที พลาย มาเจรจากันเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งทางบริษัทยินยอมชดใช้ความเสียหายให้ โดยให้ผู้เสียหายเลือกเองว่าจะให้ซื้อรุ่นเดิมหรือรุ่นใหม่แล้วบริษัทจะจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายเอง จากนั้นจะเรียก น.ส.ปนัดดา อัครดำรงเดช ซึ่งเป็นผู้บาดเจ็บและได้รับความหวาดกลัวมาเจรจาเรื่องค่าสินไหมอีกครั้ง นอกจากนี้ในด้านกฎหมาย พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง ผกก.สน.บางขุนนนท์ จะเรียกตัวแทน บจก. เอส อาร์ ที พลาย และผู้เกี่ยวข้องมารับทราบข้อกล่าวหา กระทำการโดยประมาท ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและมีทรัพย์สินผู้อื่นได้รับความเสียหายในภายหลัง
แต่แม้จะสามารถดำเนินคดีเอาผิดกับผู้รับเหมาได้ และในกรณีนี้ผู้รับเหมาก็ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและดูแลเจ้าทุกข์ด้วยการชดเชยเป็นอย่างดี แต่หากในเหตุการณ์ดังกล่าวสิ่งที่เสียหายไม่ได้มีแค่รถ แต่เป็นอันตรายถึงชีวิต จะชดเชยเท่าไหร่ก็เรียกกลับมาไม่ได้ ดังนั้นในฟากประชาชนอย่างเราๆ เมื่อใช้รถใช้ถนนก็ควรมีสติ สังเกตสภาพโดยรอบและหากเป็นไปได้ก็ควรจะหลีกเลี่ยงบริเวณที่สุ่มเสี่ยง ฝั่งผู้ประกอบการเองก็ควรเพิ่มความระมัดระวังในการวางแผนงาน คำนึงถึงความปลอดภัยทั้งต่อผู้ทำงานและบุคคลภายนอกให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้เหตุระทึกขวัญแบบนี้เกิดขึ้นอีก
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_1423253
https://www.springnews.co.th/view/323729
http://www.newtv.co.th/news/19704
https://www.springnews.co.th/view/323406
https://www.thairath.co.th/content/1351569
ความเห็น 37
Σ ö O k
BEST
โคตรบ่อยอะ ทุกเส้นเลยที่กำลังก่อสร้าง อยู่ประเทศนี้ไม่มีความปลอดภัยไรเลยในชีวิต
16 ส.ค. 2561 เวลา 05.08 น.
.B
BEST
ถ้าเค้าตายขึ้นมา ?
พวกมึงจะรับผิดชอบยังไง ?
16 ส.ค. 2561 เวลา 04.16 น.
Arm Lippakorn
สร้าง...จนทำลายวัฒนธรรม สิ่งที่ควรอนุรักษ์ถูกทุบทิ้ง
สร้าง...บนถนนที่ไม่น่าสร้าง ชัดๆคือสายสีทอง ปกติรถไม่ได้ติดขนาดนั้น ทั้งๆที่รถประจำทางก็เยอะมาก
สร้าง...ไม่ดูผังเมือง หนักสุดยังไม่สร้าง จะรอดูถ้าจะมีการสร้างสะพานข้ามเจ้าพระยา ราชวงศ์-ท่าดินแดง สุดท้ายรถก็จะไปกองกันแถววงเวียนใหญ่เหมือนเดิม
16 ส.ค. 2561 เวลา 05.16 น.
Jubhiso888888888
ฟ้องแม่งเลย
16 ส.ค. 2561 เวลา 03.51 น.
มันต้อง “ชัดเจน”
สิ่งที่ควบคุมทุกอย่างได้ คือ กฎหมาย แต่ถ้าคนบังคับใช้กฎหมาย หรือพวกออกกฎหมาย เป็นพวกเดียวกับ บ ก่อสร้าง ปชช ก็รับกรรม แต่ก็พวกนักการเมืองที่ออกกฎหมาย ก็ถือหุ้นใน บ.พวกนี้อยู่ไม่ใช่หรือครับ
16 ส.ค. 2561 เวลา 05.24 น.
ดูทั้งหมด