โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ครบ 20 ปี เหตุเครื่องบินโบอิ้ง 737 ระเบิด ‘ทักษิณ’ หวิดขึ้น : เสาร์นี้ในอดีต

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 02 เม.ย. 2564 เวลา 17.00 น. • O.J.

ก้าวเข้าสู่เดือนเมษาอย่างเป็นทางการ และผู้คนก็ต่างเตรียมแผนเดินทางท่องเที่ยวกันเต็มที่และเพื่อที่จะให้ถึงจุดหมายอย่างรวดเร็ว การเดินทางโดยใช้ ‘เครื่องบิน’ จึงเป็นตัวเลือกอันดับ 1 แต่สำหรับบางคนอาจจะเป็น ‘ฝันร้าย’ ก็เป็นได้ 

เสาร์นี้ในอดีต : จะพาย้อนไปเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2544 หนังสือพิมพ์ทุกแขนงต่างเสนอข่าวกันครึกโครม เมื่อเครื่องบินโบอิง 737 ของการบินไทยเกิดระเบิดที่ลานจอด ซึ่ง 1 ในรายชื่อที่จะต้องโดยสารเครื่องบินลำดังกล่าวคือ ‘พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร’ ก่อนแถลงว่าเป็นการวางระเบิดเพื่อลอบสังหาร

ในวันเกิดเหตุเครื่องบินลำดังกล่าว เที่ยวบินที่ 114 โบอิง 737-4D7 ของการบินไทย เดินทางจากท่าอากาศยานดอนเมือง ไปท่าอากาศยานเชียงใหม่ในเวลา 14:48 น. แต่ก่อน35 นาที กำหนดการบิน เครื่องบินลำดังกล่าวที่ท่าอากาศยานดอนเมืองได้เกิดการระเบิดขึ้นขณะเกิดเหตุยังไม่มีผู้โดยสารอยู่บนเครื่อง มีเพียงเจ้าหน้าที่จำนวน 8 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 คน แต่เมื่อไปเปิดรายชื่อถูกที่จะเดินทางในสายการบินนี้ พบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และโอ๊ค พานทองแท้ บุตรชาย จะเดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ 

โดยหลังเกิดเหตุ ทักษิณ แถลงว่าการระเบิดครั้งนี้เป็นการก่อวินาศกรรมเพื่อหวังลอบสังหารตนเอง โดยฝีมือของผู้เสียผลประโยชน์ชาวต่างชาติ (ว้าแดง) เนื่องจากนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาล หลังจากที่เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานของไทยตรวจพบหลักฐานที่เชื่อว่าอาจเป็นร่องรอยของระเบิดซีโฟร์หรือเซมเท็กซ์ (Semtex) และช่วงหนึ่งของคำแถลงนั้นระบุว่า

"เป็นการปองร้าย ไม่ใช่การก่อการร้าย ไม่ทราบว่าปองร้ายใคร ส่วนคนที่ทำนั้นสิ้นคิด ไม่ต้องทำกับนายกรัฐมนตรี ทำกับใคร ประเทศชาติก็เสียหาย" 

วันที่ 11 เมษายน 2544 คณะกรรมการความปลอดภัยในการขนส่งแห่งชาติของสหรัฐ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบกับพบว่าไม่พบร่องรอยของวัตถุระเบิด และว่ากรณีนี้คล้ายกับการระเบิดของเครื่องโบอิง 737 ของสายการบินฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 ซึ่งเกิดจากความบกพร่องของถังน้ำมันเชื้อเพลิง

หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวก็ทำให้สายการบินต่างๆ กำหนดมาตรการอย่างรัดกุม 

และเป็นที่รู้กันดีว่าถ้าคนใดจะเดินทางโดยสารด้วยเครื่องบิน อย่าเผลอพูดคำเหล่านี้เด็ดขาด เพราะถ้าหลุดพูดไปแล้วนั้น จากที่จะได้เที่ยวอย่างสบายใจ แต่กลับต้องไปโรงพักเพราะมีโทษกำหนดอยู่ 

-ระเบิด (Bomb, Explosive) เช่นพูดว่า มีระเบิด, เปิดกระเป๋า ระวังเจอระเบิด, จะระเบิดสนามบิน,

-การก่อการร้าย (Terrorist Attack) เช่นพูดว่า นี่คือการก่อการร้าย 

-จี้เครื่องบิน, ปล้นเครื่องบิน (Hijack) เช่นพูดว่า นี่คือการจี้เครื่องบิน, Hijack 

คำพูด เขียนข้อความ หรือการกระทำอื่น ๆ ที่เจ้าหน้าที่พิจารณาว่าคุกคาม ข่มขู่หรือเป็นภัย เช่น

-พูดว่า “ตรวจได้แต่ ระวังเชื้ออีโบล่า”

-ตะโกนว่า “เครื่องบินลำนี้กำลังจะตก”

-เขียนว่า “ระเบิด” ไว้ที่กระจก

-โยนกระเป๋าหรือสิ่งของภายในตัวอาคาร ใส่เจ้าหน้าที่ กลุ่มผู้โดยสาร หรือผู้ใช้บริการแล้ววิ่งหนี

แจ้งข้อความซึ่งเป็นเท็จ จนเป็นเหตุหรือน่าจะเป็นเหตุให้ผู้ที่อยู่ในท่าอากาศยานหรือในอากาศยานระหว่างการบิน ตื่นตกใจ ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่ออากาศยานในระหว่างการบิน ต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 5 - 15 ปี หรือ ปรับตั้งแต่ 200,000 - 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ้างอิง ไทยรัฐออนไลน์,เพจวันนี้ในอดีต,wikipedia,airportthai

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 157

  • เอี๋ยว
    และแล้วในที่สุดสายการบินก็ล้มละลายมีหนี้สินเป็นล้นพ้นตัว ผลแห่งการกระทำของพวกคอรัปชั่น​ในองค์กร​
    02 เม.ย. 2564 เวลา 19.15 น.
  • หนุ่ย#nuii
    นั่นสิ การบินไทย ถึง ล่มจม เจ๊ง แบบทุกวันนี้ เวรทัน
    03 เม.ย. 2564 เวลา 02.27 น.
  • JIDAPA@89
    มีคนเชื่อด้วย แต่คน ส่วนใหญ่ทั้งโลกไม่เชื่อ
    02 เม.ย. 2564 เวลา 18.03 น.
  • Pongg
    สจ๊วตที่เสียชีวิตไปเป็นรุ่นน้องของผมเองครับ นิสัยดีด้วย
    02 เม.ย. 2564 เวลา 18.18 น.
  • Wolffia Original™
    สื่อเอาข่าวมาลงต้องมีจุดประสงค์ หวังดีหรือประสงค์ร้าย
    02 เม.ย. 2564 เวลา 18.44 น.
ดูทั้งหมด