โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

อาการเรอเกิดจากอะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และวิธีป้องกัน

HonestDocs

อัพเดต 21 ก.ย 2562 เวลา 21.32 น. • เผยแพร่ 21 ก.ย 2562 เวลา 21.32 น. • HonestDocs
อาการเรอเกิดจากอะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และวิธีป้องกัน
ในปัจจุบันหลายๆ คนมักประสบปัญหากับอาการอาหารไม่ย่อย จนกระทั่งทำให้มีอาการท้องอืด แน่นท้อง รู้สึกแสบร้อนในท้องช่วงบน หรืออาจจะมีอาการเรอบ่อย (Belching) จนรู้สึกรำคาญตัวเองกันเลยทีเดียว เนื่องจากมีอาการเป็นๆ หายๆ และยังทำให้เสียบุคลิกอีกด้วยเช่นกัน

ในปัจจุบันหลายๆ คนมักประสบปัญหากับอาการอาหารไม่ย่อย จนกระทั่งทำให้มีอาการท้องอืด แน่นท้อง รู้สึกแสบร้อนในท้องช่วงบน หรืออาจจะมีอาการเรอบ่อย (Belching) จนรู้สึกรำคาญตัวเองกันเลยทีเดียว เนื่องจากมีอาการเป็นๆ หายๆ และยังทำให้เสียบุคลิกอีกด้วยเช่นกัน

 สาเหตุของอาการเรอ

สาเหตุหลักๆ ของอาการเรอคือมีปริมาณลมในกระเพาะอาหารจำนวนมาก โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยๆ คือการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มในปริมาณมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่มที่มีแก๊สมากหรือทำให้เรอบ่อย ได้แก่ น้ำอัดลม กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถั่วต่างๆ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก หัวหอม บร็อกโคลี่ กล้วย ขนมปัง และอาหารที่มีแป้งกับน้ำตาลสูง

การกลืนลม (Aerophagia) ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเรอได้เช่นกัน ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันอย่างเช่นการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มเร็วเกินไป ดื่มน้ำจากหลอดดูด เคี้ยวหมากฝรั่ง สูบบุหรี่ ใส่ฟันปลอมที่มีขนาดไม่พอดี คุยระหว่างรับประทานอาหาร มีกรดในกระเพาะอาหาร มีอาหารตกค้างในกระเพาะอาหารจำนวนมากแล้วไม่ย่อย

นอกจากนี้อาการเรอยังเกิดจากการหายใจยาวหรือเร็วกว่าปกติ เด็กอ่อนที่ดูดนมแม่ ปัญหาทางด้านจิตใจและอารมณ์อย่างเช่นความเครียดวิตกกังวล การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาระบายประเภทยาซอร์บิทอลและยาแลคทูโตส ยาแก้ปวดประเภทยาไอบูโพรเฟนและยานาพรอกเซน รวมถึงความเจ็บป่วยจากโรคที่เกี่ยวกับช่องท้องและภาวะการแพ้อาหารบางชนิด

 อาการเรอมีลักษณะอย่างไร

อาการเรอจะทำให้ร่างกายขับลมออกจากกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหารแล้วออกทางปาก ส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือนของหูรูดหลอดอาหารกลายเป็นเสียง และมีกลิ่นของอาหารที่ยังคงตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร ซึ่งในกระเพาะอาหารมีลมมากเกินไปจนทำให้กระเพาะอาหารพองตัวนั่นเอง โดยการเรอจะช่วยลดการพองตัวของกระเพาะอาหารได้

 วิธีรักษาอาการเรอ

  • ยาลดกรดและยาขับลม ช่วยในการรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก ลดอาการเรอเปรี้ยว เช่น ยาไซเมทิโคน ถ่านกัมมันต์
  • เอนไซม์จากตับอ่อน เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารที่ผิดปกติ อันเกิดมาจากภาวะการทำงานของตับอ่อนบกพร่อง เพื่อช่วยเพิ่มเอนไซม์ที่ขาดหายไป
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทเอนไซม์ จะช่วยย่อยน้ำตาลในผักหรือธัญพืชที่ย่อยได้ยาก หรือก่อให้เกิดแก๊สปริมาณมาก
  • ปรึกษาแพทย์ กรณีที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและรับประทานยาตามแพทย์สั่ง

 วิธีป้องกันอาการเรอ

เราสามารถลดหรือบรรเทาอาการเรอด้วยตัวเองได้แบบง่ายๆ โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวันและการรับประทานอาหาร เริ่มตั้งแต่การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มให้ช้าลง ไม่พูดคุยขณะเคี้ยวอาหาร ลดปริมาณการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีแก๊สเยอะ รวมถึงการบริโภคน้ำตาลแล็กโทส ฟรุกโทส หรือสารให้ความหวานซอร์บิทอล

สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้นมโค ให้รับประทานโยเกิร์ตแทนเพราะทำให้เกิดแก๊สได้น้อยกว่า เนื่องจากแบคทีเรียที่อยู่ในโยเกิร์ตจะช่วยย่อยน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาในการย่อยของบางคนนั่นเอง และควรดื่มน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มจากแก้วแทนการใช้หลอด รวมทั้งลดการเคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอมและการสูบบุหรี่ จะช่วยลดการนำเอาแก๊สเข้าสู่กระเพาะอาหารได้พอสมควร

ผู้ที่ใส่ฟันปลอมควรตรวจสอบฟันปลอมอยู่เสมอว่า ใส่แล้วกระชับกับช่องปากดีหรือไม่ เพราะถ้ามีขนาดไม่พอดีจะทำให้เรากลืนอากาศเข้าไปมากขณะที่กำลังรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ นอกจากนี้ควรทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียดหรือวิตกกังวล ก็จะช่วยบรรเทาอาการเรอได้เช่นกัน

 หากเราปฏิบัติตามคำแนะนำที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังคงมีอาการเรอ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยรักษาโรคต่อไป เพราะอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่อาจเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ที่เราคาดไม่ถึงก็ได้

👨‍⚕️⚕️👩‍⚕️⚕️ ค้นหาโรค อาการ ยา โรงพยาบาล คลินิก และอ่านบทความสุขภาพ เขียนโดยคุณหมอหรือผ่านการรีวิวจากคุณหมอแล้ว ที่ www.honestdocs.co และ www.honestdocs.id 

💪❤️ ไม่พลาดข้อมูลดีๆ ที่จะทำให้คุณแข็งแรงขึ้นทั้งกายและใจ คลิกที่นี่เพื่อแอดไลน์ @honestdocs หรือแสกน QR Code ด้านล่างนี้ และยังติดตามเราได้ที่ Facebook และ Twitter วันนี้

📱📰 โหลดแอป HonestDocs สำหรับ iPhone หรือ Android ได้แล้ววันนี้! จะอ่านบทความ จะเก็บบทความไว้อ่านทีหลัง หรือจะแชร์บทความให้คนที่เราเป็นห่วง ก็ง่ายกว่าเดิมเยอะ

เปรียบเทียบดีลสุขภาพ ทำฟัน และความงาม จาก รพ. และคลินิกกว่า 100 แห่ง พร้อมจองคิวผ่าน HonestDocs คุณหมอมือถือได้เลยวันนี้ ถูกกว่าไปเอง

ขอบคุณที่วางใจ ทุกเรื่องสุขภาพอุ่นใจ ให้ HonestDocs (ออเนสด็อกส์) คุณหมอมือถือ ดูแลคุณ ❤️

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0