โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ลองดู - อุ๋ย นที เอกวิจิตร์

THINK TODAY

เผยแพร่ 15 ม.ค. 2562 เวลา 05.35 น. • อุ๋ย นที เอกวิจิตร์

ช่วงเดือนที่ผ่านมามีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์และโลกออนไลน์เรื่องโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งทดลอง ย้ำนะครับว่าทดลองให้นักเรียนสามารถใส่ชุดไปรเวทมาโรงเรียนได้อาทิตย์ละหนึ่งวัน เพราะมีผลวิจัยจากต่างประเทศว่าการให้อิสระในการแต่งตัว จะทำให้เด็กลดแรงกดดันและกล้าแสดงออกมากขึ้น

แล้วก็เป็นเช่นเคย เสียงวิพากษ์วิจารณ์ของชาวเน็ตที่เห็นต่างสองฝ่ายก็แสดงความเห็นกันยกใหญ่ เหมือนเรื่องดราม่าอื่นๆ ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาทุกวัน

ฝ่ายต่อต้านที่ไม่เห็นด้วยก็ให้เหตุผลว่า จะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองและความเหลื่อมล้ำเพราะเด็กเด็กจะแข่งกันแต่งตัว ลูกคนมีเงินก็จะใส่ของแพงมาอวดเพื่อน คนที่ฐานะไม่ดีก็จะถูกเพื่อนล้อเพราะใส่ชุดซ้ำ 

มีความกังวลอีกว่าเมื่อเด็กไม่มีชุดยูนิฟอร์มแล้วออกไปนอกโรงเรียนก็ไม่รู้ว่าเป็นนักเรียน (อาจเป็นเพราะเด็กบางคนหน้าแก่ เกินวัย) เกรงว่าจะไปกินเหล้าสูบบุหรี่กันง่ายขึ้น 

ส่วนมุมมองของฝ่ายสนับสนุนก็บอกว่าทำให้เด็กอยากมาโรงเรียนมากขึ้น ได้ฝึกคิดตัดสินใจอะไรเองตั้งแต่แต่งตัวออกจากบ้าน มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักอยู่กับความแตกต่างหลากหลาย ฝึกปรับตัวให้ชินกับความเหลื่อมล้ำแตกต่างทางฐานะที่เลิกเรียนออกมาก็ต้องเจออยู่ทุกวัน นอกรั้วโรงเรียน

ผู้ใหญ่บางคนถึงกับรับไม่ได้ในนโยบายนี้ เห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ อาจเป็นเพราะความเป็นห่วงที่มีมาก กลัวจะเกิดผลเสียต่างๆ นาๆ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงความเชื่อเดิมๆ ที่มีมานาน

ในต่างประเทศหลายหลายประเทศเป็นเรื่องปกติ ที่นักเรียนจะใส่ชุดไปรเวทไปโรงเรียน  แต่วัฒนธรรมและสภาพสังคมของแต่ละประเทศก็แตกต่างกัน อาจจะเอามาใช้เป็นบรรทัดฐานไม่ได้ทั้งหมด แต่ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้คือ มันเป็นแค่การทดลอง อาจจะออกมาดีขึ้นหรือแย่ลง อันนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพื่อการตัดสินใจในอนาคต 

“ลองดูก่อน”

เรื่องนี้ทำให้นึกถึงการทดลองทำงานสี่วันต่ออาทิตย์ของบริษัทในประเทศอเมริกา

มีผู้บริหารที่อยากทดลองเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบริษัทให้มากขึ้นด้วยการให้มีวันหยุดมากขึ้น ฟังดูเป็นเรื่องสวนทางแบบน่าประหลาด

แต่ผู้บริหารมีความเชื่อว่าถ้าพนักงานมีความสุขมากขึ้นน่าจะส่งผลให้ประสิทธิภาพงานดีขึ้นตาม

จึงทำการทดลองเป็นระยะเวลาสามเดือน โดยมีข้อแม้ว่า ถ้าหลังจากสามเดือนแล้วประเมินประสิทธิภาพการทำงาน แล้วผลออกมาแย่ลง จะยกเลิกนโยบายนี้

ผลปรากฏว่าประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด พนักงานมีสุขภาพจิตดีขึ้น หลายคนก็ยังทำงานอยู่ในวันหยุดอยู่บ้านแต่เพียงไม่ได้เข้ามาในออฟฟิศ 

พนักงานมีสมาธิมากขึ้นในวันทำงาน บริษัทประหยัดค่าใช้จ่ายค่าน้ำค่าไฟอีกเกือบ 20% พนักงานมีความสุขมากขึ้นมีเวลาไปทำธุระส่วนตัวมากขึ้นมีกำลังใจในการทำงาน

การเปลี่ยนแปลงความเชื่อเดิมๆ ที่มีมานานนั้นอาจเป็นเรื่องยากที่จะทำใจแต่ถ้ามันเป็นเพียงแค่การทดลองแล้วรอดูผลที่ตามมาก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจนะครับ

เพราะจะเอาบทสรุปจากการทดลองในประเทศอื่นที่วัฒนธรรมแตกต่างกันมาเป็นบทสรุปของประเทศเราก็ อาจจะไม่เหมาะ เพราะบางอย่างของเดิมคนโบราณก็คิดมาดี เหมาะสมกับสไตล์ไทยไทยของเราอยู่แล้ว

ไม่ว่าเรื่องอะไรถ้าเราเปิดใจให้กว้างไม่ยึดติดกับสิ่งเดิมๆ ที่ผ่านมา ทดลองอะไรใหม่ใหม่ ถ้ามันไม่ดีก็กลับไปทำแบบเดิมก็ได้ ชีวิตอาจจะมีความสุขมากขึ้นนะครับ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 7

  • Sukhuma Phattarapana
    ไม่ลองก็ไม่รู้ก็ลองดูเผื่ออะไรจะดีขึ้น
    07 พ.ค. 2562 เวลา 06.10 น.
  • ธนกร
    เท่าที่ดูตามข่าว โรงเรียนเหล่านี้ผมยังไม่มีปัญญาส่งลูกเข้าไปเรียนเลย จึงคิดว่าไม่น่าจะมีคนจนนะ โรงเรียนนี้😄
    05 พ.ค. 2562 เวลา 12.47 น.
  • มันตอ้งมีระเบียบบ้างขนาดตำหรวจไม่ใส่เครื่องแบบยังคิดว่าโจร
    14 ก.พ. 2562 เวลา 03.49 น.
  • Nuang A. 895
    เด็กรร.นี้ไม่น่ามีความเหลื่อมล้ำนะเพราะถ้าไม่รวยเข้ารร.รี้ไม่ได้...555
    19 ม.ค. 2562 เวลา 02.11 น.
  • @...
    ผมคิดว่าบางครั้งในการเปลี่ยนแปลงกับในสิ่งที่เคยได้ปฏิบัติมานั้นก็อาจทำให้สุขภาพจิตของบุคคลากรนั้นสามารถดีขึ้นมาได้เหมือนกัน แต่ถึงอย่างไรก็ตามในทางด้านของบุคคลากรก็ควรที่จะดำรงค์ในมาตราฐานของตนเองที่เคยได้ปฏิบัติมาก็จะเป็นสิ่งที่น่าชืนชมมากนะครับ.
    15 ม.ค. 2562 เวลา 12.00 น.
ดูทั้งหมด