เดือดร้อนกันทั่วหน้า! เมื่อจำนวนเด็กที่ต้องสอบGAT-PAT มีผลต่อที่นั่งในสภา!
หลังจากที่ทำเอาใจหายใจคว่ำไปก่อนหน้านี้ว่าวันเลือกตั้งครั้งต่อไปคือวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ดันไปตรงกับวันสอบ GAT/PAT ตามที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ประกาศไว้ก็มีข่าวดีให้ชื่นใจว่าล่าสุด "นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์" รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) ได้หารือกับ สทศ.แล้วในประเด็นนี้ซึ่งมาตรการเบื้องต้นทาง สทศ.จะขยับวันสอบ GAT/PAT ให้เร็วขึ้นประมาณ 1 สัปดาห์
ต้องขอบอกว่ายินดีกับน้อง ๆ ด้วยที่ได้ไปใช้สิทธิ์โดยไม่กระทบกับอนาคตทางการศึกษา แต่ในขณะเดียวกันเหตุการณ์นี้ก็มีประเด็นที่น่าสนใจอยู่ว่า คะแนนเสียงของเด็ก ๆ ที่หายไปนั้น ส่งผลกระทบยังไงได้บ้าง
กลุ่มผู้ที่มีโอกาสเลือกตั้งครั้งแรก (first time voter)จะพลาดการเลือกตั้งครั้งแรก
ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ได้กำหนดไว้ว่า ‘ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง’ คือผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง ซึ่งในรอบนี้ ผู้ที่เกิดวันที่ 23 ก.พ.2544 หรือก่อนหน้านั้นก็จะมีสิทธิ์เลือกตั้งหากจะวัดจากสถิติเมื่อปี 2560 ประเทศไทยมีเยาวชนอายุ 18 ปี ที่ไม่เคยเลือกตั้งส.ส. เลยเป็นจำนวนถึง 836,459 คน และตัวเลขดังกล่าวก็ย่อมจะเพิ่มขึ้นอีกในปีข้างหน้า
ยังไม่นับรวมเด็ก ๆ ที่เลือกตั้งไปแล้วเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2557 แต่ผลการเลือกตั้งเป็นโมฆะ เพราะถ้าหากจะจำกันได้ในช่วงเวลานั้นก็มีปรากฎการณ์คว่ำบาตรการเลือกตั้ง ก่อนจะนำมาสู่ความขัดแย้งทางการเมืองที่กินเวลายาวนานถึง 3 เดือน จนกระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาและคณะยึดอำนาจปฏิวัติรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
ในเมื่อเรามีโอกาสจะได้เลือกตั้งอีกครั้ง ควรหรือไม่ที่เยาวชนซึ่งจะเป็นกำลังหลักของประเทศในอนาคตพลาดไม่ได้เข้าร่วมทั้งที่เป็นหนึ่งในหน้าที่พลเมือง และหากพวกเขาไม่มีโอกาสได้เลือกตั้ง ตั้งแต่ครั้งแรกในชีวิต ความศรัทธาที่มีต่อระบบประชาธิปไตยจะเหลืออยู่แค่ไหน ?
ชี้ชะตาผู้ชนะมีผลต่อการจัดตั้งรัฐบาล
พอเห็นตัวเลขเป็นคะแนนเสียงไม่ถึงล้านคะแนนอาจดูแล้วไม่มีน้ำหนักอะไร แต่หากลองคิดเลขกันเล่นๆ อ้างอิงตามรัฐธรรมนูญปี 2560 นำคะแนนเสียงเลือกตั้งซึ่งพรรคการเมืองจะได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต เอามาหารด้วย 500 จะพบว่าตัวเลขนี้มีผลอยู่ไม่น้อย
ยึดจากจำนวนประชากร ณ ปี 2560 จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งอยู่ที่ 52,457,576 คน หารด้วย 500 ที่นั่งในสภาเท่ากับว่า ต้องใช้คะแนนเสียงเลือกตั้ง 104,915 เสียงต่อ ส.ส 1 คน จำนวนเยาวชนที่มีโอกาสเลือกตั้งครั้งแรกอยู่ที่ประมาณ 6,426,014 คน นั่นหมายความว่า พวกเขาสามารถเลือกตัวแทนของตัวเองไปนั่งในสภาผู้แทนฯ ได้ถึง 61 คน หรือคิดร้อยละ 12 ของจำนวนส.ส.ทั้งหมด หรือ 1 ใน 10 ของสภาผู้แทนฯ ทั้งสภา
