โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

Apgar score คะแนนตัวนี้บ่งชี้สุขภาพทารก

Motherhood.co.th

เผยแพร่ 02 เม.ย. 2563 เวลา 05.15 น. • Motherhood.co.th Blog
Apgar score คะแนนตัวนี้บ่งชี้สุขภาพทารก

Apgar score คะแนนตัวนี้บ่งชี้สุขภาพทารก

ในวันคลอด คุณแม่คงจะมีทั้งความตื่นเต้นและความกังวลผสมกันไปหมด เมื่อทารกน้อยลืมตาดูโลก คุณแม่อาจจะได้ยินคำว่า "Apgar score" จากปากแพทย์และพยาบาลในห้องคลอด แต่ตอนนั้นอาจจะยังไม่มีสติพอที่รู้แน่ชัดว่าสิ่งที่พวกเขาพูดกันนั้นมันเกี่ยวกับอะไร มันบ่งบอกอะไรเกี่ยวกับทารกน้อยของเรา วันนี้ Motherhood ก็เลยจะนำเอาความรู้เรื่องนี้มาฝากกันค่ะ

Apgar score คืออะไร?

มันคือการประเมินสภาวะเด็กทารกแรกเกิดใน 1 นาทีแรก ต่อด้วย  5 นาที และ 10 นาที หลังคลอด เพื่อประเมินภาวะการหายใจในทารก ปัจจัยที่นำมาประเมินภาวะการหายใจของทารกจะประกอบด้วย ลักษณะสีผิว อัตราการเต้นของหัวใจ สีหน้าจากการกระตุ้น การเคลื่อนไหวของทารก และความพยายามในการหายใจ ซึ่งจากค่าคะแนนเต็ม 10 คะแนน ทารกปกติต้องมีคะแนน 7 คะแนนขึ้นไป ถ้าค่าคะแนนต่ำกว่า 7 จะสัมพันธ์กับภาวะการขาดออกซิเจนตั้งแต่แรกเกิด (Birth asphyxia) และมีความเสี่ยงที่ทารกจะเกิดความผิดปกติและมีความพิการของสมองตามมา

แพทย์และพยาบาลจะทำการประเมินทารกแรกคลอดทันที
แพทย์และพยาบาลจะทำการประเมินทารกแรกคลอดทันที

ประเมินคะแนนจากอะไรบ้าง?

การประเมินคะแนนจะวัดจากลักษณะสำคัญ 5 ลักษณะของทารก ดังนี้

A = Activity เป็นการประเมินกล้ามเนื้อกำลังแขนและขา ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ หรือการเคลื่อนไหวของแขนขา

  • ถ้าอ่อนปวกเปียก ให้ 0 คะแนน
  • ถ้าแขนและขางอเล็กน้อย ให้ 1 คะแนน
  • ถ้าแข็งแรงเคลื่อนไหวได้ดี ให้ 2 คะแนน

P = Pulse เป็นการประเมินชีพจรหรืออัตราการเต้นของหัวใจ

  •  ถ้าไม่มี ให้ 0 คะแนน
  • ถ้ามีน้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที ให้ 1 คะแนน
  • ถ้ามีมากกว่า 100 ครั้ง/นาที ให้ 2 คะแนน

G = Grimace เป็นการประเมินปฏิกิริยาตอบสนองต่อการกระตุ้น

  • ถ้าไม่มีปฏิกิริยา ให้ 0 คะแนน
  • ถ้าทำสีหน้าแสยะหรือร้องเบา ๆ ให้ 1 คะแนน
  • ถ้าไอจามหรือร้องเสียงดังให้ 2 คะแนน

A = Appearance เป็นการประเมินสีผิว

  • ถ้าสีเขียวคล้ำทั่วร่างกาย ให้ 0 คะแนน
  • ถ้าสีเขียวที่ปลายมือปลายเท้า ให้ 1 คะแนน
  • ถ้าสีชมพูทั้งตัว ให้ 2 คะแนน

