โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

อี-คอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ จากแหล่งผลิตถึงหน้าร้าน สู่ร้านออนไลน์ถึงผู้บริโภค

Thaiware

อัพเดต 20 ก.พ. 2563 เวลา 09.00 น. • เผยแพร่ 20 ก.พ. 2563 เวลา 09.00 น. • moonlightkz
อี-คอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ จากแหล่งผลิตถึงหน้าร้าน สู่ร้านออนไลน์ถึงผู้บริโภค
โลจิสติกส์ คืออะไร ทำไมในโลกยุคที่ E-Commerce ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เราถึงต้องให้ความสนใจกับมัน

โลจิสติกส์ คือ อะไร?

โลจิสติกส์ (Logistics) ในความเข้าใจของคนทั่วไปอาจจะคิดว่ามันหมายถึงการขนส่งสินค้า แต่ในความเป็นจริงแล้ว โลจิสติกส์นั้นครอบคลุมไปถึงขั้นตอนหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่วิธีการจัดหาทรัพยากร, จัดเก็บสินค้า และการขนส่งสินค้าไปยังสถานที่สุดท้าย

เดิมที คำว่า "โลจิสติกส์" เป็นศัพท์ที่ถูกใช้ทางทหาร โดยหมายถึงวิธีการที่ทหารจะใช้ในการเคลื่อนย้ายอาวุธยุทโธปกรณ์ และเสบียงต่างๆ แต่ปัจจุบันนี้ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิตเมื่อต้องการกล่าวถึงวิธีจัดการเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังส่วนต่างๆ ของห่วงโซ่อุปทาน

เป้าหมายของระบบโลจิสติกส์ สามารถอธิบายแบบเรียบง่ายได้ว่า "เป็นระบบที่มีเป้าหมายในการบริหารจัดการให้ทรัพยากรมีพร้อมในเวลาที่สมควร, ทำให้มันอยู่ในสถานที่อันเหมาะสม และขนส่งมันไปให้ถึงมือลูกค้าภายใน หรือภายนอก" 

อี-คอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ จากแหล่งผลิตถึงหน้าร้าน สู่ร้านออนไลน์ถึงผู้บริโภค
อี-คอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ จากแหล่งผลิตถึงหน้าร้าน สู่ร้านออนไลน์ถึงผู้บริโภค


ภาพจาก https://pixabay.com/images/id-3021820/

รูปแบบของโลจิสติกส์

อย่างที่เราได้เกริ่นไว้ด้านบนเอาไว้ว่าโลจิสติกส์เป็นการ "เคลื่อนย้ายภายในห่วงโซ่อุปทาน" ซึ่งมันได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • โลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound logistics) ใช้เรียกโลจิสติกส์ที่เน้นด้านการขนส่งวัตถุดิบหลัก, ชิ้นส่วน ฯลฯ จากแหล่งผลิต หรือซัพพลายเออร์ เพื่อนำไปแปรรูป, ประกอบในโรงงาน, ส่งไปยังคลังสินค้า หรือส่งไปให้ร้านค้าปลีก
  • โลจิสติกส์ขาออก (Outbound logistics) ในส่วนนี้จะเกี่ยวกับการจัดส่งสินค้าที่เสร็จสมบูรณ์แล้วเป็นหลัก เช่น จากโรงงานถึงร้านค้า หรือจากร้านค้าถึงลูกค้า

ความแตกต่างระหว่างโลจิสติกส์ขาเข้า และโลจิสติกส์ขาออก

ความต่าง โลจิสติกส์ขาเข้า โลจิสติกส์ขาออก ความหมาย การไหลเข้าวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ไปยังโรงงานผลิต การไหลออกสินค้าที่ผลิตเสร็จสิ้นแล้วไปยังผู้ที่ต้องการ เกี่ยวข้อง การจัดการวัตถุดิบ และการจัดซื้อ การบริการลูกค้า และช่องทางการจำหน่าย เป้าหมาย ลำเลียงวัตถุดิบ และชิ้นส่วนจากซัพพลายเออร์ไปยังโรงงานผลิต     ลำเลียงผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วไปยังลูกค้า ความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ผลิต กับเจ้าของธุรกิจ ระหว่างเจ้าของธุรกิจ กับลูกค้า

โลจิสติกส์เติบโตแบบก้าวกระโดด เมื่ออี-คอมเมิร์ซได้รับความนิยม

หลังจากที่อินเทอร์เน็ตถูกเปิดให้ใช้งานได้แบบสาธารณะ เจฟฟ์ เบโซส์ ได้ก่อตั้งเว็บไซต์ขายของออนไลน์ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1994 ชื่อว่า Cadabra.com ซึ่งในปีถัดมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น Amazon.com มันเป็นเว็บไซต์ E-Commerce แห่งแรกๆ ที่ถูกก่อตั้งบนโลกอินเทอร์เน็ต และมันก็ได้สร้างปรากฏการณ์ที่ถูกเรียกว่า Amazon Effect ขึ้นมาทำให้ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และทั่วโลกเกิดผลกระทบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

