โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

6 วิธีรักษา โรค ตากุ้งยิง ลดอาการปวด บวม

MThai.com - Health

เผยแพร่ 22 พ.ค. 2561 เวลา 02.44 น.
6 วิธีรักษา โรค ตากุ้งยิง ลดอาการปวด บวม
ตากุ้งยิง (stye หรือ hordeolum) เป็นการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณฐานของขนตา ใต้เปลือกตา โดยมีอาการบวม แดง ร้อน และอาจมีอาการปวด แต่ไม่เป็นอันต

ตากุ้งยิง (stye หรือ hordeolum) เป็นการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณฐานของขนตา ใต้เปลือกตา โดยมีอาการบวม แดง ร้อน และอาจมีอาการปวด แต่ไม่เป็นอันตรายต่อสายตาสามารถรักษาได้ด้วยยาหยอดตา ขี้ผึ้งป้ายตา หรือรับประทานยาปฏิชีวนะ สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย

สาเหตุของการเป็นตากุ้งยิง

  1. ต่อมไขมันบริเวณโคนขนตาอุดตัน แล้วมีเชื้อโรคแทรกซ้อนเข้าไป สิ่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ได้ก็เป็นผลเนื่องมาจากความต้านทานของร่างกายลดน้อยลง รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา พักผ่อนน้อย ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ร่างกายอ่อนแอลง รวมไปถึงพวกใช้สายตามาก สายตาผิดปกติแล้วไม่แก้ไข

  2. นำมือที่ไม่สะอาดมาถูไถบริเวณตา ก็จะเกิดเป็นตากุ้งยิงได้ง่าย สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เปลือกตาไม่สะอาด เกิดจากการขยี้ตาบ่อยๆ

  3. ติดเชื้อแบคทีเรีย บางรายเกิดเนื่องจากมีการอุดตันของต่อมเปลือกตานำมาก่อน แล้วเกิดการติดเชื้อมีอยู่ปกติในบริเวณนั้นตามมา เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดตากุ้งยิงส่วนใหญ่ ได้แก่ เชื้อหนอง Staphylococcus aureus หากไม่รักษาหนองอาจจะหายเองได้ หรืออาจจะแตกออก หรืออาจเกิดเป็นก้อนที่มีขนาดใหญ่จนรบกวนการมองเห็น

  4. ใช้เครื่องสำอางแล้วล้างออกไม่หมด หรือล้างไม่สะอาด

  5. ใส่หรือถอดคอนแทคเลนส์ด้วยมือไม่สะอาด

อาการของตากุ้งยิง

  1. มีก้อนที่เปลือกตา อาจเห็นเป็นตุ่มหนอง หรือตุ่มอักเสบ และมีอาการปวดหนังตา เวลาที่กรอกตาหรือหลับตาจะทำให้ปวดมากขึ้น

  2. มีอาการบวมที่เปลือกตา ในกรณีที่บวมมาก ตาจะปิด บางรายอาจพบหนองไหลออกจากเปลือกตา ซึ่งหากหนองแตกในตา จะทำให้มีขี้ตาเป็นสีเขียว

  3. น้ำตาไหล บางรายมีอาการคันที่ตา เหมือนมีสิ่งแปลกปลอม บางคนมีอาการแพ้แสงแดด

ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตากุ้งยิง

  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคเรื้อรังอื่นๆ

  2. ผู้ที่มีหนังตาอักเสบเรื้อรัง

  3. ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง

การรักษา

  1. สำหรับตากุ้งยิงในระยะแรก จะมีลักษณะแบบเปลือกตาอักเสบ ยังไม่มีหนอง รักษาโดยการประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นวันละ 6 ครั้ง ครั้งละประมาณ 10 นาที เป็นเวลา 3-4 วัน เพื่อช่วยลดอาการบวม เจ็บ และเป็นการทำให้รูเปิดของต่อมเปลือกตาไม่อุดตัน ในขณะทำการประคบให้หลับตาไว้

  2. ไม่ควรบีบหนองที่เปลือกตาเอง เพราะอาจทำให้อักเสบมากขึ้นได้

  3. ยาที่ใช้มักเป็นยาปฏิชีวนะชนิดหยอดตา ขี้ผึ้งป้ายตา และบางรายอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานร่วมด้วย

  4. ตากุ้งยิงที่เป็นประมาณ 2-3 วันขึ้นไป ถ้ายังไม่ดีขึ้น มักจะมีหนองอยู่ภายในก้อน ต้องไปพบแพทย์ เพื่อเจาะและขูดเอาหนองออก และใช้ยาปฏิชีวนะต่อไปอีก 3-5 วัน หรือจนกว่าจะหายอักเสบ ในบางรายอาจเป็นซ้ำได้ถ้าหนองออกไม่หมด หรือการอักเสบยังไม่หายดี หลังจากเจาะตากุ้งยิง แพทย์มักปิดตาข้างนั้นไว้ เพื่อไม่ให้เลือดออก และช่วยลดอาการบวมประมาณ 4-6 ชั่วโมง

  5. ไม่ควรขับรถในช่วงที่เป็นตากุ้งยิง อาจเกิดอุบัติเหตุได้

  6. ถ้ามีอาการปวดเจ็บบริเวณที่เป็น ให้รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ

ที่มา : www.bangkokhealth.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0