โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เรื่องตัวเองก็ไม่ใช่! คนไทยเป็นอะไร ทำไมถึงชอบยุ่งเรื่องคนอื่น?

Another View

เผยแพร่ 06 มี.ค. 2562 เวลา 01.00 น.

เรื่องตัวเองก็ไม่ใช่! คนไทยเป็นอะไร ทำไมถึงชอบยุ่งเรื่องคนอื่น? 

เคยไหมที่ต้องถูกถามว่า “เมื่อไหร่จะแต่งงาน” “เงินเดือนเท่าไหร่” “เมื่อไหร่จะมีแฟน” จนบางครั้งเราถึงกับต้องอุทานในใจว่า “เป็นหนูหนูไม่ถามอะค่ะ มารยาทนิดนึง”  

จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องของวัฒนธรรมที่อยู่คู่สังคมไทยมานาน อุปนิสัยของไทยเรามักจะถามไถ่เรื่องสารทุกข์สุขดิบกันเป็นปกติ เป็นการทักทายแบบ “หาเรื่องชวนคุย” เช่น  “อ้าว…ไปไหนมา” เป็นต้น แต่การทักทายในลักษณะนี้บางทีก็กลายเป็นความเคยชินที่เผลอละลาบละล้วงความเป็นส่วนตัวของผู้ถูกถามเช่นกัน แตกต่างกับชาวตะวันตกที่ไม่ค่อยซอกแซกเรื่องส่วนตัวเอามาเป็นประเด็นเปิดการสนทนาเท่าไหร่นัก 

ความเคยชินดังว่าเป็นส่วนให้การ “ยุ่งเรื่องชาวบ้าน” พัฒนาด้านมืดไปอีกขั้น กล่าวคือการอยากรู้อยากเห็นเรื่องชาวบ้านไปเสียหมด เหมือนเวลามีข่าวดราม่าอะไรขึ้นมาจะมีคนไทยกลุ่มหนึ่งเข้าไปขุดคุ้ยตะกุยข้อมูลต่าง ๆ ให้ลึกที่สุดเท่าที่จะหาได้ ซึ่งถามว่ามีประโยชน์อะไรกับตัวเองไหม? ก็ไม่มี จนบางครั้งก็ลามปามกลายเป็นการล่าแม่มดในสังคมโซเชียลมานักต่อนักหรือเกิดขึ้นกับตัวเราเองเมื่อคนใกล้ตัวอยากจะมีส่วนรู้เห็นในชีวิตเราหนักหนา จนรำคาญว่าอยากจะรู้อะไรมากมายขนาดนั้น

ความรู้สึกแบบนี้เป็นเรื่องทางจิตวิทยาที่ทำให้คนกลุ่มนี้มีความรู้สึก “เหนือกว่า” ที่ได้รู้ข่าวสารลึกกว่าคนอื่น หรือรู้สึก “พึงพอใจ” ที่ได้รับรู้ว่า “อ๋อ…ฉันก็ยังมีดีกว่าเขานะ” คนประเภทนี้บางทีสนเรื่องคนอื่นมากกว่าเรื่องตัวเองเสียอีก

อาการแบบนี้ทำให้เริ่มสอดรู้สอดเห็นเรื่องคนอื่นจนเป็นนิสัย เป็นการถอดใจเราไปไว้ที่คนอื่น ถ้าเห็นคนอื่นดีกว่าเราก็เป็นทุกข์ เห็นคนอื่นสุขกว่าเราก็ต่ำต้อยในใจ แล้วเช่นนี้ควรใส่ใจเรื่องคนอื่นมากกว่าเรื่องตนเองหรือ?

ความอยากรู้อยากเห็นเป็นสิ่งไม่ผิด แต่จะผิดเมื่อเกินพอดี อยากรู้เท่าที่เหมาะที่ควร ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับเขา หรือการรู้นั้นเกิดประโยชน์อันใดกับเราหรือไม่ ดังที่อดีต พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ได้กล่าวไว้ว่า “ธรรมดาเราดูแต่คนอื่น 90 % ดูตัวเองแค่ 10 % กลับเสียใหม่นะ ดูคนอื่นเหลือไว้ 10 % ดูเพื่อศึกษาว่า เมื่อเขาทำอย่างนั้น คนอื่นจะรู้สึกอย่างไร เพื่อเอามาสอนตัวเองนั่นแหละ ดูตัวเอง พิจารณาตัวเอง 90 % จึงเรียกว่าปฏิบัติธรรมอยู่“

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0