ปีนึงผ่านไปไวเหมือนโกหก และในช่วงปลายปีนี้เองจะเป็นช่วงที่ต้องเคลียร์ตัวเองเพื่อเริ่มต้นปีใหม่ ในทางการเงินนอกจากจะสะสางและวางแผนการเงินในปีหน้าแล้ว อีกเรื่องที่ต้องทำเป็นประจำคือการยื่นภาษีประจำปี ในช่วงปลายปีก็เลยเป็นช่วงของการเตรียมพร้อมเพื่อที่จะยื่นภาษีในช่วงมกราคมถึงมีนาคมของทุกปี อย่างที่ทราบกันดีว่าการยื่นภาษีนั้นเป็นหน้าที่ของพลเมือง แม้ว่าจะรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีก็ต้องยื่นทุกปีเช่นเดียวกัน
และทราบกันหรือไม่ว่าการหนีภาษีนั้นนับเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และมีบทลงโทษอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายภายในระยะเวลาที่ให้ยื่นภาษีแต่จ่ายไม่ครบ จ่ายช้ากว่าที่กำหนด จงใจไม่จ่ายหรือหนีภาษี สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นความผิดและมีโทษทั้งหมด ตามไปดูกันว่าโทษในแต่ละข้อเป็นอย่างไรบ้าง
- ลืมยื่นภาษีหรือยื่นช้าและมีภาษีต้องชำระ
มีค่าปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท และมีเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีที่ต้องชำระ
- ลืมยื่นภาษีหรือยื่นช้าแต่ไม่มีภาษีต้องชำระ
มีค่าปรับอาญาไม่เกิน 2,000 บาท แต่ไม่มีเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน
- ยื่นภาษีเพิ่มเติมเนื่องจากปรับปรุงยอดภาษีที่ยื่นไปแล้ว
ถ้ายื่นภายในเวลา สามารถยื่นทางออนไลน์ได้ แต่ถ้าเกินกำหนดเวลาผู้เสียภาษีต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน และไม่ต้องชำระค่าปรับอาญา 2,000 บาท
- ยื่นแบบไปแล้วแต่ลืมชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนด
ถือเป็นการยื่นแบบเกินกำหนดเวลา ผู้เสียภาษีต้องกรอกแบบภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 พร้อมเอกสารแสดงรายได้ หนังสือรับรองการหักภาษี หลักฐานการหักค่าลดหย่อน ไปติดต่อยื่นแบบที่สรรพากรพื้นที่ใกล้บ้าน และชำระค่าปรับทางอาญา 2,000 บาท ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติมต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนด้วย
- ยื่นภาษีผิดแต่ผู้เสียภาษีได้เงินคืนภาษีแล้ว
ผู้ยื่นภาษีควรกรอกแบบแสดงรายการแก้ไขและสามาติดต่อยื่นแบบกับสรรพากรเขตพื้นที่ใกล้บ้านเพื่อชี้แจงถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
- หนีภาษี
มีโทษปรับทางอาญาตั้งแต่ 2,000-200,000 บาท จำคุกตั้งแต่ 3 เดือน – 7 ปี เสียเบี้ยปรับสองเท่าของค่าภาษีที่ต้องจ่าย เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย เริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ
ในเมื่อการยื่นภาษีเป็นหน้าที่พลเมือง ทำให้พลเมืองทุกคนต้องยื่นแล้ว ดังนั้นภาษีทุกบาททุกสตางค์ก็ควรจะนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่พลเมืองประเทศนั้น ๆ ทุกคน ไม่ใช่แค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ขอบคุณข้อมูลจาก
ความเห็น 14
C.Sam
BEST
ผมว่าคนมากกว่า3-40%ของผู้มีรายได้ในประเทศนี้ที่แทบจะไม่เคยยื่นแบบภาษี ถึงจะไม่มีภาษีให้คำนวณก็ตาม เพราะขั้นตอน+ภาษาทางภาษี ชาวบ้านส่วนมากไม่เข้าใจ ไปแล้วเสียเวลาทำมาหากิน ขั้นตอนเยอะ ไปเจอเจ้าหน้าที่พูดจาแบบเกิดใหม่ก็ไม่เข้าใจภาษาภาษี ผมว่าประเด็นมันอยู่ตรงนี้ แต่ถ้าเดินเข้าไปจ่ายง่ายไปที่7-11 แบบค่าผ่อนรถค่าผ่อนของแบบนี้รับรองคนยื่นเยอะ ยกเว้นพวกหลบกับพวกลืม ไปลดขั้นตอนทำยากให้ง่ายขึ้น ทุกคนก็คงสะดวกในการทำหน้าที่พลเมืองครับ
07 ธ.ค. 2564 เวลา 05.27 น.
PN - O
BEST
ถ้าภาษีที่ได้จาก ปชช.ไทย .. นำไปพัฒนาจริงจัง ไม่ซื้อเรือดำน้ำ เครื่องบินและรถถังมาขับไล่ ปชช.ไทย กันเอง ก็จะดี
07 ธ.ค. 2564 เวลา 01.22 น.
Jesada Saelou
BEST
แก้รัฐธรรมนูญ ให้ ปชช. สามารถระบุได้ว่า เงินภาษีนี้จะมอบให้หน่วยงานใด หรือ มอบเป็นส่วนกลาง(แบบเดิม)
จะทำให้ แต่ละหน่วยงานกระตือรือร้น การบริการมากขึ้นด้วย
07 ธ.ค. 2564 เวลา 06.03 น.
Kurt-Jib Lee
บทความแสดงข้อเท็จจริง เจ๋งมาก
แต่แหม…จะให้ใช้เงินเพื่อ “ทุกคน”
ในขณะที่ความจริงแล้ว เกือบทุกคน “ไม่เคยจ่าย”
ไปลองนับ “จำนวน” คนที่เสียภาษีบ้างไป๊!!
ควรเก็บภาษีเท่าเทียม ทุกคนจ่ายรายปีให้เท่ากัน อาจจะดีกว่า
ที่ผ่านมาชาวไทย
“ให้” ไม่เท่ากัน แต่ “จะเอา” ให้เท่าเทียม
แบกกันไม่ไหวนะ เอาเปรียบเกินไป
06 ธ.ค. 2564 เวลา 21.48 น.
varavuth
เก็บดอกสูงสุดเท่าที่กฎหมายกำหนดเลย ไม่จ่ายตามกำหนดเสียดอก เเต่เวลาขอคืน รอตรวจสอมไม่เห็นจ่ายดอกล้าช้าให้เลย
07 ธ.ค. 2564 เวลา 00.20 น.
ดูทั้งหมด