ศูนย์ข่าวขอนแก่น-กฟผ. ร่วมกับ มข. ลงนาม MOA “โครงการ Smart Campus - Khon Kaen University” ร่วมยกระดับ สู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งพลังงานสะอาดด้วยระบบอัจฉริยะ ส่งเสริมแหล่งพัฒนาระบบ Smart Energy Solutions ต่อยอดรูปแบบธุรกิจเกี่ยวทางไฟฟ้าในอนาคต
วันนี้ (21 เม.ย.) ที่ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร.จิราพร ศิริคา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ เป็นผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ((Memorandum of Agreement :MOA) “โครงการ Smart Campus - Khon Kaen University” กับ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) โดยมีคณะผู้บริหารกฟผ. และคณาจาย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมในพิธีจำนวนมาก
ดร.จิราพร ศิริคา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ เปิดเผยว่า จากการที่ กฟผ. และ มข. ประสบความสาเร็จในการร่วมมือกันศึกษา “โครงการวิจัยและพัฒนา ENGY Wall เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์” ซึ่ง กฟผ. ได้นำแบตเตอรี่ที่พัฒนาและผลิตโดย มข. มาพัฒนาต่อยอดเป็นระบบกักเก็บพลังงาน หรือ Battery Energy Storage System (BESS) ภายใต้ชื่อ ENGY Wall ซึ่งเป็น BESS สำหรับใช้ในบ้าน
กฟผ. และ มข. จึงได้ร่วมมือต่อยอดจัดทำ “โครงการ Smart Campus- Khon Kaen University” ภายในพื้นที่ มข. เพื่อผลักดันให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ใช้พลังงานสะอาด และเป็นสถานที่พัฒนาระบบ Smart Energy Solutions แบบครบวงจร กฟผ. ได้ออกแบบโครงการ Smart Campus มข. ในรูปแบบรัฐกับรัฐ (G2G) ให้บริการบริหารจัดการ ค่าสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้า) โดยระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแบบรับประกันผลงาน
ประกอบไปด้วย 6 ระบบ ได้แก่ ระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System : EMS) เพื่อบริหารจัดการการใช้พลังงานให้มีการเชื่อมต่อกับระบบกักเก็บพลังงาน ENGY Wall ที่สะสมพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในเวลาที่ระบบต้องการ สร้างความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการพลังงาน ความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้า ควบคู่กับระบบบริหารจัดการ รายอาคาร (ENZY Platform) เพื่อติดตามและควบคุมการใช้พลังงานในอาคารต่าง ๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์ระบบปรับอากาศ ที่มีการนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มาควบคุมปรับอุณหภูมิได้อัตโนมัติ พร้อมระบบแจ้งเตือนค่าใช้จ่าย (Demand Charge) เพื่อให้ผู้ใช้ไฟสามารถปรับลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ทันที โดยตั้งเป้าติดตั้งกับอุปกรณ์ระบบปรับอากาศขนาดไม่น้อยกว่า 20,000 บีทียู
อีกทั้ง กฟผ. จะดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ (Solar System) ภายในพื้นที่ มข. และระบบ กักเก็บพลังงาน (BESS) ในกลุ่มของอาคารกีฬา และหอพักขนาด 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง เพื่อกักเก็บสะสมพลังงานส่วนเกินจากระบบไฟฟ้าที่ผลิตจาก Solar System หรือบางช่วงเวลาที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าไม่มีแล้ว มาใช้จ่ายไฟในช่วงเวลาที่ต้องการ
โดยเพิ่มขีดความสามารถการซื้อขายไฟผ่านระบบการซื้อขายไฟ (Energy Trading Platform: ETP) ในรูปแบบ Peer-Peer ระหว่างคณะ หรืออาคาร ซึ่งเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าเดิมของอาคารผ่านอุปกรณ์ Smart Meter ที่มีระบบออกบิลเพื่อติดตามค่าไฟฟ้า มูลค่าการเสนอซื้อขายพลังงานไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลาด้วย
นอกจากนี้ กฟผ. มีแผนติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ Wallbox แบบชาร์จปกติ (Normal Charge) และแบบจ่ายไฟฟ้ากลับเข้ามาในระบบไฟฟ้า (V2G) สามารถเก็บเงินจากผู้ที่มาใช้บริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าผ่านระบบรองรับการจ่ายเงินที่สามารถผ่านระบบออนไลน์ได้
ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนแผนนโยบาย Net Zero ของ มข. มุ่งสู่ Smart Campus อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยบันทึกข้อตกลงมีระยะเวลาดาเนินการ 5 ปี กฟผ. และ มข. จะร่วมดาเนินการติดตั้งระบบต่างๆ พร้อมสนับสนุนให้บุคลากรของทั้ง 2 หน่วยงานได้เข้าร่วมการศึกษา วิจัย และถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อยอดประสบการณ์การพัฒนาระบบ Smart Energy Solutions เพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่ Smart City และสร้างประโยชน์ต่อประเทศร่วมกันต่อไป
ด้านรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นให้ความสำคัญกับการพัฒนามหาวิทยาลัยให้บรรลุตามยุทธศาสตร์ Green and Smart Campus เป็นองค์กรแบบชาญฉลาด คำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมใช้พลังงานจากธรรมชาติเป็นพลังงานทดแทน สร้างมหาวิทยาลัยให้เป็นที่น่าอยู่ (Great place to live) ความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยขอนแก่นในครั้งนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Green and Smart Campus
การใช้พลังงานในมหาวิทยาลัย มีการเชื่อมต่อกับระบบกักเก็บพลังงาน ENGY Wall โดยใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตโดยโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น และสถานีอัดประจุไฟฟ้ารถยนต์แบบ Normal Charge และแบบจ่ายพลังงานกลับเข้ามาในระบบไฟฟ้า (V2G) ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
เพื่อให้เกิดองค์รวมรู้ของ Smart Campus และสนับสนุนแผนนโยบาย Net Zero ของมหาวิทยาลัยให้เป็นรูปธรรม โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น สนับสนุนพื้นที่ติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาในกลุ่มของคณะแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ อาคารกีฬา อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ การติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนพื้นน้ำ (Solar Floating) ในบ่อสูบน้ำของมหาวิทยาลัย
การติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน ENGY Wall (Battery Energy Storage System, BESS) การติดตั้งระบบบริหาร จัดการพลังงานในพื้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น EGAT Microgrid EMS ติดตั้งระบบบริหารจัดการพลังงานในพื้นที่ ติดตั้งระบบสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบปกติและแบบจ่ายไฟฟ้าย้อนกลับเข้าระบบไฟฟ้า ซึ่งจะติดตั้งในหน่วยงานต่างๆรอบมหาวิทยาลัย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือทางวิชาการ โครงการ “Smart Campus - Khon Kaen University” ครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาพลังงานสะอาด พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านพลังงาน มีให้ความมั่นคง และยั่งยืนต่อไป
website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO
ความเห็น 0