โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ไขก๊อก! “เลือกตั้ง 62” คนไทยสนใจ “การเมือง” เป็นประวัติการณ์!

Another View

เผยแพร่ 12 ก.พ. 2562 เวลา 13.00 น.

ไขก๊อก! เลือกตั้ง62คนไทยสนใจการเมืองเป็นประวัติการณ์!

ย้อนเวลากลับไปประมาณ 40 ปีที่แล้ว จะมีคำว่า สายลมแสงแดด ที่ใช้เรียกแทนกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษาส่วนใหญ่ในช่วงเวลานั้น ที่ไม่สนใจเหตุบ้าน การเมือง ความเป็นไปของสังคม ใช้ชีวิตอย่างเรียบช้าราวกับปล่อยให้สายลมและแสงแดดพัดผ่านและเคลือบผิวกายไปเรื่อย ๆ ในแต่ละวัน 

กระทั่งเกิดเหตุการณ์ในช่วง 6 และ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ที่ดูเหมือนแสงแดดจะกลับมาแผดเผาเมื่อมีนักศึกษากลุ่มหนึ่งลุกฮือขึ้นมาเดินขบวนประท้วงการกลับเข้าประเทศของ จอมพลถนอมกิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี จนเรื่องราวบานปลายกลายเป็นการ ‘สลายการชุมนุม’ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ที่หลายคนพยายามทำให้เลือนหายไปจากความทรงจำ 

หลังจากนั้นก็ดูเหมือนว่าสายลมที่เริ่มโหมกระหน่ำค่อย ๆ เบาบางลง นักศึกษาและวัยรุ่นส่วนใหญ่กลับไปใช้ชีวิตตามปกติ และยุคของ ‘สายลมแสงแดด’ ก็เข้าปกคลุมประเทศไทยอีกครั้ง ไม่ว่าเวลาจะผ่านไป หรือเหตุบ้านการเมืองจะมีสถานการณ์ที่ ‘ไม่ปกติ’ เกิดขึ้นมากเท่าไหร่ก็ตาม 

ถึงแม้ว่าจะมีช่วงหลัง ๆ ที่เราพอได้จะได้เห็นตัวอย่างจาก ไผ่ ดาวดิน, รังสิมันต์ โรม หรือแม้กระทั่ง เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ฯลฯ และเหล่านักศึกษาอีกหลายคนจะออกมาแสดงความคิดเห็น หรือเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ในเรื่องสังคม การเมืองและเรื่องต่าง ๆ ให้เห็นมากขึ้น  แต่ถ้าดูโดยภาพรวมทั้งหมด วัยรุ่น, นักศึกษา และกลุ่มคนส่วนใหญ่อีกมากกว่า 90% ก็ยังปล่อยให้ความสบาย ๆ ของบรรยากาศสายลมแสงแดดผ่านไป ถึงแม้จะมีประเด็นที่พอให้ชื่นใจได้อยู่บ้าง 

อย่างการแชร์ภาพ มีมและประเด็นใหญ่ ๆ เช่น“พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” จะทุ่มโพเดี้ยมใส่ใคร, "พลเอกประวิทย์ วงสุวรรณ" เอานาฬิกามาจากไหน รวมทั้งการทวงถามความยุติธรรมให้กับแคมเปญ ‘เสือดำต้องไม่ตายฟรี’ ฯลฯ แต่นอกเหนือจากนั้นเราก็แทบไม่เห็นความเคลื่อนไหวใด ๆ นอกจากการใช้พื้นที่ในโซเชียลมีเดียในการอัพเดตเรื่องราวในชีวิตประจำวัน, ไลฟ์สไตล์สุดเก๋ และปัญหาชีวิตรักส่วนตัว มากกว่าเรื่องราวความเป็นไปในสังคมเท่าไหร่นัก 

