โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

ทั่วโลกจับตา! จีนพบไวรัสโคโรนาพันธุ์ใหม่ในค้างคาว อาจแพร่เชื้อสู่คนได้เหมือน'โควิด19'

แนวหน้า

เผยแพร่ 23 ก.พ. เวลา 17.00 น.
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

24 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าทีมนักวิจัยที่สถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่น ในประเทศจีน ระบุว่า พวกเขาค้นพบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในค้างคาว ที่สามารถเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์ได้ด้วยวิธีการคล้ายกับไวรัสก่อโรคโควิด-19 เพิ่มความเป็นไปได้ที่ไวรัสตัวนี้จะสามารถแพร่กระจายเข้าสู่มนุษย์ได้ในสักวันหนึ่ง

ไวรัสดังกล่าวถูกเรียกว่า 'HKU5-CoV-2' โดยผลการทดสอบในห้องทดลองพบว่า มันสามารถเข้าสู่เซลล์มนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ได้ด้วยโปรตีนตัวรับที่ชื่อว่า “ACE2” บนผิวเซลล์ของมัน แบบเดียวกับไวรัส 'SARS-CoV-2' ซึ่งเป็นตัวก่อโรคโควิด-19 แต่ไม่มีประสิทธิภาพเท่า และมีข้อจำกัดอีกหลายอย่าง ด้วยเหตุนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงย้ำว่าให้ตอบสนองต่อผลการวิจัยนี้อย่างระมัดระวัง ขณะที่ทีมนักวิจัยเขียนในบทความของพวกเขาว่า ความเสี่ยงที่ไวรัสตัวนี้จะอุบัติขึ้นในประชากรมนุษย์ไม่ควรถูกกล่าวเกินจริง

ด้าน ดร.ไมเคิล ออสเตอร์โฮล์ม ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อจากมหาวิทยาลัยมินนิโซตา บอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์สว่า ปฏิกิริยาที่มาต่อการวิจัยนี้นั้น มากเกินไปและว่า มีความเป็นไปได้ที่ภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์คล้ายกันที่เพิ่มขึ้น จะช่วยปกป้องสังคมจากการระบาดทั่วโลกครั้งใหม่ แต่ในกรณีที่ไวรัส HKU5-CoV-2 เกิดติดต่อเข้าสู่มนุษย์ นักวิจัยก็บอกว่า สารภูมิต้านทานโมโนโคลน กับยาต้านไวรัส อาจสามารถรักษาอาการติดเชื้อได้

โดยยาต้านไวรัสถูกออกแบบมาเพื่อหยุดการแพร่กระจายของไวรัสในร่างกาย ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการป่วยและลดระยะเวลาป่วยให้สั้นลง โดยมันถูกใช้เพื่อรักษาอาการป่วยมากมาย รวมถึงไข้หวัดใหญ่ และโควิด-19

ส่วนสารภูมิต้านทานโมโนโคลน เป็นโปรตีนที่สร้างขึ้นในห้องทดลองเพื่อจัดการกับอาการป่วยหลากหลาย รวมถึงโรคมะเร็ง และเป็นวิธีรักษาที่สำคัญมากสำหรับผู้มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งวัคซีนอาจไม่สามารถกระตุ้นให้ร่างกายของพวกเขาสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงได้

ขอบคุณ : Chinese researchers find bat virus enters human cells via same pathway as COVID