โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เข้ากันเป็นชานมกับไข่มุก! เมื่อชาวเน็ตไทย-ฮ่องกง-ไต้หวันผนึกกำลังโต้นโยบาย “จีนเดียว” - จุดประเด็น

LINE TODAY

เผยแพร่ 15 เม.ย. 2563 เวลา 18.25 น. • AJ.

กลายเป็นสงครามคีย์บอร์ดจากน้ำผึ้งหยดเดียวแท้ ๆ

เมื่อชาวเน็ตไทยโต้กลับชาวเน็ตจีน หลังพระเอกหนุ่มไบร์ท วชิรวิชญ์  รีทวีตโพสต์หนึ่ง ซึ่งเป็นภาพพร้อมแคปชั่นที่เรียกฮ่องกงว่า“ประเทศ” แต่ถูกแฟนคลับชาวจีนท้วงติงว่าข้อมูลผิดพลาด เพราะ “ฮ่องกงไม่ใช่ประเทศ แต่คือส่วนหนึ่งของจีน”

ประโยคเดียวนี้เองทำให้ทั้งทัวร์จีนและทัวร์ไทยถล่มกันเองแบบไม่แคร์มาตรการห้ามท่องเที่ยว ด้วยความเห็นจากฝั่งไทยในเชิงไม่เห็นด้วยว่าฮ่องกง (และไต้หวัน) เป็นส่วนหนึ่งของจีน ถูกโต้กลับโดยจีนที่ยืนยันหนักแน่นว่าทั้งฮ่องกงและไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนจริง ๆ นะ

หลังการต่อสู้เป็นไปอย่างยาวนานข้ามคืน ไทยจีนแลกหมัดกันด้วยลีลาสารพัด ในขณะที่จีนออกหมัดด้วยลูกไม้เหน็บแนมรัฐบาล ชาวเน็ตไทยกลับรับหมัดอย่างเฉยเมย พร้อมปล่อยไม้ตายว่าอย่างน้อยฉันก็เล่น Twitter ได้ถูกกฎหมาย และไม่ว่าจีนจะใช้ข้อพิพาทใดเป็นอาวุธ ก็ดูเหมือนชาวเน็ตบ้านเราจะตอบกลับได้อย่างมีชั้นเชิง จนชาวเน็ตฮ่องกงและไต้หวันต้องออกมาแท็กทีมช่วยปะทะกับทีมจีน กลายเป็นแฮชแท็ก #ชานมข้นกว่าเลือด #MilkTeaAlliance แสดงถึงพันธมิตรกลุ่มต่อต้านในครั้งนี้

🍻🙏🏻#milktea #Thai #Taiwan #hongkong#Nnevvy#milktealogy #hkstyle #food #drink #comix #奶茶通俗學 #ミルクティー #香港 #茶餐庁 #チャーツァンティン #香港グルメ #漫畫 #插畫 pic.twitter.com/hYYzKopy5n

— 奶茶通俗學 Milktealogy (@milktealogy) April 14, 2020

ทำไมคนจีนเกรี้ยวกราดเวลาบอกว่าไต้หวัน/ฮ่องกง เป็น “ประเทศ”

เหตุผลที่ชาวจีน ไม่ถือว่าฮ่องกงและไต้หวันเป็นประเทศ ไม่ถือว่าทั้งสองมีเอกราชและอธิปไตยเป็นของตนเอง เริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดสงครามกลางเมืองระหว่าง พรรคก๊กมินตั๋ง นำโดย จอมพลเจียง ไค เช็ก และพรรคคอมมิวนิสต์ นำโดย จอมพล เหมาเจ๋อตุง

ต้นเหตุมาจากการที่พรรคก๊กมินตั๋งล้มล้างระบบกษัตริย์แล้วสถาปนาประเทศ “สาธารณรัฐจีน” ขึ้น แต่ประชาชนส่วนมากที่เป็นชาวนาชาวไร่กลับไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาล หลายฝ่ายแปรพักตร์ไปสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ เกิดการฟาดฟันกลายเป็นสงครามกลางเมืองดังกล่าว

เมื่อพรรคก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้ ก็ได้ลี้ภัยไปไต้หวันพร้อมผู้สนับสนุนอีกกว่า 1.5 ล้านคน ขณะนั้นพรรคคอมมิวนิสต์ก็ได้ก่อตั้ง “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ขึ้น ในปี 1949

