โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 1 ธันวาคม 2563

แนวหน้า

เผยแพร่ 01 ธ.ค. 2563 เวลา 10.31 น.

วันนี้ (1 ธันวาคม 2563) เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. รวม 3 ฉบับ

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ 1. ร่างพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. 2. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และ 3. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. รวม 3 ฉบับ ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป 

                ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ รวม 3 ฉบับ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้การพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ หรือให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกำหนดให้การพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบบางกรณีในศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมก่อนดำเนินการต่อไป 

                สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ 

                1. ร่างพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. 

                        1.1 แก้ไขเพิ่มเติมให้การพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว กรณี (1) ออกตามวาระ หรือ (2) ตาย หรือ (4) มีอายุครบเจ็ดสิบห้าปีบริบูรณ์ หรือ (6) ขาดการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตามเวรปฏิบัติการที่กำหนดถึงสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือกระทำการใด ๆ ซึ่งถ้าเป็นข้าราชการตุลาการแล้วจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะถูกลงโทษ ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ และการพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว กรณี (3) ลาออก หรือ (5) ขาดคุณสมบัติหรือเข้าลักษณะต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 25 หรือ (7) ไม่ผ่านการประเมินผลงานความรู้และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่หรือการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 25/1 ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง  

                        1.2 กำหนดให้การพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว กรณี (5) ขาดคุณสมบัติหรือเข้าลักษณะต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 25 หรือ (6) ขาดการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตามเวรปฏิบัติการที่กำหนดถึงสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือกระทำการใด ๆ ซึ่งถ้าเป็นข้าราชการตุลาการแล้วจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม หรือ (7) ไม่ผ่านการประเมินผลงานความรู้และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ หรือการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 25/1 ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมก่อนดำเนินการต่อไป 

                2. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. 

                        2.1 แก้ไขเพิ่มเติมให้การพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงาน กรณี (1) ออกตามวาระ หรือ (2) ตาย หรือ (6) ขาดการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดถึงสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ และการพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงาน กรณี (3) ลาออก หรือ (4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 14/1 หรือ (5) ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้จำคุก หรือ (7) ประพฤติตนไม่เหมาะสมแก่การเป็นผู้พิพากษาสมทบ ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง   

                        2.2 กำหนดให้การพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงาน กรณี (4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 14/1 หรือ (5) ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้จำคุก หรือ (6) ขาดการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดถึงสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือ (7) ประพฤติตนไม่เหมาะสมแก่การเป็นผู้พิพากษาสมทบ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมก่อนดำเนินการต่อไป   

                3. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….  

                        3.1 แก้ไขเพิ่มเติมให้การพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ กรณี (1) ออกตามวาระ หรือ (2) ตาย หรือ (5) ขาดการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดถึงสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ และการพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ กรณี (3) ลาออก หรือ (4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 15 หรือ (6) ประพฤติตนไม่เหมาะสมแก่การเป็นผู้พิพากษาสมทบ ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง   

                        3.2 กำหนดให้การพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ กรณี (4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 15 หรือ (5) ขาดการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดถึงสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันควร หรือ (6) ประพฤติตนไม่เหมาะสมแก่การเป็นผู้พิพากษาสมทบ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมก่อนดำเนินการต่อไป

 

2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….         ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ

                ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 โดยแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับมาตรการทั่วไปและมาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยาน หน้าที่และอำนาจของสำนักงานคุ้มครองพยานและอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการคุ้มครองความปลอดภัยของพยานและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่พยาน เพื่อให้พยานเกิดความเชื่อมั่น ได้รับความคุ้มครอง และได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมยิ่งขึ้น 

                สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ 

                1. กำหนดให้ “พยาน” หมายความว่า บุคคลซึ่งจะมาให้หรือได้ให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญา หรือศาล ในการดำเนินคดีอาญา รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญ  

                2. กำหนดให้พยานในคดีอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้อาจได้รับการคุ้มครองตามมาตรการพิเศษได้  

                        2.1 คดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือคดีความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา  

                        2.2 คดีความผิดตามมาตรา 282 มาตรา 283 มาตรา 317 มาตรา 318 หรือมาตรา 319 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์หรือตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี    

                3. กำหนดให้สำนักงานคุ้มครองพยานดำเนินการเพื่อคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ 

                        3.1 ย้ายที่อยู่หรือจัดหาที่พักอันเหมาะสม 

                        3.2 จ่ายค่าเลี้ยงชีพที่สมควรแก่พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยาน  

                        3.3 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล และหลักฐานทางทะเบียนที่สามารถระบุตัวพยาน รวมทั้งการดำเนินการเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามคำขอของพยานด้วย  

                        3.4 ดำเนินการเพื่อให้มีอาชีพ ให้มีการศึกษาอบรม หรือดำเนินการใดเพื่อให้พยานสามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามที่เหมาะสม  

                        3.5 ช่วยเหลือในการเรียกร้องสิทธิที่พยานพึงได้รับ  

                        3.6 ดำเนินการให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองความปลอดภัยในระยะเวลาที่จำเป็น  

                        3.7 ดำเนินการอื่นใดให้พยานได้รับความช่วยเหลือหรือได้รับความคุ้มครองตามที่เห็นสมควร  

                        ในกรณีตามข้อ 3. เมื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร กฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้รับแจ้งจากสำนักงานคุ้มครองพยาน ให้หน่วยงานดังกล่าวมีหน้าที่และอำนาจดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่หน่วยงานนั้นกำหนด  

                4. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายอาจสั่งให้การคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษสิ้นสุดลงเมื่อมีเหตุอื่นใดตามที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและการดำรงชีวิตตามปกติของพยาน 

                5. เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองความปลอดภัยของพยาน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจค้นตัวบุคคลหรือยานพาหนะที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะก่อภัยอันตราย หรือคุกคามพยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยาน รวมทั้งมีอำนาจยึดสิ่งของหรือทรัพย์สินที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยาน ในกรณีที่เป็นความผิดทางอาญา ให้มีอำนาจจับกุมและแจ้งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแห่งท้องที่ที่จับเพื่อดำเนินการต่อไป  

                6. เมื่อพยานได้ให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา หรือพนักงานผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญา หรือเบิกความต่อศาลแล้ว พยานพึงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควร ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ยธ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (กค.) แต่ในกรณีที่เป็นพยานโจทก์ในคดีความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายเป็นโจทก์หรือเป็นพยานจำเลย ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งให้มีการจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายดังกล่าว แต่ไม่เกินอัตราตามระเบียบที่ ยธ. กำหนด โดยความเห็นชอบของ กค. 

 

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบ ลักษณะ ราคา และรายละเอียดของบัตรภาษี พ.ศ. ….

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบ ลักษณะ ราคา และรายละเอียดของบัตรภาษี พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กค. รับความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไปพิจารณาดำเนินการต่อไป 

                ทั้งนี้ กค. เสนอว่า 

                1. โดยที่พระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524 มาตรา 18 บัญญัติให้กรมศุลกากรจ่ายเงินชดเชยค่าภาษีอากรเป็นบัตรภาษี เพื่อให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยนำไปชำระเงินค่าภาษีอากร ดังต่อไปนี้ (1) ภาษีอากรที่กรมศุลกากร กรมสรรพากร หรือกรมสรรพสามิตจัดเก็บ ซึ่งผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยมีหน้าที่ต้องเสีย (2) ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยมีหน้าที่ต้องนำส่งตามประมวลรัษฎากร       (3) ภาษีอากรที่กรมศุลกากร กรมสรรพากร หรือกรมสรรพสามิตจัดเก็บแทนราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยมีหน้าที่ต้องเสีย (4) ภาษีอากรอื่นที่คณะกรรมการพิจารณาชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรเห็นสมควรให้นำบัตรภาษีไปชำระได้ มาตรา 19 วรรคสอง บัญญัติให้แบบ ลักษณะ ราคาและรายละเอียดของบัตรภาษีให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา 34 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว 

                2. คณะกรรมการพิจารณาชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร ในการประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการและแนวทางการปรับปรุงวิธีการจ่ายเงินชดเชยจากรูปแบบกระดาษในปัจจุบันเป็นรูปแบบบัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์สำหรับชำระค่าภาษีอากร 

                3. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการใช้บัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์ชำระเงินค่าภาษีอากร ลดภาระในการบริการจัดการบัตรภาษีในรูปแบบกระดาษปัจจุบัน เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงได้ปรับปรุงรูปแบบบัตรภาษีดังกล่าวให้เป็นบัตรภาษีรูปแบบบัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์

จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบ ลักษณะ ราคา และรายละเอียดของบัตรภาษี พ.ศ. …. มาเพื่อดำเนินการ 

                สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                1. กำหนดให้บัตรภาษีมีแบบ ลักษณะ ราคา และรายละเอียดเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานที่กำหนดในระบบชำระภาษีอากรด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Tax Compensation : DTC) ของกรมศุลกากร 

                2. กำหนดให้บัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์มีรายละเอียด ได้แก่ 

                        2.1 ชื่อและเลขทะเบียนผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากร  

                        2.2 เลขที่บัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์  

                        2.3 จำนวนเงินชดเชยค่าภาษีอากร  

                        2.4 วันที่ออกบัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์ 

                        2.5 วันที่บัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์หมดอายุ 

                        2.6 รายละเอียดอื่นตามที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด 

                3. กำหนดให้บัตรภาษีที่ออกให้ก่อนวันที่กฎกระทรวงดังกล่าวใช้บังคับ ผู้มีชื่อในบัตรภาษีอาจยื่นความจำนงขอเปลี่ยนเป็นบัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ ตามระเบียบที่กรมศุลกากรกำหนด 

                4. กำหนดให้บัตรภาษีตามข้อ 2. ให้มีราคาและอายุการใช้เพียงเท่าที่มีอยู่ในบัตรภาษีเดิม

 

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดความเร็วของยานพาหนะ พ.ศ. …. 

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้

                1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดความเร็วของยานพาหนะ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้   

                2. ให้ คค. ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

                3. ให้ คค. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป 

                ทั้งนี้ คค. เสนอว่า ได้มีนโยบายปรับเพิ่มอัตราความเร็วของรถยนต์ทุกประเภทบนถนนที่มีช่องจราจรตั้งแต่ 4 ช่องขึ้นไป จากความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นความเร็วไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยได้มีการศึกษาวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และบูรณาการให้เกิดแนวทางที่สามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และไม่เกิดผลกระทบกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ และกำหนดมาตรการที่ถูกต้องเหมาะสมและสามารถปฏิบัติได้ อีกทั้งได้มีการจัดประชุมเพื่อหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมการขนส่งทางบก และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านทางเว็บไซต์ของกรมทางหลวงชนบท กรมการขนส่งทางบก และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรแล้ว ซึ่งประชาชนส่วนมากเห็นด้วยกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าว จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดความเร็วของยานพาหนะ พ.ศ. …. มาเพื่อดำเนินการ 

                สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

                กำหนดความเร็วในการขับรถในทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงชนบทที่มีทางเดินรถที่จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องเดินรถ มีเกาะกลางถนนเฉพาะแบบกำแพงกั้น (Barrier Median) และไม่มีจุดกลับรถเสมอระดับถนน รวมทั้งกำหนดความเร็วขั้นต่ำสำหรับการขับรถในช่องเดินรถช่องทางขวาสุดของทางเดินรถในทางหลวง ดังนี้ 

                1. กำหนดให้ความเร็วขั้นสูงสำหรับการขับรถในทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท ที่มีทางเดินรถที่จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องเดินรถ มีเกาะกลางถนนเฉพาะแบบกำแพงกั้น (Barrier Median) และไม่มีจุดกลับรถเสมอระดับถนน ให้ขับรถแต่ละประเภทในทางเดินรถโดยใช้ความเร็วไม่เกิน ดังนี้  

                        1.1 รถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน 2,200 กิโลกรัม รถบรรทุกคนโดยสารที่บรรทุกคนโดยสารเกิน 15 คน ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 

                        1.2 รถในขณะที่ลากจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

                        1.3 รถจักรยานยนต์ ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือรถจักรยานยนต์ที่มีกำลังเครื่องยนต์ตั้งแต่ 35 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือมีขนาดความจุของกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 400 ลูกบาศก์เซนติเมตรขึ้นไป ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  

                        1.4 รถโรงเรียน หรือรถรับส่งนักเรียน ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 

                        1.5 รถบรรทุกคนโดยสาร เกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 

                        1.6 รถยนต์อื่น ให้ขับโดยใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  

                2. กำหนดความเร็วขั้นต่ำสำหรับการขับรถในช่องเดินรถช่องทางขวาสุดของทางเดินรถในทางหลวง ซึ่งจัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป โดยให้รถยนต์อื่นนอกจากรถยนต์ตามข้อ 1.1, ข้อ 1.2, ข้อ 1.4 และข้อ 1.5 ขับในช่องทางเดินรถช่องขวาสุด โดยใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  

                3. กำหนดให้ในเขตทางที่มีป้ายหรือเครื่องหมายจราจรแสดงว่าเป็นเขตอันตราย หรือเขตให้ขับรถ   ช้า ๆ ให้ลดความเร็วลงและเพิ่มความระมัดระวังขึ้นตามสมควร  