Amazon effect ได้เปลี่ยนพฤติกรรมให้คนหันมานิยมซื้อสินค้าแบบออนไลน์ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนคุณก็สามารถช้อปปิ้งได้ สามารถหาสินค้าที่ต้องการได้ในไม่กี่คลิกเท่านั้น และหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ที่ Amazon ได้มีส่วนสำคัญในการสร้างมาตรฐานใหม่ก็คือระบบโลจิสติกส์

ในหนึ่งชั่วโมง Amazon ขายสินค้าได้จำนวนมหาศาล แต่ไม่ว่ารายการสั่งซื้อจะมากขนาดไหน Amazon ก็สามารถจัดส่งสินค้าไปถึงมือลูกค้าได้ภายในวันเดียว หรือแค่ไม่กี่ชั่วโมงด้วยซ้ำ นั่นก็เพราะ Amazon ได้พัฒนาระบบดิจิทัลโลจิสติกส์ขึ้นมาช่วยในขั้นตอนต่างๆ นั่นเอง โดยอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งหุ้นยนต์, AI และระบบซอฟต์แวร์มาทำงานร่วมกัน 

ปัจจุบันนี้สิ่งที่ Amazon ได้สร้างไว้ กลายเป็นต้นแบบให้มีเว็บขายของออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย และสิ่งที่เติบโตขึ้นไปพร้อมกันกับ E-Commerce ด้วย นั่นก็คือ ระบบโลจิสติกส์นั่นเอง

ในอดีต การซื้อของออนไลน์มีจุดอ่อนตรงที่ลูกค้าไม่ได้รับสินค้าในทันที ต้องเสียเวลารอรับสินค้านานหลายวัน หากต้องการรีบใช้งาน คนก็ยังจำเป็นต้องไปซื้อที่ร้านด้วยตนเองอยู่ดี แต่ปัจจุบันนี้สินค้าจะถึงมือลูกค้าเร็วกว่าเดิมมาก ร้านค้าหลายเจ้าส่งของถึงมือภายในวันเดียวกัน หรืออาจจะชั่วโมงเดียวด้วยซ้ำ แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยระบบโลจิสติกส์ที่ดีด้วย

อี-คอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ ในประเทศไทย

ผลการสำรวจเมื่อเดือนกันยายนของปี 2019 พบว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 85% ในประเทศไทยเคยใช้บริการซื้อของออนไลน์ เป็นรองแค่อินโดนีเซียที่ครองอันดับหนึ่งด้วยอัตราส่วน 90%

อี-คอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ จากแหล่งผลิตถึงหน้าร้าน สู่ร้านออนไลน์ถึงผู้บริโภค
อี-คอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ จากแหล่งผลิตถึงหน้าร้าน สู่ร้านออนไลน์ถึงผู้บริโภค

ในปี 2019 ที่ผ่านมา ตลาด E-Commerce ในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง $4,313,000,000 (ประมาณ 134,738,120,000 บาท) และมีแนวโน้มที่จะเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี

อี-คอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ จากแหล่งผลิตถึงหน้าร้าน สู่ร้านออนไลน์ถึงผู้บริโภค
อี-คอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ จากแหล่งผลิตถึงหน้าร้าน สู่ร้านออนไลน์ถึงผู้บริโภค

แน่นอนว่ายอดขาย E-Commerce ที่สูงขึ้น ก็หมายถึงปริมาณสินค้าที่มีการขนส่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน จากการคำนวณของบริษัทขนส่งพัสดุในไทยรายใหญ่ประมาณ 22 ราย ในปี 2020 นี้ มีการคาดการณ์เอาไว้ว่าจะมีการขนส่งสินค้ารวมไม่ต่ำกว่า 4,000,000 ชิ้นต่อวัน มูลค่าตลาดสูงประมาณ 66,000,000 ล้านบาท

โดยการเติบโตดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ที่นิยมการซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์มากยิ่งขึ้น ทั้งเว็บไซต์ E-Commerce รายใหญ่ เช่น Lazada, Shopee, JD Central, Priceza และการค้าผ่านทางโซเชียลมีเดีย (Social Commerce) อย่าง Facebook, Line, Instagram รวมถึง ในหน้าเว็บไซต์ของแต่ละร้านค้าเอง

อี-คอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ จากแหล่งผลิตถึงหน้าร้าน สู่ร้านออนไลน์ถึงผู้บริโภค
อี-คอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ จากแหล่งผลิตถึงหน้าร้าน สู่ร้านออนไลน์ถึงผู้บริโภค

