ปัจจุบันประเทศไทยผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธมากกว่าร้อยละ 94 มากเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม ซึ่งในประเทศไทยมีพระเกจิชื่อดังที่มากด้วยความสามารถและความรู้ทั้งด้านต่าง ๆ รวมถือเรื่องอภินิหารถึงแม้กายจะละสังขาร แต่ยังคงทิ้งเรื่องเล่าขานที่ทำให้ศิษยานุศิษย์คงศรัทธา
ถ้าให้ผู้อ่าน LINE TODAY นึกถึงพระเกจิชื่อดังในประเทศไทย เชื่อเลยว่า 1 ในรายชื่อจะต้องมี ‘หลวงปู่ทวด’ อย่างแน่นอน
เสาร์นี้ในอดีต-เมื่อ 6 มีนาคม พ.ศ.2225 นับเป็นวันที่เหล่าศิษยานุศิษย์ทั่วทุกสารทิศต่างโศกเศร้ากับการ ‘หลวงปู่ทวด’ มรณภาพด้วยโรคชรา ซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย ในรัฐไทรบุรี
'เหยียบน้ำทะเลจืด อภินิหารอันเล่าขาน'
หลังจากมรณภาพ ‘หลวงปู่ทวด’ ก็ได้ทิ้งอภินิหารไว้มากมาย แต่ที่เป็นที่เล่าขานสุด ๆ คือ 'เหยียบน้ำทะเลจืด' โดยมีเรื่องเล่าที่แตกต่างกันออกไป อาทิข้อมูลจาก ทรงพร ตั้งพิบูลย์เวช ได้เผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ระบุว่าครั้งที่หลวงปู่ทวด เติบโตได้ไปศึกษาวิชาความรู้กับสมภารจวง และไปอุปสมบทที่สำนักพระครูกาเดิม วันหนึ่งในขณะที่เดินทางไปกรุงศรีอยุธยาโดยเรือสำเภา ท้องทะเลฟ้าวิปริตเกิดพายุ ทอดสมออยู่หลายวันจนน้ำจืดหมด เจ้าของเรือจึงไล่พระภิกษุปู่ลงเรือเล็กส่งฝั่งหมาย ระหว่างที่หลวงปู่ทวดนั่งในเรือเล็กได้หย่อนเท้าลงในน้ำทะเลและบอกให้ตักชิมดู ปรากฏเป็นน้ำจืดอย่างน่าอัศจรรย์
ขณะที่ข้อมูลจากเอกสารการท่องเที่ยวของ ททท. (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) บันทึกว่า "วันหนึ่ง มีโจรสลัดแล่นเรือเลียบมาตามฝั่ง เห็นหลวงปู่ทวดเดินอยู่มีลักษณะแปลกกว่าคนทั้งหลาย จึงใคร่จะลองดี โจรสลัดจอดเรือแล้วจับหลวงปู่ทวดไป เมื่อเรือแล่นมาได้สักครู่ เกิดเหตุเรือแล่นต่อไปไม่ได้ ต้องจอดอยู่หลายวัน จนในที่สุด "น้ำจืด" หมดลง โจรสลัดเดือดร้อน หลวงปู่ทวดสงสารจึงเอาเท้าซ้ายแช่ลงไปในน้ำทะเล เกิดเป็นประกายโชติช่วง น้ำทะเลกลายเป็น "น้ำจืด"
ตำนานหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด จึงเป็นเรื่องที่เลื่องลือไปยังศิษยานุศิษย์ทั่วไทยและศรัทธาความเลื่อมใส ถึงแม้เรื่องราวจะผ่านมานานกว่า 339 ปี ซึ่งปัจจุบันจุดที่หลวงปู่ทวดไปเหยียบนั้นอยู่ที่เกาะนุ้ยนอกในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช นับป็นแหล่ง Unseen อีกหนึ่งที่ของประเทศไทย
'น้ำทะเลจืดได้ด้วย ?'