                4. กำหนดให้ในกรณีที่มีเครื่องหมายจราจรกำหนดอัตราความเร็วขั้นสูงต่ำกว่าที่กำหนดในข้อ 1. ในทางเดินรถใด ไม่ว่าตลอดทางเดินรถหรือกำหนดในช่วงใดช่วงหนึ่งของทางเดินรถ ให้ผู้ขับขี่รถทุกประเภทขับไม่เกินอัตราความเร็วขั้นสูงที่กำหนดไว้ในเครื่องหมายจราจรนั้น ตลอดทางเดินรถหรือในช่วงที่กำหนดดังกล่าว ยกเว้นกรณีไม่สามารถปฏิบัติได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องปริมาณรถในทางเดินรถ หรือเหตุขัดข้องอื่นใดอันมีเหตุผลสมควรแก่กรณี 

                5. กำหนดให้เครื่องหมายจราจรตามข้อ 4. ต้องแสดงให้ผู้ขับขี่เห็นได้ชัดเจนก่อนถึงทางเดินรถ หรือช่วงที่กำหนดของทางเดินรถนั้น ในระยะเพียงพอที่ผู้ขับขี่จะสามารถลดความเร็วเพื่อปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรนั้นได้ และต้องแสดงเครื่องหมายจราจรดังกล่าวเป็นระยะตลอดจนสิ้นสุดทางเดินรถ หรือสิ้นสุดช่วงที่กำหนด โดยให้หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลทางเดินรถนั้น ๆ ดำเนินการจัดทำเครื่องหมายจราจร และมีหน้าที่ควบคุมกำหนดความเร็วในเครื่องหมายจราจรประเภทที่สามารถปรับเปลี่ยน รูปภาพ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ได้

 

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน    5 ฉบับ

                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 5 ฉบับ ประกอบด้วย 1. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. 2. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. 3. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. 4. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. และ 5. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ….ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงจำนวน 5 ฉบับให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมพิจารณาลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

                สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

                แบ่งส่วนราชการในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดังนี้ (1) สำนักงานรัฐมนตรี (2) สำนักงานปลัดกระทรวง (3) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (4) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ (5) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ดังนี้ 

การแบ่งส่วนราชการเดิม

การแบ่งส่วนราชการใหม่

หมายเหตุ

1. สำนักงานรัฐมนตรี ใน (วท.)

   (1) งานบริหารทั่วไป

   (2) กลุ่มประสานการเมือง

   (3) กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ

สำนักงานรัฐมนตรี

   (1) งานบริหารทั่วไป

   (2) กลุ่มประสานการเมือง

   (3) กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ

คงเดิม

คงเดิม

คงเดิม

คงเดิม

2. 

สำนักงานปลัดกระทรวง (สป.) ใน วท.

สำนักบริหารกลาง

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) +ในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) +

สำนักอำนวยการ

สำนักงานปลัดกระทรวง

 

(1) กองกลาง

 

 

เปลี่ยนชื่อ

สป. ในวท.

กลุ่มงานกฎหมายในสำนักบริหารกลาง

+สกอ. ใน ศธ. +

กลุ่มงานกฎหมายในสำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร

 

 

(2) กองกฎหมาย

 

 

เปลี่ยนชื่อ

+สกอ. ใน ศธ. +

สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ

 

(3) กองการต่างประเทศ

 

เปลี่ยนชื่อ

+สกอ. ใน ศธ. +

- สำนักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา

- สำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร

 

(4) กองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

 

เปลี่ยนชื่อ

+สกอ. ในศธ. +

สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา

 

(5) กองยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา

 

เปลี่ยนชื่อ

+สป. ใน วท.  +

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์

สกอ. ใน ศธ.

สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา

 

(6) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน

 

เปลี่ยนชื่อ

+สป. ใน วท. +

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

+สกอ. ใน ศธ. +

ศูนย์สารสนเทศอุดมศึกษาในสำนักอำนวยการ

 

(7) กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

 

เปลี่ยนชื่อ

+สป. ใน วท. +

สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี

สกอ. ใน ศธ.

สำนักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา

 

(8) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

 

เปลี่ยนชื่อ

+สป. ใน วท. +

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์

+สกอ. ใน ศธ. +

- สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา

- สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา

 

 

(9) กองส่งเสริมและพัฒนากำลังคน 

 

 

เปลี่ยนชื่อ

+สกอ. ใน ศธ. +

สำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร

 

(10) กองส่งเสริมและพัฒนาทุนทางปัญญา

 

เปลี่ยนชื่อ

3. กรมวิทยาศาสตร์บริการ (ใน วท.)

   (1) สำนักงานเลขานุการกรม

   (2) สำนักเทคโนโลยีชุมชน

   (3) สำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ  

 

   (4) สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ

   (5) สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กรมวิทยาศาสตร์บริการ

(1) สำนักงานเลขานุการกรม

(2) สำนักเทคโนโลยีชุมชน

(3) กองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ

 

(4) กองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ

(5) กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

คงเดิม

คงเดิม

เปลี่ยนชื่อสำนัก เป็น กอง

เปลี่ยนชื่อสำนัก เป็น กอง

เปลี่ยนชื่อสำนัก เป็น กอง 

4. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (ตาม พ.ร.บ. สภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2502)

   (1) สำนักงานเลขานุการกรม

   (2) กองการต่างประเทศ

   (3) กองนโยบายและแผนการวิจัย

   (4) กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย

   (5) กองประเมินผลและการจัดการความรู้การวิจัย

   (6) กองมาตรฐานการวิจัย

  

 

   (7) ศูนย์สารสนเทศการวิจัย

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

 

(1) สำนักงานเลขานุการกรม

(2) กองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1

(3) กองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2

(4) กองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 3

(5) กองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม

(6) กองมาตรฐานการวิจัยและสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

(7) กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เปลี่ยนชื่อ

 

คงเดิม

เปลี่ยนชื่อ

เปลี่ยนชื่อ

เปลี่ยนชื่อ

เปลี่ยนชื่อ

 

เปลี่ยนชื่อ

 

 

เปลี่ยนชื่อ

 

5. สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ใน วท.)

   (1) สำนักงานเลขานุการกรม

   (2) สำนักกำกับดูความปลอดภัยทางนิวเคลียร์

   (3) สำนักกำกับดูความปลอดภัยทางรังสี

   (4) สำนักบริหารจัดการด้านพลังงานปรมาณู

   (5) สำนักสนับสนุนการกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณู

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

(1) สำนักงานเลขานุการกรม

(2) กองตรวจสอบทางนิวเคลียร์และรังสี

 

(3) กองอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี

(4) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน

(5) กองพัฒนาระบบและมาตรฐานกำกับดูแลความปลอดภัย

คงเดิม

คงเดิม

เปลี่ยนชื่อ

 

เปลี่ยนชื่อ

เปลี่ยนชื่อ

เปลี่ยนชื่อ

 

6.เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานอื่นของรัฐตามมาตรา 63/15 วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบ ดังนี้ 

                1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานอื่นของรัฐตามมาตรา 63/15 วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ 

                2. เห็นชอบให้เพิ่มเติมกรณีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นส่วนราชการ แต่ไม่มีฐานะเป็นกรม เป็นหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครองแทนได้ ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

                ทั้งนี้ อว. เสนอว่า 

                1. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 มาตรา 63/15 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ในกรณีที่มีการบังคับให้ชำระเงินและคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สุดแล้ว หากหน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงินประสงค์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีในสังกัดกรมบังคับคดีดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าว ให้ยื่นคำขอต่อศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองนั้น โดยระบุจำนวนเงินที่อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองยังมิได้ชำระตามคำสั่งทางปกครอง ทั้งนี้ ไม่ว่าหน่วยงานของรัฐยังไม่ได้บังคับทางปกครองหรือได้ดำเนินการบังคับทางปกครองแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระเงินหรือได้รับชำระเงินไม่ครบถ้วน และมาตรา 63/15 วรรคหก บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐตามมาตรานี้ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในกฎกระทรวง   

                2. ดังนั้น เพื่อให้การบังคับตามคำสั่งทางปกครองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานในกำกับ อว. เป็นหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา 63/15 วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีในสังกัดกรมบังคับคดี ดำเนินการบังคับทางปกครองแทนได้

จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานอื่นของรัฐตามมาตรา 63/15 วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 มาเพื่อดำเนินการ

                สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต่อไปนี้เป็นหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครองแทนได้ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง    

                1. สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  

                2. หน่วยงานในกำกับ อว. ซึ่งประกอบด้วย  

                        2.1 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 

                        2.2 องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

                        2.3 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

                        2.4 สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ  

                        2.5 สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ 

                        2.6 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 

                        2.7 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) 

                        2.8 สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

                        2.9 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

                        2.10 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

                        2.11 สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)

                        2.12 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

                        2.13 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)

 

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ พ.ศ. ….

                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ 

                โดยร่างกฎกระทรวงดังกล่าว เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ ให้เป็นไปตามมาตรฐาสากล และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน และเป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 เพื่อรักษาความปลอดภัยในการประกอบกิจการน้ำมันและป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัยหรืออันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 

                สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

                1. กำหนดหลักเกณฑ์การประกอบกิจการระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ  

                2. กำหนดลักษณะของแผนผัง แบบก่อสร้างและคุณสมบัติของท่อขนส่งน้ำมัน โดยแสดงรายละเอียดแผนผังโดยสังเขป แผนผังบริเวณแสดงแนวท่อ แบบก่อสร้างแบบแสดงการเชื่อมต่อของระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อกับระบบท่อน้ำมันอื่น แบบก่อสร้างเครื่องหมายแสดงในเขตระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ แบบก่อสร้างลิ้นปิดเปิดควบคุมการไหลของน้ำมัน สถานีสูบน้ำมัน และรายการคำนวณความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยของระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ 

                3. กำหนดมาตรฐานการออกแบบ การก่อสร้าง ติดตั้ง ทดสอบและตรวจสอบกำหนดลักษณะการติดตั้งท่อขนส่งน้ำมัน กำหนดเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ กำหนดการตรวจสอบพื้นที่แนวท่อส่งน้ำมัน การตรวจสอบการป้องกันการกัดกร่อนด้วยไฟฟ้า การตรวจสอบระบบควบคุมการขนส่ง ระบบป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย การตรวจสอบและสอบเทียบอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัด การทดสอบและตรวจสอบการรั่วซึมและความมั่นคงแข็งแรงของระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อตามระยะเวลาที่กำหนด 

                4. กำหนดมาตรการเพื่อการป้องกันและระงับอัคคีภัย เช่น ห้ามทำการใด ๆ ที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดเปลวไฟ บริเวณสถานีสูบน้ำมันต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง หรือน้ำยาดับเพลิงอย่างน้อยสองเครื่องต่อเครื่องสูบน้ำมันหนึ่งเครื่องและตรวจสอบเครื่องดับเพลิงทุกหกเดือน จัดทำแผนฉุกเฉิน ป้องกัน และระงับอัคคีภัย พร้อมดำเนินการฝึกซ้อมอย่างน้อยปีละครั้ง  

                5. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรการ ก่อนการเลิกใช้งานระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ โดยผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องแจ้งต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานภายในหกสิบวันก่อนวันที่เลิกใช้งานระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ 

                6. กำหนดบทเฉพาะกาลให้ระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อที่ได้รับใบอนุญาต หรือได้รับความเห็นชอบแบบแปลนและแบบก่อสร้าง ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติ หรือต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด

 

8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในเรื่องนี้ให้สอดคล้องตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2563 (เรื่อง แนวทางการทบทวนอัตราค่าธรรมเนียมในการอนุมัติ อนุญาต ของทางราชการ) แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย 

                ทั้งนี้ มท. เสนอว่า เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นการกำหนดค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต ใบรับรอง ใบแทนใบอนุญาต หรือใบแทนใบรับรอง ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต ค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร และการยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการตรวจแบบแปลนก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร ซึ่งได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้นโดยไม่เกินอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยคณะกรรมการควบคุมอาคาร ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 ได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แล้ว จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ  

                สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

                แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เกี่ยวกับการกำหนดค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต ใบรับรอง ใบแทนใบอนุญาต หรือใบแทนใบรับรอง ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต ค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร และการยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการตรวจแบบแปลนก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร ดังนี้

                ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน  

                        ข้อ 1 ให้กำหนดค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต ดังนี้   

                                (1) อาคารดังต่อไปนี้ให้เก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตาม (2)  

                                        (ก) อาคารอยู่อาศัยไม่เกินสองชั้นและมีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันรวมกันไม่เกิน 150 ตารางเมตร

                                        (ข) อาคารเก็บผลิตผลทางการเกษตรที่มีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันรวมไม่เกิน 100 ตารางเมตร  

                                        (ค) อาคารเลี้ยงสัตว์ที่มีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันไม่เกิน 100 ตารางเมตร  

                                        (ง) รั้ว กำแพง ประตู เพิงหรือแผงลอย 

                                        (จ) หอถังน้ำที่มีความสูงไม่เกิน 6 เมตร 

                                (2) ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตาม (1) 

