เมื่อวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมา อแมนดา เหงียน (Amanda Nguyễn) กลายเป็นผู้หญิงเวียดนามคนแรกบนอวกาศ หลังจากแคปซูลอวกาศนิวเชพเพิร์ด (New Shepard) เดินทางกลับสู่พื้นโลกบริเวณรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา หลังจากเดินทางผ่านเส้นคาร์มัน ซึ่งเป็นจุดแบ่งระหว่างชั้นบรรยากาศของโลกกับอวกาศ
ก่อนหน้านี้ในปี 2013 อแมนดา เหงียน เคยเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ศึกษาด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์ และคยทำงานในภารกิจกระสวยอวกาศครั้งสุดท้ายของนาซา โดยเธอนั้นมีส่วนร่วมในการพัฒนาโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ (Kepler) แต่เหตุการณ์ร้ายแรงเปลี่ยนเส้นทางชีวิตของเธอ เมื่อเธอตกเป็นเหยื่อของการล่วงละเมิดทางเพศในงานเลี้ยงของสมาคมนักศึกษา
การต่อสู้กับระบบยุติธรรมที่ไม่เป็นธรรมกับผู้รอดชีวิตจากการล่วงละเมิด ทำให้เธอเปลี่ยนเส้นทางจากนักวิทยาศาสตร์สู่นักเคลื่อนไหว เธอกลายเป็นผู้ผลักดันกฎหมาย Sexual Assault Survivors’ Bill of Rights ที่ให้สิทธิขั้นพื้นฐานกับเหยื่อ เช่น การเข้ารับการตรวจทางการแพทย์ฟรี และการเก็บหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ไว้นานขึ้น ซึ่งทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2019
และในวันที่ 14 เมษายน ปี 2025 อแมนดา เหงียน กลับมาสู่เส้นทางเที่ยวบินอวกาศอีกครั้งในภารกิจของบริษัท บลู ออริจิน (Blue Origin) ซึ่งเป็นเที่ยวบินแรกในรอบ 60 ปี ที่ไม่มีลูกเรือชายบนยานอวกาศเลย โดยลูกเรือหญิงล้วนที่ร่วมเดินทางไปพร้อมกันประกอบด้วย เกย์ล คิง (Gayle King), นักร้องเคที่ เพอร์รี (Katy Perry), นักข่าวลอเรน ซานเชซ (Lauren Sánchez) และนักวิทยาศาสตร์ไอชา โบวี (Aisha Bowe)
ของสมาคมนักศึกษา
อแมนดา เหงียนนำสิ่งของสำคัญขึ้นไปในอวกาศ 2 ชิ้นในฐานะ Zero-G indicators หรือสิ่งบ่งชี้สภาวะไร้น้ำหนัก หนึ่งในนั้น คือ กระดาษโน้ตที่เขียนถึงตัวเองในอดีต เพื่อสัญญาว่าวันหนึ่งเธอจะกลับมาสานฝันของตนเอง อีกชิ้นคือสายรัดข้อมือจากโรงพยาบาลที่เธอได้รับหลังจากเข้ารับการตรวจร่างกายหลังถูกล่วงละเมิดทางเพศ
นอกจากนี้ เธอยังทำการทดลองบนอวกาศ เช่น การทดสอบวัสดุสำหรับแผ่นปิดแผลในสภาพไร้น้ำหนัก เพื่อพัฒนานวัตกรรมสุขภาพของผู้หญิงในอวกาศ และทดสอบวัสดุแบบสมาร์ตสำหรับชุดอวกาศรุ่นใหม่ รวมถึงแผ่นอัลตราซาวนด์แบบสวมใส่ ซึ่งล้วนแต่เป็นผลงานจากนักวิจัยของ MIT ที่เธอเคยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมโครงการ
“ครั้งหนึ่ง ฉันเคยเลือกที่จะไม่แจ้งความทันที เพราะกลัวว่าจะมีผลต่ออนาคตการทำงานกับรัฐบาล” เหงียนเล่าในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว NPR องค์กรสื่อสาธารณะไม่แสวงหากำไรของสหรัฐอเมริกาก่อนบินขึ้นสู่อวกาศ แต่ในเวลาต่อมาเธอเปลี่ยนใจ และเลือกที่จะต่อสู้เพื่อผู้รอดชีวิตคนอื่น ๆ ในสังคม
การเดินทางสู่อวกาศครั้งนี้ของอแมนดา เหงียน ไม่ได้เป็นเพียงแค่การเดินทางของนักบินอวกาศ แต่ยังเป็นการส่งสารแห่งความหวังและการเยียวยาให้กับผู้ที่เคยเผชิญความเจ็บปวดทั่วโลก “ฉันอยากให้ผู้รอดชีวิตทุกคนรู้ว่า คุณสามารถฟื้นตัวได้จากความเจ็บปวด ไม่มีความฝันใดที่ไกลเกินเอื้อม แม้แต่การไปอวกาศ” เธอกล่าวหลังจากกลับถึงพื้นโลก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- อแมนดา เหงียน (Amanda Nguyễn) ผู้หญิงเวียดนามคนแรกบนอวกาศ
- ยุโรปพัฒนาเทคโนโลยี AI ยกระดับพยากรณ์ “ไฟป่า” ทั่วโลกแม่นยำกว่าเดิม
- แง้มชม “EXPO 2025” โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น นิทรรศการระดับโลก 5 ปีมีครั้ง !
- เผยโฉม “เกาะบริเตนใหญ่” ในเกม “Minecraft” ทำจากบล็อก 1 แสนล้านชิ้น !
- นักวิทยาศาสตร์เผยแผนที่ “สมองหนู” จิ๋วแต่แจ๋ว ซับซ้อนระดับกาแล็กซี !