เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. ได้จัดการอบรมการทำ Portfolio เพื่อยื่นสมัครในระบบ TCAS รอบที่ 1 Portfolio โดยในภาคเช้า จะเป็นการจัดทำ Portfolio สำหรับคณะสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และในภาคบ่าย สำหรับคณะสายศิลป์
ภายในงานจะการแนะนำการทำ Portfolio จากอาจารย์ ดร.รับขวัญ ภูษาแก้ว (รร.สาธิตฯ จุฬา) และลักษณะของ Portfolio จากคณะตัวอย่างของสายวิทย์ และสายศิลป์ ดังต่อไปนี้
3 สาขาวิชาสายวิทย์ได้แก่ สาขาแพทยศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยมีวิทยาการ ดังนี้ อาจารย์ ดร.นายแพทย์ปรัชญพันธุ์ เพชรช่วย (ม.วลัยลักษณ์) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยเทพ วงศ์สุวรรณ (ม.เกษตรศาสตร์) อาจารย์ ดร.รวิช ควรประเสริฐ (ส.ลาดกระบัง)
4 สาขาวิชาสายศิลป์ได้แก่ สาขาศึกษาศาสตร์ สาขานวัตกรรมสื่อสาร สาขานิเทศศาสตร์ สาขามัณฑณศิลป์ โดยมีวิทยากร ดังนี้ รองศาสตราจารย์ประพนธ์ จ่ายเจริญ (มศว) อาจารย์ยุคลวัชร์ ภักดีจักริวุฒิ์ (มศว) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา (จุฬาฯ) และอาจารย์ ดร.ยอดขวัญ สวัสดี (ม.ศิลปากร)
Portfolio คือการรวบรวมสิ่งที่เป็นตัวเรา เพื่อนำเสนอ เพื่อแสดงความเป็นตัวตน เพื่อโชว์ศักยภาพของตัวเอง มาดูกันว่า ทางทปอ. แนะนำให้น้องๆ ทำ Portfolio ยังไงกันบ้าง พี่แนนนี่สรุปมาให้คร่าวๆ แล้วค่ะ
ก่อนเริ่มต้นทำ Portfolio
1. รู้ตัวเอง รู้ว่าตัวเองอยากเรียน มีความสามารถอะไร อยากประกอบอาชีพอะไร
2. รู้ว่า ที่อยากเรียน มีที่ไหนบ้าง เปิดรับบ้าง
3. ศึกษาข้อกำหนดของแต่ละสาขาวิชา แต่ละสถาบัน
ประเภทการทำ Portfolio
-แบบเลือกผลงานมานำเสนอ (ทางสาขาไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจน ให้น้องๆ เลือกผลงานเด่นที่เหมาะสมกับสาขา)
-แบบมีโจทย์มาให้ อยากเห็นผลงานอะไร ระบุไว้ชัดเจน (อันนี้น้องๆ ก็ต้องทำตามที่กำหนดไว้)
สิ่งที่ต้องเตรียมมีอะไรบ้าง
รวบรวมภาพถ่ายที่เกี่ยวข้องกับผลงานของเรา
รวบรวมเกียรติบัตร เอกสารการรับรองจากการเข้าร่วมกิจกรรม หรือเอกสารแสดงความสามารถด้านต่างๆ
รวบรวมผลงาน ชิ้นงานที่ได้ทำไปในทุกรูปแบบ
วางแผน และออกแบบ การนำเสนอ
จัดทำตามที่วางแผน
องค์ประกอบของการทำ Portfolio
1.หน้าปก (ไม่นับเป็น 10 หน้า)
2. คำนำ สารบัญ
3. ประวัติส่วนตัวครอบครัว
4. ประวัติการศึกษา
5. รางวัลและผลงานโดดเด่น
6. กิจกรรมที่ทำระหว่างเรียน
7. ผลงานชิ้นงานตามเกณฑ์
8. ทักษะหรือความสามารถพิเศษอื่นๆ (ถ้ามี)
Portfolio ที่ดี
ตรงตามข้อกำหนด
มีรายละเอียดที่แสดงประวัติและผลงานครบถ้วน
กระชับ เข้าใจง่าย เป็นระบบ
สร้างสรรค์ น่าอ่าน น่าสนใจ น่าประทับใจ
Portfolio ที่มีข้อจำกัด
ไม่ตรงตามข้อกำหนด
ข้อมูลไม่เป็นระบบ
ข้อมูลมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ไม่กระชับ
ไม่มีความน่าสนใจ ไม่สร้างสรรค์
รูปแบบการนำเสนอ
File (แฟ้ม)
E-Portfolio
หมายเหตุ: ทั้งนี้การทำ Portfolio ก็ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละสาขาด้วย น้องๆ อย่าลืมตรวจสอบข้อกำหนด และเมื่อทำ Portfolio เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบการสะกดคำอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะ ชื่อเฉพาะ ชื่อสถาบัน ชื่อสาขา ชื่ออาจารย์ เป็นต้น
สำหรับการทำ Portfolio ถ้าน้องๆ รู้จักตัวตน ก็จะสามารถสร้างสรรค์ หรือเลือกผลงานที่เหมาะสมกับสาขาได้แน่นอน แต่ถ้าเมื่อไหร่คิดว่าการทำ Portfolio เล่มนี้ยาก นั่นอาจจะหมายความว่า “นี่ไม่เหมาะกับตัวเรา” ก็ได้
น้องๆ สามารถดูวิดีโอการอบรม และคำแนะนำการทำ Portfolio ในส่วนของวิทยากรแต่ละสาขาวิชา ได้ด้านล่างนี้ค่ะ
สายวิทย์
สายศิลป์
ความเห็น 0