                                        (ก) ใบอนุญาตก่อสร้าง                        ฉบับละ 20 บาท 

                                        (ข) ใบอนุญาตดัดแปลง                       ฉบับละ 10 บาท

                                        (ค) ใบอนุญาตรื้อถอน                         ฉบับละ 10 บาท 

                                        (ง) ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย                     ฉบับละ 10 บาท

                                        (จ) ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้                ฉบับละ 20 บาท  

                                        (ฉ) ใบแทนใบอนุญาต                         ฉบับละ  5  บาท

                                (3) ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตอาคารอื่นนอกจากอาคารตาม (1) 

                                        (ก) ใบอนุญาตก่อสร้าง                        ฉบับละ 200 บาท 

                                        (ข) ใบอนุญาตดัดแปลง                       ฉบับละ 100 บาท

                                        (ค) ใบอนุญาตรื้อถอน                         ฉบับละ  50  บาท 

                                        (ง) ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย                     ฉบับละ  50  บาท

                                        (จ) ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้                ฉบับละ 200 บาท  

                                        (ฉ) ใบรับรอง                             ฉบับละ 100 บาท

                                        (ช) ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง ฉบับละ 10  บาท

                ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน 

                        ข้อ 2 ให้กำหนดค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต ดังนี้ 

                                (1) อาคารดังต่อไปนี้ให้เก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตาม (2)  

                                        (ก) อาคารอยู่อาศัยไม่เกินสองชั้นและมีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันรวมกันไม่เกิน 150 ตารางเมตร

                                        (ข) อาคารเก็บผลิตผลทางการเกษตรที่มีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันรวมไม่เกิน 100 ตารางเมตร  

                                        (ค) อาคารเลี้ยงสัตว์ที่มีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันไม่เกิน 100 ตารางเมตร  

                                        (ง) รั้ว กำแพง ประตู เพิงหรือแผงลอย 

                                        (จ) หอถังน้ำที่มีความสูงไม่เกิน 6 เมตร 

                                (2) ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตอาคารตาม (1) 

                                        (ก) ใบอนุญาตก่อสร้าง                        ฉบับละ 20 บาท 

                                        (ข) ใบอนุญาตดัดแปลง                       ฉบับละ 10 บาท

                                        (ค) ใบอนุญาตรื้อถอน                         ฉบับละ 10 บาท 

                                        (ง) ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย                     ฉบับละ 10 บาท

                                (3) ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตอาคารอื่นนอกจากอาคารตาม (1) 

                                        (ก) ใบอนุญาตก่อสร้าง                        ฉบับละ 200 บาท 

                                        (ข) ใบอนุญาตดัดแปลง                       ฉบับละ 100 บาท

                                        (ค) ใบอนุญาตรื้อถอน                         ฉบับละ  50  บาท 

                                        (ง) ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย                     ฉบับละ  50  บาท

 

เศรษฐกิจ - สังคม

9. เรื่อง แผนการดำเนินงาน งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.)

                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอดังนี้

                1. รับทราบผลการดำเนินงาน การจัดเก็บรายได้ และการใช้จ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

                2. เห็นชอบแผนงบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 วงเงินงบประมาณรายจ่าย 892.379 ล้านบาท และประมาณการรายได้ 932.419 ล้านบาท ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามความในมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550

                สาระสำคัญของเรื่อง

              พน. รายงานว่า

                1. ผลการดำเนินงาน การจัดเก็บรายได้ และการใช้จ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

ประเด็น

รายละเอียด

ผลการดำเนินงาน

ตัวอย่างผลการดำเนินงานของสำนักงาน กกพ. เช่น

1) ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) เช่น ลดค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย (22 ล้านครัวเรือน) ตั้งแต่เดือนเมษายน - มิถุนายน 2563

2) ออกมาตรการแก้ไขภัยแล้ง และจ้างงานกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

3) ปรับปรุงระบบการอนุญาตแบบครบวงจรตามแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน

4) กำกับอัตราค่าบริการพลังงาน โดยออกประกาศว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้า และกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าปี พ.ศ. 2563 - 2564

5) ตรึงค่าไฟฟ้าแปรผัน (Ft) ที่เรียกเก็บเดือนมกราคม - สิงหาคม 2563 และปรับลดค่า Ft ที่เรียกเก็บเดือนกันยายน -ธันวาคม 2563

6) พัฒนางานกำกับกิจการพลังงานรองรับเทคโนโลยีด้านพลังงานและรูปแบบการดำเนินธุรกิจ

7) ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐาน

การจัดเก็บรายได้

จำนวน 947.764 ล้านบาท (ณ วันที่ 30 กันยายน 2563)

ต่ำกว่ารายได้ที่ประมาณการไว้ จำนวน 0.986 ล้านบาท

การใช้จ่ายงบประมาณ

คาดว่าจะเบิกจ่าย จำนวน 868.191 ล้านบาท

ต่ำกว่ากรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 จำนวน 80.224 ล้านบาท (กรอบวงเงินงบประมาณ จำนวน 948.415 ล้านบาท)

หมายเหตุ เพื่อให้รัฐบาลนำไปใช้ในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 สำนักงาน กกพ. ได้นำเงินส่งคลังในระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 80 ล้านบาท

                2. แผนการดำเนินงาน งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

                        2.1 แผนการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์

ตัวอย่างการดำเนินการ

1. ส่งเสริมให้บริการด้านพลังงานอย่างเพียงพอ มีความมั่นคง และมีความเป็นธรรมต่อผู้ใช้พลังงานและผู้รับใบอนุญาต

- ศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการกำกับเพื่อรองรับการใช้ไฟฟ้าจากนวัตกรรมใหม่

- พัฒนาระบบการอนุญาตออนไลน์กิจการพลังงานที่ได้รับการจดแจ้งยกเว้นโดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาต

2. ปกป้องประโยชน์ของผู้ใช้พลังงานทั้งด้านอัตราค่าบริการและคุณภาพการให้บริการ

ออกประกาศกำหนดแบบรายงานการบัญชีและการเงินกิจการไฟฟ้าและกิจการก๊าซธรรมชาติตามมาตรฐานสากล

3. ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงานและป้องกันการใช้อำนาจในทางมิชอบในการประกอบกิจการพลังงาน

วิเคราะห์การพัฒนาตลาดอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติและจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการกำกับกิจการก๊าซธรรมชาติในอนาคต

4. ส่งเสริมให้การบริการของระบบโครงข่ายพลังงานเป็นไปด้วยความเป็นธรรม

ทบทวนข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

5. ส่งเสริมให้การประกอบกิจการพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นธรรม

ตรวจติดตามการประกอบกิจการพลังงาน และออกหลักเกณฑ์การกำกับการสั่งจ่ายของศูนย์ควบคุมระบบโครงข่ายพลังงาน

6. ปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้พลังงานชุมชนท้องถิ่น ประชาชน และผู้รับใบอนุญาตในการมีส่วนร่วม เข้าถึงใช้ และจัดการด้านพลังงาน

- พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดตั้งศูนย์การจัดการข้อร้องเรียน

- ยกระดับการรับรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนในเรื่องสิทธิ และการเข้าถึงประโยชน์จากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า

7. ส่งเสริมการใช้พลังงานและทรัพยากรในการประกอบกิจการพลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ

สนับสนุนการศึกษา วิจัย และพัฒนาการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากรในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ และมีผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อย

8. ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน

ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในสถานศึกษา/สาธารณสุขของรัฐ

9. บริหารจัดการองค์กรที่สมัย มีประสิทธิและพัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ

- พัฒนาระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 : 2015

- จัดทำแผนเส้นทางความก้าวหน้าสายอาชีพ

                        2.2 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

รายการ

จำนวนเงิน (ล้านบาท)

1. รายจ่ายด้านบุคลากร

266.122

2. รายจ่ายในการจัดการและบริหารสำนักงาน เช่น เงินสมทบประกันสังคม ค่าเช่าอาคารสำนักงาน ค่าวัสดุสำนักงาน และค่าสาธารณูปโภค

405.451

3. รายจ่ายที่เป็นงบลงทุน เช่น ค่าครุภัณฑ์ต่าง ๆ

81.027

4. รายจ่ายที่เป็นเงินอุดหนุน เช่น เงินให้การสนับสนุนกิจกรรมภาคสังคม

2.500

5. รายจ่ายอื่น ๆ เช่น โครงการตามกลยุทธ์ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานฝึกอบรม สัมมนา และศึกษาดูงานในต่างประเทศ

137.278

รวมทั้งสิ้น

892.379

ทั้งนี้ กรณีที่จะต้องดำเนินการตามภารกิจที่จำเป็นเร่งด่วนหรือดำเนินโครงการต่าง ๆ ตามนโยบายของสำนักงาน กกพ. หรือตามนโยบายรัฐบาลระหว่างปีงบประมาณ สำนักงาน กกพ. จะถัวจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีภายใต้กรอบวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี

                        2.3 ประมาณการรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

รายการ

จำนวนเงิน (ล้านบาท)

1. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต

1.030

2. ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการพลังงานรายปี

930.440

3. รายได้อื่น ๆ เช่น ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากธนาคาร

0.949

รวมทั้งสิ้น

932.419

 

10. เรื่อง ขอเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ รายการค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 9 พร้อมบ้านพักและสิ่งก่อสร้างประกอบ

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ตามนัยระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ข้อ 7 (3) โดยการโอนวงเงินจากรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ รายการก่อสร้างอาคารที่ทำการสำนักงานศาลยุติธรรม พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบจำนวน จำนวน 92,185,500 บาท (ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564) ไปสมทบรายการค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 9 พร้อมบ้านพักและสิ่งก่อสร้างประกอบ จำนวน 92,185,500 บาท และให้สำนักงบประมาณ (สงป.) ตั้งงบประมาณคืนให้แก่รายการค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการสำนักงานศาลยุติธรรม พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ ต่อไป ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) เสนอ

                สาระสำคัญของเรื่อง

              ศย. รายงานว่า

                1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (6 สิงหาคม 2559) อนุมัติให้เพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานอาคารที่ทำการศาลจังหวัดดุสิต 1 หลัง พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบจำนวน 92,185,500 บาท โดยให้ ศย. เสนอขอเพิ่มงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 หรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นแล้วแต่กรณี นั้น ศย. ได้ทำความตกลงกับ สงป. เพื่อปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โดยโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 จากรายการค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 9 พร้อมบ้านพักและสิ่งก่อสร้างประกอบ จำนวน 92,185,500 บาท ไปสมทบเบิกจ่ายในรายการค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลจังหวัดดุสิต       1 หลัง พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ จำนวน 90,600,000 บาท และค่าควบคุมงาน จำนวน 1,585,500 บาท รวมจำนวน 92,185,500 บาท (ซึ่งตามหลักเกณฑ์การบริหารวงเงินงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายเป็นการนำวงเงินไปใช้ชั่วคราว ซึ่งจะต้องมีการนำวงเงินงบประมาณของปีงบประมาณถัดไปของรายการค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลจังหวัดดุสิตฯ คืนไปยังรายการค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 9)

                2. ต่อมาเมื่อศาลจังหวัดดุสิตฯ ก่อสร้างแล้วเสร็จก็ยังมิได้มีการโอนงบประมาณจากรายการค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลจังหวัดดุสิตฯ คืนไปยังรายการค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 9 แต่อย่างใด เนื่องจากรายการค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลจังหวัดดุสิตฯ ได้รับจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 เป็นปีสุดท้าย อีกทั้งปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ก็มิได้มีการตั้งงบประมาณรายการค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลจังหวัดดุสิตฯ รองรับไว้ จึงส่งผลให้รายการค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 9        มีงบประมาณไม่เพียงพอที่จะดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ

                3. ศย. ได้ขอทำความตกลงกับ สงป. เพื่อขอโอนวงเงินงบประมาณจากรายการค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการ ศย. พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 92,185,500 บาท ไปตั้งจ่ายในรายการค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 9 จำนวน 92,185,500 บาท และขอให้ สงป. จัดสรรงบประมาณคืนให้กับรายการค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการ ศย. พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ ต่อไป

 

11. เรื่อง  มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 9 และมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4

                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMES) ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 9 (โครงการ PGS ระยะที่ 9) และมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4 (โครงการ Micro 'Entrepreneurs ระยะที่ 4) พร้อมทั้งอนุมัติงบประมาณวงเงินรวมไม่เกิน 24,000 ล้านบาท สำหรับการดำเนินโครงการ PGS ระยะที่ 9 และอนุมัติงบประมาณวงเงินรวมไม่เกิน 5,750 ล้านบาท สำหรับการดำเนินโครงการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4 (รวม 2 โครงการ ขออนุมัติงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 29,750 ล้านบาท) จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

