โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“สมุดบันทึกความดี” ทำดีหวังผล! ทำดีแลกแต้ม! เด็กจะเป็นคนดีจริงหรือ?

Another View

เผยแพร่ 25 พ.ย. 2561 เวลา 01.00 น.

“สมุดบันทึกความดี” ทำดีหวังผล! ทำดีแลกแต้ม! เด็กจะเป็นคนดีจริงหรือ?

การทำความดี “จำเป็น” ต้องประกาศให้โลกรู้หรือไม่?

เราคงจะเห็นกันจนชินตาแล้วกับ  “สมุดบันทึกความดี”  สมุดเล่มเล็กๆที่เรามักจะต้องเขียนรายงานความดีที่เราได้ทำในแต่ละวันเพื่อส่งคุณครูประจำชั้น จุดประสงค์ของสมุดบันทึกความดีก็เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กๆ เพื่อที่เมื่อเด็กเติบโดขึ้นจะได้เป็นคนดีของสังคม แต่ผลลัพธ์ของมันเป็นเช่นนั้นจริงๆหรือ? การทำความดีของเด็กในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงแค่ “บันทึก” อีกต่อไป มันได้กลายเป็น “คะแนน” ที่ถูกประเมินโดยคุณครู ซึ่งคงจะเป็นหนึ่งในนโยบายของโรงเรียนหรือกระทรวงศึกษาธิการที่ทำให้เกิดตัวชี้วัดผู้เรียนขึ้นมา และเมื่อมีตัวชี้วัดก็ต้องมีการวัดผลตามมา จึงเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อให้คะแนนและวัดผลได้ตามนโยบายที่เกิดขึ้น

เมื่อมีการวัดผลการกระทำ การกระทำนั้นอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความบริสุทธิ์ใจ นั่นทำให้ความดีทั้งหลายที่ทำไปเป็นความดีที่ไม่ได้มาจากจิตใต้สำนึกจริงๆ แต่เป็นการทำความดีเพียงเพื่อที่หวังจะได้คะแนนจากการทำความดีนั้น เช่นนั้นแล้วในอนาคตหากไม่มีการให้คะแนนการทำความดี ก็คงมีเด็กเพียงส่วนน้อยที่อยากที่จะทำความดีจริงๆ และการที่สมุดบันทึกความดีนั้นเพียงแค่ “บันทึก” ข้อความตัวอักษรลงไป ทำให้เราไม่มีหลักฐานยืนยันได้เลยว่าการกระทำนั้น “เกิดขึ้น” จริงหรือ ไม่ ยกตัวอย่างเช่น หากในสมุดมีข้อความบันทึกว่า  “วันนี้ฉันได้ช่วยคนตาบอดข้ามถนน”  แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการกระทำนี้เกิดขึ้นจริงๆ เหตุผลนี้เองที่ทำไม “การวัดผลคุณธรรมจริยธรรม”  จึงเป็นเรื่องไร้สาระ ที่ไม่ควรมีขึ้นมาตั้งแต่แรก และอีกเหตุผลนึงที่ว่าทำไมการวัดผลคุณธรรมจริยธรรมจึงเป็นเรื่องไร้สาระ นั่นก็คือ “มุมมอง”  ในการทำความดีของคนแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน บางคนคิดว่าการทำแบบนื้ถือว่าเป็นการทำความดี แต่อีกคนกลับไม่ได้มองว่าการทำแบบนั้นถือเป็นการทำความดีได้ นั่นทำให้เกิดบรรทัดฐานผิดๆในการทำความดีขึ้น เราอาจจะเอามุมมองของเราไปตัดสินการกระทำของคนอื่น ทำให้คนๆนั้นเกิดความไม่สบายใจในการทำสิ่งนั้นที่เขามองว่ามันคือการทำความดี และทำให้เขาอาจจะไม่อยากทำความดีอีก 

การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมควรเป็นสิ่งที่ถาวร ยั่งยืนเพื่อให้มันอยู่ในจิตใต้สำนึกของเด็ก การทำความดีถึงจะเป็นการกระทำที่มาจากความบริสุทธิ์ใจจริงๆ แต่หากจะบอกว่าสมุดบันทึกความดีนั้นไร้ประโยชน์ก็คงไม่ถูกนัก หากใช้มันได้อย่างเหมาะสม สมุดบันทึกความดีก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในตัวเด็กได้อย่างแน่นอน มันอาจจะเป็นเครื่องมือที่ใช้บันทึกว่าเด็กเหล่านั้นได้ทำความดีอะไรมาบ้าง อย่าให้สมุดบันทึกความดีกลายไปเป็นสมุดบันทึกคะแนน

ผลจากการทำความดีสิ่งที่ควรจะได้ไม่ใช่คะแนน แต่ควรจะเป็นคำชื่นชมที่เด็กเหล่านั้นทำความดีแม้ความดีที่เขาทำจะเป็นแค่สิ่งเล็กน้อย เพียงแค่คำชมก็จะทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในการทำความดีนั้น เมื่อเกิดความภาคภูมิใจเด็กก็จะเกิดความรู้สึกอยากจะทำความดีต่อไปเรื่อยๆ นี่ต่างหากที่จะเป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่ยั่งยืน ไม่ฉาบฉวยเหมือนสมุดบันทึกความดีที่ตีค่าการทำความดีเป็นตัวเลขคะแนน

การทำความดีไม่จำเป็นต้องบอกให้โลกรู้ การทำความดีทำแล้วเป็นสุขใจ ทำแล้วมีความสุขที่ได้ทำ หากไม่มีใครรับรู้แต่เรารู้เพียงคนเดียวก็พอแล้ว หากทุกคนทำได้แบบนี้สังคมเราก็จะน่าอยู่ขึ้นอีกเยอะ 

ภาพประกอบ

https://pantip.com/topic/31715896

https://board.postjung.com/1042001

http://www.thaistudentplan.net

https://issuu.com

http://www.srinakorn.ac.th/about_school/author/admin/page/5/

http://www.maesaitodayonline.com/5079

https://mgronline.com/onlinesection/detail/9530000001632

http://kanluangdong.blogspot.com/2016/01/blog-post_46.html

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0