โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

แม่และเด็ก

6 เทคนิค ชวนลูกอ่านหนังสืออย่างไร ให้ลูกรักการอ่านมากขึ้น

Mood of the Motherhood

เผยแพร่ 22 พ.ค. 2565 เวลา 14.37 น. • Features

คุณพ่อคุณแม่ทุกคนรู้ดีว่า การอ่านหนังสือมีประโยชน์กับเด็กๆ มากแค่ไหน การชวนลูกอ่านหนังสือ จึงเป็นหนึ่งในภารกิจที่พ่อแม่หลายคนให้ความสำคัญและพยายามจัดสรรเวลามาเชิญชวนให้ลูกน้อยมีเวลาง่วนอยู่กับการอ่านหนังสือของตัวเองบ้างงานวิจัยหลายชิ้นที่จัดทำโดย BookTrust (องค์กรการกุศลด้านการอ่านที่ใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักร) ค้นพบประโยชน์ที่ลึกซึ้งของการอ่านที่มีต่อพัฒนาการของเด็ก เช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งกล่าวว่า การอ่านมีผลต่อทักษะการเรียนหนังสือของเด็กๆ เมื่อพวกเขาโตขึ้น และการอ่านยังช่วยส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมกับโลกรอบตัวของพวกเขาการชวนลูกอ่านหนังสือ จึงไม่ใช่แค่กิจกรรมคั่นเวลา หรือความพยายามดึงความสนใจของเด็กๆ ให้อยู่กับที่ แต่การอ่านคือหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญตั้งแต่วัยเด็ก ไปจนตลอดชีวิต คุณพ่อคุณแม่จึงพยายามส่งเสริมและปลูกฝังให้ลูกเป็นเด็กรักการอ่าน แต่นิสัยรักการอ่านจะไม่เกิดขึ้น หากลูกรู้สึกว่าการอ่านไม่ใช่เรื่องสนุก หรือถูกบังคับฝืนใจให้อ่านหนังสือดังนั้น จะชวนลูกอ่านหนังสืออย่างไรให้ลูกรู้สึกรักการอ่านมากขึ้น เรามีเทคนิคดีๆ มาบอกค่ะ1. ให้ลูกได้เลือกหนังสือที่ชอบและเหมาะสมกับวัย

ลูกจะตื่นเต้นกับการอ่านมากขึ้น เมื่อเขามีโอกาสได้เลือกหนังสือที่ต้องการอ่านด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเลือกเพราะหน้าปกสีสันสวยงาม ชอบตัวละครในเรื่อง หรืออะไรก็ตาม การเปิดโอกาสให้ลูกได้เลือกหนังสือที่ชอบ ย่อมเป็นการผูกมิตรระหว่างลูกกับการอ่านได้ดีส่วนคุณพ่อคุณแม่ก็คอยทำหน้าช่วยตรวจทานความเหมาะสมของหนังสือแต่ละเล่มให้ลูก เช่น เนื้อหาเหมาะกับช่วงวัยของลูกหรือไม่ หากเนื้อหาในเล่มยากเกินไปสำหรับลูกอาจต้องมีการอธิบายเสริมและให้เวลาลูกปรับตัวอีกนิด2. ให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นไปด้วย

ความสนุกของการอ่านหนังสือ คือการได้คิดและวิเคราะห์เรื่องราวที่อ่าน ถึงแม้เป็นหนังสือสำหรับเด็ก คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถเปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นของตัวเองเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ อาจจะเป็นการพูดคุย วาดรูป หรือแม้แต่เขียนบันทึกความรู้สึกเอาไว้หรือลองหาหนังสือที่เหมาะกับช่วงวัยของลูกมาเปิดอ่านด้วยกัน เมื่ออ่านจบแล้วลองให้ลูกสรุปเรื่องราวจากหนังสือเล่มนั้นให้ฟัง เช่น ลูกว่านิทานเรื่องนี้เกี่ยวกับอะไรนะ…การให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อ่าน จะทำให้ลูกรู้สึกมีส่วนร่วมกับเรื่องราวนั้นๆ นี่เป็นเคล็ดลับข้อแรกที่จะทำให้ลูกรู้สึกดีกับการอ่านมากขึ้น3. ผลัดกันอ่านออกเสียง