              สาระสำคัญของเรื่อง

                กค. รายงานว่า

                1. จากการผ่อนคลายมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มบรรเทาลง รวมไปถึงการดำเนินมาตรการรักษาระดับการบริโภคในประเทศเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ และแนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหลังสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้ ส่งผลให้ภาคธุรกิจบางสาขาเริ่มส่งสัญญาณกลับมาฟื้นตัวได้ อย่างไรก็ดี ยังมีผู้ประกอบการอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs รวมทั้งผู้ประกอบการรายย่อยที่ยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID - 19 และยังไม่สามารถข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้อย่างเพียงพอโดยสาเหตุสำคัญมาจากสถาบันการเงินยังไม่มั่นใจการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากเห็นว่าผู้ประกอบการดังกล่าว ยังมีความเสี่ยงในการชำระหนี้คืน กค. โดย บสย. จึงเสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านโครงการ PGS ระยะที่ 9 และมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยผ่านโครงการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4 โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

หัวข้อ

โครงการ PGS ระยะที่ 9

โครงการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4

วัตถุประสงค์

เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ทั่วไปผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย.  ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่สถาบันการเงินในการให้สินเชื่อ รวมถึงสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพที่ต้องการสินเชื่อแต่หลักประกันไม่เพียงพอให้มีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อได้หรือผู้ประกอบการ SMEs  ที่มีปัญหาด้านสภาพคล่องให้สามารถประกอบธุรกิจจ่อไปได้

เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน  พ่อค้าแม่ค้า หาบเร่ แผงลอย 

ผู้ประกอบอาชีพอื่นที่มีสถานประกอบการชัดเจนและประกอบธุรกิจจริง  ผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงินเป็นการลดต้นทุนการประกอบอาชีพของผู้ประกอบการรายย่อยและช่วยแก้ไขปัญหาการกู้ยิมเงินนอกระบบ

วงเงินค้ำประกันโครงการรวม

150,000 ล้านบาท

25,000 ล้านบาท

บสย. สามารถกำหนดเงื่อนไขและวงเงินค้ำประกันสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการรายย่อยแต่ละกลุ่ม หรือแต่ละสถาบันการเงิน หรือโครงการย่อยแต่ละโครงการได้ตามความเหมาะสม

วงเงินค้ำประกันต่อราย

Ÿ ไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อราย (รวมทุกสถาบันการเงิน) ทั้งนี้ อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของหลักเกณฑ์การค้ำประกันสินเชื่อต่อรายและต่อกลุ่มลูกค้า (Single Guarantee Limit : SGL) ของ บสย.

Ÿ การยื่นขอให้ค้ำประกันขั้นต่ำครั้งละไม่น้อยกว่า 200,000 บาท

Ÿ ไม่เกิน 500,000 บาทต่อราย (รวมทุกสถาบันการเงิน) ทั้งนี้ อยู่ภายใต้ข้อกำหนด SGL ของ บสย.

Ÿ การยื่นคำขอค้ำประกันขั้นต่ำครั้งละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท

ระยะเวลารับคำขอค้ำประกัน

2 ปี นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ

อายุการค้ำประกัน

ไม่เกิน 10 ปี

ค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน

Ÿ อัตราค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อในแต่ละปีให้เป็นไปตามที่ บสย. กำหนด

Ÿ รัฐบาลรับภาระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อแทนผู้ประกอบการ SMEs ปีละไม่เกินร้อยละ 1.75 เป็นระยะเวลา 2 ปี  หรือไม่เกินร้อยละ 3.5 ตลอดอายุการค้ำประกัน

Ÿ ไม่เกินร้อยละ 1.5 ต่อปีตลอดอายุการค้ำประกันโครงการ

Ÿ รัฐบาลรับภาระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อแทนผู้ประกอบการรายย่อยปีละไม่เกินร้อยละ 1.5 เป็นะระยะเวลา 2 ปี หรือไม่เกินร้อยละ 3 ตลอดอายุการค้ำประกัน

Ÿ บสย. สามารถจัดสรรอัตราค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อที่รัฐบาลจ่ายแทนผู้ประกอบการ SMEs  ผู้ประกอบการรายย่อย

ในแต่ละกลุ่มได้ตามความเหมาะสม

การจ่ายค่าประกันชดเชย

Ÿ บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยตลอดโครงการไม่เกินค่าธรรมเนียมรับตลอดอายุการค้ำประกันของโครงการบวกงบประมาณการจ่าย                     ชดเชยที่ได้รับจากรัฐบาลไม่เกินร้อยละ 12.5 ของวงเงินอนุมัติค้ำประกันโครงการ เช่น หาก บสย. ได้รับค่าธรรมเนียมร้อยละ 1.75 ต่อปีเป็นระยะเวลา 10 ปี ค่าประกันชดเชยที่ บสย. จะจ่ายได้ตลอดโครงการจะไม่เกินร้อยละ 30 (ร้อยละ 1.75 * 10 ปี บวกเงินชดเชยจากรัฐบาลไม่เกินร้อยละ 12.5) เป็นต้น โดย บสย. สามารถจัดสรรเงินสำหรับการจ่ายค่าประกันชดเชย

ในแต่ละกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ได้ตามความเหมาะสมภายใต้งบประมาณจากภาครัฐเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 12.5 ของวงเงินอนุมัติค้ำประกันโครงการ

 

Ÿ บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยตลอดโครงการไม่เกินค่าธรรมเนียมรับตลอดอายุการค้ำประกันของโครงการบวกเงินสมทบที่ได้รับจากรัฐบาลไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินอนุมัติค้ำประกันโครงการ เช่น หาก บสย. ได้รับค่าธรรมเนียมร้อยละ 1.5 ต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี     ค่าประกันชดเชยที่ บสย. จะจ่ายได้ตลอดโครงการจะไม่เกินร้อยละ 35

(ร้อยละ 1.5 * 10 ปี บวกเงินชดเชยจากรัฐบาลไม่เกินร้อยละ 20) เป็นต้น โดย บสย.สามารถจัดสรรเงินสำหรับการจ่ายค่าประกันชดเชยในแต่ละกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยได้ตามความเหมาะสมภายใต้งบประมาณจากภาครัฐเฉลี่ยไม่เกิน  ร้อยละ 20 ของวงเงินอนุมัติค้ำประกันโครงการ

การขอรับการชดเชย

บสย. ขอรับเงินงบประมาณชดเชยจากรัฐบาล เป็นเงินรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 24,000 ล้านบาท (ร้อยละ 16* 150,000 ล้านบาท) แบ่งเป็น

1) เงินชดเชยการจ่ายค่าประกันชดเชยจากรัฐบาลอัตราร้อยละ 12.5 ของวงเงินอนุมัติค้ำประกันจำนวนไม่เกิน 18,750 ล้านบาท (ร้อยละ 12.5 * 150,000 ล้านบาท)

2) เงินชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนไม่เกิน 5,250 ล้านบาท (ร้อยละ 35 * 150,000 ล้านบาท)

 

บสย. ขอรับเงินงบประมาณชดเชยจากรัฐบาลเป็นเงินรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 5,750 ล้านบาท (ร้อยละ 23 *25,000 ล้านบาท) แบ่งเป็น

1) เงินสมทบการจ่ายค่าประกันชดเชยจากรัฐบาลอัตราร้อยละ 20 ของวงเงินอนุมัติค้ำประกันจำนวนไม่เกิน 5,000 ล้านบาท (ร้อยละ 20 * 25,000 ล้านบาท)

2) เงินชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย จำนวนไม่เกิน 750 ล้านบาท (ร้อยละ 3 * 25,000 ล้านบาท)

 

เงื่อนไขอื่น ๆ

กค. และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะกำหนดเกณฑ์และตัวชี้วัดในการติดตาม

การดำเนินงานของโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยอาจปรับปรุงรายละเอียดของโครงการได้ตามสมควรต่อไป

 

 

-

ผลเชิงเศรษฐกิจที่คาดว่าจะได้รับ

Ÿ มีผู้ประกอบการ SMEs ได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 42,500 ราย (เฉลี่ย 3.5 ล้านบาทต่อราย)

Ÿ ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินไม่ต่ำกว่า 225,000 ล้านบาท (1.5 เท่าของวงเงินค้ำประกันโครงการ)

Ÿ มีสัดส่วนผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นนิติบุคคลที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อไม่ต่ำกว่าร้อยละ 35

 

Ÿ ผู้ประกอบการรายย่อยเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ไม่ต่ำกว่า 100,000  ราย (เฉลี่ย 250,000 บาทต่อราย

Ÿ ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงิน 25,000  ล้านบาท (1 เท่าของวงเงินวงเงินค้ำประกันโครงการ)

                2. กค.ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 27 และมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เรียบร้อยแล้ว และเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 29 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการดังกล่าว บสย.จะจัดทำบัญชีสำหรับการดำเนินกิจกรรม มาตรการหรือโครงการที่ได้รับมอบหมายแยกต่างหากจากบัญชีการดำเนินงานทั่วไป พร้อมทั้งเสนอรายงานผลการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและผลสัมฤทธิ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์

                3. ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยตามมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 มียอดคงค้างจำนวน 862,792.119  ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 26.26 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564  (วงเงิน 3,285,962.4797  ล้านบาท) ทั้งนี้ หากรวมภาระทางการคลังที่อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี วงเงินจำนวน 3,778.993 ล้านบาท จะส่งผลให้ยอดคงค้างทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 866,571.112 ล้านบาท ดังนั้น หากมีการดำเนินโครงการ PGS ระยะที่ 9 จำนวน 24,000 บาท และโครงการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4 จำนวน 5,750 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นจำนวน 29,750 ล้านบาท จะส่งผลให้ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 896,321.112 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 27.28 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564 ซึ่งยังคงไม่เกินอัตราร้อยละ 30 ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐได้ประกาศกำหนดไว้

 

12. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)  ประจำครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2563

              คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2563 [ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 28/7 ที่บัญญัติให้ กนง. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีทุกหกเดือน] โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

หัวข้อ

สาระสำคัญ

เป้าหมายนโยบายการเงิน

กนง. ดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น โดยให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลางเป็นเป้าหมายหลักควบคู่กับการดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ รวมถึงการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน โดยใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสำหรับระยะปานกลางและสำหรับปี 2563

การประเมินภาวะเศรษฐกิจการเงินและแนวโน้ม

1. ภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้ม

- ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 กนง. ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยหดตัวรุนแรง (ไตรมาสที่ 1 หดตัวร้อยละ 2 ส่วนไตรมาสที่ 2 หดตัวร้อยละ 12.2 จากระยะเดียวกันของปีก่อน) โดยปริมาณการส่งออกสินค้า (ไม่รวมทองคำ) และภาคการผลิตหดตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกที่ปรับลดลงมาก การส่งออกบริการหดตัวแรงจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มหดตัวตามรายได้แรงงานที่ลดลงและความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ซึ่งสอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องตามอุปสงค์และความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่อ่อนแอลงมาก อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน

- ประมาณการเศรษฐกิจ ณ เดือนมิถุนายน 2563 คาดว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มหดตัวที่ร้อยละ 8.1 ใน 2563 และจะกลับมาขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.0 ในปี 2564

2. ภาวะเงินเฟ้อและแนวโน้ม

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปช่วงครึ่งแรกของปี 2563 เฉลี่ยติดลบร้อยละ 1.13 ลดลงจากช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ที่ร้อยละ 0.50 และต่ำกว่าขอบล่างของเป้าหมายนโยบายการเงินจากปัจจัยด้านอุปทานเป็นสำคัญตามราคาน้ำมันดิบที่ลดลง หลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และส่วนหนึ่งจากมาตรการลดค่าสาธารณูปโภคเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของรัฐบาล โดย กนง. ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบร้อยละ 1.7 ในปี 2563 แต่ไม่ได้แสดงว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความเสี่ยงภาวะเงินฝืดเนื่องจากราคาสินค้าและบริการไม่ได้มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องยาวนาน โดยปรับลดเฉพาะบางรายการ รวมถึง การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสาธารณชนในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย ทั้งนี้ กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2564

3. เสถียรภาพระบบการเงิน

ระบบการเงินไทยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มหดตัวโดยต้องติดตามความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินในจุดต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เช่น (1) ความเสี่ยงในตลาดการเงินเนื่องจากราคาสินทรัพย์ในตลาดการเงินโลกอาจปรับลดลงรุนแรง โดยตลาดการเงินไทยเกิดความผันผวนหลังจากนักลงทุนรายใหญ่เร่งไถ่ถอนหน่วยลงทุนจากกองทุนรวม (2) ภาคครัวเรือนและธุรกิจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากสภาพคล่องและความสามารถในการชำระหนี้ที่ด้อยลงมาก

การดำเนินนโยบายการเงิน

1. การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ย

- กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 3 ครั้ง จากร้อยละ 1.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศปรับลดอัตราเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จากร้อยละ 0.46 เหลือร้อยละ 0.23 ของฐานเงินฝาก เป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อให้สถาบันการเงินปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อ้างอิงเพิ่มเติมเพื่อช่วยบรรเทาภาระหนี้ของประชาชนและภาคธุรกิจอีกทางหนึ่ง

2. การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน

กนง. เห็นว่าควรติดตามสถานการณ์ตลาดการเงินอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะสถานการณ์ตลาดการเงิน ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ และระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ มาตรการที่ ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 เช่น (1) เข้าดูแลสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล (2) จัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ (3) ลดเพดานดอกเบี้ย ค่าบริการ                ต่าง ๆ และเบี้ยปรับสำหรับลูกหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล

3. การดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน

กนง. ให้ความสำคัญกับการติดตามและดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนเกินไปจนกระทบต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจ โดยเห็นควรติดตาม   

(1) สถานการณ์ตลาดการเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด

(2) ผลของมาตรการผ่อนคลายเงินทุนเคลื่อนย้ายขาออกที่ได้ดำเนินการไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 รวมทั้งประเมินความจำเป็นของการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม

4. การสื่อสารนโยบายการเงิน

กนง. เน้นการสื่อสารที่ชัดเจนเกี่ยวกับเหตุผลประกอบการตัดสิน

นโยบายการเงิน รวมทั้งประเด็นการหารือต่าง ๆ ของ กนง. ที่มีนัยสำคัญต่อการตัดสินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า เพื่อให้สาธารณชนเข้าใจมุมมองการตัดสินใจของ กนง. โดยมีการสื่อสารผ่านการแถลงผลการประชุม รายงานนโยบายการเงินและจดหมายเปิดผนึกชี้แจงการเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อ อินโฟกราฟิก เป็นต้น

 

 

13. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกันยายน 2563

              คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกันยายน 2563 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้

                สาระสำคัญ

              ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2563 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (ขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า)

                อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกันยายน 2563 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ

                1. รถยนต์ และเครื่องยนต์ หดตัวร้อยละ 13.1 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 กระทบต่อความต้องการใช้รถยนต์ลดลง โดยสินค้าหลักที่ลดลงได้แก่ รถบรรทุกปิกอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล

                2. น้ำมันปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 9.1 จกน้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเตาและน้ำมันเเก๊สโซฮอล 91 เป็นหลัก จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 ที่ยังส่งผลกระทบกับการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลงกว่าช่วงปกติ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ

                3. น้ำตาล หดตัวร้อยละ 63.8 เนื่องจากผลผลิตอ้อยในปีนี้มีน้อย ส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลทรายดิบที่มีอยู่นำมาแปรสภาพเป็นน้ำตาลทรายได้น้อยกว่าปีก่อน

                อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนกันยายน 2563 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

                1. เภสัชภัณฑ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.2 เนื่องจากปีก่อนผู้ผลิตบางรายหยุดผลิตเพื่อเตรียมย้ายโรงงานไปยังสถานที่ตั้งแห่งใหม่และกลับมาผลิตปกติแล้วในปีนี้ รวมถึงได้รับคำสั่งซื้อต่อเนื่องจากตลาดทั้งในและต่างประเทศ

                2. เครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.1 จากตู้เย็นที่มีความต้องการจากตลาดทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง และเครื่องซักผ้าที่มีการเปิดช่องทางการตลาดใหม่ ๆ และมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากมาเลเซียและญี่ปุ่น

 

14. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินการต่อรายงานเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลบางหินไม่ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

                คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินการต่อรายงานเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลบางหินไม่ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป

                เรื่องเดิม

                1. กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนขอให้ตรวจสอบ กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัดกัญญาภัทรการโยธา ได้ก่อสร้างบ่อกำจัดมูลฝอยโดยวิธีการฝังกลบในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านคลองทราย ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ว่า ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 โดยไม่ได้รับฟังความเห็นของประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบและผู้มีส่วนได้เสีย

                2. กสม. ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ ได้ขุดดินถมดินเพื่อก่อสร้างบ่อฝังกลบมูลฝอยโดยฝ่าฝืนมาตรา 17 ของพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 ประกอบกิจการรับขนและกำจัดมูลฝอยโดยมิได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 19 ของพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และองค์การบริหารส่วนตำบลบางหิน เป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการอนุญาตตามกฎหมาย ทราบการกระทำโดยฝ่าฝืนกฎหมายของห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ แล้ว กลับละเลยมิได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเหมาะสม จึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่ง กสม. ได้มีข้อเสนอแนะไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลบางหินว่า ควรเร่งออกข้อบัญญัติท้องถิ่นตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และพิจารณาดำเนินคดีกับห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ ฐานฝ่าฝืนมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 แต่องค์การบริหารส่วนตำบลบางหินไม่ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ กสม. ดังกล่าว ดังนี้

                        2.1 กรณีที่ให้เร่งออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้องค์การบริหารส่วนตำบลบางหินได้เสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ต่อที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 แล้ว แต่เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบางหินได้รับทราบข้อเสนอแนะของ กสม. แล้ว ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า องค์การบริหารส่วนตำบลบางหินได้เสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต่อที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางหินอีก จึงเห็นว่า องค์การบริหารส่วนตำบลบางหินไม่ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ กสม. โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

                        2.2 กรณีที่ให้ดำเนินคดีกับห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ ฐานฝ่าฝืนมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2553 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า องค์การบริหารส่วนตำบลบางหินอ้างว่าไม่ได้ดำเนินคดีกับห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ เนื่องจากพื้นที่ร้องเรียนอยู่ในความครอบครองของเอกชน และพื้นที่ไม่มีสภาพเป็นบ่อฝังกลบมูลฝอยแล้ว เห็นว่าข้ออ้างดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนตำบลบางหินยกเว้นไม่ต้องดำเนินคดีกับห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ เนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ ได้กระทำความผิดครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 แล้ว องค์การบริหารส่วนตำบลบางหินจึงไม่ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะมาตรการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

                กสม. ได้รายงานกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลบางหินไม่ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ กสม. โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรต่อคณะรัฐมนตรี

                3. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งมอบหมายให้ มท. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานในเรื่องดังกล่าว โดยให้ มท. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

                สาระสำคัญของเรื่อง

              มท. รายงานว่า

                1. มท. ได้ แจ้งให้ ทส. สธ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และจังหวัดระนองพิจารณาดำเนินการต่อข้อเสนอแนะของ กสม. ตามคำสั่งรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)ตามข้อ 2.3 และรายงานผลให้ มท. ทราบ เพื่อประมวลผลแจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดำเนินการ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวได้แจ้งผลการดำเนินการ ดังนี้

                        1.1 ทส. แจ้งว่า หน่วยงานในสังกัด ทส. ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ กสม. ในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาในกรณีการก่อสร้างบ่อกำจัดมูลฝอยโดยวิธีการฝังกลบ ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านคลองทราย ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนองแล้ว โดยมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า จังหวัดระนองควรเร่งจัดหาพื้นที่ก่อสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอยทั่วไป และดำเนินการตามกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยการสาธารณสุข รวมทั้งจัดให้มีการรับฟังความเห็นของประชาชนตามระเบียบกฏหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดการคัดค้านจากประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ กรณีจังหวัดระนอง หรือองค์การบริหารส่วนตำบลบางหิน มีการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ดังกล่าว สามารถปรึกษาขอคำแนะนำทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมกับสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดระนอง และสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 15 (ภูเก็ต) ต่อไปได้

                        1.2 สธ. แจ้งว่า สธ. โดยกรมอนามัยได้จัดทำแนวทางการบังคับใช้กฎหมายและการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามบทบาทอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่น ขอความร่วมมือศูนย์อนามัยที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อให้คำแนะนำ ปรึกษา หรือสนับสนุนการดำเนินงานตามบทบาทอำนาจหน้าที่แก่สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดระนอง และปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการสาธารณสุข ได้แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ในฐานะประธานคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัดระนอง ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 17/3 เพื่อดำเนินการ (1) เร่งรัดให้องค์การบริหารส่วนตำบลบางหินออกข้อบัญญัติท้องถิ่น เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและจัดระเบียบในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (2) กำกับดูแลให้องค์การบริหารส่วนตำบลบางหินบังคับใช้กฎหมายตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด (3) ติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินการตามข้อ (1) และ (2) และรายงานต่อคณะกรรมการสาธารณสุขโดยเร็ว

                        1.3 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแจ้งว่า ได้ขอความร่วมมือจังหวัดระนอง พิจารณาให้องค์การบริหารส่วนตำบลบางหินเร่งออกข้อบัญญัติท้องถิ่นและให้ดำเนินคดีกับห้างหุ้นส่วนจำกัด กัญญาภัทรการโยธา รวมทั้งพิจารณาแก้ไขปัญหามูลฝอยในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางหิน ให้เป็นไปตามแผนแม่บทการบริหารจัดการมูลฝอยของจังหวัดระนอง

                        1.4 จังหวัดระนองแจ้งว่า ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบางหินได้ดำเนินการออกข้อบัญญัติตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางหินในการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางหินสมัยสามัญ สมัยที่ 3 ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2563เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 และอยู่ในขั้นตอนการขอความเห็นชอบจากนายอำเภอกะเปอร์ ทั้งนี้ ได้แจ้งความดำเนินคดีกับห้างหุ้นส่วนจำกัด กัญญาภัทรการโยธา แล้ว เมื่อวันที่         10 สิงหาคม 2563

                        2. มท. พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีดังกล่าว มท. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทส. สธ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และจังหวัดระนอง พิจารณาดำเนินการตามรายงานฯ โดยได้กำกับดูแลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ กสม. ตามอำนาจหน้าที่เรียบร้อยแล้ว สรุปได้ ดังนี้

ข้อเสนอแนะของ กสม.

สรุปผลการพิจารณา

1. ให้องค์การบริหารส่วนตำบลบางหินควรเร่งออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

1. องค์การบริหารส่วนตำบลบางหินได้ดำเนินการออกข้อบัญญัติตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 แล้ว โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางหิน ในการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางหินสมัยสามัญ สมัยที่ 3 ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2563 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563

2. ให้องค์การบริหารส่วนตำบลบางหินดำเนินคดีกับห้างหุ้นส่วนจำกัด กัญญาภัทรการโยธา ฐานฝ่าฝืนมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินถมดิน พ.ศ. 2543 และมาตรา 19 แห่ง พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

2. องค์การบริหารส่วนตำบลบางหินได้แจ้งความดำเนินคดีกับห้างหุ้นส่วนจำกัด กัญญาภัทรการโยธา แล้ว เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563

 

15. เรื่อง ขออนุมัติเพิ่มวงเงินและขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณก่อสร้างอาคารพักพยาบาล 32 หน่วย (4 ชั้น ใต้ถุนโล่ง) เป็นอาคาร คสล. 4 ชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ 2,358 ตารางเมตร โรงพยาบาลทุ่งสง ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 1 หลัง และก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก – อุบัติเหตุ เป็นอาคาร คสล. 5 ชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ 8,250 ตารางเมตร โรงพยาบาลศีขรภูมิ ตำบลระแงง อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ 1 หลัง

              คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ดังนี้

              1.โรงพยาบาลทุ่งสง ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช (รพ.ทุ่งสง           จ.นครศรีธรรมราช)

                     1.1 อนุมัติเพิ่มวงเงินรายการก่อสร้างอาคารพักพยาบาล 32 หน่วย (4 ชั้น ใต้ถุนโล่ง) เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) 4 ชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ 2,358 ตารางเมตร รพ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช        1 หลัง จากเดิมวงเงิน 27,090,000 บาท เป็นวงเงิน 27,931,292 บาท โดยงานส่วนที่เหลือใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2564 (เพิ่ม 841,292 บาท) ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) ได้เห็นชอบความเหมาะสมของวงเงินค่าก่อสร้างแล้ว

                        1.2 อนุมัติขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการก่อสร้างดังกล่าว จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 – พ.ศ. 2555 เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 – พ.ศ. 2564

                2. โรงพยาบาลศีขรภูมิ ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ (รพ.ศรีขรภูมิ จ.สุรินทร์)

                     2.1 อนุมัติเพิ่มวงเงินรายการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก – อุบัติเหตุ เป็นอาคาร คสล. 5 ชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ 8,250 ตารางเมตร รพ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ 1 หลัง จากเดิมวงเงิน 184,077,390 บาท เป็นวงเงิน 185,126,866.78 บาท (เพิ่ม 1,049,476.78 บาท) ตามที่ สงป. ได้เห็นชอบความเหมาะสมของวงเงินค่าก่อสร้างแล้ว

                        2.2 อนุมัติขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการก่อสร้างดังกล่าว จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 – พ.ศ. 2560 เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 – พ.ศ. 2564

 

16. ผลการพิจารณาของคณะกรรมกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2563

              คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2563 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ดังนี้

                1. อนุมัติโครงการเพิ่มศักยภาพและปรับปรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ของกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 3.11 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) กรอบวงเงิน 1,601,4304 ล้านบาท และมอบหมายให้กรมการข้าว กษ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการฯ พร้อมทั้งรับประเด็นและข้อสังเกตของ คกง. ไปดำเนินการต่อไปด้วย

                2. อนุมัติโครงการกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย (Community Cultural Product of Thailand : CCPOT) ของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 3.1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ กรอบวงเงิน 176.57953 ล้านบาท และมอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม วธ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการฯ พร้อมทั้งรับประเด็นและข้อสังเกตของ คกง. ไปดำเนินการต่อไปด้วย

                3. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการฯ ตามข้อ 1 และ 2 ดำเนินการ ดังนี้

                        3.1 จัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการเงินของภาครัฐ

                        3.2 รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ และการใช้จ่ายเงินกู้ รวมถึงปัญหาอุปสรรค โดยจัดส่งให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลัง (กค.) กำหนด ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

                        3.3 ประสานกับ กค. ในการรายงานขีดความสามารถในการชำระคืนหนี้เงินกู้ประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 6 แห่งพระราชกำหนดฯ ด้วย

                4. อนุมัติให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับปรุงรายละเอียดวิธีดำเนินโครงการคนละครึ่ง ตามที่ กค. เสนอ พร้อมทั้งมอบหมายให้ สศค. รับความเห็นและข้อสังเกตของ คกง. ไปดำเนินการต่อไปด้วย


1 แผนงานหรือโครงการลงทุนและกิจกรรมการพัฒนาที่สามารถพลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพิ่มศักยภาพและยกระดับการค้า การผลิต และการบริการในสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยครอบคลุมภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้าและการลงทุน ท่องเที่ยวและบริการ

                สาระสำคัญของเรื่อง

              คกง. รายงานว่า ที่ประชุม คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2563 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 มีมติ ดังนี้

                1. โครงการเพิ่มศักยภาพและปรับปรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ของกรมการข้าว กษ.