แม้มูลค่าตลาดจะเติบโตสูงขึ้น แต่ด้วยการอัตราการแข่งขันที่สูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ค่าบริการลดต่ำลง ซึ่งก็ส่งเป็นเรื่องที่ดีต่อผู้ประกอบการ และผู้ซื้อที่จะรับภาระค่าขนส่งลดต่ำลง

อี-คอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ จากแหล่งผลิตถึงหน้าร้าน สู่ร้านออนไลน์ถึงผู้บริโภค
อี-คอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ จากแหล่งผลิตถึงหน้าร้าน สู่ร้านออนไลน์ถึงผู้บริโภค

ปัญหาด้านโลจิสติกส์ในประเทศไทย

ปัญหาท้าทายของการส่งสินค้าในประเทศไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ส่วนหนึ่งมาจากผังเมืองที่แย่ สภาพการจราจรที่แออัด ทำให้ติดอันดับเมืองที่รถติดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก การส่งของจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งภายในเมืองที่ระยะห่างแค่ไม่กี่กิโลเมตร อาจะต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง สาเหตุนั้นมีจากหลายด้านมาก

  • กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอัตราประชากรหนาแน่นเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้การวางผังเมืองมีความสำคัญมาก อย่างไรก็ตาม การเติบโตภายในเมืองส่วนใหญ่อยู่ในมือของเอกชน และทางผู้มีอำนาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการผังเมืองมากนัก
อี-คอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ จากแหล่งผลิตถึงหน้าร้าน สู่ร้านออนไลน์ถึงผู้บริโภค
อี-คอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ จากแหล่งผลิตถึงหน้าร้าน สู่ร้านออนไลน์ถึงผู้บริโภค
  • ระบบขนส่งภายในกรุงเทพมหานครมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในเกณฑ์ที่ดี อย่างไรก็ตาม ไม่ค่อยมีการลงทุนในระบบขนส่งจากเมืองหลวงไปยังนอกเมืองเท่าไหร่นัก
  • ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครทุกปีเป็นประจำ ส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าด้วยเช่นกัน

เมื่อปัญหาทุกด้านมารวมกัน จึงทำให้การส่งสินค้าภายในเมือง หรือจากในเมืองไปยังท่าเรือ และสนามบิน ไม่ใช่งานง่ายเลยสำหรับผู้ให้บริการโลจิสติกส์

นโยบายส่งเสริมของรัฐบาล

อ้างอิงจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ได้ระบุเอาไว้ว่า

 หน้าที่ 144

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์เป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจและสังคม การกระจายความเจริญ และการพัฒนาเมืองและพื้นที่ รวมทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่างไร ก็ตาม ที่ผ่านมาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ของประเทศประสบปัญหาความต่อเนื่อง ในการดำเนินการ และปัญหาเชิงปริมาณ คุณภาพ และการบริหารจัดการการให้บริการที่สอดคล้องกับ มาตรฐานสากล ทำให้มีข้อจำกัดในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน และระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 จะมุ่งเน้นการขยายขีดความสามารถ และพัฒนาคุณภาพการให้บริการ เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและ พื้นที่เศรษฐกิจหลัก และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกกลุ่มในสังคม สนับสนุนให้เกิดความเชื่อมโยง ในอนุภูมิภาคและในอาเซียนอย่างเป็นระบบ โดยมีโครงข่ายเชื่อมโยงภายในประเทศที่สนับสนุนการพัฒนา พื้นที่ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจต่างๆ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการกำกับดูแลให้สอดคล้อง กับมาตรฐานสากล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการ สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการพื้นฐาน และ การคุ้มครองผู้บริโภค การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ และ การพัฒนาผู้ประกอบการในสาขาโลจิสติกส์และหน่วยงานที่มีศักยภาพเพื่อไปทำธุรกิจในต่างประเทศ

 จากหน้า 145

 เป้าหมายที่ 3 การพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้าน
โลจิสติกส์และการอำนวยความสะดวกทางการค้ามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ระบบ National Single Window
(NSW) สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการนำเข้าส่งออก และโลจิสติกส์ด้วยระบบ
อิเล็กทรอนิกส์แบบไร้กระดาษได้อย่างสมบูรณ์ บุคลากรด้านโลจิสติกส์ได้รับการพัฒนาให้มีผลิตภาพสูงขึ้น
รวมทั้งการขนส่งสินค้าผ่านเข้า-ออก ณ ด่านการค้าชายแดนสำคัญที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายทางหลัก
มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 - ตัวชี้วัด 3.1 อันดับดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ และประสิทธิภาพการอำนวย
ความสะดวกทางการค้าดีขึ้น
 - ตัวชี้วัด 3.2 จำนวนธุรกรรมการให้บริการการนำเข้า และส่งออกด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็น
ร้อยละ 100 ในปี 2564
 - ตัวชี้วัด 3.3 ปริมาณสินค้าที่ผ่านเข้า-ออก ณ ด่านการค้าชายแดนที่สำคัญเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 5 ต่อปี

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0