"MARS" Deep Tech Startup บริษัทในเครือ “ประกันภัยไทยวิวัฒน์” สตาร์ตอัปหนึ่งเดียวในเอเชีย ผงาดร่วมแชร์สุดยอดไอเดียนวัตกรรมประเมินความเสียหายรถยนต์แบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี AI อีกขั้นของความแม่นยำเทียบชั้นมาตรฐานระดับโลก ภายใต้โมเดล MARS หรือ Mask Attention Refinement with Sequential Quadtree Nodes พร้อมคว้ารางวัลผลงานเป็นที่ยอมรับระดับดีเยี่ยม จากเวทีการประชุมเชิงวิชาการ International Conference on Image Analysis and Processing (ICIAP2023) ณ เมืองอูดิเน ประเทศอิตาลี
บริษัท มอเตอร์ เอไอ เรคอกนิชั่น โซลูชั่น จำกัด หรือ “MARS” Deep Tech Startup บริษัทในเครือ บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำนวัตกรรมด้านการประกันภัย และผู้พลิกโฉมอุตสาหกรรมประกันภัยไทยด้วยประกันรถเปิดปิด จ่ายตามที่ขับจริง ช่วยประหยัดสูงสุดถึง 80% สตาร์ตอัปหนึ่งเดียวในภูมิภาคเอเชีย นำโดย ดร.ธีรพงศ์ ปานบุญยืน AI/ML Senior Team Lead ในฐานะหัวหน้าทีม MARS Artificial Intelligence Laboratory (MARSAIL) ได้รับเกียรติเชิญเข้าร่วมแชร์ไอเดียเทคนิคสุดยอดนวัตกรรมประกันภัยไทยสู่สายตาโลก กับเทคนิคการนำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อการตรวจจับความเสียหายของรถยนต์ งานประชุมเชิงวิชาการ International Conference on Image Analysis and Processing (ICIAP2023) ณ เมืองอูดิเน ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นงานประชุมที่คัดสรรผลงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีรวมถึงนวัตกรรมด้าน AI มาเพื่อเผยแพร่และนำเสนอสู่สายตาชาวโลก
โดย ดร.ธีรพงศ์ และทีมนำเสนอเทคนิค AI ตัวใหม่ล่าสุดของงานด้านการตรวจจับบาดแผลรถยนต์ โดยใช้ชื่อโมเดล MARS หรือ Mask Attention Refinement with Sequential Quadtree Nodes ซึ่งเป็นโมเดล AI สำหรับใช้ทำนายบาดแผลรถยนต์ในชุดข้อมูลรถยนต์ของประเทศไทยโดยเฉพาะ โดยใช้เทคนิค Self-Attention Mechanisms และ Sequential Quadtree Nodes ทำให้คะแนนค่าความแม่นยำในการตรวจจับบาดแผลรถยนต์ดีกว่าโมเดลอื่นๆ ถือเป็นการสร้างมาตรฐานความแม่นยำระดับสากล และเป็นที่ยอมรับในระดับดีเยี่ยม โดยงานวิจัยของ MARS จะได้ตีพิมพ์ลงใน Conference proceedings ของ ICIAP International Workshops และเผยแพร่โดยสำนักพิมพ์ Springer ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์เชิงวิชาการชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกาที่รวบรวมผลงานวิจัย รวมถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่โดดเด่นและเป็นที่ยอมรับมาเผยแพร่
ด้านคุณเทพพันธ์ อัศวะธนกุล รองกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในฐานะผู้นำด้าน InsurTech ของประเทศไทย “ประกันภัยไทยวิวัฒน์” ไม่เคยหยุดนิ่งในการคิดค้น พัฒนา สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทลูกที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอย่าง MARS เพื่อเพิ่มความสะดวก และโอกาสในการเข้าถึงประกันภัย อันเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ควบคู่ไปกับการช่วยขับเคลื่อนภาพรวมอุตสาหกรรมประกันภัยของประเทศไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงยั่งยืน
“บริษัทฯขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความมั่นใจ กล้าคิด กล้าทำและเชื่อมั่นในตัวเอง หันมาให้ความสำคัญกับความเชื่อและศักยภาพในตัวเอง เพื่อจะก้าวไปข้างหน้าไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาด้านเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมประกันภัยไทย เพื่อให้คนไทยสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างยั่งยืน และวันนี้ก็ได้เห็นแล้วว่าคนไทยมีศักยภาพไม่แพ้ชาติใด จึงทำให้อุตสาหกรรมประกันภัยไทยก้าวล้ำ และเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง” คุณเทพพันธ์ กล่าว
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ บริษัท Motor AI Recognition Solution จำกัด (MARS)
Motor AI Recognition Solution หรือบริษัท MARS เป็นบริษัทสตาร์ตอัปผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AI ที่บริษัทประกันภัยไทยวิวัฒน์ได้ร่วมลงทุนและก่อตั้งเพื่อพัฒนา AI Solution มาใช้เป็นครั้งแรกในวงการประกันภัยรถยนต์ โดย MARS ใช้ AI เพื่อช่วยตรวจสอบ วิเคราะห์ และประเมินความเสียหาย ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ และเรียลไทม์ ซึ่งช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ต้องใช้คนในการตรวจสอบ วิเคราะห์ หรือคีย์ข้อมูล ทำให้ผู้ใช้บริการทำประกันภัยหรือแจ้งเคลมงานซ่อมกับบริษัทประกันภัยได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา MARS ได้มีเปิดตัว Solution แรกคือ MARS Inspect application สำหรับการตรวจสภาพรถก่อนทำประกัน ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ใช้งาน โดยสามารถตรวจสภาพรถได้ด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชัน ไม่ต้องรอนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ให้มาทำการตรวจรถให้ ทำให้ได้รับผลการอนุมัติประกันรวดเร็วขี้น และเปิดตัว Solution ใหม่ MARS Garage ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันเพื่อแจ้งเคลมงานซ่อมระหว่างอู่กับบริษัทประกันภัย และประเมินราคา ค่าซ่อม ค่าแรง ค่าอะไหล่ โดยนำเทคโนโลยี AI มาประเมินการความเสียหาย ให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและรวดเร็วเพื่อเป็นข้อมูลให้บริษัทประกันภัยสามารถประเมินราคา ซ่อมแซมรถได้อย่างรวดเร็วและสะดวกต่อผู้ใช้บริการ
ความเห็น 0