                        1.1 สาระสำคัญของโครงการ

รายการ

รายละเอียด

1. วัตถุประสงค์

1.1 เพื่อปรับปรุงเครื่องจักรปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ จัดหาชุดเครื่องชั่งบรรจุพร้อมระบบจัดเรียงแบบอัตโนมัติประจำโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ โรงงาน A2 จำนวน 20 ศูนย์ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจากเดิม 5 ตัน/ชั่วโมง เป็น 7 - 10 ตันต่อชั่วโมง

1.2 เพื่อปรับปรุงเพิ่มเติมระบบไฟฟ้าควบคุมเครื่องจักรพร้อมอุปกรณ์โรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ จำนวน 18 ศูนย์ ให้สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องจักรอุปกรณ์ได้เต็มประสิทธิภาพ รองรับการติดตั้งเครื่องชั่งบรรจุและระบบจัดเรียงแบบอัตโนมัติได้

1.3 เพิ่มศักยภาพการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว โดยจัดซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ทดแทนของเดิมซึ่งติดตั้งในโรงงาน A1 ที่ก่อสร้างตั้งแต่ปี 2529 จำนวน 5 ศูนย์ ให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม

1.4 ก่อสร้างอาคารพร้อมติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์เพื่อการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ประจำโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ โรงงานใหม่ รวม 4 ศูนย์ ให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

1.5 เพื่อรองรับผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ถูกเลิกจ้างและกลับไปภูมิลำเนา มีอาชีพเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ประมาณ 5,383 ราย ทำให้สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพิ่มขึ้นจำนวน 34,000 ตัน

2. กลุ่มเป้าหมาย

โรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ทั้ง 20 ศูนย์ ได้รับการปรับปรุงและเพิ่มศักยภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั่วไปมีเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีเพียงพอต่อความต้องการ

3. กิจกรรม

3.1 การปรับปรุงเครื่องจักรปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ โดยเพิ่มเติมชุดเครื่องชั่งบรรจุพร้อมระบบจัดเรียงแบบอัตโนมัติ จำนวน 20 ชุด และระบบไฟฟ้าควบคุมเครื่องจักร จำนวน 18 ชุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการชั่งบรรจุ จัดเรียงให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (โรงงาน A2)

3.2 การเพิ่มศักยภาพโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว โดยการจัดซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ทดแทนของเดิมของโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ (โรงงาน A1) จำนวน 5 ศูนย์ และก่อสร้างอาคารพร้อมติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์เพื่อการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ประจำโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์โรงงานใหม่รวม 4 ศูนย์ ที่ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2519 ให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น

4. งบประมาณ

1,601.4304 ล้านบาท

5. กรอบระยะเวลา

1 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564)

                        1.2 มติ คกง.

                     เห็นควรให้ความเห็นชอบโครงการฯ โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 3.1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ กรอบวงเงิน 1,601.4304 ล้านบาท พร้อมทั้งเห็นควรมอบหมายให้กรมการข้าวเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการฯ และดำเนินการตามข้อ 3.1 – 3.3

                2. โครงการกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย (Community Cultural Product of Thailand : CCPOT) ของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม วธ.

                     2.1 สาระสำคัญของโครงการ

รายการ

รายละเอียด

1. วัตถุประสงค์

1.1 เพื่อสนับสนุนให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมตามแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในด้านต่าง ๆ ของรัฐบาล

1.2 เพื่อลดต้นทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน เนื่องจากผลิตเท่าเดิมระบบเดิมโดยใช้ทุนชุมชนที่มีราคาต่ำแต่ขายได้ในราคาสูงขึ้น

1.3 เพื่อสร้างสินค้าและบริการของชุมชนรูปแบบใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่ม มีความต้องการของตลาดมากขึ้น เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้

2. กลุ่มเป้าหมาย

ประชาชน จำนวน 200,000 คน และผู้ประกอบการ จำนวน3,530 ราย

3. กิจกรรม

เช่น

3.1 พัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนโดยใช้ทุนชุมชน สำหรับประชาชนทั่วไป (CCPOT ระดับโท) 5,000 รายการ สำหรับตลาดระดับพรีเมียม (CCPOT ระดับเอก) 76 รายการ

3.2 ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิและลงพื้นที่เก็บข้อมูลปฐมภูมิชุมชนมรดกวัฒนธรรม 30 ชุมชน เพื่อพัฒนาคุณค่าวัฒนธรรม (abstract value) เป็นผลิตภัณฑ์ศิลปะมรดกวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage Art Made Product: ICHAMP)

3.3 คัดเลือกคุณค่าวัฒนธรรมจาก 30 ชุมชนมรดกวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ICHAMP ระดับเพชร รวม 10 รายการ และระดับทอง 240 รายการ

3.4 พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนมรดกวัฒนธรรมโดยกิจกรรมประกวด 30 ชุมชนมรดกวัฒนธรรมเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ ICHAMP ระดับเพชร รวม 10 รายการ

3.5 พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนมรดกวัฒนธรรมโดยผู้เชี่ยวชาญพิเศษสู่ ICHAMP ระดับทอง รวม 240 รายการ

4. งบประมาณ

176.57953 ล้านบาท

5. กรอบระยะเวลา

1 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564)

                     2.2 มติ คกง.

                      เห็นควรให้ความเห็นชอบโครงการฯ โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 3.1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ กรอบวงเงิน 176.57953 ล้านบาท พร้อมทั้งเห็นควรมอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมรับความเห็นและข้อสังเกตของ คกง. เช่น ควรให้ความสำคัญกับการเพิ่มช่องทางการตลาดโดยการประสานงานและบูรณาการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมจัดทำแผนการตลาดของโครงการฯ รวมทั้งการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าอื่น ๆ ไปดำเนินการ และให้ดำเนินการตามข้อ 3.1 – 3.3 ด้วย

                3. โครงการคนละครึ่ง

                        3.1 กค. โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอปรับปรุงรายละเอียดวิธีดำเนินโครงการฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 ดังนี้

หัวข้อ

รายละเอียดตามมติคณะรัฐมนตรี

(29 กันยายน 2563)

ขอปรับปรุงรายละเอียดในครั้งนี้

1. ขยายขอบเขตประเภทร้านค้า

ผู้ประกอบการร้านอาหาร/เครื่องดื่ม ร้านทั่วไป ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่ใช่นิติบุคคล และไม่ใช่ร้านสะดวกซื้อที่เป็นธุรกิจแฟรนไชส์

ผู้ประกอบการร้านอาหาร/เครื่องดื่ม ร้านค้าทั่วไป ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่ใช่นิติบุคคล หรือร้านค้าของกองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมืองตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 หรือวิสาหกิจชุมชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะต้องไม่ใช่ร้านค้าสะดวกซื้อที่เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ (โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เพื่อให้ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการร้านค้ารายย่อยที่มีความสำคัญต่อวงจรเศรษฐกิจฐานราก ได้แก่ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และร้านค้าชุมชน และเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้จ่ายไปยังชุมชนเพิ่มขึ้นและบรรลุ

วัตถุประสงค์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจนถึงระดับฐานราก)

2. ขยายระยะเวลาการเบิกจ่าย

เงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ จำนวน 30,000 ล้านบาท

เงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ จำนวน 30,000 ล้านบาท โดยให้เบิกจ่ายงบประมาณดำเนินโครงการคนละครึ่งถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 [เพื่อให้ระยะเวลาการเบิกจ่ายครอบคลุมการดำเนินการโอนเงินซ้ำ (Retry)]

ทั้งนี้ รายละเอียดเงื่อนไขอื่นคงเดิม ซึ่งไม่กระทบต่อวงเงินรวม 3,000 บาทต่อคน ตลอดระยะเวลาโครงการ และไม่กระทบวงเงินงบประมาณรวมของโครงการ จำนวน 30,000 ล้านบาท

                        3.2 มติ คกง.

                             เห็นควรให้ความเห็นชอบการปรับปรุงรายละเอียดวิธีดำเนินโครงการฯ ตามที่ กค. เสนอ พร้อมทั้งมอบหมายให้ สศค. รับความเห็นและข้อสังเกตของ คกง. ไปดำเนินการต่อไปด้วย เช่น เห็นควรให้ สศค. ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบคุณสมบัติของร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ รวมถึงสถานะบัญชีของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ให้มีความถูกต้องและชัดเจนตรงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ และเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาการโอนเงินซ้ำให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

 

17. เรื่อง ขอเพิ่มวงเงินงบประมาณโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเบื้องต้น เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 จำนวน 18,096.06 ล้านบาท เพิ่มเติมอีก 28,711.29 ล้านบาท เป็น 46,807.35 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) มีมติเห็นชอบแล้ว โดยจำแนกเป็น

                1. ค่าดำเนินการชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงโดยใช้แหล่งเงินทุนของ ธ.ก.ส. จำนวน 17,676.54 ล้านบาทขอวงเงินเพิ่มเติมอีก จำนวน 28,078.44 ล้านบาท เป็น 45,754.98 ล้านบาท

                2. ค่าใช้จ่ายในการชดเชยต้นทุนเงิน ธ.ก.ส. (ชดเชยต้นทุนเงินในอัตราร้อยละ 2.250) จำนวน 397.72 ล้านบาท ขอวงเงินเพิ่มเติมอีก 631.76 ล้านบาท เป็น 1,029.49 ล้านบาท

                3. ค่าบริหารจัดการ ธ.ก.ส. จำนวน 21.80 ล้านบาท ขอวงเงินเพิ่มเติมอีก 1.09 ล้านบาท เป็น 22.88 ล้านบาท

                สาระสำคัญของเรื่อง

                นบข. ได้มีมติเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 ดังนี้

                1. รับทราบผลการประชุมหารือระหว่างกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงบประมาณ กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่      30 พฤศจิกายน 2563 โดยที่ประชุมมีมติรับทราบการประมาณการวงเงินชดเชยโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 รวมทั้งสิ้น 46,807.35 ล้านบาท ซึ่งเกินวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ เมื่อวันที่       3 พฤศจิกายน 2563 จำนวน 18,096.06 ล้านบาท โดยกระทรวงพาณิชย์จะขอวงเงินเพิ่มเติมอีก จำนวน 28,711.29 ล้านบาท

                2. รับทราบผลการดำเนินการของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ซึ่งได้กำหนดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงแล้ว จำนวน 4 งวด สำหรับเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 ครอบคลุมเกษตรกรรวมทั้งสิ้น 4,334,178 ครัวเรือน ประมาณการวงเงินงบประมาณจำนวน 41,866.16 ล้านบาท และเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนเพาะปลูก ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตรที่แจ้งวันคาดว่าเก็บเกี่ยวหลังวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 (งวดที่ 5 เป็นต้นไป) คงเหลืออีกจำนวน 487,370 ครัวเรือน ผลผลิต 2,894,905 ตัน ซึ่งหากใช้ส่วนต่างราคาที่เกษตรกรได้รับชดเชยในงวดที่ 4 เพื่อประมาณการวงเงินคาดว่าจะใช้วงเงินประมาณ 3,888.82 ล้านบาท รวมประมาณการวงเงินชดเชยทั้งสิ้น 45,754,98 ล้านบาท ซึ่งเกินวงเงินชดเชยที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 จำนวน 17,676.54 ล้านบาท

                3. เห็นชอบปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเบื้องต้น เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 จำนวน 18,096.06 ล้านบาท เพิ่มเติมอีก จำนวน 28,711.29 ล้านบาท เป็น 46,807.35 ล้านบาท จำแนกเป็น 1) ค่าดำเนินการชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง โดยใช้แหล่งเงินทุนของ ธ.ก.ส. จำนวน 17,676.54 ล้านบาท ขอวงเงินเพิ่มเติมอีก จำนวน 28,078.44 ล้านบาท เป็น 45,754.98 ล้านบาท 2) ค่าใช้จ่ายในการชดเชยต้นทุนเงิน ธ.ก.ส.(ชดเชยต้นทุนเงินในอัตราร้อยละ 2.250) จำนวน 397.72 ล้านบาท ขอวงเงินเพิ่มเติมอีก 631.76ล้านบาท เป็น 1,029.49 ล้านบาท 3) ค่าบริหารจัดการ ธ.ก.ส. จำนวน 21.80 ล้านบาท ขอวงเงินเพิ่มเติมอีก 1.09 ล้านบาท เป็น 22.88 ล้านบาท