R = Respiration เป็นการประเมินการหายใจ

  • ถ้าไม่หายใจ ให้ 0 คะแนน
  • ถ้าหายใจช้า ไม่สม่ำเสมอ ให้ 1 คะแนน
  • ถ้าร้องเสียงดังดี ให้ 2 คะแนน

แนวทางช่วยเหลือทารกตามผลคะแนน

  • 8-10 คะแนน (No asphyxia) ทารกในกลุ่มนี้ถือว่าปกติไม่ต้องให้การช่วยเหลือพิเศษ ใดๆ นอกจากสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งและให้ความอบอุ่นแก่ทารกก็เพียงพอ
  •  5-7 (Mid asphyxia) ทารกกลุ่มนี้มีการขาดออกซิเจนอย่างอ่อนเกิดขึ้นเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนคลอด หรือถูกกดจากยาที่มารดาได้รับก่อนคลอดเพียงเล็กน้อย ทารกจะมีอาการเขียวทั้งตัวหรือแค่บางส่วน การช่วยเหลืออาจกระตุ้นการหายใจด้วยการใช้นิ้วมือตีหรือดีดฝ่าเท้าทารก หรือใช้ผ้าถูหน้าอกบริเวณ Sternum หรือหลัง ให้ออกซิเจนผ่านหน้ากากที่ถือเหนือหน้าทารก ด้วยอัตราการไหลของออกซิเจน 4 ลิตรต่อนาที 
  • 3-4 (Moderate asphyxia) ทารกกลุ่มนี้การขาดออกซิเจนและมีความเป็นกรดมากกว่า หรือถูกกดจากยามากกว่า ทารกมีอาการเขียวทั้งตัว การหายใจอ่อนมาก ความตึงตัวของกล้ามเนื้ออ่อนมาก และอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 100 ครั้งต่อนาที ซึ่งเป็นสัญญาณว่าทารกต้องได้รับการช่วยการหายใจ ทารกจะตอบสนองการหายใจด้วยการใช้ถุงและหน้ากาก โดยการให้ออกซิเจน 100 % และความดันที่เพียงพอที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของทรวงอก ควรให้การช่วยหายใจจนกว่าทารกจะตัวแดง และนำทารกไปตรวจทางห้องปฏิบ้ติการต่อไป
  • 0-2 (Severe asphyxia) ทารกลุ่มนี้ขาดออกซิเจนอย่างมาก มีความเป็นกรด สูงทารกมีลักษณะเขียวคลํ้ามาก ไม่หายใจหรือหายใจเฮือก ทารกต้องได้รับการช่วยเหลือการ หายใจท้นทีที่คลอดเสร็จโดยการใส่ Endotracheal tube และช่วยการหายใจด้วยถุง โดยให้ ออกซิเจน 100 % พร้อมกับการนวดห้วใจ ถ้ายังไม่มีการเต้นของหัวใจภายใน 1 นาที หรืออัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 100 ครั้งต่อนาที หลังการนวดหัวใจและให้การช่วยหายใจด้วยออกซิเจนเป็นเวลา 2 นาที ทารกควรได้รับการใส่สาย Umbilical venous catheter เพื่อให้โซเดียมไบคาร์บอเนต สารนํ้า และยาอื่นที่จำเป็น
ยิ่งทารกได้คะแนนสูง ก็จะได้กินนมแม่เร็วขึ้น
ยิ่งทารกได้คะแนนสูง ก็จะได้กินนมแม่เร็วขึ้น

ทารกที่ได้คะแนนดี ส่วนใหญ่แพทย์จะให้ออกมากินนมแม่ได้เลยภายใน 2 ชั่วโมง หรือแม่คุณแม่พร้อม เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว คุณแม่ต้องพยายามรักษาสุขภาพร่างกายตัวเองให้แข็งแรงเข้าไว้นะคะ เพื่อที่ทารกน้อยจะได้มีคะแนนสูงตามไปด้วย สำหรับคุณแม่ที่คลอดนานแล้ว หากอยากดูว่าลูกน้อยได้คะแนนมาเท่าไหร่ ก็ให้ลองหาจากสมุดวัคซีนดูนะคะ เพราะคะแนนจะถูกบันทึกไว้ในนั้นค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0