โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ส่อง 3 คดีความและการลงโทษ เมื่อตำรวจคือ 'ผู้กระทำผิด'

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 25 ส.ค. 2564 เวลา 17.00 น. • AJ.

ในฐานะประชาชน เราต่างต้องพึ่งพา 'ผู้พิทักษ์สันติราษฎ์' ให้คุ้มครองดูแลสวัสดิภาพในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าหาก 'ผู้พิทักษ์สันติราษฎ์' เป็น 'คนผิด' เสียเอง พวกเขาจะถูกลงโทษอย่างไรบ้าง? ลองย้อนดูตัวอย่างการถูกตัดสินโทษของตำรวจ ซึ่งมีทั้งเบาไปหนัก ตั้งแต่การลงโทษทางวินัย ไปจนถึงการรับโทษทางกฎหมาย หากว่าการกระทำนั้นหนักหนา จนการย้าย หรือให้ออกจากราชการ ก็ยังคงไม่เพียงพอ

คดี 'ผู้กำกับโจ้' หรือ พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล อดีตตำรวจที่ปรากฏในคลิปวิดีโอที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ทำให้คนไทยหลายคนตั้งคำถามถึงอาชีพตำรวจ สิทธิของผู้ต้องหา รวมไปถึงความปลอดภัยของประชาชน เมื่อคนร้ายในคดีนี้ดันเป็น 'ตำรวจ' เสียเอง

ลงโทษทางวินัย

โทษวินัยถูกแบ่งเป็นความรุนแรงของความผิด เคยมีตัวอย่างในกรณี 'ตำรวจโลก 2 ใบ' ที่เป็นเรื่องราวของหญิงสาวรายหนึ่งที่ถือทะเบียนสมรสบุกงานแต่งจนเกิดเป็นดรามา เหตุการณ์ในตอนนั้นฝ่ายหญิงถูกไล่ออกจากงาน ในขณะที่เจ้าบ่าวในชุดเครื่องแบบตำรวจกำลังประกอบพิธีกับหญิงสาวอีกคนหนึ่ง

กรณีนี้ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติพ.ศ. 2547 ถือว่าเป็นการประพฤติตนในลักษณะไม่สมควร มีบทลงโทษกำหนดไว้ว่า 'ข้าราชการตำรวจเกี่ยวข้องกับหญิงอื่น หรือชายอื่น โดยที่ตนเองมีภรรยาหรือสามีอยู่แล้ว และเกิดเรื่องเสื่อมเสีย ลงโทษกักขัง 30 วัน'

อ่านข่าว 'ตำรวจโลก 2 ใบ' : สั่งกรรมการสอบ 'ผัวมีโลกสองใบ' ชี้ผิดวินัยเต็มประตู

รับโทษทางกฎหมาย

ส่วนคดี 'ผู้กำกับโจ้' ที่มีคลิปวิดีโอหลักฐานปรากฏชัดเจน ทำให้เราหวนนึกถึง'คดีเพชรซาอุฯ' และ 'คดีจอร์จ ฟลอยด์' คดีดังอันเกิดจากการความรุนแรงของการจับกุม ที่เลยเถิดไปจนทำให้มีผู้เสียชีวิต

สำหรับคดีแรกแม้จะไม่ได้เกิดขึ้นที่ประเทศไทย แต่ก็เป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ที่ทำให้เราได้ตระหนักถึงความรุนแรงของตำรวจและสิทธิมนุษยชนที่มนุษย์ทุกคนพึงมี

'จอร์จ ฟลอยด์' (George Floyd) เป็นชาวอเมริกันที่ถูกตำรวจจับกุมโดยการใช้เข่ากดที่คอ จนเจ้าตัวขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตในเวลาต่อมา เหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลให้เกิดความเคลื่อนไหว Black Lives Matter ไปทั่วโลก เรียกร้องให้ทางการสหรัฐอเมริกาและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติกับคนผิวสีอย่างเท่าเทียม นานาชาติต่างออกมาเคลื่อนไหวทวงความยุติธรรมให้จอร์จ ฟลอยด์ เกิดการประท้วงต่อการเหยียดเชื้อชาติและความโหดร้ายของตำรวจทั่วโลก