หากในจำนวน 6.4 ล้านคะแนนเสียง มีสักล้านหนึ่งต้องไปนั่งสอบ GAT/PAT ฐานเสียงของ ส.ส. อาจจะหายไปราว 8 - 10 คนเลยทีเดียว
ในขณะเดียวกัน คะแนนระบบปาร์ตี้ลิสต์ของแต่ละพรรคก็จะบี้กันอยู่ที่ประมาณ 1-4 ล้านเท่านั้น ถ้าจะกล่าวว่าคะแนนเสียงของประชากร ม.6 เหล่านี้อาจมีผลต่อการชิงดำของผู้ชนะการเลือกตั้งได้ ก็คงไม่ผิดนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคะแนนของพวกเขาไม่ได้เทไปหาพรรคการเมืองดั้งเดิมอย่างเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ หรือภูมิใจไทย
นี่อาจเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ที่เราจะได้เห็นคนรุ่นใหม่ไปนั่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในสภาแทนลุงๆ ป้าๆ ก็เป็นได้
ยุคต่อไป “เด็กคิดเด็กทำเด็กนำผู้ใหญ่หนุน”
เป้าหมายที่สำคัญที่สุดในการให้โอกาสพวกเขาได้เลือกตั้ง คือส่งเสริมให้เยาวชนได้ "แสดงความคิดเห็น" ใช้สิทธิเสรีภาพในทางที่ถูกต้อง ได้เลือกในเวลาที่ควรเลือก ได้เป็นผู้ใหญ่ในเรื่องที่ควรเป็นได้ทำหน้าที่พลเมืองอย่างเต็มภาคภูมิในฐานะ 1 เสียงที่เลือกผู้นำประเทศด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงและไม่ปล่อยในเรื่องการเมืองเป็น"เรื่องของผู้ใหญ่" ซึ่งสุดท้ายแล้วก็จะเป็นคนรุ่นเก่าอย่างที่ผ่านมา
ทิศทางที่ประเทศเราจะเดินหน้าต่อไป เยาวชนควรมีส่วนในการกำหนด เพราะสุดท้ายแล้วคนที่สานต่อนโยบายเหล่านั้นก็คือพวกเขาอยู่ดี การส่งเสริมพวกเขาตั้งแต่วันนี้ย่อมจะทำให้เยาวชนดูแลบ้านเมืองได้ในอนาคต
แต่ถ้าหากกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศถูกริดรอนสิทธิ์ตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกของชีวิต หลังจากที่ประเทศอยู่ใต้ระบบรัฐประหารมากว่า 4 ปี ก็ยากที่จะคาดเดาว่าอนาคตประเทศไทยในวันข้างหน้าจะหน้าตาเป็นอย่างไร
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://prachatai.com/journal/2017/01/69609
https://www.bbc.com/thai/thailand-45493498
https://www.khaosod.co.th/politics/news_1735809
https://www.matichon.co.th/politics/news_1195011
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1756212
https://voicetv.co.th/read/BJ3KjKn3f
ความเห็น 36
𝔽 𝕆 ℕ 🍀
BEST
มีเลือกตั้งล่วงหน้า ถ้าแค่นี้แก้ปัญหาไม่ได้ จะไปสอบยากๆได้ยังไง เด็กเขาน่าจะคิดเป็น แต่ผู้ใหญ่บางคนจะทำให้มันเป็นประเด็นทำไม?!!
02 พ.ย. 2561 เวลา 00.25 น.
Coraggioso,Tyti
"ทำไมไม่เลื่อนออกไป เลื่อนเรวขึ้นทำไม" เดกๆคงอยากบอกแบบนี้
02 พ.ย. 2561 เวลา 00.52 น.
โชค
จงใจไง มันรู้ว่าเด็กรุ่นใหม่ซื้อยากล้างสมองด้วยโครงการแจกแหลกง่อยๆยาก เลยตัดจำนวนให้น้อยลง แผนพวกมันทั้งนั้น คิดคำนวนมาอย่างดี
02 พ.ย. 2561 เวลา 01.14 น.
🐓PHATTRPORN🐓K.KAI
ทำไมไม่เลื่อนสอบออกไปเด็กๆจะได้มีเวลาอีกนิดนึงเพราะมันคืออนาคตของพวกเค้า
02 พ.ย. 2561 เวลา 01.58 น.
Siridana Khongkhakhe
สาธุเฮ้อ!
02 พ.ย. 2561 เวลา 00.13 น.
ดูทั้งหมด