เมื่อลูกโตขึ้น ให้เริ่มชวนลูกเล่นสนุกด้วยการผลัดกันอ่านออกเสียง อาจเริ่มด้วยการให้ลูกชี้ที่ตัวอักษร ตัวละคร หรือคำศัพท์ที่เขาจำได้ แล้วค่อยผลัดกันอ่านคนละประโยค แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็นผลัดกันอ่านคนละหน้า หรือถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังอ่าน เช่น ลูกจำได้ไหมว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป หรือ ลูกคิดว่าทำไมเจ้าช้างตัวนี้ถึงทำอย่างนั้น…การให้ลูกได้ลองอ่านออกเสียง จะช่วยสร้างความมั่นใจในการพูด การออกเสียง และเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเองให้ลูกได้4. มีเวลาให้ลูกอ่านหนังสือเป็นประจำทุกวัน

การอ่านหนังสือแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เวลานาน แต่คุณพ่อคุณแม่ควรมีเวลาให้ลูกได้อ่านหนังสือเป็นประจำทุกวัน หรืออย่างน้อยก็ทำให้การอ่านเป็นกิจกรรมแรกๆ ที่ลูกนึกถึงเมื่อมีเวลาว่าง เช่น เวลาที่ลูกต้องนั่งรออะไรนานๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างลูกกับหนังสือและการอ่านมากขึ้น5. ใช้น้ำเสียงและคำพูดที่น่าสนใจ

น้ำเสียงที่คุณพ่อคุณแม่ใช้เพื่อ ชวนลูกอ่านหนังสือ เป็นเรื่องสำคัญมาก การพูดเชิญชวนด้วยคำพูดที่น่าสนใจจะช่วยเปิดประตูให้ลูกรู้สึกว่าการอ่านหนังสือเป็นเรื่องสนุกสนานและน่าตื่นเต้น และไม่ทำให้การอ่านเป็นกิจกรรมที่ตึงเครียดหรือน่าเบื่อสำหรับลูก เพราะนั่นจะยิ่งทำให้ลูกต่อต้าน ไม่อยากอ่านหนังสือ และกลายเป็นคนที่ไม่ชอบช่วงเวลาแห่งการอ่านหนังสือไปเลยทีเดียว6. ทำให้ช่วงเวลาแห่งการอ่านเป็นเวลาที่มีความสุข

ไม่มีใครปล่อยให้เด็กๆ เริ่มอ่านหนังสือตามลำพังอยู่แล้วใช่ไหมคะ ช่วงแรกๆ ที่คุณพ่อคุณแม่จะแนะนำให้ลูกเริ่มอ่านหนังสือ ย่อมเริ่มจากการหยิบหนังสือมานั่งเล่นนอนเล่นอ่านให้ลูกฟัง ชี้ชวนให้ลูกดูภาพในหนังสือ นั่นแหละคือจุดเริ่มต้นของประสบการณ์การอ่านที่ดีสำหรับลูกดังนั้น เพื่อถนอมความทรงจำที่ดีเกี่ยวกับการอ่านเอาไว้ คุณพ่อคุณแม่ควรทำให้ช่วงเวลาแห่งการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ได้อยู่ใกล้ชิด ได้พูดคุย ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และกว่าลูกจะโตพอที่จะอ่านหนังสือตามลำพังได้ ลูกก็จะกลายเป็นเด็กที่หลงรักช่วงเวลาแห่งการอ่านไปโดยไม่รู้ตัวเลยล่ะค่ะอ้างอิง highspeedtrainingunicef

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0