ส่วนนายเดเร็ก เชาวิน (Derek Chauvin) อดีตตำรวจที่ก่อเหตุ ถูกตัดสินมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาแต่ไม่ได้เตรียมการไว้ก่อน ถูกจำคุก 22 ปีครึ่ง นายตำรวจที่อยู่ในเหตุการณ์ก็ถูกตั้งข้อหาละเมิดสิทธิพลเมืองของจอร์จ ฟลอยด์ด้วย

อ่านคดี 'จอร์จ ฟลอยด์' เพิ่มเติม : อดีตตำรวจคดี 'จอร์จ ฟลอยด์' เจอคุก 22 ปีครึ่ง

'คดีเพชรซาอุฯ' เมื่อตำรวจก่อเหตุฆาตกรรม

อีกคดีหนึ่งเกิดที่ประเทศไทยเมื่อปี 2532 และเป็นคดีเลื่องชื่อ 'เพชรซาอุฯ'

เหตุเกิดจาก นายเกรียงไกร เตชะโม่ง คนงานในวังกษัตริย์ไฟซาล ประเทศซาอุดิอาระเบียขโมยเครื่องเพชรกลับมาที่จังหวัดลำปาง และตำรวจเมื่อซัดทอด ก็พบว่าขายเพชรบางส่วนให้ นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ เจ้าของร้านเพชรชื่อดัง ในกรุงเทพฯ

พล.ต.ท. ชลอ เกิดเทศ ผู้นำทีมสืบสวนคดีนี้ ติดตามคนร้ายจนสามารถส่งเครื่องเพชรสุดล้ำค่าคืนแก่ทางการซาอุฯ ได้อย่างรวดเร็ว จนได้รับเสียงชื่นชมทั้งจากในประเทศและต่างชาติ

แต่ต่อมาในปี 2537 พล.ต.ท.ชลอ ต้องกลับมารื้อคดีอีกครั้ง เนื่องจากทางซาอุฯ พบว่าเครื่องเพชรที่ส่งกลับมา มีเพชรกว่าครึ่งเป็นของปลอม จึงต้องติดตามตัว นายสันติ มาสอบสวนใหม่ แต่ตำรวจกลับไม่พบตัว พล.ต.ท.ชลอจึงก่อเหตุอุ้ม นางดารวดี และ ด.ช.เสรี ศรีธนะขัณฑ์ ภรรยาและลูกของนายสันติไปเป็นตัวประกันเพื่อต่อรองและรีดข้อมูลจากนายสันติ

แต่เรื่องช็อกก็เกิดขึ้น เมื่อปรากฏข่าวอุบัติเหตุของนางดารวดีและ ด.ช.เสรี ที่ดันมีเงื่อนงำว่าอาจเป็นการฆาตกรรมอำพรางโดยการจัดฉากให้เหมือนอุบัติเหตุรถชน และเมื่อสืบสวนไปก็พบว่าทีมของพล.ต.ท.ชลอได้ฆ่าปิดปากสองแม่ลูกจริงๆ เหตุเพราะไม่ได้เบาะแสจากนายสันติอย่างที่หวัง ทำให้ทีมสืบสวนทีมใหม่เข้าจับกุมพล.ต.ท.ชลอพร้อมลูกน้อง 9 คนมาดำเนินคดี

บทสรุปของ นายชลอ เกิดเทศ คือการถูกจำคุก 19 ปี และเมื่อถึงปี 2556 จึงได้รับการพักลงโทษ เขาเปลี่ยนชื่อเป็น ธัชพล เกิดเทศ และบวชเป็นพระจนถึงทุกวันนี้