นโยบาย “จีนเดียว” (One China Policy) ถือกำเนิดขึ้นช่วงนี้ เมื่อจีนยื่นคำขาดต่อนานาประเทศที่ต้องการสร้างสัมพันธ์กับจีนว่าต้องไม่ยอมรับ “ประเทศไต้หวัน” โดยเด็ดขาด ในตอนแรก ๆ มีเพียงประเทศที่ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมหรือเผด็จการเท่านั้นที่เลือกผูกมิตรกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ฝ่ายสหรัฐฯ หรือไทยเอง ยังเลือกรับรองว่า “ไต้หวัน” เป็นจีนที่แท้จริง

ต่อมาเมื่อเกิดสงครามเวียดนามและสหรัฐฯ มีแนวโน้มว่าจะแพ้ จึงหันไปสานสัมพันธ์กับจีนบ้าง แลกกับการบอกเลิกกับไต้หวัน ส่วนประเทศพันธมิตรที่มีไทยรวมอยู่ด้วยก็ต้องตามน้ำ ตอนนั้นสถานทูตไต้หวันในไทยต้องปิดตัว และเปลี่ยนสถานะเป็นองค์กร มีชื่อเรียกว่า “สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป” แทน

จนถึงทุกวันนี้ เหลือเพียง 15 ประเทศทั่วโลกที่รับรองให้ไต้หวันเป็นจีนที่แท้จริง แน่นอนว่าไม่รวมไทย

ฮ่องกง กับความหวังสู่เสรีภาพจากจีนที่ยังไม่เป็นจริง

ฮ่องกงก็ไม่ยอมเป็นจีนเดียวกับจีนเหมือนกัน

เดิมทีฮ่องกงเป็นส่วนหนึ่งของจีน จนกระทั่งอังกฤษทำสัญญาเช่าปกครองฮ่องกงเป็นเวลา 99 ปี ระหว่างนั้นอังกฤษได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตย มีระบบการค้าแบบทุนนิยมเสรี ส่งผลให้เศรษฐกิจของฮ่องกงเติบโตเป็นเมืองท่าใหญ่ ซึ่งส่งผลดีต่อจีนเองด้วย แต่เมื่อหมดสัญญาเช่าปกครอง อังกฤษขอให้จีนอนุมัติให้ฮ่องกงคงสถานะเป็นเขตปกครองตัวเองไปก่อน 50 ปี เพื่อให้การบ้านการเมืองค่อย ๆ เปลี่ยนระบบจากเก่าเป็นใหม่

เมื่อแรก ฮ่องกงที่เปรียบเสมือนวัยรุ่นไฟแรง ก็ทำหน้าที่ในฐานะเมืองท่าของจีนได้ดีเยี่ยมจนส่งผลให้ GDP ของฮ่องกงสูงกว่า 27% ของประเทศจีนทั้งประเทศทีเดียว ต่อมาจีนจึงผ่อนคลายกฎระเบียบการค้าต่าง ๆ ดันปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางเจา ให้เจริญบ้าง จน GDP จากฮ่องกงเหลือเพียง 3% ของทั้งประเทศเท่านั้น

หลังจากนั้น จีนสร้างสะพานเชื่อมระหว่างฮ่องกงกับจีนเพื่อความสะดวกในการขนถ่ายสินค้า มีความพยายามเปลี่ยนให้คนฮ่องกงมาใช้ภาษาจีนกลางแทนกวางตุ้ง เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงท่าทีอยากให้ฮ่องกงกลับไปเป็นส่วนหนึ่งของจีนก่อนกำหนด ก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจรัฐบาลของชาวฮ่องกง ระเบิดกลายเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ที่ยิงยาวมาตั้งแต่กลางปี 2019

ไทยน้องรัก, นี่จีนไงทำไมทะเลาะกันล่ะ?

ขณะที่สงครามกำลังคุกรุ่น สถานทูตจีนก็ออกแถลงท่ามกลางสมรภูมิคีย์บอร์ด กล่าวถึง “นโยบายจีนเดียว” ที่ไทยและจีนยึดมั่นต่อกันมาช้านานไม่ว่าจะผ่านวิกฤตครั้งไหน ๆ พร้อมคัดค้านบุคคลที่แสดงความเห็นต่างต่อหลักการจีนเดียวไม่ว่าในสถานการณ์ใด พร้อมชี้ว่าความเห็นส่วนบุคคลบนโลกออนไลน์สะท้อนแค่อคติและความไม่รู้ของคนบางกลุ่มเท่านั้น ไม่มีทางทำลายมิตรภาพแน่นแฟ้นระหว่างไทยจีน ที่เปรียบเสมือนพี่น้องกันอย่างแน่นอน ไม่มีใครปลุกปั่นเราได้!