แต่ถ้าตามหลักวิทยาศาสตร์โดยนักธรณีวิทยาอธิบายว่าบ่อน้ำจืดบนเกาะนุ้ยนอก เป็นช่องเปิดที่ต่อเนื่องกับรอยแตกในชั้นหินใต้ผิวโลก และรอยแตกนั้นเชื่อมต่อกับสายน้ำใต้ดินหรือสายน้ำบาดาล ที่ซึมลงใต้ดิน จากพื้นแผ่นดินบนฝั่งเมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลง น้ำจืดข้างล่างก็ดันน้ำเค็มออกหมดกลายเป็นบ่อน้ำจืดที่อยู่กลางทะเลน้ำเค็มนั้นเอง
ความศรัทธาปกคุมหลายจังหวัด
เมื่อพูดถึง 'หลวงปู่ทวด' ส่วนใหญ่มักจะนึกถึงวัดช้างให้ ที่ จ.ปัตตานี ถือว่าเป็นวัดต้นตำรับของหลวงปู่ทวด เพราะท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดและอัฐของท่านก็ถูกบรรจุไว้ที่วัดแห่งนี้ แต่ถ้าใครที่อยากสักการะ 'หลวงปู่ทวด' ที่องค์ใหญ่สุด ๆ ก็ต้องที่ 'วัดห้วยมงคล' ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หรือ 'วัดแม่ตะไคร้' อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ค่อนข้างจะแปลกกว่าที่อื่นสักหน่อยคือเป็นหลวงปู่ทวดในอิริยาบถเดินธุดงค์ ถือไม้เท้า สะพายบาตร และมีกลดพาดบ่า โดยสร้างตามตำนานที่เชื่อว่าหลวงปู่ทวดเป็นพระนักธุดงค์
ขณะที่ในกรุงเทพก็มีองค์หลวงปู่ทวดให้ผู้กราบไหว้เช่นกันอย่าง 'วัดเอี่ยมวรนุช' เขตพระนคร ถึงจะไม่เป็นองค์ใหญ่เหมือนที่จุดอื่น ๆ แต่หลวงปู่ทวดแห่งนี้ตั้งอยู่ใน 'วิหารหลวงปู่ทวด' มีอายุกว่า 237 ปี
แต่ช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาทางวัดได้ออกมาโพสต์เรื่องราวว่าโบราณสถาน “เศร้าสลด หดหู่ ปิดตำนาน วิหารหลวงปู่ทวดและโบราณสถานของวัดเอี่ยมฯ 237 ปีแลกกับสถานีรถไฟฟ้าบางขุนพรหม..เมื่อรถไฟฟ้ามาวัดวาก็ถูกทุบทำลาย” เมื่อโพสต์ดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ออกไปก็ทำโลกออนไลน์และชาวบ้านในบริเวณนั้นต่างเสียดายกันเพราะ 'วิหารหลวงปู่ทวด' นับเป็นโบราณสถานที่ควรรักษาไว้
" เคร้าสลด..หดหู่…ปิดตำนาน วิหารหลวงปู่ทวดและโบราณสถานของวัดเอี่ยมฯ ..237 ปีแลกกับสถานีรถไฟฟ้าบางขุนพรหม..เมื่อรถไฟฟ้ามาวัดวาก็ถูกทุบทำลาย "
Posted by วัดเอี่ยมวรนุช on Wednesday, March 3, 2021
แต่ล่าสุด นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ได้ใช้เฟซบุ๊ก Sorapong Paitoonphong เข้ามาคอมเมนต์ในเพจของวัด ระบุว่า "ได้ตรวจสอบจาก รฟม. แล้วว่า พื้นที่ก่อสร้างจะไม่กระทบวิหารหลวงปู่ทวด และ กระทรวงคมนาคมจะได้มอบหมายให้ รฟม. ลดผลกระทบให้มากที่สุด"
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมและประธานกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย…เข้ามา comment ในเพจวัดเอี่ยมวรนุช
Posted by วัดเอี่ยมวรนุช on Thursday, March 4, 2021
'ปัจจุบันหลวงปู่ทวดถือได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีศิษยานุศิษย์ทั่วไทยที่ยังคงศรัทธาและเป็นอีกหนึ่งที่พึ่งทางจิตใจ'
อ้างอิง paiduaykan , sites , thai.tourismthailand , wikipedia
ความเห็น 60
🎒 Thee39 🎒
BEST
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
สาธุ สาธุ สาธุ 🙏🏻🙏🏻🙏🏻
05 มี.ค. 2564 เวลา 17.51 น.
มีLineป่ะ-3000
BEST
ไม่ใช่ลดผลกระทบให้มากที่สุด
ไม่ควรกระทบเลยดีกว่าครับ
06 มี.ค. 2564 เวลา 05.10 น.
เช๊ะ
BEST
สิ่งก่อสร้างใหม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งก่อสร้างเก่าที่ทรงคุณค่าได้มิใช่หรือ!!!! ผู้มีปัญญาโปรดพิจารณาด้วยครับ
05 มี.ค. 2564 เวลา 22.44 น.
ที่มีตำนานกล่าวขานถึงท่าน ไม่ใช่อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์
แต่เป็นคุณความดีล้วนๆ เชื่อแบบนี้
06 มี.ค. 2564 เวลา 02.23 น.
สตรอมแทรค
กราบนมัสการครับหลวงปู่ทวด
06 มี.ค. 2564 เวลา 01.15 น.
ดูทั้งหมด