โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

กระตุกหนวดเสือ! “ปฏิรูปกองทัพ” นโยบายหาเสียง ที่ทำได้จริงหรือ?

Another View

เผยแพร่ 25 ก.พ. 2562 เวลา 13.00 น.

กระตุกหนวดเสือ! ปฏิรูปกองทัพนโยบายหาเสียงที่ทำได้จริงหรือ?

อาทิตย์ที่ผ่านมานั้นกระแส #หนักแผ่นดิน ได้กลายเป็นสิ่งที่ทุกคนพูดถึงแทบจะทุกที่ทั้งในโลกโซเชียลหรือชาวบ้านร้านตลาดเอง เหตุก็เพราะ พล..อภิรัชต์คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวตอบผู้สื่อข่าวว่า ก็ให้ไปฟังเพลงหนักแผ่นดินไงหลังผู้สื่อข่าวสอบถามกรณีที่ คุณหญิงสุดารัตน์เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย และหนึ่งในแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีในบัญชีพรรคฯ กล่าวปราศรัยเสนอนโยบายตัดงบกลาโหม 10% และยกเลิกการเกณฑ์ทหาร

แล้วเหตุใดพรรคการเมืองต่าง ๆ ถึงชูนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกองทัพในการหาเสียงครั้งนี้ ทั้งการปรับลดงบประมาณฯ การจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ หรือกระทั่งลดกำลังพลของกองทัพลง เราลองมาย้อนดูกันว่ากองทัพไทยได้รับงบประมาณไปเท่าไหร่บ้างในแต่ละปี 

นับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา งบประมาณของกระทรวงกลาโหมนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากรัฐบาล คสช. เข้ามาบริหารประเทศในปี 2557 งบประมาณของกระทรวงกลาโหมก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น และปี 2559 จนถึงปัจจุบัน งบประมาณกระทรวงกลาโหมก็พุ่งทะลุตัวเลข 2 แสนล้านบาทต่อปีไปแล้ว

แน่นอนว่ากระทรวงกลาโหมของไทยนั้น ติดอันดับ 5 กระทรวงแรกที่ได้รับงบประมาณจากภาษีของประชาชนสูงที่สุดในแต่ละปีมาโดยตลอด ย้อนกลับไปในปี 2558 กระทรวงกลาโหมได้รับงบประมาณ 192,000 ล้านบาท ปี 2559 ได้รับงบประมาณ 206,000 ล้านบาท ปี 2560 ได้รับงบประมาณ 213,500 ล้านบาท ปี 2561 ได้รับงบประมาณ 222,000 ล้านบาท และล่าสุดปี 2562 ได้รับงบประมาณ 227,671 ล้านบาท รวมย้อนหลัง 5 ปี ที่รัฐบาล คสช.เข้ามาบริหารประเทศกระทรวงกลาโหมได้รับงบประมาณไปถึง 1,061,171 ล้านบาท

แม้งบประมาณกลาโหมในแต่ละปี หากเปรียบเทียบกับ GDP ของประเทศอาจจะดูไม่สูงมาก เนื่องจากอยู่ในระดับไม่ถึง 2% ของ GDP แต่หากเทียบกับงบประมาณที่รัฐบาลมีในแต่ละปี ซึ่งเป็นเงินในมือของรัฐจริง ๆ ไม่ใช่ GDP ซึ่งเป็นเงินที่ไม่ได้อยู่ในมือของรัฐบาล กลับอยู่ในระดับ 7-9 % ของงบประมาณรวมเลยทีเดียว และหากพิจารณาเรื่องสภาพเศรษฐกิจของประเทศก็ต้องยอมรับว่างบประมาณกลาโหมของไทยนั้นถือว่าสูงมากเกินไปจริง ๆ

และงบประมาณกลาโหมนั้นก็สูงกว่ากระทรวงซึ่งมีความสำคัญอย่างกระทรวงสาธารณสุขซึ่งต้องดูแลสุขภาพของประชาชนทั้งประเทศเสียอีก!!!

ด้วยจำนวนตัวเลขงบประมาณที่สูงมากนี้ จึงไม่แปลกใจที่พรรคการเมืองต่าง ๆ ถึงพยายามหยิบยกประเด็นเรื่องกองทัพมาหาเสียง ซึ่งพรรคการเมืองที่หยิบยกประเด็นนี้มาหาเสียงนั้น หลัก ๆ ก็มีอยู่ 3 พรรค 

พรรคอนาคตใหม่ ถือเป็นพรรคการเมืองแรกที่กล้าประกาศ  “ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร”  เปลี่ยนมาใช้ระบบสมัครใจ ตามนโยบายปฏิรูปกองทัพ ลดกำลังพลและนายพล พร้อมตัดงบประมาณกองทัพ 50,000 ล้านบาท เพื่อไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ

พรรคเพื่อไทย ระบุว่าหากได้เป็นรัฐบาลจะยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ตัดงบกองทัพปีละ 10% หรือราว 20,000 ล้านบาทต่อไปเพื่อนำงบประมาณไปใช้สร้างอาชีพให้กับคนรุ่นใหม่

พรรคเสรีรวมไทย ประกาศจะยุบกองบัญชาการกองทัพไทย ลดขนาดกองทัพ ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร โดยอ้างว่าสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ไม่มีความจำเป็น สิ้นเปลืองงบประมาณ จะให้คนที่สมัครใจเท่านั้นไปเป็นพลทหาร และประเด็นสำคัญจะให้อำนาจนายกรัฐมนตรีสั่งย้ายผู้บัญชาการเหล่าทัพได้

แต่ว่าพวกเขาจะทำได้อย่างที่หาเสียงไว้หรือไม่หากได้รับเลือกเป็นรัฐบาลก็อย่างที่รู้กันว่ากองทัพเป็นหน่วยงานที่ใหญ่และมีบทบาทอย่างมากทั้งทางสังคมและการเมืองไทยอีกทั้งหากจะลดงบประมาณที่ว่ามานั้นก็ต้องแก้กฎหมายกันหลายฉบับและการแก้กฎหมายนั้นก็ต้องผ่านสภาฯซึ่งในสภาฯ เองก็มีผู้บัญชาการเหล่าทัพเป็นสมาชิกฯ อยู่คงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักหากจะทำตามนโยบายที่ตัวเองหาเสียงเอาไว้หรือพวกเขาแค่หยิบยกประเด็นนี้มาพูดเพื่อให้เป็นกระแสเพราะรู้อยู่แก่ไจว่าคงเป็นไปไม่ได้ 

อ้างอิง

http://www.ispacethailand.org/political/16464.html  

https://www.bbc.com/thai/thailand-38656190 

https://www.springnews.co.th/politics/445614

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0