                4. มอบหมายธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และกระทรวงพาณิชย์จัดทำรายละเอียดโครงการฯ และงบประมาณให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และให้กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการ นบข. นำเสนอคณะรัฐมนตรีตามระเบียบต่อไป

                5. มอบหมายกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบในการตรวจสอบตัวเลขการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปริมาณผลผลิต ประมาณการณ์วงเงินที่ใช้ ตลอดจนกำกับดูแลการจ่ายเงินให้ถูกต้อง ครบถ้วน รวมทั้งกระทรวงมหาดไทยลงพื้นที่ตรวจสอบความถูกต้องของการจ่ายเงินและการรับเงินของเกษตรกรอีกทางหนึ่ง กรณีพบการกระทำความผิดให้ดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัดต่อไป

 

ต่างประเทศ

18. เรื่อง การออกพันธบัตรเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน)

              คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ดำเนินการกู้ยืมเงินโดยการออกพันธบัตรเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของ สพพ. วงเงิน 1,500 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

                สาระสำคัญของเรื่อง

                1. คณะรัฐมนตรีเคยมีมติ (12 พฤศจิกายน 2557) อนุมัติให้กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการก่อสร้างถนนจากเมืองหงสา – บ้านเชียงแมน (เมืองจอมเพชรแขวงหลวงพระบาง) สปป.ลาว (โครงการฯ) จำนวนไม่เกิน 1,977 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินให้เปล่า (ร้อยละ 20) จำนวนไม่เกิน 395.40 ล้านบาท และเงินกู้ (ร้อยละ 80) จำนวนไม่เกิน 1,581.60 ล้านบาท อายุสัญญา 30 ปี (ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557-20 พฤศจิกายน 2587 ขณะนี้อายุสัญญาเงินให้กู้ยืมคงเหลือ 24 ปี) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.50 ต่อปี ต่อมา สพพ. ได้กู้เงินระยะสั้นสำหรับการดำเนินโครงการฯ จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,549.21 ล้านบาท อายุสัญญา 5 ปี (ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2560 - 25 มษายน 2565 อายุสัญญาเงินกู้คงเหลือประมาณ 2 ปี)อัตราดอกเบี้ยคงที่ ร้อยละ 2.90 ต่อปี แต่เนื่องจากปัจจุบันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีแนวโน้มปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งอายุเงินกู้และอายุเงินให้กู้ยืมไม่สอดคล้องกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากความไม่สอดคล้องดังกล่าวและลดความผันผวนของต้นทุนในระยะยาว สพพ. จึงเห็นควรปรับโครงสร้างหนี้ของ สพพ. สำหรับโครงการฯ โดยการออกพันธบัตรระยะยาวภายใต้กรอบวงเงิน 1,500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ (ร้อยละต่อปี) โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และสำหรับเงินกู้ที่เหลือจำนวน 49.21 ล้านบาท สพพ. จะนำเงินสะสมมาสมทบเพื่อชำระเงินคืน ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 มีมติเห็นชอบด้วย

                2. กระทรวงการคลังแจ้งว่า สำนักงบประมาณพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า หาก สพพ. พิจารณาแล้วเห็นว่าการปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวมีความเหมาะสม สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเงินได้ โดยอยู่ภายในกรอบวงเงินเดิมที่คณะรัฐมนตรีเคยมีมติเห็นชอบไว้ และคณะกรรมการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านได้มีมติเห็นชอบแผนปรับโครงสร้างหนี้ของ สพพ. ภายใต้กรอบวงเงิน 1,500 ล้านบาท แล้ว ก็เห็นสมควรที่ สพพ. จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบการออกพันธบัตรเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าว โดยมีความเห็นเพิ่มเติมว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว ให้ สพพ. จัดทำแผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป และหาก สพพ. มีเงินสะสมเหลือจ่ายจากการดำเนินโครงการอื่น เห็นสมควรให้นำเงินสะสมดังกล่าวมาชำระหนี้เงินกู้ เพื่อลดภาระงบประมาณและดอกเบี้ยเป็นลำดับแรก

 

19. เรื่อง ร่างความตกลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. …

                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้

                1. ให้ความเห็นชอบความตกลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี [Chiang Mai Initiative Multilateralisation (CMIM) Agreement] ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. … ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงความตกลง CMIM ฉบับดังกล่าว ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการคลังสามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสม

                2. อนุมัติการลงนามในความตกลง CMIM ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม และมอบหมายให้

                        2.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทน และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน ลงนามในความตกลง CMIM ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

                        2.2 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน ลงนามในหนังสือยืนยันการสมทบเงิน (Schedule 3 – Commitment Letter) ในวงเงิน 9.104 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

                        2.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทน ลงนามในหนังสือรับทราบการขอรับความช่วยเหลือ (Schedule 5 – Letter of Acknowledgement) และหนังสือยืนยันการปฏิบัติตามเงื่อนไขของความ    ตกลง (Schedule 6 – Letter of Undertaking) เมื่อประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือภายใต้ความตกลง CMIM ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

                        2.4 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทน ลงนามในหนังสือให้ความเห็นทางกฎหมาย (Schedule 7 – Legal Opinion) เมื่อประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือภายใต้ร่างความตกลง CMIM ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

                สาระสำคัญ

การแก้ไขเพิ่มเติมความตกลง CMIM ฉบับปัจจุบันที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 โดยสาระสำคัญของการแก้ไขในครั้งนี้ (1) การเพิ่มสัดส่วนการให้ความช่วยเหลือกรณีที่ไม่เชื่อมโยงกับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40 ของวงเงินขอรับความช่วยเหลือสูงสุด (2) การยินยอมให้สามารถเลือกสมทบหรือขอรับความช่วยเหลือภายใต้กลไก CMIM เป็นเงินสกุลท้องถิ่นตามหลักความสมัครใจ และ (3) การเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เนื่องจากจะยกเลิกการใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกรุงลอนดอน (London Interbank Offered Rate: LIBOR) ในสิ้นปี 2564 และการแก้ไขประเด็นเชิงเทคนิคเพื่อให้การดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ภายใต้กลไก CMIM มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM+3)  ครั้งที่ 23 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563 มีมติเห็นชอบร่างความตกลง CMIM ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมด้วย โดยร่างความตกลง CMIM ฉบับนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของวงเงินความช่วยเหลือซึ่งมีจำนวน 240 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในส่วนของประเทศไทยจำนวน 9.104 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กันเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เพื่อสมทบในกลไก CMIM ไว้แล้ว และปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ได้ลงนามในร่างความตกลง CMIM ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว จำนวน 12 ภาคี จาก 27 ภาคี โดยร่างความตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ 7 วันหลังจากวันที่ภาคีทั้งหมดลงนามครบแล้ว

นอกจากนี้ หนังสือแนบท้ายที่ต้องมีการลงนามเพิ่มเติมเมื่อมีการขอรับความช่วยเหลือ รวม 4 ฉบับ ประกอบด้วย (1) หนังสือยืนยันการสมทบเงิน (Schedule 3 – Commitment Letter) ตามวงเงินที่ผูกพันของแต่ละประเทศสมาชิกลงนามโดยผู้ว่าการธนาคารกลาง (2) หนังสือรับทราบการขอรับความช่วยเหลือ (Schedule 5 – Letter of Acknowledgement) (3) หนังสือยืนยันการปฏิบัติตามเงื่อนไขของความตกลง (Schedule 6 – Letter of Undertaking) ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (กรณีประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือ) และ (4) หนังสือให้ความเห็นทางกฎหมาย (Schedule 7 – Legal Opinion) ลงนามโดยเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรณีประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือ)

 

20. เรื่อง ขออนุมัติลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือโครงการพัฒนาทางเลือกเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และขออนุมัติในหลักการโครงการพัฒนาทางเลือกเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน ไทย-เมียนมา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2569

              คณะรัฐมนตรีมีมติ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ดังนี้

                1. ให้ความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) ว่าด้วยความร่วมมือโครงการพัฒนาทางเลือกเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของราชอาณาจักรไทยก่อนมีการลงนาม อนุมัติให้กระทรวงยุติธรรม สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

                2. มอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (เลขาธิการ ป.ป.ส.) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว

                3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่เลขาธิการ ป.ป.ส. เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว

                4. อนุมัติในหลักการโครงการพัฒนาทางเลือกเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน (โครงการฯ)            ไทย-เมียนมา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2569 ในกรอบวงเงิน จำนวน 320 ล้านบาท ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ

                สาระสำคัญของเรื่อง

              ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ว่าด้วยความร่วมมือโครงการพัฒนาทางเลือกเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน  มีวัตถุประสงค์เพื่อสานต่อและยืนยันความมุ่งมั่นของทั้งสองฝ่ายในการบรรลุเป้าหมายอาเซียนปลอดยาเสพติด พ.ศ. 2568 และการแก้ไขปัญหาการปลูกพืชเสพติด การลักลอบผลิตและค้ายาเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อทั้งสองฝ่าย โดย (1) สร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกับส่วนราชการในท้องถิ่นและชุมชน (2) ดำเนินกิจกรรมพัฒนาระบบน้ำ และ (3) สนับสนุนองค์ความรู้ในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ซึ่งทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะดำเนินโครงการฯ ใน 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่หนองตะยา อำเภอพินเลา จังหวัดตองยี รัฐฉานใต้ และพื้นที่ตอนเหนือของท่าขี้เหล็ก อำเภอท่าขี้เหล็ก รัฐฉานตะวันออก ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ 6 ปี (พ.ศ. 2564-2569) งบประมาณรวมทั้งสิ้น 320 ล้านบาท

 

21. เรื่อง บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ประจำปี 2563 ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย

              คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบต่อบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ประจำปี 2563 ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย (บันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ สธ. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง และอนุมัติให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ

                สาระสำคัญ

              บันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการงบประมาณของโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากฝ่ายจีน ให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้กองทุนอย่างสูงสุด โดยบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

                หลักการเบื้องต้น  1. มุ่งให้เกิดสันติภาพและความมั่งคั่งในอนาคตต่อสมาชิกแม่โขง-ล้านช้าง

2. ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ในการปรึกษาหารือ การร่วมมือกัน การช่วยเหลือกันและมีผลประโยชน์ร่วมกัน  3. เคารพกฎหมายและกฎระเบียบของประเทศไทยและจีน  4. ร่วมกันติดตามประเมินโครงการและการใช้งบประมาณจากกองทุนฯ

                โครงการ : Strengthening on HIV/AIDS Cooperation in the CCLM (Cambodia, China, Lao PDR, Myanmar) Countries  วัตถุประสงค์ : (1) พัฒนาแผนปฏิบัติการความร่วมมือในการป้องกันและจัดการ     เอชไอวีและเอดส์ (HIV/AIDS) ระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน (2) เสริมสร้างความสามารถ/ศักยภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของไทยและของประเทศเพื่อนบ้านในการบรรเทาผลกระทบของ HIV/AIDS (3) สนับสนุนการนำแผนสุขภาพชายแดน (Border Health Plan) ของ สธ. ไปปฏิบัติจริง วงเงิน : 198,300 ดอลลาร์สหรัฐ (5.9807 ล้านบาท)  หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมควบคุมโรค สธ.