อ่านคดีเพชรซาอุฯ เพิ่มเติม : ถอดคดีผู้กำกับโจ้ ซ้อมผู้ต้องหา ย้อนสู่คดีดัง ตำรวจอุ้มแม่ลุก ศรีธนะขัณฑ์

จับตาชะตากรรมของ 'ผู้กำกับโจ้'

ย้อนกลับมาที่ 'ผู้กำกับโจ้' อดีตตำรวจในคลิปโหด ร่วมกับตำรวจอีก 6 คน ก่อเหตุซ้อมทรมานผู้ต้องหายาเสพติดด้วยการนำถุงพลาสติกมาคลุม และราดน้ำใส่ เพื่อบังคับแลกเงินกับการไม่ดำเนินคดี จนเหยื่อเสียชีวิต เหตุการณ์นี้สร้างความสะเทือนใจแก่ชาวไทยทั้งประเทศเพราะนอกจากภาพความโหดร้ายในคลิปวิดีโอแล้ว เมื่อสืบสวนไปก็พบว่านายตำรวจคนดังกล่าวมีประวัติไม่ธรรมดา ทั้งครอบครองรถหรูหลายคัน มีทรัพย์สมบัติมากผิดปกติ ไม่เพียงเท่านั้น รูปคดียังชวนให้ประชาชนกังขา ทั้งผลชันสูตรผู้ตายที่ไม่สมเหตุสมผลในตอนแรก ไปจนถึงการ 'ยอมความ' ของพ่อแม่ผู้ตายอีกด้วย

อ่านคดีผู้กำกับโจ้ เพิ่มเติม :เปิดข้อกฎหมายความผิดคดี 'ผู้กำกับโจ้' และพวก

ล่าสุด พล.ต.อ. สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เผยว่ามีการให้ตำรวจกลุ่มนี้ออกจากราชการไว้ก่อนแล้ว มีการคาดโทษว่าจะถูกดำเนินคดีอย่างจริงจัง รวมถึงสอบสวนและสืบสาวไปถึงคนใน 'วงการ' คนอื่นๆ ที่อาจเคยก่อเหตุลักษณะเดียวกัน

เหตุการณ์ครั้งนี้จะเป็น 'มากกว่า' การออกมา 'แฉตำรวจนอกรีต' แต่กลายเป็นเปิดโปงเบื้องหลัง 'วงการตำรวจ' หรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป

อ้างอิง

bbc.com1 / 2

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 78

  • Nutchimaru
    ว่างๆ ลองไปส่องคดี ทุจริต ของนักการเมืองต่างประเทศบ้างสิครับ ว่าโดนยังไงกันบ้าง เกาหลีก็โดนไปหลายสิบปี หนีไม่ได้ ส่วนของไทย 2 ปีเอง ยังไม่ได้นับรวม ลดโทษ และติดแบบ vvip ยังหนีกันหน้าตั้งเลย
    26 ส.ค. 2564 เวลา 04.28 น.
  • Gaw's
    มันใช้ไม่ได้กับตำรวจไทย
    26 ส.ค. 2564 เวลา 05.20 น.
  • Loh
    จบที่ ไม่เจตนาฆ่า ติดไม่เกิน10ปี ออก
    26 ส.ค. 2564 เวลา 07.11 น.
  • Jim taree
    ผู้รักษากฏหมาย ต้องโดน 2เท่าของปชช ไม่ใช่หรือ? มีทั้งปืนและกฏหมายอยู่ในมือ
    26 ส.ค. 2564 เวลา 11.27 น.
  • ธนกร (นพ) สุขเกษม
    เอาผิดญาติผู้ตายด้วยปกปิดคนทำความผิด รวมถึงหมออกเอกสารไม่ตรงความจริง
    26 ส.ค. 2564 เวลา 06.33 น.
ดูทั้งหมด