ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังระบุว่า ด้วยกระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรได้เสนอร่างพระราชกำหนดลดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567 ต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกำหนดดังกล่าว เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2567 บัดนี้ พระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยจะมีผลใช้บังคับ แก่นิติบุคคลข้ามชาติ Multinational Enterprises (MNEs) ขนาดใหญ่ที่มีรายได้ไม่น้อยกว่า 750 ล้านยูโร สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
ทั้งนี้การตราพระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรักษาสิทธิในการจัดเก็บภาษี อันเป็นการรักษาประโยชน์แห่งชาติ หากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่ม จะสูญเสียรายได้ภาษีส่วนเพิ่มที่ควรจัดเก็บให้แก่ประเทศอื่นที่มีกฎหมายจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มจนกว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายดังกล่าว ซึ่งประเทศที่มีกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับแล้วตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2567 มี 28 ประเทศ เช่น กรีซ เกาหลีใต้ แคนาดา ญี่ปุ่น เดนมาร์ก ตุรกี เนเธอร์แลนล์ นิวซีแลนด์ ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ เยอรมัน สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย อิตาลี ไอร์แลนด์ เวียดนาม และประเทศที่คาดว่าจะมีกฎหมายใช้บังคับตั้งแต่รอบระยะยะเวลาบัญชีปี 2568 เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฮ่องกง
พระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ.2567 นี้ใช้บังคับเฉพาะกลุ่ม MNES ขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย ไม่ว่ากลุ่ม MNES ของไทยที่ลงทุนในต่างประเทศหรือกลุ่ม MNEs ของต่างประเทศที่ลงทุนในประเทศไทย ที่มีรายได้ตามงบการเงินรวม (Consolidated Financial Statements) ของบริษัทแม่ลำดับสูงสุดไม่น้อยกว่า 750 ล้านยูโรอย่างน้อย 2 ใน 4 รอบระยะเวลาบัญชีก่อนหน้ารอบระยะเวลาบัญชีที่พิจารณาหน้าที่การเสียภาษีส่วนเพิ่ม โดยให้เสียภาษีขั้นต่ำทั่วโลก (Global Minimum Tax) ในอัดราที่กำหนด เพื่อจำกัดการแข่งขันทางภาษี
ทั้งนี้กรมสรรพากรได้ยกร่างพระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่มตามแนวทางมาตรฐานที่ OECD จัดทำขึ้นการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีส่วนเพิ่มของประเทศไทยจึงเป็นในแนวทางเดียวกันกับการปฏิบัติดามกฎหมายภาษีส่วนเพิ่มของนานาประเทศ อันเป็นการลดภาระการปฏิบัติตามกฎหมายให้แก่กลุ่ม MNES ที่ลงทุนในประเทศไทย
นายปิ่นสาย สุรัสวดี อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า "การจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มจะเป็นประโยชน์แก่การส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยบนพื้นฐานของความยั่งยืนทางการคลัง หลังจากนี้กรมสรรพากรจะเสนอกฎหมายลำดับรองกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ตามแนวทางมาดรฐานที่ OECD กำหนด สำหรับวิธีการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี การขึ้น GloBE Information Return และการแจ้งข้อมูลนั้น กรมสรรพากรจะอำนวยความสะดวกให้ดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด และเพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีส่วนเพิ่ม กรมสรรพากรจะจัดสัมนาและจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) สร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่ผู้เสียภาษีและผู้เกี่ยวข้อง เช่น ที่ปรึกษาภาษีและผู้สอบบัญชี จึงขอให้ติดตามข่าวสารจากเว็บไซต์และสื่อสังคมของกรมสรรพากร"
Global Minimum Tax หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำ เป็นข้อตกลงเพื่อหยุดการแข่งขันทางด้านภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุน และป้องกันการเลี่ยงภาษีของ MNEs ที่เสนอโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ซึ่งประเทศไทยและกว่า 130 ประเทศได้เข้าร่วม ข้อตกลงนี้กำหนดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก หรือ Global Minimum Tax (GMT) ไว้ที่ 15%
ปัจจุบันไทยจัดเก็บอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 20% แต่บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากากสำนักงานคณะกรรมกรรมการส่งเสริมการลงทน (BOI) ได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษี ทำให้อัตราภาษีที่แท้จริงอยู่ต่ำกว่า 15% บริษัทดังกล่าวจึงจะต้องถูกเก็บภาษีเพิ่ม (top-up tax) เพื่อให้ถึงขั้นต่ำที่ 15%
ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ระบุว่า จากกรณีกระทรวงการคลังแถลงว่า ภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก (Global Minimum Tax) อัตรา 15% ที่จะเรียกเก็บจาก นิติบุคคลข้ามชาติ (Multinational Enterprises) ที่มีรายได้ไม่น้อยกว่า 750 ล้านยโร มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ประเมินหุ้นกลุ่มที่เข้าข่ายคาดจะได้รับผลกระทบ อาทิ 1. กลุ่มส่งออกอาหาร คือ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU (Effective tax rate 7-8%) ส่วนที่คาดจะกระทบคือ บริษัทในเครือที่อยู่ในไทยราว 35% ที่ได้รับ BOI โดยรวมคาดกระทบต่อประมาณการกำไรปกติปี 68 จำกัดในกรอบ 3-8%
2.) ชิ้นส่วน คือ บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA (Effective tax rate 5.5%) คาดกระทบต่อประมาณการกำไรปี 68 มี downside risk ราว 12% ในกรณีที่ effective tax rate เพิ่มสู่ 15%
3.) กลุ่มโรงไฟฟ้า บางส่วนปัจจุบัน Effective Tax Rate อยู่ราว 5-10% หากนับเฉพาะผลกระทบภาษีคาดกำไรสุทธิจะกระทบอยู่ระหว่าง 5-10%
ทั้งนี้ ในส่วนรายละเอียดรายตัว บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF จากการลงทุนต่างประเทศของบริษัท มองฐานรายได้และกำไรที่เติบโตต่อเนื่องจากธุรกิจหลักและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ New Co จะทำให้ผลกระทบจำกัดและบริหารจัดการภาษีภายในได้, บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM มีลงทุนต่างประเทศและเป็นการคาดการณ์ผลกระทบ ส่วนหุ้นโรงไฟฟ้าที่กระทบน้อย คือ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ส่วนมากรับรู้เป็น equity income ส่วน บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH และ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO กระทบน้อยจากฐานภาษีสูงใกล้เคียง 15%
4.) กลุ่ม Packaging หุ้นบริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP มีธุรกิจที่เวียดนาม (14% ของรายได้) ที่อาจต้องเสียภาษีเพิ่มเติม แต่มองผลกระทบต่อภาพรวมจำกัด ประเมินเป็นจิตวิทยาลบอ่อนๆ
ทั้งนี้ กลยุทธ์ประเมินหุ้นที่มีความเสี่ยงกระทบ ส่วนใหญ่ทยอยปรับตัวลงสะท้อนตั้งแต่ต้น-กลางเดือน ธ.ค.67 แต่หากอิงโอกาสที่รัฐฯน่าจะต้องหาช่องทางสนับสนุนเงินคืนเพื่อลดผลกระทบ รวมถึงการบริหารภาษีภายในบริษัทต่างๆ คาดผลกระทบจะจำกัดกว่าที่ประเมินข้างต้น
โดยเชิงกลยุทธ์แนะนำตั้งรับหุ้นที่อยู่ในกลุ่มที่เป็น New S-Curve ของไทยระยะถัดไป อาทิ โรงไฟฟ้า ที่อยู่ในธีม Infra Tech เน้น GULF, GPSC
ความเห็น 0