อ่านข่าวเมื่อเช้านี้ก็เก่าไปเสียแล้ว
เคยไหมคะ อ่านข่าวเรื่องหนึ่งตอนเช้า
มาอ่านอีกทีตอนเย็น ! อ้าว ! ข่าวเดิมแต่เนื้อหาคนละเรื่องกันแล้ว
ทั้งๆที่เป็นวันเดียวกัน !
ยุคอินเทอร์เน็ตสปีดแรง ข่าวเร็วแบบนี้
เคยรู้สึกกันไหมว่า “เวลา” ในโลกยุคใหม่เดินเร็วกว่าแต่ก่อน
แค่หยิบมือถือมาเล่น เปิด Facebook เผลอแปปเดียวเวลาผ่านไปเป็นชั่วโมงแบบไม่ทันตั้งตัว
หนึ่งวันดูเหมือนแสนสั้นแต่ก็นานแสนนาน เกิดเรื่องราวต่างๆได้มากมาย
การเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ทำให้เวลาเดินเร็วขึ้นจริงๆ
หรือ เรารู้สึกกันไปเองกันแน่ ?
“ผ่านมานานแล้ว” คือ สัปดาห์ที่แล้ว
หากอ่าน Newsfeed ข่าวในโซเชียล โพสต์ข่าวที่เห็นสัปดาห์ที่แล้วกลายเป็นเรื่อง out มากๆ
ไม่สดใหม่แล้วทั้งๆที่ความจริงเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน เพราะทุกวันนี้มีข่าวอัพเดทออกใหม่มากมายให้อ่านทุกๆวัน
เรื่องราว “สดใหม่” กลายเป็น สิ่งที่ถ่ายทอดแบบ Live
ดูสด ณ วินาทีนั้นๆ คอมเมนท์แสดงความเห็นกันแบบ realtime
อะไรฮิตก็ติด # ขึ้นเทรนด์ twitter คนแชร์เยอะเป็นช่วงๆไป
“ประวัติศาสตร์” หรือ “อดีต” กลายเป็นเรื่องที่นับกันนาทีต่อนาที
ไม่ใช่หน่วยระยะเวลาเป็นสัปดาห์ เดือนหรือปีเหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว
เมื่อสมองบอกให้รีบได้แล้ว
นักจิตวิทยาพบว่า การใช้เทคโนโลยีเป็นประจำทำให้สมองประมวลผลข้อมูลได้เร็วขึ้น
และทำให้เรารู้สึกว่าเวลาเดินเร็วขึ้นกว่าความเป็นจริง
พูดอีกอย่างก็คือ เวลาเดินเร็วเท่าเดิมนั่นแหละ ! แต่สมองเราทำงานเร็วขึ้น !
แน่นอนว่าการติดตามข่าวสารอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเป็นเรื่องดี
แต่ก็มีสิ่งที่ควรระวังอยู่บ้างคือ “ข้อมูลมากมายสำหรับย่อย ในเวลาที่สั้นลง”
สามารถทำให้คนเสพข่าวสารยุคใหม่เหนื่อยล้าได้ง่าย
หมุนเข็มนาฬิกาชีวิตให้เดินแบบพอดีได้แล้ว
การหาสมดุลควบคุม “ความเร็ว-ช้า” ในยุคที่ทุกอย่างดูรีบเร่ง ไปไวมาไว
จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ หากเหนื่อยล้าจากข่าวสารที่มีให้เสพมากมาย ควรเลือกเสพแต่สาระที่สำคัญ และหาเวลา slow life disconnect พักสมอง อ่านหนังสือจากเล่มบ้าง
แต่หากเราช้าเกินไป ไม่เสพข่าวสารเลย ก็อาจคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง
แม้สมองคนยุคใหม่จะประมวลผลเร็วขึ้นก็ตาม แต่สุดท้ายเราทุกคนย่อมเป็นคนกุมนาฬิกาชีวิตและบริหารเวลาของตัวเองนะคะมาเลือกติดความเร็วเข็มนาฬิกาที่พอดีให้กับชีวิตกัน
ที่มา:
https://www.sciencealert.com/research-suggests-that-technology-is-speeding-up-our-perception-of-time
About Me
Instagram: http://www.instagram.com/faunglada
Facebook: http://www.facebook.com/faunglada
Youtube: http://www.youtube.com/faunglada
Twitter: @faunglada
Website: www.faunglada.com
ความเห็น 10
N_Tansuwannarat
อ่านเรื่องนี้จบไป ผมนั่งสรุปเกร็ดประเด็นบางอย่างได้ 3 ข้อ
1. "Less is more" อ่านข้อมูลเนื้อหาที่ดูน้อย ๆ แต่ได้เนื้อที่มากกว่าน้ำ
2. "อ่านแบบไหน ก็ได้แบบนั้น" ข้อมูลเนื้อหาถ้าไม่ได้รู้สึกว่าสำคัญอะไรขนาดนั้น ไม่จำเป็นต้องตามอ่านแบบถี่ ๆ ชนิด 5 นาทีปล่อยข่าว
3. "ความสมดุลของชีวิตเป็นเรื่องสำคัญ" ข้อนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้ทุก ๆ เรื่อง อะไรที่มันมากไปก็จะรู้สึกล้น อะไรที่มันน้อยไปก็จะดูขาด ๆ เกิน ๆ
28 ก.พ. 2562 เวลา 08.42 น.
Toonkularb
เวลาชีวิตส่วนใหญ่หมดไปกะโทรศัพท์
28 ก.พ. 2562 เวลา 16.33 น.
อนวัติ์ เรือนปานันท์
ดีมากครับ
20 มี.ค. 2562 เวลา 08.21 น.
Phuchit
มาไว และไปไวเช่นกัน
23 มี.ค. 2562 เวลา 00.45 น.
ดีมากครับ
21 มี.ค. 2562 เวลา 02.50 น.
ดูทั้งหมด