โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เมคอัพนี้ฆ่าคุณได้ - เบื้องหลังความงามและความตายของควีนเอลิซาเบธที่ 1 - เพจพื้นที่ให้เล่า

TALK TODAY

เผยแพร่ 13 ธ.ค. 2562 เวลา 17.00 น. • เพจพื้นที่ให้เล่า

“ผิวขาวเหมือนตุ๊กตากระเบื้อง ปากแดงเหมือนเลือดนก” คือนิยามความงามของสตรีชั้นสูงในศตวรรษที่ 16 ควีนเอลิซาเบธที่ 1 ของอังกฤษ อยู่บนจุดสูงสุดของอำนาจ ไม่ยอมน้อยหน้าและไม่มีทางปรากฎตัวได้ปราศจากใบหน้าที่ขาวสว่าง (snow white skin) ริมปากสีแดง (red lips) แก้มสีชมพู (rosie cheeks) และพระเกศาสีอ่อน (fair hair) 

เชื่อหรือไม่ว่าแมคอัพที่เอลิซาเบธทรงภูมิใจหนักหนา น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระองค์เสียชีวิตในอีกหลายสิบปีต่อมา ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? มาดูกันว่าเครื่องสำอางของราชินี มีส่วนประกอบอะไรบ้าง 

รองพื้นสีขาวทำจากตะกั่ว- ในยุคที่ครีมกันแดดยังไม่ถูกค้นพบ ปัญหาสิว ฝ้า กระ เป็นเรื่องสุดแสนธรรมดาของผู้หญิงทุกวัย ควีนอลิซาเบธทาใบหน้าด้วยรองพื้นสีขาวที่ทำมาจากตะกั่วและน้ำส้มสายชู ปกปิดจุดด่างดำด้วยเมคอัพที่มีกลิ่นคล้ายไวน์เปรี้ยวๆ ผิวขาวในยุคนั้นเป็นเครื่องบ่งบอกสถานะของทั้งชายหญิง ยิ่งผิวขาวเท่าไหร่ยิ่งหมายถึงสถานะทางสังคมที่สูงขึ้นเท่านั้น ควีนเอลิซาเบธทาหน้าสีขาวทุกวันซึ่งทำให้เกิดการผลข้างเคียงตามมายกตัวอย่างเช่น ผมร่วง และผิวหนังเสื่อมสภาพ แน่นอนว่าเอลิซาเบธแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยการทารองพื้นหนาขึ้นกว่าเก่า และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ

มีการบันทึกว่าเอลิซาเบธในวัยยี่สิบต้น ไม่ได้โปรดการทาเมคอัพหนาหนักแบบที่คุ้นกัน อาการณ์คลั่งรองพื้นของราชินีเริ่มขึ้นเมื่อทรงป่วยเป็นไข้ทรพิษเมื่ออายุ 28 ปี โรคนี้คร่าชีวิตผู้คนมากมาย แต่เอลิซาเบธรอดมาได้พร้อมรอยแผลเป็นบนใบหน้า เพื่อปกปิดรอยแผลเหล่านี้ ราชินีจำเป็นต้องใช้รองพื้นที่หนามาก และเนื่องจากชนชั้นสูงสมัยนั้นไม่ได้ล้างหน้ากันทุกวัน เอลิซาเบธมักเก็บเมคอัพจัดเต็มอย่างต่ำหนึ่งสัปดาห์หรือมากกว่าความหนาของรองพื้น ได้รับการบันทึกว่า หนาเป็นระดับนิ้วในช่วงปลายรัชสมัย 

ลิปสติกสีแดงทำจากปรอท- นอกจากใบหน้าขาวเหมือนหิมะ เอลิซาเบธยังทาปากสีแดง “เหมือนกุหลาบสีเลือดบนพื้นหิมะ” ลิปสติกของราชินีทำมาจากซินนาบาร์ (cinnabar) ซึ่งเป็นแร่ในตระกูลปรอทที่ให้สีแดง สารพิษสะสมจากปรอททำให้เกิดผลร้ายตามมาเช่นการสูญเสียความทรงจำ หงุดหงิดง่าย ไปถึงอารมณ์ซึมเศร้าและแปรปรวน เป็นที่รู้กันว่าเอลิซาเบธมีอาการเหล่านี้ในช่วงท้ายของชีวิต 

น้ำยาล้างเครื่องสำอางผสมปรอท- เมื่อถึงเวลาต้องล้างหน้า เมคอัพที่หนาฝังแน่นในผิวไม่ใช่สิ่งที่ล้างออกได้ง่ายๆ มีบันทึกว่าการล้างเครื่องสำอางของราชินีจำเป็นต้องใช้ส่วนผสมพิเศษของ เปลือกไข่ สารส้ม และปรอท ในขณะที่ชนชั้นสูงในยุคนั้นเชื่อว่าการล้างหน้าด้วยปรอทนั้นดีต่อผิว เพราะทำให้ผิวนุ่มขึ้น อันที่จริงเป็นเพราะปรอทลอกผิวหน้าส่วนนอกของผู้ใช้ให้หลุดติดไปกับเมคอัพด้วย 