使馆发言人就近期网上涉华言论发表谈话 …

โพสต์โดย Chinese Embassy Bangkok สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย เมื่อ วันอังคารที่ 14 เมษายน 2020

แต่แถลงฉบับนี้เองที่จุดประกายดราม่าระลอกสอง เพราะแม้ถ้อยแถลงจะยืนหยัดถึงหลักการน่ายกย่อง แต่ประเด็นสำคัญที่ทำให้หลายคนกังขาเมื่อได้ยินคำว่าพี่น้องไทยจีน คือกรณีเขื่อนในแม่น้ำโขง โดยจีน

จากผลวิจัยล่าสุดจากสหรัฐอเมริกา เผยภาพดาวเทียม โดยอลัน เบซิสต์ (Alan Basist) นักกาลวิทยา ว่าเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในจีน กักน้ำไว้ปริมาณมหาศาลในช่วงปีที่แล้วที่ประเทศลุ่มน้ำโขงแล้งจัด สร้างความลำบากให้ประเทศท้ายน้ำอย่างลาว เวียดนาม กัมพูชา รวมถึงไทยแลนด์น้องพี่ด้วยไง จำไม่ได้เหรอ?

จีนตอบโต้ว่าผลวิจัยดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะช่วงฤดูฝนปีที่แล้วมณฑลยูนนานเองก็แล้งรุนแรง ระดับน้ำในเขื่อนจีนก็ลดลงต่ำสุดเช่นกัน และแม้จะปฏิเสธ แต่เครื่องมือตรวจวัดความชื้นจากดาวเทียมโดยสหรัฐฯ กลับตรวจพบหลักฐานอีกว่าช่วงเวลานั้นดินที่ยูนนานมีความเปียกชื้นสูงกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งข้อพิพาทนี้ยังไม่ได้คำตอบอื่นใดจากรัฐบาลจีน

“จีนเดียว”

จากเทรนด์ #ประเทศไต้หวัน #ประเทศฮ่องกง สู่การร่วมมือครั้งสำคัญอย่าง #มิตรรักชานม จนถึง #StopMekongDam เราได้ยินเสียงและเห็นมุมมองคนรุ่นใหม่ที่มีต่อโลก รวมถึงความปรารถนาที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี นับเป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์บนโลกโซเชียลระดับนานาชาติที่สำนักข่าวใหญ่อย่าง CNN หรือ Router ยังจับตามอง

ประเทศมหาอำนาจของโลกอย่างจีนมีวิธีรับมือกับทุกวิกฤตได้เด็ดขาด ด้วยทรัพยากร แนวคิด รวมถึงการเมืองที่เข้มแข็ง แต่ด้วยกาลเวลาที่ผันเปลี่ยน ประเทศ ไม่ใช่แค่ “ชาติ” แต่คือ “ผู้คน” น่าสนใจว่าทิศทางของ “จีนเดียว” จะถูกนำมาถกเถียงกันอีกครั้งอย่างไร ในเวทีโลก

--

อ้างอิง

1 / 2 / 3 / 4 / 5 / 6 / 7

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 200

  • Songkran.c
    เรื่องเม้นนโยบาย​ระดับประเทศ จะสนุกจะเอามันส์ ก็ควรจะมีขอบเขต มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน​ผล ตามมาระวังจะสร้างความเสียหายอันไม่คาดคิดนะครับ
    15 เม.ย. 2563 เวลา 22.55 น.
  • hui
    ไทยอย่าไปยุ่งกับเขาเลย อยู่เฉย ๆดีกว่า
    15 เม.ย. 2563 เวลา 23.03 น.
  • San
    ประเด็นแบบนี้ไม่ต้องจุดก็ได้นะ สร้างความบาดหมางกันเปล่าๆจากเรื่องไม่เป็นเรื่อง
    15 เม.ย. 2563 เวลา 23.13 น.
  • เราคนไทยต้องรักษามารยาทระหว่างประเทศค่ะ เราไม่ควรทำการละเมิดก้าวกายเรื่องภายในประเทศใดๆก็ตาม ต้องให้ความเคารพซึ่งกันและกัน แสดงออกด้วยความสุภาพและให้เกียรติกันและกัน
    16 เม.ย. 2563 เวลา 00.04 น.
  • Kc
    สามจังหวัดชายแดนเรายังไม่ยอมให้แบ่งแยกเลย อย่าไปว่าเขาประเทศของเรา พวกโซเชียลก็อย่าเม้นแค่เอามัน ทางจีนก็ควรเตือนคนของเขาด้วย อย่าสร้างประเด็นด้วยเรื่องผิดพลาดเพียงเล็กน้อย
    15 เม.ย. 2563 เวลา 23.17 น.
ดูทั้งหมด