กระทั่งเหตุการณ์ในเช้าวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เมื่อทุกคนทราบข่าวที่พรรคไทยรักษาชาติ เสนอชื่อ "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล" เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพียงหนึ่งเดียวของพรรค  หลังจากนั้นเพียงแค่ไม่กี่นาที ภาพไลฟ์ไสตล์เก๋ ๆ บนโซเชียลมีเดียทุกแพลตฟอร์ม ก็เปลี่ยนเป็นการแชร์ข่าวพร้อมกับแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวจนเต็มหน้าฟีดไปหมด แม้ว่า ความลึกและความร้อนแรงในการวิพากษ์วิจารณ์อาจจะไม่ได้มีระดับความเข้มข้นเท่าไหร่ แต่อย่างน้อยก็เพียงพอที่จะทำให้หลายคนเข้าไปอ่านข่าว สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ ‘ปรากฎการณ์’ นี้ได้มากขึ้นแล้ว 

เท่านั้นยังไม่พอ ในขณะที่ทุกคนกำลังติดตามข่าวกันด้วยความตื่นเต้น ก็มีข่าวออกมาว่าจะมี ‘แถลงการณ์’ สำคัญจากสำนักพระราชวังในช่วง 22.00 น. ก็ทำให้ทุกคนที่แทบจะไม่ได้เปิดโทรทัศน์มานานมากแล้ว ต้องนั่งเฝ้าหน้าจอโทรทัศน์ (หรือไม่ก็ไลฟ์ของช่องต่าง ๆ) เพื่อรอฟังแถลงการณ์ดังกล่าว ที่ถึงแม้เวลาจะล่าช้ากว่ากำหนดเดิม แต่ทุกคนก็ยังเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดไม่ยอมไปไหน

และเมื่อถึงเวลาที่ทุกคนรอคอย "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร" มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศ มีใจความสำคัญว่า

บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญทุกฉบับรวมทั้งฉบับปัจจุบัน มีหมวดว่าด้วยพระมหากษัตริย์เป็นการเฉพาะ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่รองรับสถานะพิเศษของสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่เหนือการเมืองและทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิด กล่าวหา หรือฟ้องร้อง พระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้

ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมครอบคลุมถึงพระราชินี พระรัชทายาทและพระบรมราชวงศ์ซึ่งมีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ ดังที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจร่วมกับพระองค์หรือแทนพระองค์อยู่เป็นนิจ 

ดังนั้นพระราชินี พระรัชทายาท และพระบรมราชวงศ์ทุกพระองค์ จึงอยู่ในหลักการเกี่ยวกับการดำรงอยู่เหนือการเมือง และความเป็นกลางทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ด้วย และไม่สามารถดำรงตำแหน่งใด ๆ ในทางการเมืองได้ เพราะจะเป็นการขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เป็นอันชัดเจนว่า ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล ไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางเมืองใด ๆ ได้ ความสนใจของชาวสายลมแสงแดด (รวมทั้งทุกคนในประเทศไทย) ที่กำลังคุกรุ่น ก็ปะทุความสนใจขึ้นเป็นประวัติการณ์ ชนิดที่ว่า ในช่วงเวลานั้น หากใครโพสต์สเตตัสเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง จะต้องถูกมองด้วยสายตาแปลก ๆ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนอย่างแน่นอน 

ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีบทสรุปหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยในครั้งนี้ที่แน่ชัดออกมา แต่อย่างน้อยปรากฏการณ์ที่หลายคนถึงกับใช้คำว่า ‘สนุก’ ที่สุดในชีวิตตั้งแต่เคยติดตามข่าวสารการเมืองมา ก็นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่ทำให้เรื่อง ‘การเมือง’ ที่เป็นเหมือนเส้นขนานกับชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่ในประเทศ ได้ขยับเข้าใกล้และบรรจบจนกลายเป็นเรื่องเดียวกันในที่สุด 

การปลูกฝังความคิดในการติดตามข่าวสารการเมืองอย่างใกล้ชิดมากขึ้นในครั้งนี้ จะนำไปสู่การศึกษาข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ เหตุการณ์สำคัญที่จะเกิดขึ้นต่อไป และจะกลายเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะยกระดับและพัฒนาประเทศของเราให้ยกระดับขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งได้ในอนาคต 

อ้างอิง

https://www.thaipost.net/main/detail/28600

https://news.mthai.com/general-news/707025.html

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_6_%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_14_%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0