 

22. เรื่อง  การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 23

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรปว่าด้วยความเชื่อมโยง (Draft ASEAN-EU Joint Ministerial Statement on Connectivity) หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองเอกสารดังกล่าวตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   1. ร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรปว่าด้วยความเชื่อมโยงเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกอาเซียนและสหภาพยุโรปในการส่งเสริมความร่วมมือด้านความเชื่อมโยงซึ่งครอบคลุมใน 3 มิติ ทั้งในทางกายภาพ สถาบัน และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชน ตลอดจนเน้นย้ำความสำคัญของการเสริมสร้างความประสานสอดคล้องระหว่างแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ. 2025 กับยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงของสหภาพยุโรป ทั้งในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง การค้าการลงทุน ความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน และการเชื่อมโยงระดับประชาชนผ่านการศึกษาและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม

                   2. ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านความเชื่อมโยงเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและสังคมที่เข้มแข็งจากผลกระทบของโควิด-19 และนำไปสู่ “การฟื้นฟูให้ดีกว่าเดิม” อย่างยั่งยืน ครอบคลุม และเข้มแข็งกว่าเดิม รวมทั้งจะส่งเสริมการหารือกับสหภาพยุโรป เพื่อแบ่งปันความก้าวหน้าในการวิจัยเรื่องโควิด-19 ซึ่งรวมถึงการทำให้วัคซีนมีเพียงพอในราคาที่สมเหตุสมผลในฐานะสินค้าสาธารณะ

                   3. นอกจากนี้ ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือเกี่ยวกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ค.ศ. 2030 ซึ่งรวมถึงความยั่งยืนด้านพลังงาน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ให้ความสำคัญกับสภาพภูมิอากาศ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านนวัตกรรมดิจิทัล และการส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล 

 

23. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 53 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

              คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 53 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุม ตามที่กระทรวง     การต่างประเทศ (กต.) เสนอ

                สาระสำคัญของเรื่อง

              1. การสร้างประชาคมอาเซียน ที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลัง ค.ศ. 2025 และการทบทวนแผนงานประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสา รวมทั้งย้ำความสำคัญของการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน การส่งเสริมความเป็นแกนกลางของอาเซียนในการดำเนินความสำพันธ์กับภาคีภายนอก การลดการเผชิญหน้าระหว่างประเทศมหาอำนาจ และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของภูมิภาคในระยะยาว

                2. ความร่วมมือเพื่อรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

                 2.1 ที่ประชุมได้ย้ำถึงความสำคัญของการสร้างความร่วมมือทั้งด้านการวิจัยและพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัส การจัดทำมาตรฐานวิธีปฏิบัติของอาเซียนสำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และการใช้ประโยชน์จากกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19 โดยที่ประชุมแสดงความชื่นชมที่ไทยบริจาคเงินจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสมทบกองทุนดังกล่าว ปัจจุบันกองทุนฯ มีเงินบริจาครวมมากกว่า 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ

                  2.2 รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้เห็นชอบเอกสารแนวคิดการจัดตั้งคลังสำรองระดับภูมิภาคสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและจัดทำกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียนเพื่อเสนอให้ผู้นำอาเซียนรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 ในเดือนพฤศจิกายน 2563 ซึ่งไทยได้เสนอให้อาเซียนจัดตั้งกลไก “ASEAN SME Recovery Facility” ภายใต้กรอบการฟื้นฟูฯ เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนและฟื้นตัวจากโควิด-19

                2.3 ประเทศคู่เจรจาทุกประเทศแสดงความพร้อมในการสนับสนุนอาเซียนโดยเฉพาะด้านการพัฒนาและการผลิตยาและวัคซีน โดยประเทศต่าง ๆ ได้ประกาศสนับสนุนเงินเพื่อสมทบกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับ       โควิด-19 และการสนับสนุนความช่วยเหลือในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การจัดตั้งคลังสำรองอุปกรณ์ทางการแพทย์ในกรอบอาเซียนบวกสาม การจัดตั้งศูนย์ ASEAN Centre for Public Health Emergencies and Emerging Diseases การมอบอุปกรณ์ป้องกันโรคและเวชภัณฑ์และการยกระดับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามให้เป็นสำนักงานระดับภูมิภาค

                3. ความร่วมมือด้านการพัฒนาในอนุภูมิภาค ได้มีการหารือเกี่ยวกับบทบาทของอาเซียนในการสนับสนุนการพัฒนาในอนุภูมิภาคต่าง ๆ ในอาเซียน ตลอดจนการสนับสนุนกรอบความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคต่าง ๆ เช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง โดยที่ประชุมฯ ย้ำความสำคัญของการลดช่องว่างการพัฒนา การพัฒนาที่ยั่งยืนและการพัฒนาทุนมนุษย์

                4. สถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ

                 สถานการณ์ในทะเลจีนใต้

                - ที่ประชุมย้ำความสำคัญของเสรีภาพในการเดินเรือและบินผ่านทะเลจีนใต้ การปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ การเจรจาจัดทำประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้ให้แล้วเสร็จ การแก้ไขข้อพิพาทโดยสันติวิธี

                  - ไทยสามารถผลักดันเอกสาร “Best Practices and Non-Binding Guideline for Cooperative Activities on Marine Environment Protection in the South China Sea” ให้ที่ประชุมอาเซียน-จีนรับทราบได้เป็นผลสำเร็จ

                   สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี

              - ที่ประชุมย้ำความสำคัญของการหารือระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ และระหว่างสหรัฐฯ กับเกาหลีเหนือ ตลอดจนการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คาบสมุทรเกาหลีปลอดจากอาวุธนิวเคลียร์

                  สถานการณ์ในรัฐยะไข่

               - ที่ประชุมยืนยันสนับสนุนเมียนมาในการดำเนินการตามรายงานประเมินความต้องการเบื้องต้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางกลับของผู้พลัดถิ่นชาวโรฮีนจา

                - ไทยได้แจ้งการดำเนินการของไทยเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์และโครงการพัฒนาด้านสาธารณสุขแก่รัฐบาลเมียนมา รวมทั้งการสนับสนุนการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในรัฐยะไข่

                ทั้งนี้ไทยได้เสนอให้ที่ประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกพิจารณากลไกหารือวาระพิเศษเพื่อให้ประเทศมหาอำนาจได้หารือประเด็นความมั่นคงอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาเพื่อแก้ไขปัญหาความหวาดระแวงและการเผชิญหน้าทางทหาร ซึ่งที่ผ่านมา กลไกหารือปกติยังไม่เพียงพอที่จะตอบสนองสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจในปัจจุบัน

                5. ความสัมพันธ์กับภาคีภายนอกอาเซียน รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเห็นชอบให้สถานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาแก่สาธารณรัฐฝรั่งเศสและสาธารณรัฐอิตาลี และเห็นชอบให้สาธารณรัฐโคลอมเบียเข้าเป็นอัครภาคีสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ ไทยได้เป็นประธานร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-อินเดีย ซึ่งที่ประชุมได้ย้ำความสำคัญของการรักษาห่วงโซ่อุปทาน การเสริมสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาคผ่านโครงการถนนสามฝ่ายไทย-เมียนมา-อินเดีย และการส่งเสริมการค้า โดยฝ่ายอาเซียนย้ำความพร้อมที่จะให้อินเดียกลับมาเข้าร่วมในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค

เพื่อให้มีการนำผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 53 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เช่น การจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลัง ค.ศ. 2025 การเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อรับมือกับโควิด-19 การยกระดับความร่วมมือทางดิจิทัล และการสร้างขีดความสามารถของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย จึงมีประเด็นที่ต้องมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นำไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง

 

24. เรื่อง ผลการประชุมคณะรัฐมนตรีต่างประเทศลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 13

              คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 13 และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

                ภาพรวมของถ้อยแถลงร่วมของการประชุมฯ สาระสำคัญของถ้อยแถลงร่วมฯ ไม่แตกต่างจากร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 แต่มีประเด็นเพิ่มเติมดังนี้

                -การแสดงความเสียใจต่อความสูญเสียจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และชื่นชมความร่วมมือของประชาคมระหว่างประเทศ

                -ประเทศญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่มจำนวนเงินช่วยเหลือจากเดิม 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการขยายความร่วมมือด้านวิชาการแก่บุคลากรทางการแพทย์และการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลและสถาบันทางการแพทย์อื่น ๆ ในประเทศลุ่มน้ำโขง

                -อาเซียนได้มีข้อริเริ่มในการจัดตั้งกองทุนเพื่อรับมือกับโควิด-19 และสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขอื่น ๆ ในอนาคต และการจัดตั้งคลังสำรองระดับภูมิภาคสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์และมาตรการดำเนินการที่มีมาตรฐานในสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข

                -ประเทศไทยมีข้อเสนอเรื่อง “Project sharing experiences and knowledge transfer through cross-border medical networking system” เพื่อส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้และการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการรับมือกับโรคระบาด

                -การยืนยันความมุ่งมั่นในการบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อกลุ่มผู้เปราะบาง การส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร การเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาคเอกชนและภาคนวัตกรรมในการส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพตามหลักการ G20 ว่าด้วยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ

                -ญี่ปุ่นได้มีข้อริเริ่ม KUSANONE Mekong SDGs Initiative โดยจะสมทบเงิน 1,000 ล้านเยน สำหรับปี ค.ศ. 2020 (ประมาณ 300 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในระดับ       รากหญ้าในอนุภูมิภาค

                เพื่อให้มีการนำผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 13 ไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม มอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) นำไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคระบาดบนพื้นฐานของความพยายามในการบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและเพื่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างบูรณาการผ่านความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่นภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดชองโรคโควิด-19

 

25. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 14 และร่างปฏิญญาร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 7 รวมทั้งร่างเอกสารความร่วมมือในกรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน

 

                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาร่วมฯ และร่างเอกสารความร่วมมือฯ จำนวน 7 ฉบับ ดังนี้

                1. ร่างปฏิญญาร่วมของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศเพื่อความแน่นแฟ้นและพร้อมต่อการตอบสนองของอาเซียน (Joint Declaration of the ASEAN Defence Ministers on Defence Cooperation for a Cohesive and Responsive ASEAN)

                2. ร่างปฏิญญาร่วมของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจาว่าด้วยวิสัยทัศน์ด้านความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ ภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (Joint Declaration by the ADMM-Plus Defence Ministers on Strategic Security Vision of the ADMM-Plus)

                3. ร่างระเบียบปฏิบัติประจำกองกำลังเตรียมพร้อมอาเซียน ด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษย์ธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (Standard Operating Procedures of ASEAN Militaries Ready Group (AMRG) on Humanitarian Assistance and Disaster Relief (HADR))

                4. ร่างระเบียบปฏิบัติประจำในการแลกเปลี่ยนข่าวสารทางยุทธศาสตร์ของเอกสารแนวความคิดอาเซียนอาวเวอร์อาย (ASEAN Our Eyes Standard Operating Procedure for Strategic Information Exchange)

                5. ร่างเอกสารแนวความคิดว่าด้วยการประดับธงอาเซียนร่วมกับธงประจำชาติของหน่วยทหารประเทศสมาชิกอาเซียน ที่เข้าปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ (Concept Paper on the ASEAN Flag to be Displayed next to the Nation Flag at the Compound of ASEAN Member State’s Military Units Participating in United Nations Peacekeeping Operation)

                6. ร่างเอกสารแนวความคิดว่าด้วยการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับการประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน (Concept Paper on Developing the Linkage between the ASEAN Defence Ministers’ Meeting (ADMM) and the ASEAN Chiefs of Defence Forces Meeting (ACDFM))

                7. ร่างเอกสารแนวความคิดว่าด้วยการส่งเสริมบทบาทตำแหน่งผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน (Concept Paper on Enhancing the Defence Attache Posts among ASEAN Member States)

 

                โดยมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างปฏิญญาร่วมฯ และร่วมรับรองร่างเอกสารความร่วมมือฯ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของร่างฏิญญาร่วมฯ และร่างเอกสารความร่วมมือฯ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญ ให้กระทรวงกลาโหมพิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสม ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ

                สาระสำคัญของเรื่อง

              ร่างปฏิญญาร่วมฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกัน ในการส่งเสริมความแน่นแฟ้นและพร้อมตอบสนองของอาเซียน ต่อการเปลี่ยนแปลงด้านยุทธศาสตร์และภูมิรัฐศาสตร์ของภูมิภาค โดยร่างเอกสารความร่วมมือฯ เป็นการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือให้อาเซียนสามารถรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามด้านความมั่นคงของภูมิภาคในปัจจุบัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมในทุกมิติ รวมทั้งร่วมกันขับเคลื่อนความร่วมมือให้เป็นเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาให้ความเห็นต่อร่างเอกสารดังกล่าวแล้ว ไม่มีข้อขัดข้องต่อสารัตถะและถ้อยคำโดยรวมของร่างเอกสารฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา เพื่อรับมือภัยคุกคามและส่งเสริมความมั่นคงอย่างยั่งยืนในภูมิภาค หาก กห. ในฐานะส่วนราชการเจ้าของเรื่องและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความเหมาะสมสอดคล้องกับนโยบายและผลประโยชน์ของไทย สามารถปฏิบัติได้ภายใต้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนเป็นไปตามพันธกรณีของไทยภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องรวมทั้งได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการนี้ไว้แล้ว

 

แต่งตั้ง

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง            นางสาวภาสพร สังฆสุบรรณ์ เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก เพื่อทดแทนตำแหน่งที่จะว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ

 

27. เรื่อง การบรรจุและแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรีกลับเข้ารับราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอบรรจุและแต่งตั้ง นายจุฬา สุขมานพ ผู้ไปปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรีกลับเข้ารับราชการให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงคมนาคม ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพลังงาน)

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้ง นางสาวชนานัญ บัวเขียว           รองผู้อำนวยการสำนักงาน (นักบริหาร ระดับต้น) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ) 

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 6 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้

                1. นายณัฐพงษ์ นวลมาก รองเลขาธิการ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง  

                2. นายวัลลพ สงวนนาม ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง  

                3. นายไพศาล วุทฒิลานนท์ รองศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 13 สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง  

                4. นายชัยณรงค์ ป้องบ้านเรือ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 7 สำนักงานปลัดกระทรวง 

                5. นายชาตรี ม่วงสว่าง รองศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 17 สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 15 สำนักงานปลัดกระทรวง  

                6. นายอรรถพล สังขวาสี ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

                ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

30. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ

                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้ง พันเอก (พิเศษ) เจียรนัย วงศ์สอาด เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่       1 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป

 

31. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ 

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ จำนวน 3 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้ 

                1. นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ       กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาชญาวิทยา 

                2. ศาสตราจารย์อุดม รัฐอมฤต      กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย  

                3. ว่าที่พันตรี สมบัติ วงศ์กำแหง    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานยุติธรรม

                ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป

 

32. เรื่อง การเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอแต่งตั้ง นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน

0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0