ในฐานะผู้ปกครองของอังกฤษ เอลิซาเบธเป็นกังวลกับภาพลักษณ์ของตัวเองเป็นอย่างมากถึงขนาดออกกฎหมาย ห้ามไม่ให้มีการวาดหรือเผยแพร่ภาพของราชินีโดยไม่ได้รับอนุญาต จิตรกรที่ได้รับโอกาสให้วาดภาพเหมือนของราชินี จะต้องวาดภาพเอลิซาเบธให้ดูอ่อนเยาว์ ไม่มีริวรอยแม้สักนิด (แม้เอลิซาเบธจะเข้าสู่วัยห้าสิบกว่า) ที่เป็นแบบนั้นเพราะว่าการมอบภาพวาดของราชินีมักทำในโอกาสสำคัญ เช่น มอบเป็นของขวัญให้ขุนนางภักดีช่วงเทศกาลปีใหม่ ดังนั้นภาพวาดของผู้นั่งบัลลังก์อังกฤษ จึงต้องดูสวยงาม สุขภาพดี เพื่อแสดงให้เห็นว่าทรงเป็นราชินีที่เหมาะสมกับราชบัลลังก์

เชื่อกันว่าเอลิซาเบธไม่โปรดการวาดภาพเหมือน และมักสั่งให้จิตรกรวาดภาพของเธอจากภาพที่วาดเอาไว้แล้ว หนึ่งในผลงานที่ถูกใช้เป็นต้นแบบมากที่สุด คือภาพวาดของศิลปินนิรนามที่รู้จักกันในวงการงานศิลป์ว่า ‘Darnley portrait’ วาดในปี 1575 ตอนเอลิซาเบธอายุ 42 ปี 

ตัวจริงของเอลิซาเบธในวัยชราเป็นอย่างไร? เอิร์ลแห่งเอสเซ็กซ์ บันทึกไว้ว่า ตัวเองมีโอกาสแอบเห็นราชินีตอนไม่ทรงเมคอัพและไม่ใส่วิก “ราชินีแทบไม่เหลือผมสักเส้น มีเส้นผมบางๆ รอบหู ดูแล้วเหมือนคนหัวล้าน” - ท่านเอิร์ลบันทึกไว้ในปี 1599 เอลิซาเบธมีอายุ 66 ปี 

ในช่วงเดือนสุดท้ายของชีวิต เอลิซาเบธในวัยชราไม่ยอมกระทั่งให้หมอตรวจร่างกาย เธอยังคงแต่งตัวเต็มยศออกว่าราชการเหมือนเดิม เอลิซาเบธเชื่อว่า หากเธอหยุดพักและล้มตัวลงนอน เธอจะไม่สามารถลุกขึ้นได้อีก ราชินีที่ขณะนี้มีอายุมากถึง 69 ปี ยืนทรงงานติดต่อกันเป็นเวลาร่วม 15 ชั่วโมง จนบรรดาสาวใช้และนางในต้องเอาหมอนมาวางไว้รอบตัวเพราะเกรงว่าเอลิซาเบธจะเป็นลมล้มหมดสติอยู่ตรงนั้น 

สาเหตุการเสียชีวิตของเอลิซาเบธยังคงเป็นที่ถกเถียง เป็นไปได้มาการตายของราชินี มีที่มาจากการวางยาพิษตัวเองด้วยตะกั่วและปรอทเป็นเวลาหลายสิบปี เอลิซาเบธ เซาท์เวล หนึ่งในทางในของราชินี บันทึกว่าศพของเอลิซาเบธปนเปื้อนสารพิษหนัก ถึงขั้นระเบิดจากในโลง คำกล่าวของเซาท์เวลเป็นจริงหรือไม่ ไม่มีใครรู้ แต่กว่าโลกจะรู้ว่าการแต่งหน้าด้วยปรอทมีผลร้ายถึงชีวิต ก็ต้องรอกระทั่งกลางศตวรรษที่ 17 หลายร้อยปีหลังราชินีโฉมงามของอังกฤษสิ้นพระชนม์ 

.

.

ติดตามบทความของเพจพื้นที่ให้เล่า ได้บน LINE TODAY ทุกวันเสาร์

.

.

References:

https://www.news.com.au/lifestyle/real-life/true-stories/the-truth-behind-queen-elizabeths-white-clown-face-makeup/news-story/0b3fb5f8b97f20d43c0a62a558c0324e

https://grassrootsshakespeare.com/blog/2015/10/22/queen-elizabeths-make-up-a-frightening-history-in-beauty/

https://www.ranker.com/list/queen-elizabeth-i-makeup-effects/genevieve-carlton

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0