เป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากมาย รวมไปถึงการเรียกร้องสิทธิ์ขั้นพื้นฐานว่า ‘ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ’ สามารถบวชเป็นพระได้หรือไม่ ?
วันนี้เราเริ่มจากการดูนิยามของข้อห้ามในการบวชกันก่อน
“ปณฺฑโก ภิกฺขเว อนุปสมฺปนโน น อุปสมฺปาเทตพฺโพ”
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ บัณเฑาะก์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย
ซึ่งหากจะแปลจากความหมายตรง ๆ แล้ว ในพระพุทธศาสนานั้นไม่อนุญาตให้ ‘บัณเฑาะก์’ บวชพระ ซึ่งหากเจอว่าอุปสมบทไปแล้วก็ต้องให้สึก
แล้วบัณเฑาะก์คือคนประเภทไหน?
บัณเฑาะก์ หมายถึง ‘บุคคลมีอวัยวะเพศเป็นช่องสำหรับถ่ายซึ่งระบุเพศไม่ได้’ และบัณเฑาะก์นั้นมีถึง 5 ประเภท แบ่งออกเป็น
1. อาสิตตบัณเฑาะก์ คือ ชายที่อมอวัยะเพศของชายอื่น
2. อุสุยยบัณเฑาะก์ คือ ชายที่ชอบพอใจในการดูกิจกรรมร่วมเพศระหว่างชายกับชาย
3. โอปักกมิยบัณเฑาะก์ คือ บุคคลที่ถูกตอน เช่น ขันที
4. ปักขบัณเฑาะก์ คือ บัณเฑาะก์ในช่วงข้ามแรม แต่ช่วงข้างขึ้นไม่เป็น
5. นปุงสกัปบัณเฑาะก์ คือ ผู้มีความบกพร่องทางเพศสภาพ คือไม่ปรากฏเพศที่แน่ชัด
สิ่งที่น่าสนใจคือมีการระบุว่าบัณเฑาะก์ประเภท 1 อาสิตตบัณเฑาะก์ และประเภท 2 อุสุยยบัณเฑาะก์ นั้นสามารถบวชได้ ส่วนประเภทที่ 4 ปักขบัณเฑาะก์นั้นสามารถบวชได้ในวันที่ไม่ได้มีกำหนัด ส่วนบัณเฑาะก์ประเภทที่ไม่สามารถบวชได้คือ ประเภทที่ 3 และ 5 คือบุคคลที่ถูกตอน หรือมีความบกพร่องทางเพศสภาพ, อ้างอิงณัฐพงศ์ ดวงแก้ว
แต่สิ่งที่ทำให้ต้องพูดถึงนิยามของคำว่า บัณเฑาะก์ นั้น ก็เป็นเพราะว่า บัณเฑาะก์ ถูกใช้เป็นคำแทนกะเทย หรือคนที่มีความหลากหลายทางเพศในปัจจุบัน จึงทำให้เกิดคำถามว่า กะเทยสามารถบวชพระได้หรือไม่?
ในปัจจุบันมีการเรียกร้องของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่กลุ่มของชายรักชาย แต่มีความหลากหลายทางเพศอื่น ๆ อีกมากมายที่อยู่ในสังคม
โดยในทุก ๆ รูปแบบของเพศที่มีในสังคม ก็ต้องการการยอมรับอย่างเท่าเทียมเหมือนกันกับเพศหญิงและชายที่ถูกยอมรับในปัจจุบัน และเรื่องการบวชพระจึงเป็นประเด็นถูกหยิบมาเป็นข้อเรียกร้องด้วยนั่นเอง
เรื่องของนิยามผู้ที่ห้ามบวชพระตามกฎของพระสงฆ์ที่ใช้คำว่าบัณเฑาะก์หากตีความแบบไม่ได้มีอคติจนเกินไป อาจจะพูดได้ว่า เราไม่สามารถใช้ ‘รสนิยมทางเพศ’ ของคนในปัจจุบันเพียงอย่างเดียวมาตัดสินว่าใครควร หรือไม่สมควรบวชพระได้ แต่ต้องรวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ
อีกทั้งการถกเถียงนั้นอาจจะต้องมาตรฐานในการถกเถียงที่เป็นกฎเกณฑ์เดียวกันว่าสิทธิทางสังคมและการเมือง เท่ากับ สิทธิของสงฆ์หรือไม่อีกด้วย หากถกกันคนละประเด็นก็ไม่ได้เกิดบทสรุปที่เหมาะสมอยู่ดี
สุดท้ายการบวชเป็นพระ ที่บอกว่าต้องใช้ใจเป็นหลักนั้นทำไมถึงมีอคติกับคนบางกลุ่มจนมองว่าไม่สมควรเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนา ในขณะที่ปัจจุบันก็แสดงให้เห็นอยู่มากมายว่าคุณสมบัติเป็นเพียงด่านแรกที่ไม่สามารถพิสูจน์และรักษาความผุดผ่องอะไรได้เลย
ขอบคุณข้อมูลจาก
ความเห็น 70
RunG
ศึกษาพุทธศาสนา มีฆราวาสสำเร็จเป็นอริยบุคคลมากมาย ไม่เห็นจะต้องบวช พระที่บวชก็ใช่ว่าจะดีทุกรูป อยู่ที่คน ไม่ได้อยู่ที่บวขหรือไม่บวช
13 มี.ค. 2565 เวลา 14.44 น.
Cafe'
..กลัวจะไปเต้นติ๊กต๊อกดิโยม!!👀!!
11 มี.ค. 2565 เวลา 21.38 น.
Long k.k 42
เอางี้นะ ถ้าคนที่มีอารมณ์กะเพศชาย ไปอยู่ในกลุ่มสังคมชายล้วน ใกล้ชิดกันมากๆ จะเป็นยังไงละ
05 มี.ค. 2565 เวลา 14.38 น.
บางที่เป็นเพศที่สามบวชเพราะบวชให้ผ่านไปไม่ขัดใจแม่พูดง่ายๆบวชให้แม่ผู้ไร้เดียงสาเพราะหลายต่อหลายครั้งตั้งแต่เณรพระพอบวชเข้าไปแล้วไปสร้างความเสื่อมเสีย แต่พ่อแม่แทนที่จะบอกให้ลูกสึกออกมาพ่อแม่บางคนบอกลูกฉันไม่เป็น ตกลงจะบวชให้ได้บุญหรือได้บาปมันอยู่ที่จิตสำนึกของคนที่บวชและพ่อแม่ต้องรู้ด้วย ตั้งข้อสังเกตุนะครับบางคนบางกลุ่มไม่รู้ธรรมวินัยของสมมุติสงฆ์ แต่ก็ออกมาเถียงเพื่อเอาชนะในโซเชียลก็ชนะครับเพราะพวกมากลากไปยิ่งวัยรุ่นสมัยนี้ไม่ค่อยรู้เรื่องข้อห้ามอะไรเรียกยอดไลค์เอามันอย่างเดียว
05 มี.ค. 2565 เวลา 13.51 น.
ธนพงษ์ ส.
หลักการของศาสนา สูงกว่า หลักกฎหมาย และสังคม
04 มี.ค. 2565 เวลา 04.06 น.
ดูทั้งหมด